ข้อใดเป็นผลเสียของการบริโภค

ภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำเป็นระยะเวลานานเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี โดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ที่ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอเกิดฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เกิดผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิต การเกษตร และระบบนิเวศในพื้นที่เกิดภัย

ภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำเป็นระยะเวลานานเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี โดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ที่ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอเกิดฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เกิดผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิต การเกษตร และระบบนิเวศในพื้นที่เกิดภัย

สาเหตุการเกิดภัยแล้ง   อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

  1. โดยธรรมชาติ
    • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก เช่น ระบบการหมุนเวียนหรือส่วนผสมของบรรยากาศเปลี่ยนแปลง สภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติ
    • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น ฝนทิ้งช่วง ฝนตกน้อย ดินเก็บความชื้นต่ำได้ไม่ดี ปริมาณน้ำใต้ดินมีน้อย
    • การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
    • ความผิดปกติของตำแหน่งร่องมรสุมทำให้ฝนตกในพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง
    • ความผิดปกติเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านประเทศน้อยกว่าปกติ
  2. โดยการกระทำของมนุษย์
    • การใช้น้ำอย่างไม่เหมาะสมหรือสิ้นเปลืองเกินไป ทั้งการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำใต้ดินลดลง
    • พฤติกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ทำลายชั้นโอโซน เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เช่น การเผาพลาสติก น้ำมัน และถ่านหิน
    • การพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เพียงพอ เนื่องจากขาดต้นไม้ซึมซับน้ำ และเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่า ถือครองกรรมสิทธิ์ปลูกพืชไร่
    • ระบบการเพาะปลูกและความถี่ของการเพาะปลูก
    • ขาดการวางแผนการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์จากน้ำฝน

(ที่มา หนังสืออยู่กับภัยใกล้ตัว สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร)

ผลกระทบของภัยแล้ง  ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะภัยแล้งมีดังนี้

  1. ผลิตผลทางการเกษตรลดลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค และการเลี้ยงปศุสัตว์
  2. เกิดการกัดเซาะ กัดกร่อนภูมิทัศน์ พื้นดินแห้งแล้งและเกิดการพังทลายของผิวดิน
  3. เกิดฝุ่นละออง พายุฝุ่น เพราะพื้นดินแห้งแล้งขาดน้ำ
  4. ประชาชนเกิดความอดอยากเนื่องจากการขาดน้ำในการอุปโภคบริโภค
  5. เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัยของสัตว์ ที่ได้รับผลกระทบทั้งบนบกและในน้ำ
  6. เกิดภาวะขาดน้ำ ขาดสารอาหาร และเพิ่มโอกาสเกิดโรคระบาด
  7. เกิดการอพยพย้ายถิ่นของประชากร
  8. ผลผลิตกระแสไฟฟ้าลดลง เนื่องจากการไหลของน้ำผ่านเขื่อนลดลง
  9. การประกอบการด้านอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก เพราะขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการขบวนการผลิต
  10. เพิ่มโอกาสการเกิดไฟป่าในช่วงเกิดภัยแล้ง

ช่วงเวลาการเกิดภัยแล้งในประเทศไทย

ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเกิดใน 2 ช่วง ได้แก่

  1. ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน โดยเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
  2. ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71)
 

พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนวดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่มักจะประสบปัญหาฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นประจำอีกดังตารางข้างล่าง

ภาค/เดือน เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ตะวันออก ใต้
ฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตก
ม.ค.           ฝนแล้ง
ก.พ.   ฝนแล้ง ฝนแล้ง     ฝนแล้ง
มี.ค. ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง
เม.ย. ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแล้ง   ฝนแล้ง
พ.ค.           ฝนแล้ง
มิ.ย. ฝนทิ้งช่วง ฝนทิ้งช่วง ฝนทิ้งช่วง ฝนทิ้งช่วง    
ก.ค. ฝนทิ้งช่วง ฝนทิ้งช่วง ฝนทิ้งช่วง ฝนทิ้งช่วง    

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71)

วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้ง

  • แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น แจกน้ำให้ประชาชน ขุดเจาะน้ำบาดาล สร้างศูนย์จ่ายน้ำ จัดทำฝนเทียม
  • การแก้ปัญหาระยะยาว อันได้แก่ การพัฒนาลุ่มน้ำ การสร้างฝาย การสร้างเขื่อน ขุดลอกแหล่งน้ำ การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมือในการจัดทำและพัฒนาชลประทาน การรักษาป่าและปลูกป่า เช่น การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71)

ที่มา : http://www.greencoun.com/3forest_4benefits.php

ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดภัยแล้ง

  • เตรียมกักเก็บน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคให้เพียงพอ โดยเริ่มดำเนินการก่อนช่วงเกิดภัยแล้ง อย่ารีรอมิฉะนั้นจะไม่มีน้ำให้กักเก็บ
  • ขุดลอกคู คลอง ดูแลแหล่งเก็บน้ำในชุมชนให้มีศักยภาพเพื่อเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ
  • วางแผนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดช่วงภัยแล้ง เช่น ใช้น้ำจากฝักบัวเพื่อชำระร่างกายจะประหยัดน้ำมากกว่าการตักอาบ นำน้ำที่ใช้ชำระร่างกายหรือน้ำจากการซักผ้าไปใช้ต่อทางการเกษตร
  • การใช้น้ำเพื่อการเกษตร ควรใช้ในช่วงเช้าและเย็น เพื่อลดอัตราการระเหยน้ำ
  • กำจัดวัสดุเชื่อเพลิงรอบที่พัก เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าและการลุกลาม
  • เตรียมหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินเพื่อการขอน้ำบริโภคและการดับไฟป่า