กษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนา

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงมีพระนามเต็มว่า กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ มีพระมเหสีพระนามว่านางเสือง มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 5 พระองค์ พระราชโอรสที่เราคุ้นเคยกันดีคือ พ่อขุนบานเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

กรุงเทพมหานคร ครองแชมป์อันดับหนึ่งของเมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลกติดต่อกัน 4 ปีซ้อนจากการจัดอันดับเมืองที่คนทั่วโลกนิยมท่องเที่ยวมากที่สุด โดย Mastercard Global Destination Cities Index ในปี 2018 ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมไป คือ วัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง วัดโพธิ์ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่มีคนเดินทางมาเยือนตลอด ทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และอังกฤษ หลงใหลกรุงเทพฯ มาก

ตอกย้ำถึงความสำคัญของ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กรุงเทพมหานคร” เมืองหลวงของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงสถาปนาพระนครแห่งใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกเสาเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านเมืองในวันที่ 21 เมษายน 2325 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และมีการจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 3 วัน 3 คืน ต่อเนื่องจากงานพระราชพิธี บรมราชาภิเษกพร้อมกับงานสมโภชวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง งานครั้งนั้นจัดทั้งในกรุงและนอกกรุง มีมหรสพต่างๆ เป็นงานที่สนุกสนานเอิกเกริก

กษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนา

ย้อนประวัติศาสตร์ไทยได้มีการจัดงานสมโภชพระนครหรือเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งใหญ่ขึ้นมาแล้วถึง 4 ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ครั้งนั้นมีมหรสพทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร   7 วัน 7 คืน ครั้งที่ 3 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี งานฉลองพระนครเป็นเพียงงานรื่นเริงชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริไม่มีสิ่งใดดีกว่าสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร ถือเป็นสิริมงคลแก่ชาวกรุงเทพฯ ทั้งสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น

และครั้งที่ 4 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในสมัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การฉลองพระนครทุกครั้ง พระมหากษัตริย์พร้อมด้วยพสกนิกร ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม ครั้งนี้ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองวัดพระแก้ว คู่กรุงรัตนโกสินทร์ แล้วยังมีพระราชพิธี ตามโบราณราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช  พระราชพิธีสมโภชหลักเมือง และเป็นครั้งแรกที่มีตราสัญลักษณ์เป็นภาพเทวดาสององค์พนมมือไหว้ หันหน้าเข้าหากัน สื่อความหมายว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งชาวเทวดา ที่ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เหนือภาพเทวดา เป็นภาพซุ้มวิมาน สื่อสิ่งก่อสร้างงดงามของกรุงเทพฯ ขณะที่ท้องสนามหลวงครึกครื้นด้วยมหกรรมดนตรีไทย ดนตรีสากล มหรสพพื้นเมือง ประกวดรถบุปผชาติ นอกจากนี้ ชุมชนใต้ร่มพระบารมี จัดงานทั่วบริเวณ

กษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนา

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นอีกครั้ง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ทุกพระองค์ที่ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความผาสุก กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองศูนย์กลางที่ผสมผสานด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงศิลปวัฒนธรรมที่ลงตัว ทั้งนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชา  สามารถ และพระวิสัยทัศน์ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ   นานัปการ ส่งผลให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงและราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขจนถึงทุกวันนี้ ด้วยทุนทางวัฒนธรรม โบราณสถาน สถาปัตยกรรม แหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาหารอร่อย และอัธยาศัยไมตรี ทำให้ผู้คนทั่วโลก จะต้องมาเยือนกรุงเทพฯ ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบๆเมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆ คือ กรุงเก่าหรือ อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี หรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายหย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน


  • กษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนา

    ในปีพุทธศักราช 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงย้ายพระนครมาสร้างเมืองใหม่ ทรงเห็นว่าตำบลหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะมีน้ำล้อมรอบ จึงทรงกะเขตปักราชวัตรฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา ชีพ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์กระทำพิธีกลบบาตสุมเพลิง (ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำเพื่อแก้เสนียด) แล้วให้พนักงานขุดดินทั่วบริเวณ เพื่อสร้างพระราชวัง เมื่อขุดมาได้ถึงบริเวณต้นหมัน พนักงานพบสังข์ทักษิณาวัตรสีขาวบริสุทธิ์ 1 ขอน พระเจ้าอู่ทองทรงโสมนัสในศุภนิมิตรนั้นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้สร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานสังข์ดังกล่าว ทางราชการจึงถือว่า "สังข์" ซึ่งประดิษฐานบนพานทองภายในปราสาทใต้ต้นหมัน เป็นตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จากหนังสือ "กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทย")