เหตุใดกรุงศรีอยุธยาจึงเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา

            การที่อาณาจักรอยุธยามีพัฒนาการด้านต่างๆ ดำเนินอย่างต่อเนื่องนับได้ 417 ปี เป็นเพราะมีปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อพัฒนาการต่างๆ ดังนี้

แหล่งอารยธรรมดั้งเดิม

พื้นที่ใกล้เคียงกับอาณาจักรอยุธยาเมื่ออดีตเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณที่สำคัญ ได้แก่ ทวารวดี ละโว้ สุพรรณภูมิ โดยอยุธยาได้นำอารยธรรมเดิมของอาณาจักรโบราณมาปรับใช้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมใหม่ที่ได้สร้างขึ้น

สภาพภูมิประเทศ

            ที่ตั้งของอยุธยามีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านลงสู่อ่าวไทย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง จึงเหมาะกับการเกษตรและติดต่อค้าขายทางทะเลกับดินแดนที่อยู่ห่างไกลได้สะดวก

สภาพภูมิอกาศ

            อาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น มีฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากมรสุมที่พัดผ่านทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีฝนตกตลอดที่งปี ทำให้แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์

การตั้งกึ่งกลางเส้นทางเดิมเรือระหว่างอินเดียกับจีน

            ทำให้อยุธยาได้ประโยชน์จากการค้าและการรับอารยธรรมจากจีนและอินเดีย ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการฑัฒนาประเทศ

ทรัพยากรธรรมชาติ

            อาณษจักรอยุธยาเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มีผลไม้หลายชนิด ปลาน้ำจืดและปลาทะเล แร่ธาตุที่สำคัญ เช่น เหล็ก ทองคำ นอกจากนี้ยังมีไม้หายาก เช่น ไม้สัก ไม้ฝาง ไม้อบเชย ไม้กฤษณา เป็นต้น ซึ่งเป็ฯที่ต้องการของพ่อค้าชาวต่างชาติ

พระปรีชรสามารถของพระมหากษัตริย์

            หลายครั้งอยุธยาเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอก แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ เช่น การประกาศอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การสร้างสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศของสมเด็จประนารายณ์มหาราช 

ในเชิงของภูมิรัฐศาสตร์อาจวิเคราะห์ได้จาก ทำเลที่ตั้งและทรัพยากรในการใช้รบ
แต่อีกเรื่องนึงก็น่าสนใจเช่นกันคือในการเศรษฐกิจการค้าของอยุธยาในสมัยนั้น
เพื่อนๆมีใครเคยอ่านหรือเคยมีประสบการณ์ได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า แหล่งทรัพยากรที่ใช้ในการรบในสมัยนั้น
หรือสินค้าสำคัญทางเศรษฐกิจตัวไหน มีอิทธิพลต่อการตั้งอยู่ของอยุธยากว่า417ปีบ้าง มาวิเคราะห์นอกเหนือจากในหนังสือประวัติศาสตร์กัน

ประวัติและตราสัญลักษณ์

ประวัติความเป็นมา ตราสัญลักษณ์

  • เหตุใดกรุงศรีอยุธยาจึงเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี
    จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีของไทย มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 -18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมืองโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนานพงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1893 นั้นได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวรณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการลักษณะกู้หนี้

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบๆเมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า" 

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆ คือ กรุงเก่าหรือ อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี หรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายหย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

  • เหตุใดกรุงศรีอยุธยาจึงเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี

    ในปีพุทธศักราช 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงย้ายพระนครมาสร้างเมืองใหม่ ทรงเห็นว่าตำบลหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะมีน้ำล้อมรอบ จึงทรงกะเขตปักราชวัตรฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา ชีพ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์กระทำพิธีกลบบาตสุมเพลิง (ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำเพื่อแก้เสนียด) แล้วให้พนักงานขุดดินทั่วบริเวณ เพื่อสร้างพระราชวัง เมื่อขุดมาได้ถึงบริเวณต้นหมัน พนักงานพบสังข์ทักษิณาวัตรสีขาวบริสุทธิ์ 1 ขอน พระเจ้าอู่ทองทรงโสมนัสในศุภนิมิตรนั้นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้สร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานสังข์ดังกล่าว ทางราชการจึงถือว่า "สังข์" ซึ่งประดิษฐานบนพานทองภายในปราสาทใต้ต้นหมัน เป็นตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จากหนังสือ "กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทย")