พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 129

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"]

         สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงเสด็จออกนำหน้าทัพเมื่อทำศึกสงคราม ซึ่งในขณะนั้นมีการใช้ปืนกันอย่างแพร่หลายแล้ว จึงเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง
         สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว
         ความล้มเหลวจากการตีเมืองพิษณุโลกทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ โดยเลือกตีเมืองที่อ่อนแอที่สุดก่อน นั่นก็คือเมืองพิมายและนครราชสีมา ขณะนั้นพิมายเป็นหัวเมืองใหญ่กว่านครราชสีมา มีอิทธิพลครอบคลุมไปจรดดินแดนลาวล้านช้างและกัมพูชา จัดว่ามีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก
         เมื่อทรงหายประชวรจากการบาดแผลที่ต้องกระสุนปืนดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงจัดทัพเพื่อบุกตีพิมายในทันที
         เจ้าเมืองพิมายในขณะนั้นคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ที่หนีทัพพม่ามาตั้งตนเป็นใหญ่ที่นี่ พงศาวดารบันทึกไว้ว่า เป็นเจ้านายที่มีพระปรีชาสามารถมากไม่แพ้พระเจ้าอุทุมพร เพียงแต่เกิดจากนางสนม จึงไม่มีโอกาสขึ้นครองราชย์
         แต่อย่างไรก็ตาม กรมหมื่นเทพพิพิธก็มิอาจสู้สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ หลังจากเมืองพิมายแตก สมเด็จพระเจ้าตากสินก็มีพระเมตตาหมายจะชุบเลี้ยงไว้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาเข้าเฝ้า แต่กรมหมื่นเทพพิพิธกลับแสดงกิริยาก้าวร้าว ยโสโอหังต่อหน้าพระที่นั่ง จึงถูกนำไปประหารชีวิต
         หลังจากยึดพิมายและนครราชสีมาได้ พระองค์ทรงทัพต่อไปที่นครศรีธรรมราช ปรากฏว่า นครศรีธรรมราชแข็งแกร่งกว่าที่คิด สองแม่ทัพบก คือ พระยาเพชรบุรีและพระยาศรีพิพัฒน์ ได้เสียชีวิตขณะเข้าตีเมือง กองทัพเรือของสมเด็จพระเจ้าตากสินตัดสินใจ เปลี่ยนมาบุกนครศรีธรรมราชทางน้ำแบบสายฟ้าแลบ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคิดไม่ถึงว่ากองทัพกรุงธนบุรีจะมาทางเรือ จึงไม่ได้วางแผนคอยสกัดไว้ กว่าจะรู้ตัวก็ถูกเข้าประชิดปากน้ำเมืองนครแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำหน้ายกพลขึ้นบกตีกองทหารที่รักษาเมืองจนแตก เมื่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเห็นว่าจวนตัวสู้ไม่ได้แน่ จึงหนีไปอาศัยอยู่กับสุลต่านแห่งเมืองปัตตานี
         สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาเพียง 1 ปี (พ.ศ.2312) เท่านั้น หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงสามารถรวบรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ทั้งหมดเข้าไว้ในราชอาณาจักรธนบุรีได้สำเร็จ
         หลังจากที่รวบรวมภาคใต้ได้ ปีต่อมา (พ.ศ.2313) สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงจัดทัพขึ้นตีพิษณุโลกเป็นครั้งที่สอง ด้วยบทเรียนความล้มเหลวจากครั้งก่อน ทำให้มีการวางแผนการรบอย่างรอบคอบ เมืองพิษณุโลกถูกตีแตกอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นก็มีรับสั่งให้กองทัพ เดินทางขึ้นเหนือต่อไปเพื่อยึดเมืองสวางคบุรี
         เมื่อยึดเมืองสวางคบุรีและพิษณุโลกได้สมบูรณ์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง ซึ่งต่อมาคือ ร.1) ขุนศึกที่มีบทบาทสำคัญในการกู้ชาติเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระองค์ เลื่อนตำแหน่งเป็น “พระยายมราช” ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด
         .....แล้วศึกที่สำคัญที่สุดก็มาถึง นั่นคือการยึดเมือง “เชียงใหม่” ที่ฝ่ายพม่าครอบครองอยู่ เป็นการเปิดศึกกับพม่าโดยตรง ผลปรากฏว่า แม้พระเจ้าตาก + เจ้าพระยาสุรสีห์ (พระอนุชา ร.1) + พระยายมราช (ต่อมาคือ ร.1) ร่วมกันต่อสู้สุดกำลัง ก็ยังไม่อาจเอาชนะได้ สูญเสียไพร่พลไปมากมาย จนต้องถอยทัพกลับธนบุรีแบบหมดกระบวนท่า
        หลังจากกลับจากศึกเชียงใหม่ครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนตำแหน่งให้พระยายมราชเป็น “เจ้าพระยาจักรี”
        กลับมาตั้งหลักที่กรุงธนบุรีได้สามปี ก็เตรียมการตีเชียงใหม่เป็นครั้งที่สอง ทรงโปรดให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ สองพี่น้องเข้าเฝ้าฯ แล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพหน้ายกพลขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ คราวนี้ไม่พลาด เจ้าพระยาจักรีนำทัพเข้าตีประตูสวนดอกทางด้านตะวันตกและประตูเมืองเชียงใหม่ทางด้านใต้แตก ส่วนเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ นำทัพเข้าตีทางด้านตะวันออกจนประตูท่าแพแตกกระจุย เจ้าเมืองเชียงใหม่อาศัยประตูทางด้านเหนือที่เหลืออยู่ หนีหัวซุกหัวซุนกลับประเทศไป
        ครานี้สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปีติโสมนัสมากกว่าการชนะศึกทุกครั้งที่ผ่านมา ขณะที่ข้าหลวงเข้ามาทูลว่า เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ตีเชียงใหม่แตกแล้ว พระองค์ทรงยกพระหัตถ์ตบพระเพลาทั้งสองข้าง ทรงพระสรวลและตรัสว่า “ศึกครั้งนี้เก่งทั้งพี่ทั้งน้อง นี่จะว่าพี่หรือน้องดีกว่ากันไฉน” การตีเชียงใหม่ครั้งนี้ยึดอาวุธและพาหนะได้เป็นจำนวนมาก เช่น ปืนใหญ่เป็นจำนวนถึง 2,110 กระบอก ม้า 200 ตัว
        >>> หลังจากรวมชาติทุกภาคได้สำเร็จ ยังมิทันได้พักผ่อนพระวรกาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ต้องพบกับศึกเอาคืนครั้งใหญ่ที่สุดจากพม่า นำโดยแม่ทัพนามระบือโลก ผู้สร้างความเข็ดขยาดให้กับกองทัพจีนและอินเดียมาแล้ว ที่ชื่อว่า “อะแซหวุ่นกี้”

คำสำคัญ : สงคราม, พระเจ้าตากสินมหาราช

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ". สืบค้น 24 ตุลาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2135&code_db=610001&code_type=TK001



พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 129

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 200

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

“สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 112

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,032

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 159

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

ทางด้านทิศเหนือของชุมชนตรอกบ้านจีน บริเวณทางเข้าชุมชนตรอกบ้านจีน มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสงครามมหาเอเซียบรูพา (พ.ศ. 2448 - 2488) เป็นท่าสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของชุมชนตรอกบ้านจีน อันเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองตาก อาทิ เช่น ชุมชนคลองสัก ชุมชนบ่อไม้หว้า ชุมชนตลุกกลางทุ่ง เป็นต้น ชาวบ้านจากชุมชนเหล่านี้มักจะนำเอาสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ขนมาทางเกวียนและเดินเท้าเข้ามายังย่านชุมชนตรอกบ้านจีน นำสินค้าทางการเกษตรและของป่า ขนถ่ายลงเรือที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ “ห้าแยก-ท่าเรือ” เพื่อล่องเรือสินค้าลงไปขายยังเมืองนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ที่ถือได้ว่าเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 217

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 478

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 200

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 202

พระเจ้าตากสินทำสงครามกับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นที่ใด *

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 217