เพราะเหตุใดหลังจากที่พระเจ้าตากสินกู้อิสรภาพได้เเล้วจึงตัดสินใจย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี

การสถาปนาราชธานี

       กรุงธนบุรีเป็นราชธานีไทยช่วงสั้นๆที่มีพระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์เพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังจากที่พระเจ้าตากสินทรงกอบกู้อิสระภาพกรุงศรีอยุธยาจากพม่าได้สำเร็จ แล้วทรงย้ายราชธานีมาอยู่ ณ ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน ธนบุรีมีฐานะเป็นจังหวัดคู่กับจังหวัดพระนครหรือกทม.ปัจจุบันโดยอยู่คนละฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเมืองฝาแฝดกันมาก่อน แต่ต่อมาได้มีการยุบรวมการปกครองธนบุรีเข้ากับพระนครหรือกรุงเทพฯ เพื่อเป็นการขยายพื้นที่กรุงเทพฯให้กลายเป็นกรุงเทพมหานครดังปัจจุบันนี้ ปัจจุบันธนบุรีเป็นเพียงเขตต่างๆของกทม.เท่านั้น แต่ก็ชักจะมีความเห็นบ้างแล้วว่า น่าแยกจังหวัดธนบุรีออกจากกทม.เสียดีกว่า เพราะการบริหารกทม.ที่ใหญ่โตเกินไปก็ชักจะดูแลไม่ทั่วถึงเสียแล้ว ทำให้ธนบุรีเสียโอกาสของตัวเองไปมาก สำหรับในด้านประวัติศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุที่ไม่ปรากฏว่าธนบุรีเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง จึงอาจจะทำให้ประวัติศาสตร์คลาดเคลื่อนไปจนหมดก็ได้ 

     ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์เมืองธนบุรีก่อน พ.ศ. 2310หลังจากกรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ได้ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ขึ้น พระราชทานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” เมื่อจุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวดสัมฤทธิศก ตรงกับพ.ศ. ๒๓๑๐ จวบจนถึง พ.ศ. ๒๓๒๕ นับเป็นเวลาแห่งราชธานีเพียง ๑๕ ปีเท่านั้นขณะที่กรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่าอยู่นั้น พระยาตากได้เห็นความอ่อนแอของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ และมองไม่เห็นหนทางที่จะเอาชนะข้าศึกได้ จึงไม่อยากอยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปบังเกิดขึ้นหลายครั้งดังนี้พระยาตากคุมทหารออกไปรบนอกเมือง และสามารถรบชนะข้าศึกได้แต่ทางการไม่ส่งทหารมาเพิ่ม จึงต้องเสียค่ายนั้นไปอีกพระยาตากได้รับบัญชาให้ยกกองทัพเรือออกไปรบพร้อมกับพระยาเพชรบุรีแต่พระยาตากเห็นว่าพม่ามีพลที่มากกว่า จึงห้ามไม่ให้พระยาเพชรบุรีไปออกรบ แต่พระยาเพชรบุรีไม่เชื้อฟัง จึงออกไปรบ และเสียชีวิตในสนามรบทำให้พระยาตากถูกกล่าวหาว่าทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย๓ เดือนก่อนกรุงแตก พม่ายกกองมาปล้นทางเหนือของพระนคร พระเจ้าตากเห็นการ จึงจำเป็นต้องขออนุญาตจากกรุงให้ใช่ปืนใหญ่ แต่ทางกรุงไม่อนุญาตพระยาตากจึงคิดว่าถ้ายังเป็นอย่างนี้ กรุงศรีอยุธยาจะต้องแตกพระยาตากจึงตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไป พร้อมกับขุนนางนายทหารผู้ใหญ่ตีฝ่าวงล้อมพม่า โดยนายทหารและขุนนางผู้ใหญ่มี พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสนา ขุนอภัยภักดี และหมื่นราชเสน่หา ออกไปตั้งค่ายที่ วัดพิชัยเมื่อเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอจุลศักราช ๑๑๒๘ ตรงกับวันที่ ๓ มกราคมพ.ศ. ๒๓๑๐ พอไปถึงบ้านสำบัณฑิตเวลาเที่ยงคืนเศษ ก็แลเห็นแสงเพลิงไหม้จากพระนครเจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่า เมืองจันทบุรีเป็นเมืองที่ใหญ่ และยังอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนเป็นปกติสุขอยู่ เจ้าตากจึงทรงเกลี้ยกล่อมเมืองจันทบุรีให้มาช่วยกู้เอกราชพระยาจันทบุรีรับคำไมตรีในช่วงแรก แต่แล้ว พระยาจันทบุรีกลับไปร่วมมือกับขุนรามหมื่นส้อง วางแผนลวงให้เจ้าตากยกกอง ททัพเข้าไปตีเมืองจันทบุรีแล้วค่อยกำจัดเสียในภายหลัง แต่พระยาตากทรงรู้ทัน จึงทรงหยุดยั้งอยู่หน้าเมืองเมื่อเจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่าพระยาจันทบุรีหลงเชื่อคำของขุนรามหมื่นส้อง ไม่ยอมอ่อนน้อมให้แล้ว จึงตรัสให้ทหารทั้งปวง เทอาหารทิ้งทุบหม้อทุบต่อยหม้อแกงจนแหลกหมด แล้วจึงตรัสว่า วันนี้เราจะเอาเมืองจันทบุรีให้ได้ ไปหาข้าวของกินกันในเมือง หากไม่ได้ก็จงตายเสียให้สิ้นด้วยกันเถิดครั้นตกดึกประมาณ๓ นาฬิกา เจ้าตากก็สามารถบุกเข้าเมืองได้ ตรงกับวันที่๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐เจ้าตากจึงสามารถรวบรวมหัวเมืองตะวันออกได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราดได้

    เมื่อพระเจ้าตากทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็รวบรวมผู้คนทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้นำไปยังพม่า นำกลับมายังค่ายที่เมืองธนบุรี ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรีพระองค์ทรงขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามราชประเพณี ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาจของเมือง ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรีเรียกนามว่า   กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

ศักยภาพของเมืองธนบุรีก่อนการสถาปณาราชอาณาจักร

การกอบกู้เอกราช

     เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง  พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น “เจ้าชาย”  และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310 ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี

การรวมชาติและการขยายตัว

ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เองต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311   เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์โปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้ ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรี

การสิ้นสุด

    หลักฐานส่วนใหญ่กล่าวว่า เกิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ได้บุกมาแล้วบังคับให้พระองค์ผนวช ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมายังกรุง ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน

ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์

               หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแล้ว พระองค์ได้ทรงทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ราชอาณาจักร ทรงเร่งฟื้นฟูพัฒนาชาติบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองดังเช่นทีเคยรุ่งเรืองมาในสมัยอยุธยา ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองมาตลอดเป็นเวลายาวนานนับจากเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ใน พ..2325 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 200 ปี ปัจจัยที่ส่งเสริมให้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้อย่างมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีหลายประการด้วยกันที่สำคัญ คือ 

                1.มีที่ตั้งในทางยุทธศาสตร์เหมาะสม ตำบลบางกอกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์มีลักษณะเป็นแหลม มีแม่น้ำเป็นกำแพงเกือบครึ่งเมือง ส่วนด้านตะวันออกของเมืองเป็นที่ราบลุ่มทะเลตม น้ำท่วมเป็นเวลานานในฤดูน้ำหลาก เป็นด่านป้องกันข้าศึกได้อย่างดีการก่อสร้างเมืองก็มีการสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบอย่างแข็งแรง มีป้อมปราการโดยรอบ นอกกำแพงเมืองมีการขุดคูเมืองเป็นแนวป้องกันข้าศึก อีกทั้งมีบริเวณโดยรอบพระนครเป็นที่ราบ ซึ่งสามารถขยายเมืองออกไปได้เรื่อยๆ

                2.เป็นบริเวณมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ผลดี ทำให้เกษตรกรรมเจริญก้าวหน้า

                3.เป็นศูนย์กลางการค้า   กรุงรัตนโกสินทร์มีที่ตั้งไม่ไกลจากปากแม่น้ำ มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเมืองลงสู่ทะเลอ่าวไทย ทำให้การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมีความสะดวก รวมไปถึงทำเลที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย จึงเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าทำให้ได้รับวัฒนธรรมใหม่ๆ และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอาณาจักรได้

                4.พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระปรีชาสามรถด้านการทำสงครามมาตั้งแต่สมัยธนบุรี ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์เมื่อพม่ายกทัพหวังจะเข้ามาโจมตีเพื่อมิให้ไทยตั้งตัวได้ พระองค์และพระราชอนุชา คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็ทรงยกทัพออกไปป้องกันนอกพระนครมิให้กองทัพข้าศึกยกเข้ามาประชิดพระนครได้ ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีความมั่นคงเป็นราชธานีของไทยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

                5.ประเทศเพื่อนบ้านมีปัญหาภายใน และถูกคุกคามจากชาติตะวันตก ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บางช่วงประเทศเพื่อนบ้านของเรามีปัญหาภายในจึงไม่มีโอกาสยกทัพมารุกรานไทย ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศตะวันตกเริ่มเข้ามารุกรานประทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศเพื่อนบ้านต่างๆจึงต้องแก้ปัญหาของตนเอง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หลังจากปลายรัชกาลที่ เป็นต้นมาไทยก็มิต้องทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านอีกเลย ส่งผลให้กรุงรัตนโกสินทร์มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด

ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ในประวัติศาสตร์ของไทย  ได้มีเหตุการณ์สำคัญหลายประการที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เช่น เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม  การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง  ซึ่งมีตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว  ดังนี้

     1.  เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับปัจจัยทางภูมิศาสตร์
          การเลือกที่ตั้งเมืองหลวงของบรรพบุรุษไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา  ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง  เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำกว้างใหญ่  มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน สาย  คือ  แม่น้ำลพบุรีทางตอนเหนือ  แม่น้ำป่าสักทางด้านตะวันออก  และแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกและด้านใต้  มีคูคลองใหญ่น้อยเชื่อมติดต่อกับแม่น้ำดังกล่าว  การเดินทางติดต่อหรือขนส่งสินค้าจึงสะดวกทั้งภายในและการติดต่อกับต่างประเทศ  เช่น  จีน  กรุงศรีอยุธยาจึงกลายเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีต

     2.  เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ
          ในสมัยรัชกาลที่ 4  ประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญากับประเทศอังกฤษ  เมื่อปี พ.ศ. 2398  เรียกว่า  สนธิสัญญาเบาว์ริง  ซึ่งผลของสัญญาฉบับนี้ทำให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง  คนไทยมีโอกาสค้าขายกับชาวต่างประเทศมากขึ้นพร้อม ๆ กับมีการแลกเปลี่ยน  และมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม

     3.  เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
          การที่ไทยต้องรักษาเอกราชให้รอดพ้นจากการแสวงหาอาณานิคมของประเทศอังกฤษ  และฝรั่งเศส  ทำให้ไทยจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมให้ทันสมัย  จึงจำเป็นต้องยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสาน  ซึ่งผลของการเปลี่ยนเปลงดังกล่าว  ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้  เช่น
          -  การยกเลิกระบบไพร่  อย่างค่อยเป็นค่อยไป
          -  การยกเลิกระบบทาสในสมัยรัชกาลที่ 5
          -  การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยีแบบตะวันตก  โดยการจัดตั้งโรงเรียนทั้งในกรุงเทพ ฯ และหัวเมือง  เพื่อขยายการศึกษาให้แพร่หลาย

     4.  เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง
          วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบอบการปกครองของไทย  คือ  เป็นวันที่คณะราษฎร  ซึ่งนำโดย  พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา  ได้ปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง  นับเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
          หลักการสำคัญของ คณะราษฎร  คือ  ปวงชนชาวไทยทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกันและมีเสรีภาพในการกระทำสิ่งใดก็ได้  โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
          การปฏิวัติของ  คณะราษฎร  จึงถือเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อการปกครองของไทยอย่างแท้จริง

บทบาทของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีในการสร้างสรรค์ความเจริญและความมั่นคงของชาติ

               พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของชาติ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน ต่างทรงประกอบพระราชกรณียกิจใหญ่น้อยเพื่อสร้างความมั่นคงให้อาณาจักรทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข และสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ ให้เป็นมรดกตกทอดมาจนปัจจุบัน

                ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาพิเษกเป็นพระปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี เมื่อ พ..2325 หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อๆมาได้สืบสันตติวงศ์มาจนกระทั่งปัจจุบัน รวม 9 รัชกาล