ประเภทของสถาบันการเงิน มีอะไรบ้าง

��ԡ����������ͤ���

��Ҥ����觻������ ��ʶҺѹ����Թ����պ��ҷ�Ӥѭ��к����ɰ�Ԩ�ͧ������� �������˹�ҷ��Ѵ��ô����к�����Թ�ͧ���������դ�����鹤�

ʶҺѹ����Թ��ͧ��÷��ӷҧ��ҹ����Թ����ǹ�˭�з�˹�ҷ���繵�ǡ�ҧ����д��Թ����ҡ�����˹�������һ���¡������褹�ա�����˹�����͡�ú����� ���ŧ�ع ���ͻ�Сͺ��ø�áԨ����ص��ˡ�����ҧʶҺѹ����Թ����ҹ�������»����� ��駷����ʶҺѹ����Թ��������Ҥ�����ʶҺѹ����Թ�������踹Ҥ��

�������¢ͧʶҺѹ����Թ

��к����ɰ�Ԩ ��ҷ��к���ü�Ե����˹�ҷ��ӷ�Ѿ����������ͼ�Ե���Թ�����к�á�� 㹢�����ǡѹ��ҡ����к�����Թ����˹�ҷ��Ǻ���仡Ѻ�к���ü�Ե���Թ��ҷ�����������Ǣ�ͧ�Ѻ����ҳ�������ǹ�Ӥѭ㹡����������§�к����ɰ�Ԩ������š����¹�ѹ�����дǡ����Һ��蹷�����������������Сͺ��÷���ͧ����Թ�ع㹡�ü�Ե���͡�ä�Ң�·��������Ѻ�ҡ�Թ�ҡ��ЪҪ����������ͻ�Сͺ��á�õ�ҧ�������Ǣ�ͧ�Ѻ����Թ�ա�ҡ��� ���觷���˹�ҵ�ҧ����觹�����¡���

ʶҺѹ����Թ

�������ͧʶҺѹ����Թ

ʶҺѹ����Թ����ö���͡�� 2 ���������踹Ҥ�����ʶҺѹ�������踹Ҥ��

�������ͧ��Ҥ�� ��Ҥ�èѴ����պ��ҷ����Ӥѭ����к����ɰ�Ԩ�ͧ��������մѧ���

��Ҥ����觻������ ��ʶҺѹ����Թ����պ��ҷ�Ӥѭ��к����ɰ�Ԩ�ͧ��������������˹�ҨѴ��ô����к�����Թ�ͧ���������դ�����鹤�

���觷���� www.aksom.com/Lib/s/Soc_03

​สถาบันการเงิน​​

สถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเงินของประเทศ โดยทำหน้าที่ระดมและจัดสรรเงินทุนแก่ภาคเศรษฐกิจจริง การชำระราคาและบริการ การบริหารความเสี่ยง รวมถึงการให้ข้อมูลทางการเงินเพื่อการตัดสินใจ  ดังนั้น การดูแลให้การดำเนินงานของสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับเงินฝากของประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.

ธปท. มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินภายใต้อำนาจตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และ พ.ศ.2550 และกฎหมายอื่น ๆ อาทิ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58  โดยสถาบันการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ​ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ สาขาของธนาคารต่างประเทศ สำนักงานผู้แทนธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทบริหารสินทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (non-bank) บางประเภท ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ  

นอกจากนี้ ธปท. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้ตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และ มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในการกำกับการทำงานของบริษัทข้อมูลเครดิต

หลักการกำกับดูแลสถาบันการเงิน​

ธปท. ดำเนินนโยบายและกำกับดูแลสถาบันการเงินภายใต้กรอบหลักการ 5 ด้านดังนี้​

1. ดูแลให้สถาบันการเงินมีความมั่นคง มีความระมัดระวังและมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยมีเงินกองทุนที่มีคุณภาพและเพียงพอตามมาตรฐานสากลสำหรับรองรับความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และมีหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ด้านสภาพคล่อง ด้านปฏิบัติการ ด้านตลาด และปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชี รวมถึงการใช้เกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) ที่สอดคล้องกับ risk profile ของสถาบันการเงิน 

 2. ส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ มีการแข่งขันในระดับที่เหมาะสม และระวังไม่ให้กฎเกณฑ์การกำกับดูแลเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการทางธุรกิจ เช่น การจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน การให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และการกำกับขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน เป็นต้น​

3. ดูแลให้สถาบันการเงินมีธรรมาภิบาลที่ดี ดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของสถาบันการเงินทำหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  โดยมุ่งเน้นเรื่อง บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โครงสร้างของคณะกรรมการ การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใส

4. ดูแลให้สถาบันการเงินมีความเป็นธรรมต่อลูกค้าและประชาชน และมีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ โดยมีเกณฑ์ด้าน market conduct ในการกำกับดูแลการทำธุรกิจของสถาบันการเงิน ทั้งที่เป็นธุรกิจการเงินและการทำธุรกิจ cross selling เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ​และส่งเสริมให้สถาบันการเงินให้บริการทางการเงินอ​ย่างทั่วถึงและมีความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นให้มีการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคที่เป็นผู้ใช้บริการทางการเงินใน 4 เรื่อง ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้อย่างอิสระ สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย 

5. กำกับสถาบันการเงินเพื่อดูแลระบบเศรษฐกิจ (Macro Prudential) โดยใช้เกณฑ์การกำกับสถาบันการเงินเป็นเครื่องมือในการดูแลความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น การออกเกณฑ์กำกับบัตรเครดิต โดยกำหนดรายได้ขั้นต่ำของผู้ถือบัตรวงเงินสินเชื่อ และจำนวนเงินขั้นต่ำในการผ่อนชำระ เป็นต้น เพื่อดูแลการก่อหนี้ภาคครัวเรือน

​นอกจากนี้ ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ธปท. กำหนดให้สถาบันการเงินจัดส่งข้อมูล และแบบรายงานต่าง ๆ เป็นประจำ ในกรณีที่สถาบันการเงินมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติตามเกณฑ์ในเรื่องต่าง ๆ หรือการรายงาน สถาบันการเงิน สามารถติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่สัมพันธ์สถาบันการเงิน ​

คณะกรรมการและสายงานด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงิน​

คณะกรรมการที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ได้แก่

- คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.)​​​​ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกำกับและติดตามการตรวจสอบสถาบันการเงินเพื่อให้สถาบันการเงินมีเสถียรภาพมั่นคง โดยจะกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน กำหนดนโยบายการเปิด/ปิดสาขาสถาบันการเงิน กำหนดอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการเงินรายใหม่ และติดตามการดำเนินงานของ ธปท. ในด้านของการเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน และการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน

- คณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับระบบการชำระเงินที่ ธปท. กำกับดูแลและระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตลอดจนดำเนินไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามการดำเนินงานของ ธปท. ในด้านของการการจัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน

สำหรับ สายงานที่ทำหน้าที่ด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ของ ธปท. ประกอบด้วย 

- สายนโยบายสถาบันการเงิน (สนส.)มีหน้าที่กำหนดนโยบาย​และกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสถาบัน​การเงินและระบบการชำระเงิน ออกเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน รวมทั้งการกำกับดูแลธุรกิจการเงินที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง  วิเคราะห์และติดตามฐานะการดำเนินงานของระบบสถาบันการเงิน  

- สายกำกับสถาบันการเงิน (สกส.)มีหน้าที่ในการกำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์และติดตามฐานะการดำเนินงานตลอดจนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินเป็นรายสถาบัน รวมทั้งพิจารณาคำขออนุญาตต่าง ๆ และพิจารณากำหนดมาตรการให้สถาบันการเงินที่มีปัญหาด้านฐานะการเงินและการดำเนินงานหรือปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายทำการปรับ​ปรุงแก้ไขปัญหาที่กล่าวภายในเวลาที่กำหนด 

ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลอื่น

เนื่องจากระบบการเงินของไทยมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากขอบเขตธุรกรรมที่ขยายกว้างขึ้นและซับซ้อนขึ้นตามกระแสนวัตกรรมทางการเงินและกระแสโลกาภิวัฒน์  ธปท. จึงมีกลไกการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถดูแลความเสี่ยงในภาพรวมของสถาบันการเงินได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์​ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย​ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย​ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศต่างๆ  โดยความร่วมมือมีหลายรูปแบบ เช่น การประชุมหารือทั้งในระดับผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง การแลกเปลี่ยนพนักงาน การทำข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นต้น 


ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสถาบันการเงิน

- ประกาศ/หนังสือเวียน​​

- แนวทางการกำกับดูแลด้านเงินกองทุนและสภาพคล่องตามหลักเกณฑ์ Basel III

​- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ IAS32 IAS39 และ IFRS7​

- แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ระยะที่ 2) ​​

- คู่มือการตรวจสอบสถาบันการเงิน

- คู่มือการขออนุญาต​

- การขออนุญาต/ขอผ่อนผันของสถาบันการเงิน​

- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ธปท.

สถาบันการเงินประเภทธนาคาร มีอะไรบ้าง

1. สถาบันการเงินประเภทธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินด าเนินงานรับฝาก เงินที่สามารถไถ่ถอนคืนได้ และให้กู้ยืม เป็นช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างผู้ออมกับผู้ ต้องการเงินทุน ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์ เฉพาะ

สถาบันการเงินในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (18 แห่ง).
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน).
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน).
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน).
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน).
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน).
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน).
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน).

ธุรกิจสถาบันการเงิน มีอะไรบ้าง

ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย • ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคาร ต่างประเทศ สาขาของธนาคารต่างประเทศ 1.2 บริษัทเงินทุน 1.3 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 2. ส านักงานผู้แทน 3. บริษัทบริหารสินทรัพย์ 4. Non-Bank 5. e-Payment 1. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท) 3. บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

สถาบันการเงินทั่วไปได้แก่ข้อใดบ้าง

สถาบันการเงินทั่วไป ได้แก่ข้อใด ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร