ประเภท และ รูป แบบ ของ องค์กร ธุรกิจ มี กี่ ประเภท อะไร บ้าง

รูปแบบขององค์กรธุรกิจ

1. กิจการเจ้าของคนเดียว

2. ห้างหุ้นส่วน

3. บริษัทจำกัด

4. บริษัทมหาชนจำกัด

5. สหกรณ์

6. บริษัทข้ามชาติ

7. รัฐวิสาหกิจ

8. กิจการแฟรนไชส์

ข้อพิจารณาในการเลือก ประเภทขององค์กรธุรกิจ

ในการเลือกรูปแบบขององค์กรธุรกิจ ส่วนใหญ่จะมองที่ 4 ประเด็นหลักใหญ่ๆคือ

– ลักษณะ/รูปแบบ ขององค์กรธุรกิจที่จะประกอบการ ผู้ประกอบการจะต้องทราบก่อนว่าธุรกิจที่จะทำนั้นจะต้องใช้เงินหมุนเวียนในธุรกิจจำนวนประมาณเท่าใด ต้องการผู้ร่วมทุนหรือไม่มีระยะเวลาต่อเนื่องในการประกอบธุรกิจมากน้อยเพียงใด

– การบริหารจัดการ ผู้ประกอบการควรจะทราบก่อนว่าตนเองมีความประสงค์ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับผู้ประกอบการมาแล้ว ผู้ประกอบการยินดีที่จะอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมลงทุนเหล่านั้นเข้ามามีส่วนร่วมเหล่านั้นเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในระดับมากน้อยเพียงใด

– เงินทุน ผู้ประกอบการจะต้องทราบก่อนว่าจะต้องใช้เงินลงทุนในจำนวนเท่าใดในตอนเริ่มต้นประกอบธุรกิจ จำเป็นจะต้องกู้ยืมธนาคารพาณิชย์หรือไม่ ผู้ประกอบการควรที่จะทราบ่วาธุรกิจที่ดำเนินอยู่จะต้องใช้เวลานานเท่าใดจึงจะก่อผลกำไรตามจำนวนที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

– วิธีแบ่งปันผลกำไร ผู้ประกอบการควรที่จะวางแผนกับผู้เข้าร่วมทุนตั้งแต่เริ่มประกอบการธุรกิจว่าจะแบ่งปันผลกำไรที่เกิดขึ้นในอัตราส่วนที่เท่าใดและอย่างไร เพื่อป้องกันข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


ประเภท และ รูป แบบ ของ องค์กร ธุรกิจ มี กี่ ประเภท อะไร บ้าง
ประเภทองค์กรธุรกิจ

(Visited 381 times, 1 visits today)

ประเภท และ รูป แบบ ของ องค์กร ธุรกิจ มี กี่ ประเภท อะไร บ้าง


สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน เพื่อที่จะได้บริหารจัดการธุรกิจและจดทะเบียนการค้าได้ถูกต้อง รวมถึงจะสามารถคำนวณภาษีได้ถูกประเภทด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเรื่องการลงทุน ว่าหุ้นส่วนแต่ละคนจะลงทุนคนละเท่าไหร่ ได้กำไรหรือรับผิดชอบร่วมกันอย่างไร รวมถึงการขายหุ้นให้คนทั่้วไปสามารถร่วมลงทุนกับบริษัทได้อีกด้วย 

การรู้จักประเภทธุรกิจของตนเองเป็นอย่างดี จะทำให้การบริหารดำเนินงานเป็นไปได้ดีขึ้น มีความเป็นมืออาชีพและดูน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่านั่นเอง

ประเภทของธุรกิจ

ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้หลักๆ คือ แบบบุคคลธรรมดา ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ แบบนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด

1. ประเภทของธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว

ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก มีการจดทะเบียนการค้าแบบบุคคลธรรมดา การตัดสินใจต่างๆ รวมทั้งเรื่องกำไรหรือขาดทุนก็มีผลต่อเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ตัวอย่างเช่น เจ้าของร้านชำที่เราเห็นได้ทั่วๆ ไป

1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับกิจการเจ้าของคนเดียว เพียงแต่มีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ ผลจากกำไร และการขาดทุนเท่าๆ กันซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตรงที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้มีสถานะเป็นคณะบุคคลนั่นเอง

ประเภท และ รูป แบบ ของ องค์กร ธุรกิจ มี กี่ ประเภท อะไร บ้าง

2. ประเภทของธุรกิจแบบนิติบุคคล

2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับห้างหุ้นส่วนสามัญ คือมีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพียงแต่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ความแตกต่างคือ หุ้นส่วนมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน คือ แบบรับผิดชอบในหนี้สินแบบจำกัด โดยรับผิดชอบไม่เกินเงินที่ได้ลงทุน แต่ไม่มีการสิทธิการตัดสินใจในกิจการ ส่วนแบบรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด โดยรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิในการตัดสินใจต่างๆ

2.2 บริษัทจำกัด

ธุรกิจที่มีผู้ร่วมดำเนินงานตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ถือหุ้นในจำนวนเท่าๆ กัน ซึ่งเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน บริษัทจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ธุรกิจประเภทนี้เหมาะกับกิจการที่มีรายได้หรือมูลค่าสูง มีความเป็นสากลเพราะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริษัทขึ้นมาบริหารและตัดสินใจการดำเนินงานต่างๆ

2.3 บริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทจำกัดที่นำหุ้นออกจำหน่ายให้บุคคลทั่วไปซื้อ และร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัทได้ตามสัดส่วนที่ซื้อ ซึ่งหุ้นดังกล่าวสามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่เดิมบริษัทมหาชนจำกัดต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 100 คน แต่ปัจจุบันต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน

2.4 องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

องค์กรธุรกิจจัดตั้ง มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป หุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน การชำระค่าหุ้นคือชำระครั้งเดียวเต็มจำนวน และกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน โดยลักษณะของธุรกิจมีดังนี้ ธุรกิจการเกษตร คือ การทำไร่ ทำสวน ปศุสัตว์ ธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งในครัวเรือน และอุตสาหกรรมโรงงาน ธุรกิจเหมืองแร่ ธุรกิจการพาณิชย์ ธุรกิจการก่อสร้าง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการให้บริการ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจอื่นๆ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ อย่างแพทย์ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น

การทำธุรกิจไม่ว่าจะประเภทไหนก็ตาม การจดทะเบียนการค้าจะทำให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือ คู่ค้าสนใจลงทุนมากขึ้นเพราะดูมีหลักประกันมากกว่าธุรกิจที่ได้ไม่ได้จดทะเบียนทางการค้าใดๆ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดทะเบียนการค้า)


บทความแนะนำ

  • E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) คืออะไร? แตกต่างกับธุรกิจทั่วไปอย่างไร?
  • E-Marketplace คืออะไร? มีข้อดีอย่างไร?
  • การค้าปลีก (Retail) การค้าส่ง (Wholesale) คืออะไร? ต่างกันอย่างไร?
  • ธุรกิจขายตรง (Direct Sales) ธุรกิจเครือข่าย (MLM) คืออะไร?
  • Franchise (ธุรกิจแฟรนไซส์) คืออะไร? มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
  • Pre-Order (พรีออเดอร์) และ Dropship (ดรอปชิป) คืออะไร? เลือกแบบไหนดี?
  • Affiliate (แอฟฟิลิเอท) คืออะไร? Affiliate Marketing มีหลักการทำงานอย่างไร?

ประเภท และ รูป แบบ ของ องค์กร ธุรกิจ มี กี่ ประเภท อะไร บ้าง

ติดตามบทความการเงิน การลงทุน และบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ Finance-Rumour.com