สภาพทางสังคมและวิถีชีวิตสมัยธนบุรีเป็นอย่างไร

นาฏดุริยางค์และการละเล่น  แม้ว่าศิลปกรรมเหล่านี้จะได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยสงคราม  โดยถูกพม่ากวาดต้อนไปบ้าง  แต่ก็ยังไม่สูญหายไปเสียทีเดียว  ยังคงหลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองสำคัญ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช  และหลบซ่อนตัวตามเมืองอื่นบ้าง  นอกจากในพระราชสำนักแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี  ได้พระราชทานโอกาสให้บุคคลทั่วไปมีครูฝึกสอนละครนาฏศิลป์  และจัดแสดงได้โดยไม่จำกัด   ทั้งนี้เพื่อบำรุงขวัญประชาชนซึ่งเพิ่งรวบรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นใหม่ ๆ  นาฏศิลป์และการละเล่นสมัยกรุงธนบุรีที่ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุ  สมโภชพระแก้วมรกต พ.ศ. 2323  คือ โขน หนัง หุ่น ละคร รำ (รำหญิง,รามัญรำ,ชวารำ,ญวนรำถือโคมดอกบัว) มโหรี ปี่พาทย์ ระเม็งโมงครุ่ม ญวนหกและคนต่อเท้า โจนหกร้านหอก หกไม้ลำเดียว หกไม้สูง 3 ต่อ ไต่ลวดลังกาไม้ลวดต่ำ คุลาเล็ก มังกรตรีวิสัย(แทงวิสัย) โตกระบือหรือโตกระบือจีนเงาะ มวย คู่ปล้ำ เสลหรือดาบดั้ง คู่ง้าว คู่ทวน คู่หอก คู่กฤช ชนช้าง แข่งม้า ทวนหลังม้า กระบี่หลังม้าและม้าคลุมม้าคลี  และยังโปรดให้เจ้านครศรีธรรมราชจัดละครมาร่วมงานเป็นการประกวดประชันกับของหลวงด้วย

ปรากฏบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละครของหลวง โดยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2313 โดยเขียนลงในสมุดไทยและมีการชุบเส้นทอง ในปีพุทธศักราช 2323 ภายหลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จกลับจากการไปรวบรวมชุมนุมนครศรีธรรมราช มาอยู่ในพระราชอาณาจักรในปีพุทธศักราช 2312 ทรงโปรดให้มีการฟื้นฟู มโหรสพและการละครขึ้น

บทละครพระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีทั้งหมด 5 เล่มสมุดไทย คือ สมุดไทยเล่ม 1 หรือเล่มต้น (ซึ่งพบใหม่) อยู่ที่หอสมุดกรุงเบอร์ลิน สมุดไทยเล่มที่ 2-5 อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี กรุงเทพ ฯ มีการเขียนเรื่องต่อเนื่อง การแบ่งตอนอาจไม่ตรงตามเล่ม เมื่อเรียงเนื้อหาแล้วได้ ดังนี้

  • ศึกท้าวสัทธาสูรและวิรุญจำบัง
  • ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
  • ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ
  • ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
  • ตอนพระมงกุฎ

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ มีการสะท้อนวิถีชีวิตในสมัยนั้น ดังเห็นได้จากฉากที่มีทศกัณฐ์เลี้ยงกองทัพยักษ์ ปรากฏชื่อรายการอาหาร กุ้งพล่า แพนง หมูอั่ว หมูหัน ฯลฯ อีกทั้งปรากฏการแทรกเรื่องของการวิปัสนา กรรมฐาน คุณธรรม สอดแทรกเรื่องตำราพิชัยสงคราม ตลอดบทละคร มีการใส่เพลงหน้าพาทย์ ใช้สำนวนที่กระชับชัดเจน สื่อให้เห็นพระอัจฉริยะภาพในการแต่งพระราชนิพนธ์ของพระองค์

แม้ว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จะทรงกรำศึกสงครามทั้งภายในและภายนอกพระราชอาณาจักรพระองค์ยังทรงเพียรแต่งบทละครไปด้วยในช่วงเวลาเดียวกัน หรืออาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นทั้งนักรบและศิลปิน บทละครเรื่องรามเกียรติ์ทั้ง 5 ตอนถือเป็นวรรณคดีล้ำค่าในสมัยกรุงธนบุรี อีกยังถือเป็นรากฐานให้กัับรามเกียรติ์ในสมัยรัตนโกสินทร์สืบมา

อ้างอิง

เรไร ไพรวรรณ์. (2559). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกท้าวสัทธาสูรและวิรุญจำบัง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.

สภาพทางสังคมและวิถีชีวิตสมัยธนบุรีเป็นอย่างไร

วิถีชีวิตของคนไทยสมัยต่าง ๆ
วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย  คือ  การเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ทุกคนอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนในระดับครอบครัว  เป็นครอบครัวขยายที่มีคนหลายรุ่นอาศัยอยู่รวมกัน  คือ  รุ่นปู่ย่าตายาย  รุ่นพ่อแม่  รุ่นลูก  รุ่นหลาน  รวมทั้งมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ใกล้ชิดกัน โดยมีศูนย์กลางของชุมชน  คือ  ศาสนสถาน  เช่น  วัด  มัสยิด  ผู้ใหญ่ในชุมชน  เช่น  พระ  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้เฒ่าผู้แก่  ได้รับการนับถือและเป็นผู้ตัดสินความขัดแย้งในชุมชน  มีขนบธรรมเนียมประเพณี  การละเล่น  และความเชื่ออันเนื่องมาจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม  จากการนับถือศาสนาและความเชื่อดั้งเดิมเรื่องการนับถือผีสางเทวดา
          เมื่อเวลาผ่านไป  สังคมมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น  ความคิด  ค่านิยม  อุดมการณ์  การเมืองการปกครอง  และบรรทัดฐานทางสังคม  ซึ่งมีผลให้วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน

1.  วิถีชีวิตของคนไทยสมัยสุโขทัย
          วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยสมัยสุโขทัยสามารถสรุปออกเป็นด้าน ๆ ได้ดังนี้
1)  ด้านการเมืองการปกครอง  ในระยะแรกผู้ปกครองสุโขทัยมีความใกล้ชิดกับประชาชน  เปรียบเสมือนกับพ่อปกครองลูก  ต่อมาผู้ปกครองได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปกครอง  ทำให้ผู้ปกครองทรงเป็นธรรมราชา  ปกครองโดยทศพิธราชธรรม
2)  ด้านเศรษฐกิจ  ชาวสุโขทัยมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ  อาชีพที่ทำ  เช่น  เกษตรกรรม  หัตถกรรม  ค้าขาย  มีการใช้เงินพดด้วงและเบี้ยเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  สังคมในสมัยสุโขทัยมีขนาดไม่ใหญ่มาก  สังคมไม่ซับซ้อนเพราะประชากรมีจำนวนน้อย  ชนชั้นในสังคมแบ่งออกเป็นชนชั้นผู้ปกครอง  ได้แก่  พระมหากษัตริย์  ขุนนางและผู้ถูกปกครอง  ได้แก่  ราษฎร  ทาส  และพระสงฆ์  ชาวสุโขทัยมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก  ดังจะเห็นได้จากการฟังธรรมในวันพระ  มีการสร้างวัด  พระพุทธรูปจำนวนมาก  และมีการแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา  คือ  ไตรภูมิพระร่วง

2.  วิถีชีวิตของคนไทยสมัยอยุธยา  ธนบุรี  และรัตนโกสินทร์ตอนต้น
          วิถีชีวิตของคนไทยในสามช่วงเวลานี้กล่าวได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันและไม่มี ความแตกต่างกันมากนัก  การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยที่เห็นได้ชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับ ปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา
สำหรับวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยอยุธยา  ธนบุรี  และรัตนโกสินทร์ตอนต้นสรุปได้ดังนี้
 1)  ด้านการเมืองการปกครอง  ในสมัยอยุธยาได้รับคติการปกครองแบบสมมติเทพมาจากเขมรที่ผู้ปกครองเปรียบดัง เทพเจ้า  จึงมีข้อปฏิบัติตามกฏมณเฑียรบาลที่ทำให้ผู้ปกครองมีความแตกต่างจากประชาชน  เช่น  การใช้ราชาศัพท์  การมีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  เป็นต้น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับราษฎรจึงห่างเหินกัน  อย่างไรก็ตาม  ผู้ปกครองก็เป็นธรรมราชาด้วยเช่นกัน  สำหรับประชาชนถูกควบคุมด้วยระบบไพร่  ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้กับทางราชการ
2)  ด้านเศรษฐกิจ  เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองและยังชีพอยู่ได้  ราษฎรสามารถผลิตสิ่งของที่จำเป็นในชีวิตประจำวันใช้เองในครัวเรือน  การค้าขยายตัวไม่มากเพราะถูกผูกขาดโดยพระคลังสินค้า  สินค้าของตะวันตกส่วนใหญ่ขายได้เฉพาะสินค้าบางประเภท  เช่น  อาวุธปืน  กระสุนปืน  และสินค้าฟุ่มเฟือยที่ใช้ในราชสำนักหรือสำหรับกลุ่มที่มีฐานะ  การติดต่อค้าขายกับภายนอกมากขึ้น  ทำให้มีการจัดระเบียบหน่วยงานต่าง ๆ ชัดเจน  เช่น  มีกรมท่าและพระคลังสินค้าดูแลการติดต่อและการค้ากับต่างประเทศ  การจัดระบบภาษีอาการและระบบเงินตรา
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  จากการติดต่อกับชุมชนภายนอก  ไม่ว่าทางการค้า  การทำสงคราม  รวมถึงมีชาวต่างชาติเข้ามารับราชการในราชสำนัก  ทำให้สังคมไทยสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีจากเขมร  อินเดีย  มอญ  จีน ญี่ปุ่น  เปอร์เซีย  อาหรับ  ยุโรป  เช่น  การกำหนดชนชั้นของคนในสังคม  กฎหมาย  ประเพณี  พระราชพิธีและธรรมเนียมในราชสำนัก  วิถีการดำเนินชีวิตต่าง ๆ เช่น  การดื่มชา  การใช้เครื่องถ้วยชาม  เครื่องเคลือบ  การปรุงอาหาร  และขนมหวาน
สำหรับพระพุทธศาสนายังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยนี้เช่นเดียว กับสมัยสุโขทัย  โดยประชาชนมีประเพณีในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  เช่น  การเกิด  การอุปสมบท  การแต่งงาน  การตาย  และประเพณีเกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม  เช่น  การทำขวัญแม่โพสพ  ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคม  ดังจะเห็นได้จากการมีการมัสยิดและโบสถ์คริสต์  ทั้งที่กรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานคร  และยังมีการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม  วรรณกรรม ประเพณี  เพื่อความสำคัญของพระพุทธศาสนาและความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์

3.  วิถีชีวิตของคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
          ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา  สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมากจากการรับ วัฒนธรรมของชาติตะวันตก  สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการที่ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับประเทศ อังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2398  และทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกอื่น ๆ ทำให้มีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระยะแรก  ได้แก่  ผู้ปกครองและชนชั้นสูง  เช่น  เจ้านาย  ขุนนาง  ต่อมาชนชั้นกลางได้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย
1)  ด้านการเมืองการปกครอง  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใกล้ชิดกับราษฎรมากขึ้น  เช่น  เสด็จประพาสหัวเมืองบ่อยครั้ง  อนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้า ฯ  ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินได้  ให้ราษฎรมองพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดินและถวายฎีกาแก่พระองค์ได้โดยตรง  ตลอดจนมีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน  แบ่งงานออกเป็นกระทรวง  กรม  ทำให้การฝึกคนเข้ารับราชการมากขึ้น
2)  ด้านเศรษฐกิจ  ข้าวกลายเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของไทย  มีการบุกเบิกที่ดินเพื่อใช้ปลูกข้าว  เช่น  บริเวณรังสิต  ปรับปรุงระบบชลประทาน  การขุดคูคลอง  และการตั้งโรงสีข้าว  โดยชาวจีนเป็นผู้ค้าข้าวในประเทศและเป็นเจ้าของโรงสี  ส่วนชาวยุโรปเป็นผู้ส่งออก
ต่อมาไทยผลิตสินค้าออกที่มีความสำคัญอีก 3 ประการ  คือ  ดีบุก  ไม้สัก  และยางพารา  การเติบโตของการส่งออกดีบุก  ทำให้มีชาวจีนอพยพเข้ามาเป็นแรงงานและอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของไทยมากขึ้น  เช่น  ที่ภูเก็ต
การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจทำให้การค้าขยายไปทั่วประเทศ  เมืองขยายตัว  เกิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคม  พ่อค้าเร่ชาวจีนบรรทุกสินค้าไปขายยังหัวเมืองต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวจีนอพยพจากรุงเทพมหานครไปอาศัยอยู่ตามชุมชนเมืองในหัวเมือง  ซึ่งพัฒนาเป็นชุมชนการค้าของเมืองนั้น ๆ และตั้งรกรากมาจนถึงปัจจุบัน
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากการปรับปรุงประเทศให้เข้าสู่ความ ทันสมัยแบบตะวันตก  เช่น  ราษฎรไทยได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสและไพร่  มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพ  ได้รับการรักษาโรคด้วยวิชาการแพทย์แผนใหม่  สามัญชนมีโอกาสได้เล่าเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย  เข้าทำงานในกระทรวงต่าง ๆ อ่านหนังสือพิมพ์  ใช้รถไฟ  รถยนต์  ไปรษณีย์โทรเลข  โทรศัพท์  ไฟฟ้า  น้ำประปา  มีถนนหนทางใหม่ ๆ เพื่อใช้เดินทาง  ทำให้ชีวิตของคนไทยสะดวกสบายมากขึ้น
นอกจากนี้  ชาวไทยทั้งหญิงและชายเริ่มแต่งกายให้เป็นแบบสากลนิยม  รับประทานกาแฟ  นม  ขนมปัง  เป็นอาหารเช้าแทนข้าว  ใช้ช้อนส้อม  นั่งโต๊ะเก้าอี้  มีโอกาสเดินทางไปศึกษาที่ต่างประเทศ  รู้จักเล่นกีฬาแบบตะวันตก  สร้างพระราชวัง สร้างบ้านแบบตะวันตก  นิยมมีบ้านพักตากอากาศในต่างจังหวัด  ในสมัยรัชกาลที่ 6  คนไทยเริ่มมีคำนำหน้าชื่อบุรุษ  สตรี  เด็ก  เป็นนาย  นางสาว  นาง  เด็กชาย  เด็กหญิง  ตามลำดับ  มีนามสกุลเป็นของตัวเอง  ผู้หญิงเริ่มไว้ผมยาวและนุ่งผ้าซิ่น  มีการใช้ธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติไทย  เป็นต้น

4.  วิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  มีผลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่าง ๆ หลายประการ  ดังนี้
1)  ด้านการเมืองการปกครอง  ในสมัย พ.ศ. 2475  มีการเปลี่ยนแปลงระบอบใน พ.ศ. 2475  มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย  เกิดองค์กรการเมืองต่าง ๆ เช่น  พรรคการเมือง  คณะรัฐมนตรี  รัฐสภา  ประชาชนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง  มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง  แต่บางสมัยถูกปกครองโดยเผด็จการที่ยกเลิกรัฐธรรมนูญ  มีการควบคุมสิทธิทางการเมืองของประชาชน
 2)  ด้านเศรษฐกิจ  ตั้งแต่ พ.ศ. 2504  มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยหลายอย่าง  เช่น  เกิดโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก  คนในชนบทอพยพมาทำงานโรงงานมากขึ้น  เกิดปัญหาความยากจนและช่องว่างทางเศรษฐกิจระกว่างภาคเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม
ในทศวรรษ 2530  รัฐบาลมุ่งพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่  แต่เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540  ทำให้ธุรกิจจำนวนมากล้มละลาย  คนตกงานจำนวนมาก  รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดความ ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  สามารถแบ่งได้เป็นช่วง ๆ ดังนี้
 3.1)  สมัยการสร้างชาติ  ตรงกับสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามสมัยแรก (พ.ศ. 2481 - 2487)  ได้สร้างกระแสชาตินิยมและความเป็นไทยด้วยการออกรัฐนิยมหลายฉบับ  เช่น  เปลี่ยนชื่อประเทศ  ชื่อสัญชาติ  ชื่อคนสยาม  เป็นประเทศไทย  สัญชาติไทย  คนไทย  มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน  ทั้งหญิงและชายต้องสวมรองเท้า  สวมหมวก  ห้ามรับประทานหมากพลู  ต้องใช้คำสรรพนามแทนตนเองว่า  "ฉัน"  และเรียกคนที่พูดด้วยว่า  "ท่าน"  เป็นต้น  แต่ภายหลังวัฒนธรรมเหล่านี้ก็ถูกยกเลิกไป
3.2)  สมัยการฟื้นฟูพระราชประเพณี  ตรงกับสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  (พ.ศ. 2501 - 2506)  ในสมัยนี้มีการฟื้นฟูความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์  และฟื้นฟูพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น  เปลี่ยนวันชาติจากวันที่ 24  มิถุนายน ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย  มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม  ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา  จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาอย่างยิ่งใหญ่  จัดงานพระราชพิธีวันฉัตรมงคล  และมีพิธีต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญแก่สถาบันพระมหากษัตริย์  เช่น  พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์  พิธีที่ทำคุณประโยชน์ด้านต่าง ๆ ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทาง ชลมารค  สนับสนุนการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างจังหวัดในท้องถิ่นทุรกันดารทั่ว ประเทศ  มีการสร้างพระตำหนักในภูมิภาคต่าง ๆ ส่งเสริมโครงการหลวง  โครงการพระราชดำริต่าง ๆ ออกข่าวพระราชสำนักผ่านโทรทัศน์และวิทยุเป็นประจำทุกวัน  จะเห็นว่าการฟื้นฟูพระราชพิธี  การสร้างธรรมเนียมต่าง ๆ เกี่ยวกับราชสำนักในสมัยจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ได้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
3.3)  สมัยการฟื้นฟูวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว  ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ได้ตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.)  ปัจจุบันคือ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  องค์กรนี้ได้เข้าไปส่งเสริม  ฟื้นฟู  และสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นในที่ต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว  ทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างได้รับการฟื้นฟูสืบทอด  และประเพณีบางอย่างได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่  เช่น  การจัดงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  เป็นต้น
 3.4)  สมัยการพัฒนาทางเศรษฐกิจถึงปัจจุบัน  สมัยนี้ได้มีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1  เมื่อ พ.ศ. 2504  ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  โดยเกิดจากหลายปัจจัย  เช่น  การพัฒนาทางการศึกษา  ทำให้อัตราผู้รู้หนังสือมากขึ้น  จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและจำนวนมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น  คนไทยนิยมไปเรียนต่อต่างประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ประกอบกับในช่วงนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา  ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกแพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยมากขึ้น
ในด้านครอบครัว  ครอบครัวมีขนาดเล็ก  โดยมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว  สังคมแบบเครือญาติหรือสังคมชนบทของไทยเปลี่ยนไป  วางแผนครอบครัวและความเจริญทางการแพทย์  ทำให้ประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนมากขึ้น  ขณะที่ประชากรวัยเด็กลดลงความสัมพันธ์แบบเครือญาติลดลง  ผู้หญิงไทยออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น  และเกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา  เช่น  ปัญหาเด็กเร่ร่อน  ปัญหาสิ่งเสพติด  ปัญหาอาชญากรรม  เป็นต้น

สภาพทางสังคมและวิถีชีวิตสมัยธนบุรีเป็นอย่างไร

https://sites.google.com/site/nichanunmoonlak/withi-chiwit-thiy

สภาพทางสังคมและวิถีชีวิตสมัยธนบุรีเป็นอย่างไร
 

สภาพสังคมในสมัยธนบุรีตอนต้นมีลักษณะอย่างไร

1. พระมหากษัตริย์ มีศักดินา 100000 ไร่ 2. พระบรมวงศานุวงศ์มีศักดินา 10000 ไร่ 3. ขุนนาง มีศักดินา 1000 ไร่ 4. ไพร่เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม มีศักดินา 25ไร่ 5. ทาส มีศักดินา 5 ไร่ สภาพสังคมสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือ มีการแบ่งชนชั้นศักดินาออกเป็น - ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก

สังคมสมัยธนบุรีมีลักษณะอย่างไร

สังคมสมัยธนบุรีคล้ายกับสังคมอยุธยา คือ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยกลุ่มคน คือ กลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนาง กลุ่มชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาส กลุ่มชนชั้นพิเศษ ได้แก่ นักบวช เช่น พระสงฆ์ และพราหมณ์

การ ดํา รง ชีวิต สมัย ธนบุรี เป็น อย่างไร

ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในสมัยธนบุรี กล่าวได้ว่า มีการควบคุมกันอย่างเข้มงวด เพราะบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลา การเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการไพร่โดย การสักเลก อันเป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณนั้น ได้มีการกวดขันเป็นพิเศษในสมัยนี้ โดยเฉพาะการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็น ไพร่หลวง ทั้งนี้เพื่อป้องกัน ...

วัฒนธรรมสมัยธนบุรีมีอะไรบ้าง

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี.
ลิลิตเพชรมงกุฎ ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน).
อิเหนาคำฉันท์ ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน).
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอินท์.
โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ประพันธ์โดย นายสวนมหาดเล็ก.