ข้อใดคือลักษณะศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์

ลัทธิประทับใจ หรือ อิมเพรสชันนิซึม (impressionism) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโกลด มอแน ที่มีชื่อว่า Impression, Sunrise (“Impression, soleil levant” ในภาษาฝรั่งเศส) และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่าหลุยส์ เลอรัว (Louis Leroy) ก็ได้ให้กำเนิดคำคำนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เลอชารีวารี (Le Charivari) อิทธิพลของลัทธิประทับใจยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและวรรณกรรม

ลักษณะ

ลักษณะของภาพวาดแบบลัทธิประทับใจคือการใช้พู่กันตวัดสีอย่างเข้ม ๆ ใช้สีสว่าง ๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดา ๆ และมีมุมมองที่พิเศษ

จิตรกรแนวประทับใจได้ฉีกกรอบการวาดที่มาตั้งแต่อดีต พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นพวกขบถ พวกเขาได้วาดภาพจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบันให้ดูประหลาดและไม่สิ้นสุดสำหรับสาธารณชนที่มาดูงานของพวกเขานักวาดแนวนี้ปฏิเสธที่จะนำเสนอความงามในอุดมคติ และมองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งสามัญแทน พวกเขามักจะวาดภาพกลางแจ้ง มากกว่าในห้องสตูดิโอ อย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน เพื่อที่จะลอกเลียนแสงที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่าง ๆ

ภาพวาดแบบลัทธิประทับใจ ประกอบด้วยการตวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้น ๆ ของสีซึ่งไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนา ๆ ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่างจากนักเขียนยุคเก่าที่จะเน้นการผสมผสานสีอย่างกลมกลืนเพื่อให้ผู้อื่นคิดว่ากำลังมองภาพวาดบนแผ่นแฟรมให้น้อยที่สุด องค์ประกอบของลัทธิประทับใจยังถูกทำให้ง่ายและแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้าง ๆ มากกว่ารายละเอียด

ประวัติ

ในช่วงที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศสนั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ทรงบูรณะกรุงปารีสและทำสงคราม อากาเดมีเดโบซาร์ (Académie des Beaux–Arts) มีอิทธิพลต่อศิลปะของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ศิลปะในช่วงนั้นถือว่าเป็นออกไปทางอนุรักษนิยมซึ่งไม่ว่าจะคิดใหม่ทำใหม่อย่างไรก็ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสถาบัน จึงกล่าวได้ว่า สถาบันได้วางมาตรฐานให้กับการวาดภาพของฝรั่งเศส นอกจากจะกำหนดเนื้อหาของภาพวาดแล้ว (ยกย่องแนวศาสนาและประวัติศาสตร์รวมไปถึงภาพเหมือนของคน) สถาบันยังกำหนดเทคนิคที่ศิลปินต้องใช้ พวกเขายกย่องสีแบบทึบ ๆ ตามแบบเก่า ๆ ยิ่งสะท้อนภาพให้เหมือนกับความจริงเท่าไรยิ่งดี สถาบันยังสนับสนุนให้เหล่าจิตรกรลบร่องรอยการตระหวัดแปรง และที่สำคัญต้องแยกศิลปะออกจากบุคลิกภาพ อารมณ์ และเทคนิคการทำงานของตัวศิลปินเอง

ข้อใดคือลักษณะศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์

ในปี ค.ศ. 1863 คณะกรรมการได้ปฏิเสธผลงานที่ชื่อว่า “มื้อเที่ยงบนสนามหญ้า” (Le déjeuner sur l’herbe”) โดยเอดัวร์ มาแน เพราะว่ามันแสดงภาพผู้หญิงเปลือยนั่งอยู่ข้าง ๆ ผู้ชายใส่เสื้อผ้าสองคนขณะที่ทั้งสามกำลังไปปิกนิกกัน ตามความเห็นของคณะกรรมการ ภาพเปลือยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ในภาพวาดเชิงประวัติศาสตร์และเชิงสัญลักษณ์ แต่จะมาแสดงกันผ่านภาพธรรมดาดาด ๆ เช่นนี้ถือว่าต้องห้าม

เอดัวร์ มาแน (ไม่ใช่มอแน) อับอายยิ่งนักกับการที่พวกกรรมการปฏิเสธโดยใช้คำพูดแบบเจ็บแสบ ซึ่งทำให้บรรดาศิลปินฝรั่งเศสทั้งหลายเริ่มแสดงความไม่พอใจกันมาก ถึงแม้มาแนจะไม่ถือว่าตัวเองเป็นพวกลัทธิประทับใจ เขาก็เป็นคนเปิดอภิปรายในร้านกาแฟแกร์บัว (Guerbois) ที่ซึ่งกลุ่มศิลปินในลัทธิประทับใจมารวมตัวกันและมีอิทธิพลต่อการค้นหารูปแบบใหม่ของกลุ่มกลุ่มนั้น

ภายหลังจากที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ได้ทอดพระเนตรงานหลายชิ้นที่ถูกปฏิเสธ ก็ทรงออกกฎหมายว่าสาธารณชนมีสิทธิ์ในการตัดสินงานศิลปะด้วยตัวเอง และงานแสดงภาพที่ถูกปฏิเสธ (Salon des refusés) ก็ถูกจัดขึ้น แต่ถูกนักวิจารณ์ศิลปะโจมตีอย่างมากเป็นเวลาหลายปี และในปี ค.ศ. 1874 นั่นเอง บรรดาศิลปินในลัทธิประทับใจ (ถึงแม้จะไม่รู้จักว่าชื่ออะไรกันบ้าง) ก็ได้จัดงานแสดงภาพวาดของตัวเอง ภายหลังจากที่ไปร่วมงานแสดง นักวิจารณ์นามว่า หลุยส์ เลอรัว (นักแกะสลัก จิตรกร และนักเขียนบทละครที่มีชื่อเสียง) ได้เขียนบทวิจารณ์แบบเจ็บ ๆ แสบ ๆ ลงในหนังสือพิมพ์เลอชารีวารี โดยเน้นการโจมตีไปที่ภาพวาดโดยจิตรกรที่ไม่มีชื่อเสียงในขณะนั้น และตั้งชื่อบทความนั้นว่า “การแสดงภาพวาดของจิตรกรลัทธิประทับใจ” เลอรัวประกาศว่า ภาพวาดที่ชื่อว่า Impression, Sunrise ของมอแนนั้นอย่างมากสุดก็เป็นแค่ภาพร่างแบบลวก ๆ จะให้เรียกว่าเป็นผลงานที่สมบูรณ์แล้วก็อย่าหวังเลย

ถึงแม้คำว่าลัทธิประทับใจจะเป็นคำเสียดสีของนักเขียนท่านนี้ แต่พวกศิลปินกลับชื่นชอบมันและเห็นว่าเป็นคำเรียกแบบให้เกียรติกัน ถึงแม้รูปแบบและมาตรฐานของแต่ละคนจะแตกต่างแปรเปลี่ยนไปแต่สิ่งที่ร้อยรัดพวกเขาให้เป็นหนึ่งเดียวคือจิตวิญญาณแห่งความเป็นขบถและความเป็นตัวของตัวเองถึงแม้ในอดีต การวาดภาพจะถูกมองอยู่เสมอว่านำเสนอสิ่งต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์และทางศาสนาในลักษณะที่เป็นทางการ แต่ความจริงศิลปินหลายท่านก็วาดภาพถึงสิ่งที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน จิตรกรชาวดัตช์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างเช่นยัน สเตน มุ่งเน้นไปที่วัตถุธรรมดา แต่ว่างานของพวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการจัดองค์ประกอบภาพแบบเก่า ๆ ในการจัดวางฉาก เมื่อศิลปะในลัทธิประทับใจเกิดขึ้น พวกศิลปินก็สนใจในการวาดภาพต่อสิ่งธรรมดาดาด ๆ และนิยมการเก็บภาพด้วยวิธีใหม่

ในช่วงนั้นภาพถ่ายก็กำลังเป็นที่นิยมและกล้องถ่ายรูปก็พกพาได้ง่ายขึ้น ส่วนภาพถ่ายก็ให้ความสมจริงขึ้นเรื่อย ๆ ภาพถ่ายก็เป็นแรงบันดาลใจให้พวกศิลปินในลัทธิประทับใจ บันทึกไม่ใช่เฉพาะแสงที่มาตกกระทบต่อภูมิประเทศเท่านั้นหากแต่เป็นชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ภาพถ่ายและภาพพิมพ์แบบญี่ปุ่น (Japonisme) ผสมผสานกันกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พวกศิลปินในลัทธิประทับใจ ค้นคิดวิธีแบบใหม่และใช้มุมมองของภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว

ภาพวาดของแอดการ์ เดอกา ที่ชื่อว่า “ชั้นเรียนเต้นรำ” (La classe de danse) แสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลทั้งสองด้าน หนึ่งในนั้นเป็นภาพนักเต้นรำกำลังจัดชุดของหล่อนและด้านล่างขวามือเป็นภาพของพื้นว่างเปล่า

ลัทธิประทับใจยุคหลัง

ลัทธิประทับใจยุคหลัง(post-impressionism) เป็นคำที่คิดขึ้นในปี ค.ศ. 1910 โดยรอเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ศิลปินและนักวิจารณ์ศิลปะชาวอังกฤษ เพื่อบรรยายศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นในฝรั่งเศสหลังสมัยเอดัวร์ มาแน จิตรกรลัทธิประทับใจยุคหลังยังคงสร้างงานศิลปะลัทธิประทับใจ แต่ไม่ยอมรับความจำกัดของศิลปะลัทธิประทับใจ จิตรกรสมัยหลังจะเลือกใช้สีจัด เขียนสีหนา ฝีแปรงที่เด่นชัดและวาดภาพจากของจริง และมักจะเน้นรูปทรงเชิงเรขาคณิตเพื่อจะบิดเบือนจากการแสดงออก นอกจากนั้นการใช้สีก็จะเป็นสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและจะขึ้นอยู่กับสีที่จิตรกรต้องการจะใช้

ข้อใดคือลักษณะศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์

ลักษณะทั่วไป

จิตรกรลัทธิประทับใจยุคหลังมีความไม่พึงพอใจต่อความจำกัดของหัวเรื่องที่วาดของศิลปะลัทธิประทับใจ และแนวความคิดของปรัชญาที่เริ่มจะสูญหายไปของขบวนการเขียนของลัทธิประทับใจ แต่จิตรกรกลุ่มนี้ก็มิได้มีความเห็นพ้องกันถึงทิศทางใหม่ที่ควรจะดำเนินต่อไปข้างหน้า ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอราและผู้ติดตามนิยมการเขียนโดยวิธีผสานจุดสี (pointillism) ซึ่งเป็นการเขียนที่ใช้จุดสีเล็ก ๆ ในการสร้างภาพเขียน ปอล เซซานพยายามสร้างกฎเกณฑ์และความมีระเบียบของศิลปะลัทธิประทับใจให้เป็นรูปเป็นทรงขึ้นเพื่อจะทำให้ “ศิลปะลัทธิประทับใจเป็นศิลปะที่มั่งคงและคงยืนตลอดไป เช่นเดียวกับศิลปะที่แสดงในพิพิธภัณฑ์” การสร้างกฎเกณฑ์การเขียนของเซซานทำด้วยการลดจำนวนสิ่งของในภาพลงไป จนเหลือแต่รูปทรงที่เป็นแก่นสำคัญแต่ยังเซซานยังคงรักษาความจัดของสีที่ใช้แบบศิลปะลัทธิประทับใจ กามีย์ ปีซาโร ทดลองการเขียนแบบใหม่โดยการวาดในลัทธิประทับใจใหม่ระหว่างกลางคริสต์ทศวรรษ 1880 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1890 เมื่อไม่พอใจที่ถูกเรียกว่าเป็นจิตรกรลัทธิประทับใจแบบจินตนิยม ปีซาโรก็หันไปหาการเขียนไปเป็นแบบผสานจุดสีซึ่งปีซาโรเรียกว่าเป็นศิลปะลัทธิประทับใจแบบวิทยาศาสตร์ ก่อนที่กลับไปเขียนภาพแบบลัทธิประทับใจแท้ตามเดิมในช่วงสิบปีสุดท้ายก่อนที่จะเสียชีวิตฟินเซนต์ ฟัน โคค ใช้สีเข้มสดและฝีแปรงที่ขดม้วนอย่างมีชีวิตจิตใจเพื่อสื่อความรู้สึกและสถานะภาพทางจิตใจของตนเอง แม้ว่าจิตรกรลัทธิประทับใจยุคหลังมักจะแสดงงานร่วมกันแต่ก็ยังไม่มีความคิดเห็นพ้องกันในแนวทางของขบวนการเขียน จิตรกรรุ่นเด็กกว่าระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1890 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขียนงานในบริเวณที่แตกต่างออกไปและในแนวการเขียนที่ต่างออกไปเช่นคติโฟวิสต์และลัทธิบาศกนิยม

ที่มาและความหมายของ “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง”

คำว่า “ลัทธิประทับใจยุคหลัง” เป็นคำที่เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1910 โดยรอเจอร์ ฟราย (ศิลปินและนักวิพากษ์ศิลป์ชาวอังกฤษ) สำหรับการแสดงงานศิลปะของจิตรกรฝรั่งเศสสมัยใหม่ที่จัดขึ้นในลอนดอน จิตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมอายุน้อยกว่าจิตรกรลัทธิประทับใจ ต่อมาฟรายให้คำอธิบายในการใช้คำว่า “ลัทธิประทับใจยุคหลัง” ว่าเป็นการใช้ “เพื่อความสะดวก ที่จำเป็นต้องตั้งชื่อให้ศิลปินกลุ่มนี้โดยใช้ชื่อที่มีความหมายกว้างที่ไม่บ่งเฉพาะเจาะจงถึงแนวเขียน ชื่อที่เลือกก็คือ “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง” เพื่อเป็นการแสดงการแยกตัวของศิลปินกลุ่มนี้แต่ยังแสดงความสัมพันธ์บางอย่างกับขบวนการลัทธิประทับใจเดิม”

ข้อใดคือลักษณะศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์

“ลัทธิประทับใจยุคหลัง” กระตุ้นอารมณ์ผ่านความรู้สึกลึก ๆ ภายในมากกว่าต้องการแสดงศักยภาพหรือความสามารถ กระแสศิลปะนี้หันไปตอบสนองความต้องการตามทัศนคติของตัวศิลปิน รับแรงบันดาลใจจากเรื่องของการค้นหาหมายของชีวิต และอุทิศผลงานเพื่อความผาสุกของเหล่ามวลมนุษย์ ศิลปินลัทธิประทับใจยุคหลังเชื่อว่า จิตวิญญาณกับธรรมชาติแยกออกจากกันแต่นำมาเชื่อมโยงกันผ่านการสังเคราะห์ด้วยการหลอมรวมจิตวิญญาณของศิลปินกับธรรมชาติ ผ่านผลงานไปสู่ผู้ชม ศิลปินเสนอภาพจากภายในไม่ใช่เพียงการลอกเลียนแบบความงามของธรรมชาติ แสดงเนื้อหาสำคัญอย่างนามธรรม ด้วยอารมณ์ที่เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับรูปแบบ รูปทรง หรือสีตามสิ่งที่ตาเห็น

จอห์น เรวอลด์ (John Rewald) ที่เป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะอาชีพคนแรกที่มีความสนใจในการกำเนิดของศิลปะสมัยใหม่ในระยะแรกที่จำกัดอยู่ในระยะเวลาของ “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง” ที่นิยมกันระหว่าง ค.ศ. 1886 ถึงค.ศ. 1892 ในหนังสือ “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง : จากฟัน โคค ถึงโกแก็ง” (ค.ศ. 1956) เรวอลด์เห็นว่าเป็นขบวนการที่ต่อเนื่องจากหนังสือที่เขียนก่อนหน้านั้น “ประวัติของศิลปะลัทธิประทับใจ” (ค.ศ. 1946) และให้ข้อสังเกตว่าเป็น “ฉบับที่อุทิศให้แก่สมัยหลังของศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง”—”ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง : จากโกแก็งถึงมาติส” เป็นเล่มที่ตามมาแต่เล่มนี้รวมศิลปะแนวอื่นที่แตกหน่อมาจากศิลปะลัทธิประทับใจด้วย” และจำกัดเวลาระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรวอลด์เน้นความสนใจกับการวิวัฒนาการของศิลปินลัทธิประทับใจยุคหลังในระยะแรกในฝรั่งเศส : ฟินเซนต์ ฟัน โคค, ปอล โกแก็ง, ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา, ออดีลง เรอดง (Odilon Redon) และความสัมพันธ์ต่อกันในกลุ่ม และรวมถึงกลุ่มศิลปินอื่นที่ศิลปินกลุ่มนี้ให้ความสนใจหรือต่อต้าน :

  • ลัทธิประทับใจใหม่ (neo-impressionism) เยาะหยันโดยนักวิจารณ์ศิลปะร่วมสมัยและจิตรกรผสานจุดสี; ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา และปอล ซีญัก (Paul Signac) จะพอใจมากกว่าถ้าจะใช้คำอื่นแทนเช่นวิภาคนิยม หรือ “จุดสีเรือง” (Chromoluminarism) เป็นต้น
  • คตินิยมเส้นกั้นสี (cloisonnism) เป็นขบวนการที่เขียนกันอยู่ไม่นานนักที่เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1888 โดยนักวิจารณ์ศิลปะเอดัวร์ ดูว์ฌาร์แด็ง (Édouard Dujardin) เพื่อเป็นการเผยแพร่งานของหลุยส์ อ็องเกอแต็ง (Louis Anquetin) ที่ต่อมารวมทั้งงานของจิตรกรร่วมสมัยของเอมีล แบร์นาร์ (Émile Bernard) ด้วย
  • ลัทธิสังเคราะห์นิยม (synthetism) เป็นขบวนการอายุสั้นอีกขบวนการหนึ่ง ใช้ในปี ค.ศ. 1889 เพื่อแยกงานของโกแก็งและแบร์นาร์จากงานของผู้ที่เขียนแบบลัทธิประทับใจที่มีแนวโน้มไปทางแบบเดิมที่แสดงงานที่ The Volpini Exhibition ในปี ค.ศ. 1889
  • กลุ่มปงตาแวน (Pont-Aven School) ที่หมายถึงเพียงกลุ่มศิลปินที่ทำงานในบริเวณปงตาแวนหรือในบริเวณอื่นในแคว้นเบรอตาญ
  • ลัทธิสัญลักษณ์นิยม (symbolism) เป็นคำที่เป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดีในบรรดานักวิจารณ์ศิลปะใน ค.ศ. 1891 เมื่อโกแก็งทิ้งสังเคราะห์นิยมทันทีที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำของสัญลักษณ์นิยมในสร้างงานจิตรกรรม

นอกจากนั้นในบทนำใน “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง” เรวอลด์เกริ่นเนื้อหาที่จะเขียนในเล่มสองที่จะรวมอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก, อ็องรี รูโซ, กลุ่มนาบี, ปอล เซซาน และคติโฟวิสต์, ปาโบล ปีกัสโซ และการเดินทางครั้งสุดท้ายของโกแก็งไปทะเลใต้; ที่จะมีเนื้อครอบคลุมอย่างน้อยจนถึงคริสต์ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่เรวอลด์ไม่มีโอกาสเขียนเล่มสองเสร็จ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดกระแสลัทธิประทับใจยุคหลัง

  • การเมือง ลัทธิชาตินิยม ตามมาซึ่งความต้องการแผ่อำนาจและยึดครองรัฐต่าง ๆ, สังคมนิยม
  • สังคม เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนมองโลกในแง่ร้าย เกิดปัญหาเรื่องระดับทางสังคม ในระบบทุนนิยม คนชนชั้นแรงงานถูกกดขี่
  • ปรัชญาและความเชื่อแนวใหม่ ปรัชญาของมากซ์และเอ็งเงิลส์, อนาธิปไตย (anarchy) ความคิดและความเชื่อที่รุนแรงเกิดจากความกดดัน, ทฤษฎีแห่งปรัชญาที่ว่าคนนั้นเป็นอิสระ (Existentialism) การค้นพบทฤษฎีเรื่องจิตวิเคราะห์ของซีคมุนท์ ฟร็อยท์, ศาสตร์แห่งการใช้การสังเคราะห์ (synthesism)
  • วิทยาศาสตร์ การค้นพบเรื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของดอลตัน, ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน

การจัดช่วงเวลา

 

เรวอลด์กล่าวว่าคำว่า “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง” เป็นคำที่ตั้งขึ้นเพื่อความสะดวกและมิได้มีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงลักษณะการเขียนแต่อย่างใด และเป็นคำที่ใช้ที่จำกัดเฉพาะทัศนศิลป์ของฝรั่งเศสที่วิวัฒนาการมาจากศิลปะลัทธิประทับใจตั้งแต่ ค.ศ. 1886 วิธีเขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลังของเรวอลด์เป็นการเขียนตามที่เกิดขึ้นมิใช่เป็นการวิจัยลักษณะของศิลปะ เรวอลด์ทิ้งไวให้ศิลปะเป็นเครื่องตัดสินตัวเองในอนาคต คำอื่นเช่น นวยุคนิยม (modernism) หรือลัทธิสัญลักษณ์นิยมก็เป็นคำที่ยากที่จะใช้เพราะเป็นคำที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับศิลปะแต่ครอบคลุมสาขาวิชาอื่นด้วยเช่นวรรณกรรมหรือสถาปัตยกรรมและเป็นคำที่ขยายออกไปใช้ในหลายประเทศ

  • นวยุคนิยม เป็นคำที่หมายถึงขบวนการทางศิลปะนานาชาติที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันตกที่เริ่มมาจากฝรั่งเศสและถอยหลังไปถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสจนถึงยุคภูมิปัญญา
  • ลัทธิสัญลักษณ์นิยม เป็นขบวนการที่เริ่มร้อยปีต่อมาในฝรั่งเศสและเป็นนัยว่าเป็นแนวที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล จิตรกรต่างก็ใช้สัญลักษณ์ในการเขียนไม่ว่าอย่างใดก็อย่างหนึ่งมากบ้างน้อยบ้าง

แอลัน โบว์เนสส์ (Alan Bowness) ยืดเวลา “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง” ไปจนถึง ค.ศ. 1914 แต่จำกัดการเขียนในฝรั่งเศสลงไปอย่างมากในคริสต์ทศวรรษ 1890 ประเทศยุโรปอื่น ๆ ใช้มาตรฐานของ “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง” ส่วนศิลปะของยุโรปตะวันออกไม่รวมอยู่ในกลุ่มนี้

แม้ว่า “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง” จะแยกจาก “ศิลปะลัทธิประทับใจ” ใน ค.ศ. 1886 แต่จุดจบของ “ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง” ยังไม่เป็นที่ตกลงกัน สำหรับโบว์เนสส์และเรวอลด์แล้ว ลัทธิบาศกนิยม (cubism) เป็นการเริ่มยุคใหม่ ฉะนั้นบาศกนิยมจึงถือว่าเป็นการเริ่มยุคการเขียนใหม่ในฝรั่งเศสตั้งแต่ต้นและต่อมาในประเทศอื่น ขณะเดียวกันศิลปินยุโรปตะวันออกไม่คำนึงถึงการแบ่งแยกตระกูลการเขียนที่ใช้ในศิลปะตะวันตกก็ยังเขียนตามแบบที่เรียกว่าจิตรกรรมนามธรรมและอนุตรนิยม (suprematism) ซึ่งเป็นคำที่ใช้ต่อมาจนในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ศิลปินสำคัญ

  • ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา
  • ฟินเซนต์ ฟัน โคค
  • เออแฌน อ็องรี ปอล โกแก็ง
  • อ็องรี รูโซ
  • อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก
  • หลุยส์ อ็องเกอแต็ง (Louis Anquetin)
  • ปาโบล ปีกัสโซ
  • อ็องรี มาติส
  • วาซีลี คันดินสกี

ลัทธิประทับใจใหม่

ลัทธิประทับใจใหม่(neo-impressionism) เป็นคำที่เริ่มใช้โดยนักวิพากษ์ศิลปะชาวฝรั่งเศสชื่อเฟลิกซ์ เฟเนอง ในปี ค.ศ

ข้อใดคือลักษณะศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์
. 1886 ในการบรรยายขบวนการทางศิลปะที่ก่อตั้งขึ้นโดยฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา (Georges Seurat) งานชิ้นเอกของเซอรา “บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต” เป็นงานชิ้นแรกที่เป็นการเริ่มขบวนการของแนวคิดทางศิลปะดังว่าเมื่อตั้งแสดงเป็นครั้งแรกในนิทรรศการแสดงศิลปะของสมาคมศิลปินอิสระแห่งปารีสในช่วงเดียวกันนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของยุคใหม่ของฝรั่งเศสที่จิตรกรหลายคนพยายามแสวงหาวิธีใหม่ในการแสดงออก ผู้ที่ดำเนินตามลัทธิประทับใจใหม่โดยเฉพาะจะนิยมวาดภาพฉากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง และภูมิทัศน์และทิวทัศน์ทะเล จิตรกรลัทธิประทับใจใหม่จะใช้การตีความหมายของเส้นและลายเชิงวิทยาศาสตร์ในการเขียนภาพจิตรกรกลุ่มนี้มักจะกล่าวถึงเทคนิคการผสานจุดสีเพราะเป็นลักษณะการเขียนภาพในช่วงแรกของลัทธิประทับใจใหม่

แสงและสี

ในช่วงแรกของลัทธิประทับใจใหม่ ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา และผู้ติดตามพยายามพัฒนาลักษณะการเขียนที่มาจากแรงกระตุ้นของอารมณ์ (impulsive) และจากสัญชาตญาณ (intuitive) ของศิลปินลัทธิประทับใจ ศิลปินลัทธิประทับใจใหม่จะใช้การประจุดเพื่อที่จะแสดงถึงความมีระเบียบและความยั่งยืนในการวาดภาพ (organization and permanence) เซอราพยายามเพิ่มการสร้างเอกลักษณ์ของขบวนการโดยการพยายามให้คำอธิบายถึงทัศนมิติในเรื่องของแสงและสายตา

ที่มา : ลัทธิประทับใจ , ลัทธิประทับใจยุคหลัง , ลัทธิประทับใจใหม่ (19/01/2017)

ข้อใดคือ ลักษณะ ของศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์

ลักษณะ ลักษณะของภาพวาดแบบลัทธิประทับใจคือการใช้พู่กันตวัดสีอย่างเข้ม ๆ ใช้สีสว่าง ๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดา ๆ และมีมุมมองที่พิเศษ

อิมเพรสชันนิสต์" คือชื่อของอะไร

ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) หรือลัทธิประทับใจ เป็น Art Movement ในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเกิดจากการรวตัวกันของศิลปินในกรุงปารีสที่เริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงปี 1860 ก่อนที่อิทธิพลของอิมเพรสชันนิสม์จะแผ่จากวงการศิลปะไปยังแวดวงดนตรีและวรรณกรร

ลัทธิ โพสอิมเพรสชั่นนิสม์ (Post

"ลัทธิประทับใจยุคหลัง" กระตุ้นอารมณ์ผ่านความรู้สึกลึก ๆ ภายในมากกว่าต้องการแสดงศักยภาพหรือความสามารถ กระแสศิลปะนี้หันไปตอบสนองความต้องการตามทัศนคติของตัวศิลปิน รับแรงบันดาลใจจากเรื่องของการค้นหาหมายของชีวิต และอุทิศผลงานเพื่อความผาสุกของเหล่ามวลมนุษย์ ศิลปินลัทธิประทับใจยุคหลังเชื่อว่า จิตวิญญาณกับธรรมชาติแยกออกจากกัน ...

ศิลปินท่านใด เป็นผู้ริเริ่มศิลปะลัทธิประทับใจ

โกลด มอแน หรือ อ็อสการ์-โกลด มอแน เป็นจิตรกรลัทธิประทับใจ และเป็นจิตรกรคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีความสำคัญในการเป็นผู้ริเริ่มศิลปะในลัทธิประทับใจและมีบทบาทสำคัญในปรัชญาและการปฏิบัติของขบวนการนี้ ซึ่งเป็นการวาดภาพจากความประทับใจในสิ่งที่เห็นของผู้วาด แทนที่จะพยายามทำให้เหมือนจริงตามธรรมชาติ ...