Cause and Effect Diagram มีความสำคัญอย่างไร

ศาสตร์ว่าด้วยการควบคุมคุณภาพ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมได้เท่าเทียมมหาอำนาจผู้ชนะในสงครามโลกครั้งสองอย่างอังกฤษ–สหรัฐ ได้อย่างไร้ข้อสงสัยมานาน ในวงการวิศวกรรมอุตสาหกรรมทั่วโลกต่างก็ได้เรียนรู้ และ ได้เลียนแบบการทำอุตสาหกรรมแบบญี่ปุ่นกันหมดในท้ายที่สุด โดยหลักสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นจิตวิญญาณของอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ที่ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วก็คือ Quality Control หรือ QC โดยมีแนวทางของ Professor Kaoru Ishikawa จาก University of Tokyo ซึ่งมีชื่อเสียงจากการพัฒนาเครื่องมือจัดการองค์กรอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ยุค 1960s โดยเฉพาะ หลักการ QC หรือ Quality Control Circle และ Ishikawa Diagram หรือ แผนภูมิก้างปลา ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ดีที่สุดตัวหนึ่งในโลกธุรกิจและอุตสาหกรรม

ประเด็นก็คือ… ในการวิเคราะห์ขบวนการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าคุณภาพสูง ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องพัฒนา “วงจรควบคุมคุณภาพ หรือ Quality Control Circle” โดยต้องวิเคราะห์ละเอียดก่อนจะสร้างวงจรควบคุมคุณภาพขึ้นและนำใช้ในขั้นตอนต่างๆ ที่ออกแบบไว้ ซึ่ง Ishikawa Diagram หรือ Fishbone Diagram หรือ แผนภูมิก้างปลา นี่เองที่สามารถแจกแจงแบ่งแยกรายละเอียดจนเห็นภาพขบวนการผลิตทั้งหมด และ เห็นที่มาที่ไปของตัวแปรทุกรายละเอียดในระบบอย่างชัดเจน

แผนภูมิก้างปลา จึงเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว และ ยังคงสำคัญกับทุกธุรกิจอุตสาหกรรมอยู่จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะมีแผนภูมิแบบอื่นที่ดูเหมือนจะใช้งานแทนกันได้อย่าง Mind Map และ Tree Map… แต่แผนภูมิก้างปลาก็ยังคงชัดเจนและเรียบง่ายจากแบบแผนในการเขียนและการอ่านเหนือกว่าอยู่ดี… แผนภูมิก้างปลาจึงยังคงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในการใช้แจงรายละเอียดเชิงวิเคราะห์ ทั้งในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมเช่นเดิม

โดยเฉพาะการนำแผนภูมิก้างปลามาปรับใช้เป็นเครื่องมือทางเทคนิค สำหรับวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกการ “เตรียมรับมือปัญหา” เพื่อสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยข้อมูลและความหมายของข้อมูลที่เข้าใจได้ตรงกัน

Fishbone Diagram หรือ แผนภูมิก้างปลา จึงเป็นเครื่องมือหลักในการใช้ค้นหาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นความบกพร่อง และหรือ เป็นความล้มเหลวในกระบวนการต่างๆ โดยรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในระบบ จะถูกแสดงรายละเอียดทุกปัจจัยและตัวแปร… ซึ่งจะเห็นที่มาที่ไปทั้งหมดอย่างง่ายดาย

Cause and Effect Diagram มีความสำคัญอย่างไร
ตัวอย่างการใช้แผนภูมิก้างปลาจาก MindTools.com 
Cause and Effect Diagram มีความสำคัญอย่างไร
ตัวอย่างการใช้แผนภูมิก้างปลาจาก MindTools.com 

ถึงตรงนี้… สิ่งที่อยากจะบอกจริงๆ ไม่ใช่วิธีเขียนแผนภูมิก้างปลาหรอกครับ เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากที่จะเขียน และ ยังมีคำแนะนำดีๆ มากมาย รวมทั้งซอฟท์แวร์ช่วยเขียนก็มีให้ใช้ไม่น้อย… ซึ่งแผนภูมิก้างปลาจะเขียนออกมาได้ละเอียดดิบดีสวยงามแค่ไหนก็ตาม ตัวแผนภูมิก้างปลาก็ยังทำหน้าที่ได้ดีที่สุดเพียงแค่ระบุปัญหา หรือ ให้ข้อมูลที่อาจจะเกี่ยวกับปัญหาออกมาให้ได้เท่านั้น… การแก้ไขหรือการจัดการ รวมทั้งการวิเคราะห์ซ้ำให้เข้าถึงรากเหง้าปัญหา ก็ยังเป็นหน้าที่ของคนทำงานอยู่ดี

ที่สำคัญกว่านั้น… การทำแผนภูมิก้างปลามั่วๆ ตั้งแต่เริ่มแรกเพราะวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายปัญหาที่ต้องการจัดการไม่ชัดเจน ก็ไม่มีใครรับประกันได้หรอกครับว่า ข้อมูลที่เห็นหรือใส่ไว้นั้นจะช่วยแก้ปัญหาอะไรได้แค่ไหน หรือแย่กว่านั้นอาจจะเพิ่มปัญหาเป็นการถกเถียงขัดแย้ง และ ความคิดเห็นแตกแยกในทีมเพิ่มมาอีกหนึ่งประเด็นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้… ก็เคยเห็นมีมาแล้ว

นั่นแปลว่า… แนวคิด หรือ Concept ที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา สำคัญกว่าและมาก่อนการเลือกใช้เครื่องมือวิเคราะห์อย่างแผนภูมิก้างปลา หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้… โดยแนวคิดก่อนเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา จะมีขั้นตอนคร่าวๆ อยู่ 4 ขั้นตอนคือ…

  1. Identify The Problem หรือ ระบุปัญหาให้ชัด
  2. Work Out The Major Factors involved หรือ หาตัวแปรหลักของปัญหาให้พบ
  3. Identify Possible Causes หรือ ระบุสาเหตุที่เป็นไปได้
  4. Analyze Diagram หรือ วิเคราะห์ผังหรือแผนภูมิซ้ำ

ส่วนใครจะดึงแผนภูมิก้างปลามาใช้ในขั้นตอนไหน… ก็แล้วแต่ถนัด และ ได้โปรดอย่าลืมที่จะระดมสมองให้มาก โดยเฉพาะ “ในขั้นตอนระบุสาเหตุที่เป็นไปได้” ทั้งหมด ซึ่งประเด็นเหล่านั้นมีแนวโน้มจะเป็นงานสำคัญในการแก้ปัญหาต่อไปนั่นเอง

Keyword: ��ä����ҡ�ѭ��, ������������ҡ���˵� (RCA, Root Cause Analysis), Ἱ�ѧ���˵���м� (Cause & Effect Diagram), Ἱ�ѧ��ҧ��� (Fishbone Diagram, Ishikawa Diagram), ������ҧ������������ҡ���˵ش���Ἱ�ѧ���˵���м� (Cause and Effect Diagram), ������ҧ��ä����ҡ�ѭ�Ҵ���Ἱ�ѧ��ҧ���, ��þѲ�ҡ�кǹ��÷ӧҹ, ��èѴ��â�����, ��ú����÷�Ѿ�ҡ��آ�Ҿ, �ҹ�����÷�Ѿ�ҡ��آ�Ҿ, �����Ҫ, Utilization Management, Siriraj

                ข้อดีของเทคนิคนี้ คือ ทำให้เราสามารถรวบรวมความคิดจากหลายๆฝ่ายในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ และเป็นเหตุเป็นผล อย่างไรก็ตาม การจะทำได้แผนผังก้างปลาที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยทักษะของผู้นำการประชุมด้วย เพื่อให้ได้ความคิดที่ต่อยอดออกไปและเป็นประโยชน์กับการแก้ปัญหาได้มากที่สุด

แผนผังก้างปลา (Cause and Effect Diagram)

มิถุนายน 7, 2012 โดย sirichai

แผนผังก้างปลา

หรือเรียกเป็นทางการว่า  แผนผังสาเหตุและผล  (Cause and Effect Diagram)

Cause and Effect Diagram มีความสำคัญอย่างไร

       แผนผังสาเหตุและผลเป็นแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา (Problem) กับสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้น (Possible Cause) เราอาจคุ้นเคยกับแผนผังสาเหตุและผล ในชื่อของ “ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)” เนื่องจากหน้าตาแผนภูมิมีลักษณะคล้ายปลาที่เหลือแต่ก้าง หรือหลายๆ คนอาจรู้ จักในชื่อของแผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram) ซึ่งได้รับการพัฒนาครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1943 โดย ศาสตราจารย์คาโอรุ อิชิกาว่า แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว

เมื่อไรจึงจะใช้แผนผังก้างปลา

1. เมื่อต้องการค้นหาสาเหตุแห่งปัญหา
2. เมื่อต้องการทำการศึกษา ทำความเข้าใจ หรือทำความรู้จักกับกระบวนการอื่น ๆ เพราะว่าโดยส่วนใหญ่พนักงานจะรู้ปัญหาเฉพาะในพื้นที่ของตนเท่านั้น แต่เมื่อมีการ ทำผังก้างปลาแล้ว จะทำให้เราสามารถรู้กระบวนการของแผนกอื่นได้ง่ายขึ้น
3. เมื่อต้องการให้เป็นแนวทางใน การระดมสมอง  ซึ่งจะช่วยให้ทุกๆ คนให้ความสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงไว้ที่หัวปลา

วิธีการสร้างแผนผังสาเหตุและผลหรือผังก้างปลา
       สิ่งสำคัญในการสร้างแผนผัง คือ ต้องทำเป็นทีม เป็นกลุ่ม โดยใช้ขั้นตอน 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. กำหนดประโยคปัญหาที่หัวปลา
2. กำหนดกลุ่มปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหานั้นๆ
3. ระดมสมองเพื่อหาสาเหตุในแต่ละปัจจัย
4. หาสาเหตุหลักของปัญหา
5. จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ
6. ใช้แนวทางการปรับปรุงที่จำเป็น

การกำหนดปัจจัยบนก้างปลา

เราสามารถที่จะกำหนดกลุ่มปัจจัยอะไรก็ได้ แต่ต้องมั่นใจว่ากลุ่มที่เรากำหนดไว้เป็นปัจจัยนั้นสามารถที่จะช่วยให้เราแยกแยะและกำหนดสาเหตุต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ และเป็นเหตุเป็นผล
โดยส่วนมากมักจะใช้หลักการ 4M 1E เป็นกลุ่มปัจจัย (Factors) เพื่อจะนำไปสู่การแยกแยะสาเหตุต่างๆ ซึ่ง 4M 1E นี้มาจาก
           

M – Man   คนงาน หรือพนักงาน หรือบุคลากร
M – Machine  เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก
M – Material  วัตถุดิบหรืออะไหล่ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการ
M – Method  กระบวนการทำงาน
E  – Environment  อากาศ สถานที่ ความสว่าง และบรรยากาศการ – ทำงาน

แต่ไม่ได้หมายความว่า การกำหนดก้างปลาจะต้องใช้ 4M 1E เสมอไป เพราะหากเราไม่ได้อยู่ในกระบวนการผลิตแล้ว ปัจจัยนำเข้า (input) ในกระบวนการก็จะเปลี่ยนไป เช่น ปัจจัยการนำเข้าเป็น 4P ได้แก่ Place , Procedure, People และ Policy หรือเป็น 4S Surrounding, Supplier, System และ Skill ก็ได้ หรืออาจจะเป็น MILK Management, Information, Leadership, Knowledge ก็ได้ นอกจากนั้น หากกลุ่มที่ใช้ก้างปลามีประสบการณ์ในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว ก็สามารถที่จะกำหนดกลุ่ม ปัจจัยใหม่ให้เหมาะสมกับปัญหาตั้งแต่แรกเลยก็ได้ เช่นกัน

การกำหนดหัวข้อปัญหาที่หัวปลา

การกำหนดหัวข้อปัญหาควรกำหนดให้ชัดเจนและมีความเป็นไปได้ ซึ่งหากเรากำหนดประโยคปัญหานี้ไม่ชัดเจนตั้งแต่แรกแล้ว จะทำให้เราใช้เวลามากในการค้นหา สาเหตุ และจะใช้เวลานานในการทำผังก้างปลา
การกำหนดปัญหาที่หัวปลา เช่น อัตราของเสีย อัตราชั่วโมงการทำงานของคนที่ไม่มีประสิทธิภาพ อัตราการเกิดอุบัติเหตุ หรืออัตราต้นทุนต่อสินค้าหนึ่งชิ้น เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ควรกำหนดหัวข้อปัญหาในเชิงลบ
เทคนิคการระดมความคิดเพื่อจะได้ก้างปลาที่ละเอียดสวยงาม คือ การถาม ทำไม ทำไม ทำไม ในการเขียนแต่ละก้างย่อยๆ

Cause and Effect Diagram มีความสำคัญอย่างไร

Cause and Effect Diagram มีความสำคัญอย่างไร

ผังก้างปลาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้

ส่วนปัญหาหรือผลลัพธ์ (Problem or Effect) ซึ่งจะแสดงอยู่ที่หัวปลา
ส่วนสาเหตุ (Causes) จะสามารถแยกย่อยออกได้อีกเป็น
o ปัจจัย (Factors) ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหา (หัวปลา)
o สาเหตุหลัก
o สาเหตุย่อย

ซึ่งสาเหตุของปัญหา จะเขียนไว้ในก้างปลาแต่ละก้าง ก้างย่อยเป็นสาเหตุของก้างรองและก้างรองเป็นสาเหตุของก้างหลัก เป็นต้น

หลักการเบื้องต้นของแผนภูมิก้างปลา (fishbone diagram) คือการใส่ชื่อของปัญหาที่ต้องการวิเคราะห์ ลงทางด้านขวาสุดหรือซ้ายสุดของแผนภูมิ โดยมีเส้นหลักตามแนวยาวของกระดูกสันหลัง จากนั้นใส่ชื่อของปัญหาย่อย ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาหลัก 3 – 6 หัวข้อ โดยลากเป็นเส้นก้างปลา (sub-bone) ทำมุมเฉียงจากเส้นหลัก เส้นก้างปลาแต่ละเส้นให้ใส่ชื่อของสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหานั้นขึ้นมา ระดับของปัญหาสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก ถ้าปัญหานั้นยังมีสาเหตุที่เป็นองค์ประกอบย่อยลงไปอีก โดยทั่วไปมักจะมีการแบ่งระดับของสาเหตุย่อยลงไปมากที่สุด 4 – 5 ระดับ เมื่อมีข้อมูลในแผนภูมิที่สมบูรณ์แล้ว จะทำให้มองเห็นภาพขององค์ประกอบทั้งหมด ที่จะเป็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น

ตัวอย่าง

Cause and Effect Diagram มีความสำคัญอย่างไร

ข้อดี

1. ไม่ต้องเสียเวลาแยกความคิดต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายของแต่ละสมาชิก แผนภูมิก้างปลาจะช่วยรวบรวมความคิดของสมาชิกในทีม

2. ทำให้ทราบสาเหตุหลัก ๆ และสาเหตุย่อย ๆ ของปัญหา ทำให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ถูกวิธี

ข้อเสีย

1. ความคิดไม่อิสระเนื่องจากมีแผนภูมิก้างปลาเป็นตัวกำหนดซึ่งความคิดของสมาชิกในทีมจะมารวมอยู่ที่แผนภูมิก้างปลา

2. ต้องอาศัยผู้ที่มีความสามารถสูง จึงจะสามารถใช้แผนภูมิก้างปลาในการระดมความคิด

สำหรับ เครื่องมือในการแก้ไขปัญหายังไม่จบแค่นี้ครับ ยังมีอีกหลายเครื่องมือที่น่าสนใจ แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องดูประเภทของปัญหาว่า เหมาะสมสำหรับการใช้เครื่องมือชนิดใด ที่จะสามารถแก้ไขและได้ผลที่สุด ผมจะยังเสนอเครื่องมืออีกเรื่อยๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องครับ ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน ที่ได้สั่งสอนวิชาต่างๆ ทำให้เกิดปัญญาในการเรียนรู้มากขึ้นครับ