แผนภูมิอิชิกาวามีประโยชน์อย่างไร

แผนภูมิอิชิกาวามีประโยชน์อย่างไร

เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันมั้ย ว่าหลาย ๆ อย่างที่เป็นความผิดพลาดของตัวเรา จริง ๆ แล้วมีสาเหตุจากอะไรกันแน่ แล้วจะดีกว่ามั้ยถ้าเราได้มีเครื่องมือ ที่ช่วยให้เราแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดมาใช้ StartDee เลยเอา Fishbone Diagram มาให้รู้จักกัน คืออะไร ? ไปดูกันเลย !

Fishbone diagram หรือ Cause and Effect diagram ที่หลาย ๆ คนรู้จักกันในชื่อ “ผังก้างปลา” หรือ “แผนภูมิก้างปลา” เป็นเครื่องมือในการหาสาเหตุของปัญหา ด้วยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา ประเมินสาเหตุที่เป็นไปได้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว ในเรื่องของการพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด จากการระดมความคิด ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญของปัญหาจากเล็กไปถึงใหญ่ ซึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การทราบปัญหาที่แท้จริง เช่น ปัญหาพนักงานประจำโรงงานไม่มีความสุขในการทำงาน เกิดจาก 4 สาเหตุหลักคือ 1.การทำงาน 2.สิ่งแวดล้อม 3.เครื่องมือ และ 4.การจัดการ โดยระดมความคิดได้สาเหตุย่อยดังนี้

  1. การทำงาน สาเหตุจากการขาดอบรมพนักงาน ทำให้ผลของงานไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
  2. สิ่งแวดล้อม มีอากาศที่ร้อนและอบอ้าว อาจทำให้เกิดการหน้ามืด เวียนหัว เป็นลม ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อพนักงานได้ 
  3. เครื่องมือ มีอุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่พร้อม เครื่องมีเก่า และชำรุดง่าย ทำให้งานติด ๆ ขัด ๆ และการทำงานไม่ต่อเนื่อง
  4. การจัดการ มีการจัดสรรคนที่ไม่เพียงพอต่องาน ซึ่งพนักงานบางคนอาจต้องทำหลายหน้าที่

เมื่อนำผังที่ได้มาวิเคราะห์แล้ว จะสรุปแนวทางแก้ปัญหาได้ว่า บริษัทควรมีการจัดการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อให้ได้ทราบถึงปัญหาการทำงานที่แท้จริง การจัดการสิ่งแวดล้อม สถานที่การทำงานที่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีเครื่องอำนวยความสะดวก เช่น พัดลม หรือเครื่องที่ช่วยให้เกิดความเย็นอื่น ๆ การเช็กอุปกรณ์ประจำปี และมีอุปกรณ์สำรอง เมื่อพบว่ามีอุปกรณ์เก่าหรือชำรุด สามารถสับเปลี่ยนได้ทันเวลา เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่องและทันเวลา การจัดสรรพนักงานในการทำงาน ควรมีแผนกแต่ละแผนกอย่างชัดเจน มีการรับสมัครพนักงานที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน 

แผนภูมิอิชิกาวามีประโยชน์อย่างไร

ผังก้างปลา มีอีกชื่อหนึ่งว่า Ishikawa diagram ซึ่งมาจากชื่อของ ดร. คาโอรุ อิชิกาว่า (Kaoru Ishikawa) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นผังก้างปลานั่นเอง โดยดร. คาโอรุได้คิดค้นผังก้างปลาเพื่อช่วยให้พนักงานทราบถึงปัญหา จากปัญหาเล็ก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในปัญหาใหญ่ และช่วยให้พนักงานได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยใช้การวิเคราะห์ของแนวทาง DMAIC (Define = กำหนดปัญหา เป้าหมายที่แท้จริง, Measure = การวัดปัญหาและรวบรวมข้อมูล, Analyze = วิเคราะห์และระบุสาเหตุปัญหาที่แท้จริง, Improve = ปรับปรุง ทดสอบ และดำเนินการแก้ไข และ Control = การควบคุมการดำเนินการที่ปรับปรุงแล้วให้สม่ำเสมอ) เป็นการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ โดยดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดเสมอ ช่วยในการปรับปรุง และส่งเสริมประสิทธิภาพของการทำงานให้มากขึ้นอีกด้วย 

ผังก้างปลามีลักษณะเป็นแผนภาพที่เลียนแบบกระดูกของปลา โดยเริ่มจากด้านขวา คือ หัวของปลา จะแสดงถึงปัญหาและความผิดพลาดหลัก และขยายมาด้านซ้ายที่มีลักษณะของก้างปลาที่แตกแขนงออกมา เพื่อแสดงถึงสาเหตุหลักต่าง ๆ ของปัญหา โดยแต่ละชิ้นของก้างปลาจะแตกแขนงย่อยออกไปอีก เพื่อแสดงรายละเอียดของสาเหตุของปัญหานั้น ๆ

วิธีการใช้ Fishbone diagram

     1. กำหนดปัญหาไว้ที่หัวปลาทางด้านขวา จากนั้นทำลูกศรชี้ไปที่หัวปลาเพื่อแทนกระดูกสันหลังของปลา

แผนภูมิอิชิกาวามีประโยชน์อย่างไร

     2. ระบุสาเหตุหลักที่นำไปสู่ปัญหาอย่างน้อย 4 สาเหตุ โดยการเพิ่มลูกศรชี้ไปที่กระดูกสันหลังของปลา ให้มีลักษณะเหมือนก้างปลาขนาดใหญ่ 

แผนภูมิอิชิกาวามีประโยชน์อย่างไร

     3. ระบุสาเหตุย่อยที่ส่งผลกระทบต่อสาเหตุหลักจนทำให้เกิดปัญหา โดยวาดลูกศรชี้เข้าหาก้างปลาแต่ละชิ้นโดยลูกศรเหล่านี้ ควรมีลักษณะเป็นก้างปลาขนาดเล็กที่แตกแขนงออกมาจากก้างปลาขนาดใหญ่อีกที

แผนภูมิอิชิกาวามีประโยชน์อย่างไร

     4. เมื่อระบุสาเหตุของปัญหาได้แล้ว นำมาวิเคราะห์ และหาวิธีแก้ปัญหา จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่พอใจ

ตัวอย่างการใช้ Fishbone diagram

แผนภูมิอิชิกาวามีประโยชน์อย่างไร

จากภาพผังก้างปลาข้างต้นปัญหาหลักคือ สอบตก จากนั้นระดมความคิดหาสาเหตุหลักของปัญหา พบว่ามี 3 สาเหตุหลักคือ 1. ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ 2. เรียนไม่เข้าใจ 3. ข้อสอบยาก ซึ่งสาเหตุย่อยของของแต่ละสาเหตุหลักมีดังนี้

  1. ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เกิดจากการดูซีรีส์ และเล่มเกมที่มากเกินไป ทำให้เวลาในการอ่านหนังสือลดลงไปด้วย
  2. เรียนไม่เข้าใจ จากการหลับในเวลาเรียน ซึ่งในขณะที่เราเผลอหลับนั้น เราอาจจะพลาดข้อมูลบางอย่างที่เป็นส่วนสำคัญของเนื้อหาไป
  3. ข้อสอบยาก มีสาเหตุจากการเตรียมตัวมาไม่ดี 

เมื่อเราได้ผังแล้วนั้น นำผังก้างปลาของเรามาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาให้ตรง เช่น การลดเวลาดูซีรีส์และเล่นเกมลง เพื่อที่จะได้มีเวลาอ่านหนังสือมากขี้น (ขอแถม...StartDee มีวิธีการอ่านหนังสือสอบมาฝากด้วยนะ คลิก) ซึ่งอาจสอดคล้องกับมีเวลาพักผ่อนเพียงพอ ไม่หลับในห้องเรียนที่อาจส่งผลให้เรียนเข้าใจมากขึ้น และได้มีเวลาในการเตรียมตัวในการทำข้อสอบที่ยากอีกด้วย เช่น การเรียนพิเศษ การทดลองทำข้อสอบ รวมถึงการติวหนังสือกับเพื่อน ๆ

เสร็จแล้ว !!! ง่ายมากเลยใช่มั้ยพี่จี้ เพียงแค่นี้เราก็ได้เรียนรู้ความผิดพลาดของตัวเองจากสาเหตุเล็ก ๆ ที่แท้จริง ที่ทำให้เกิดปัญหาใหญ่อีกด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องเรียนอย่างเดียวด้วยนะ Fishbone diagram ยังเอาไปปรับใช้กับชีวิตประจำได้อีกมากมายเลยทีเดียวแหละแก หรือถ้าใครที่ยังรู้สึกว่าตัวเองมีปัญหาการเรียน รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตหรือเรื่องทั่วไป สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee ที่จะช่วยตอบโจทย์และเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาชีวิตวัยทีนแบบพวกเราด้วยนะ 

ที่มา : https://whatis.techtarget.com/definition/fishbone-diagram

แผนผังก้างปลามีความสําคัญอย่างไร

แผนภูมิก้างปลาเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เป็นกระบวนการที่มีโครงสร้างช่วยในการช่วยระบุปัจจัยพื้นฐานหรือสาเหตุของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ การทำความเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการทำงานที่เป็นสาเหตุของความล้มเหลวของระบบสามารถช่วยพัฒนาการดำเนินการที่สนับสนุนการแก้ไขได้

แผนภูมิก้างปลาเป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรมใด

แผนภูมิก้างปลา หรือ Fish Bone Diagram เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบ และสาเหตุ โดยแบ่งเป็น สาเหตุหลัก สาเหตุรอง และสาเหตุย่อย ด้วยโครงสร้างที่ชัดเจนในการวิเคราะห์ระบุปัจจัยพื้นฐานของสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ

Cause and Effect Diagram มีความสำคัญอย่างไร

กระจายปัญหาให้เห็นถึงองค์ประกอบที่ชัดเจน ช่วยในการกระตุ้นแนวคิดและการระดมความคิดสำหรับแก้ปัญหา ระบุความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ (โดยทั่วไปมักถูกนำเสนอแต่อยู่ในสภาวะแอบซ่อนแฝง) ช่วยสนับสนุนในการเลือกตัดสินใจ

แผนผังสาเหตุและผล มีอะไรบ้าง

แผนผังก้างปลา (Fish Bone) หรือแผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลาย ๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา โดยจะใช้เมื่อต้องการจะวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง