ภาษีสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกเรียกว่าอะไร

เมื่อตกลงการสั่งซื้อหรือขายสินค้าแล้ว ทางฝ่ายผู้ขายก็จะต้องเริ่มจากผลิตสินค้าให้คุณหรือเตรียมสินค้าในโกดังให้พร้อมจัดส่ง ขั้นตอนการส่งออกสินค้าก็จะมีดังนี้

1. เริ่มนำเข้าส่งออกที่โรงงานผู้ขาย

จุดแรกของการนำเข้าส่งออกการขนส่งย่อมไม่พ้นผู้ขายหรือผู้ผลิตไปได้ ซึ่งในจุดนี้ส่วนใหญ่เรามักจะเรียกมันว่า “หน้าโรงงาน” ในภาษาไทย หรือ “Shipper” ในภาษาอังกฤษครับ ทั้งนี้ที่เรียกว่าโรงงานก็เพื่อความสะดวกในการเรียก ถึงแม้มันจะเป็นร้านเล็ก ๆ หรือโกดังเก็บสินค้าก็ตาม ส่วน Shipper นั้นจะใช้เวลาคุยกับชาวต่างชาติเพราะแปลตรงตัวว่าผู้ส่งออกหรือผู้ขาย ก็อนุมานกันได้เลยว่าที่จะไปรับสินค้านั่นแหละ หรือใครจะใช้คำตรงตัวอย่าง โรงงาน Factory, โกดัง Warehouse หรือ ร้าน Shop ก็ตามสะดวกครับ แต่ขอให้เข้าใจตรงกันว่าสินค้าจะเริ่มต้นออกเดินทางจากที่นี่นั่นแหละครับ

2. การขนส่งในประเทศต้นทาง

เมื่อตกลงซื้อขายกันเสร็จสิ้นแล้วสินค้าจะถูกบรรจุและแพ็คกิ้งขึ้นรถบรรทุกเพื่อขนส่งไปยังท่าเรือ/ท่าอากาศยานต่างๆ แล้วจึงถ่ายโอนสินค้าต่อไปยังทางเรือหรือทางเครื่องบินเพื่อจัดส่งออกไปยังประเทศปลายทาง เรียกว่า Trucking, Pick-up, Inland หรือ Inland freight

3. การทำพิธีการศุลกากรขาออก

ในขั้นตอนนี้ผู้ขาย(Shipper) หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder) ที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้จะมีหน้าที่ในการสำแดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร(Customs House) ว่าสินค้าอะไรจะออกจากประเทศนั้นนั่นเองครับ จุดนี้ภาษาเฟรทเรียกว่า Outbound Customs Clearance และปกติแล้วขั้นตอนนี้จะกินเวลาไม่นาน หากไม่เจอปัญหาอะไร

4. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง

เมื่อศุลกากรได้ตรวจปล่อยสินค้าแล้ว สินค้าก็จะได้รับอนุญาตให้เอาขึ้นเรือหรือเครื่องบินที่จัดเตรียมไว้เพื่อขนส่งออกจากประเทศผู้ขาย ในจุดนี้ภาษาเฟรทเราจะเรียกว่า Port of Loading(POL) แต่ไม่ใช่ว่าทำพิธีการเสร็จแล้วเรือหรือเครื่องบินจะออกทันที ยังต้องมีการผ่านกระบวนการในท่าฯอีกพอสมควร

5. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานปลายทาง

ตอนนี้สินค้าก็ได้เดินทางมาถึงยังประเทศของผู้ซื้อแล้วนะครับ จุดนี้เมื่อเรือหรือเครื่องบินจอดเทียบท่าแล้ว สินค้าจะถูกลำเลียงเข้าโกดังไว้ รอให้ผู้ซื้อหรือตัวแทนออกของและศุลกากรมาตรวจปล่อยสินค้าต่อไปครับ ในจุดนี้ภาษาเฟรทเราจะเรียกว่า Port of Discharge(POD) ครับ

6. พิธีการศุลกากรสินค้าขาเข้า

เจ้าพนักงานศุลกากรจะมาตรวจสินค้าที่ผู้ซื้อนำเข้ามาว่าสินค้าที่คุณนำเข้ามาตรงกับที่ได้แจ้งกับกรมศุลกากรไว้หรือไม่ เสียภาษีตรงกับฐานภาษีที่กรมศุลกากรกำหนดหรือไม่ เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาอะไรเมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็ขนออกจากท่าเรือ/ท่าอากาศยานได้เลยครับผม จุดนี้คือ Inbound Customs Clearance ครับ

7. ขนส่งจากท่าเรือ

สินค้าที่ตรวจปล่อยแล้วก็ขนไปยังผู้รับครับ การขนส่งทางรถในประเทศไทยนั้นมีข้อกำหนดสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่กว่ากระบะด้วยนะครับ จำง่าย ๆ ว่าในช่วงจราจรคับคั่งตอนพนักงานเข้างานและเลิกงานคือช่วงที่รถใหญ่ห้ามวิ่งในเขตเมืองครับ

8. ผู้ซื้อ

ตอนนี้ขั้นตอนสุดท้ายคือ ผู้ซื้อ(Consignee) ทำการรับสินค้า ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภาระกิจขนส่งสินค้าครับ ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะรับมอบสินค้า ผู้ซื้อที่ดีควรจะตรวจดูความเรียบร้อยของสินค้าก่อนทำการรับมอบทุกครั้งด้วยนะครับ

ผ่านไปแล้วทั้ง 8 จุดที่คุณควรจะเข้าใจก่อนทำการนำเข้าหรือส่งออกครับ ในการขนส่งแต่ละประเทศก็จะมีเวลาในการขนส่งไม่เท่ากันแต่ขั้นตอนก็จะอยู่ใน 8 ข้อนี้แน่นอนครับ

การนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้ธุรกิจเติมโตมากขึ้น เพราะผู้ที่นำเข้าสินค้า จะสามารถหาสินค้าที่มีรูปแบบใหม่ คุณภาพดี หรือราคาถูกกว่าในประเทศของตน และผู้ส่งออกสามารถขายสินค้าที่ตัวเองผลิต ไปยังประเทศต่าง ๆ ได้


การนำเข้า (Import)

การนำเข้า (Import) คือ การนำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศ เพื่อเข้าในประเทศ โดยสินค้าที่นำเข้า ส่วนใหญ่จะสินค้าที่มีต้นทุนถูก เป็นสินค้าที่ไม่มีในประเทศ หรือผลิตในประเทศไม่ได้ ซึ่งจะขนส่งผ่านกันมาทางเรือ ทางเครื่องบิน มักจะส่งตรงมาจากโรงงานเลย เพราะต้นทุนของสินค้าจะถูกลงกว่าตลาดทั่วไปในการนำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าได้หนดไว้ให้ครบถ้วน รวมถึงจัดเตรียมเอกสาร และศึกษาขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า

ในการนำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าได้หนดไว้ให้ครบถ้วน รวมถึงจัดเตรียมเอกสาร และศึกษาขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการนำเข้าสินค้า

  1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration)
  2. ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (B/L-Bill of Lading), ทางอากาศ (AWB-Air Way Bill)
  3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
  5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (ถ้ามี) (Import License)
  6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร) (Certificates of Origin)
  7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม ฯลฯ

การส่งออก (Export)

การส่งออก (Export) คือ การจัดส่งสินค้า หรือขายสินค้าภายในประเทศ ไปสู่ประเทศอื่น จากต้นทางไปยังปลายทาง ในทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ เป็นต้น

ในการส่งออกจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับข้อง คือ กรมศุลกากร เพราะในการส่งออกสินค้าแต่ละครั้งต้องผ่านพิธีการศุลกากร โดยสามารถทำได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะส่งข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อดำเนินการต่อให้สินค้าสามารถที่จะส่งออกได้

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการส่งออกสินค้า

  1. ขนสินค้าขาออก (Export Declaration)
  2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  3. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (ถ้ามี) (Export License)
  4. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ถ้ามี) (Certificates of Origin)
  5. เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม ฯลฯ

ภาษีสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกเรียกว่าอะไร

การนำเข้า-ส่งออกสินค้า จะมีการเก็บ ภาษีศุลกากร (Customs Duty) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้า หรือส่งออกไปต่างประเทศ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

ภาษีศุลกากรจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อากรขาเข้า และ อากรขาออก โดยมี กรมศุลกากร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บ

อากรขาเข้า คือ การเก็บภาษีจากสินค้าที่นำมาให้ หรือบริโภคในราชอาณาจักร ซึ่งการคำนวณค่าภาษีจะคำควณตามสภาพสินค้า ราคา และพิกัดของอัตราศุลกากร

อากรขาออก คือ การเสียภาษีหรือจ่ายค่าธรรมเนียมก่อนที่จะนำสินค้าออกจากนอกประเทศ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดย ตัวแทนออกของศุลกากร เพื่อที่จะสามารถส่งสินค้าไปต่างประเทศได้ ซึ่งกรมศุลกากรมีการกำหนดให้สินค้าว่าออก