ชนิดข้อมูลใดเก็บข้อมูลเชิงตรรกะ จริงหรือเท็จ

คือ องค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งในฐานข้อมูล เป็นส่วนที่ต้องสร้างขึ้นเป็น อันดับแรก เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในฐานข้อมูล โดยในการสร้างตารางนั้นมีหลาย รูปแบบด้วยกัน ซึ่งเราสามารถจัดการกับข้อมูลในตารางเพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการ ทำงานมากยิ่งขึ้นได้เช่น การเรียงลำดับข้อมูล การกรองข้อมูล และการค้นหาข้อมูล เป็นต้น


ส่วนประกอบของตาราง

ชนิดข้อมูลใดเก็บข้อมูลเชิงตรรกะ จริงหรือเท็จ


การสร้างตาราง

ขั้นตอนการสร้างตารางฐานข้อมูลมีดังนี้

             1.       คลิกแท็บ Create

             2.       เลือกป่ม Table Design

ชนิดข้อมูลใดเก็บข้อมูลเชิงตรรกะ จริงหรือเท็จ


             3.       ตั้งชื่อฟิลด์ ในช่อง Field Name


ชนิดข้อมูลใดเก็บข้อมูลเชิงตรรกะ จริงหรือเท็จ



การตั้งชื่อฟิลด์

-          ชื่อ field ต้องไม่ยาวเกิน 64 ตัวอักษร รวมทั้งช่องว่างด้วย

-          ห้ามตั้งชื่อ field ซ้ำกัน

-          สามารถใช้ตัวอักษร ตัวเลข ช่องว่าง ในการตั้งชื่อ field ได้

-          ห้ามใช้เครื่องหมาย จุด (.) อัศเจรีย์(!) และก้ามปู([ ]) ในการตั้งชื่อfield

-          ห้ามเริ่มชื่อ field ด้วยช่องว่าง


             4.       เลือกประเภทของข้อมูลในช่อง Data Type


ชนิดข้อมูลใดเก็บข้อมูลเชิงตรรกะ จริงหรือเท็จ


ชนิดข้อมูล ชนิดข้อมูล (data type) เป็นส่วนที่ใช้กำหนดชนิดของข้อมูลในแต่ละ field โดยต้องเลือก ให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะจัดเก็บในแต่ละ fieldซึ่งมีทั้งหมด 12 ชนิด คือ



ชนิดข้อมูล

ประเภทของข้อมูล

ข้อความสั้น
(
Short Text)

ข้อความที่ประกอบไปด้วยตัวอักขระที่อาจเป็นตัวอักษร สัญลักษณ์พิเศษ ช่องว่าง หรือตัวเลขประกอบกัน ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขอย่างเดียวจะต้องเป็นตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ เช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน รหัสนักศึกษา เบอร์โทรศัพท์ บ้านเลขที่ และ รหัสไปรษณีย์ เป็นต้น โดยสามารถบรรจุข้อมูลได้สูงสุดจำนวน 255 ตัวอักขระ

ข้อความยาว
(
Long Text)

ข้อความที่เป็นตัวอักขระที่มีความยาวมากๆ และมากกว่า 255 ตัวอักขระ แต่ไม่เกิน 65,535 ตัวอักษร ส่วนมากใช้ในการเก็บข้อมูลและรายละเอียดที่มีความยาวของข้อมูล มากๆ นั่นเอง

ตัวเลข (Number)

ข้อมูลที่เป็นตัวเลข สามารถนำไปคำนวณได้ เช่น จำนวนสินค้า และจำนวน หน่วยกิต เป็นต้น

วันที่ / เวลา
(
Date/Time)

ข้อมูลที่เป็นวันที่และเวลา

สกุลเงิน (Currency)

ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ใช้ในการคำนวณข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน เช่น ราคา สินค้า ค่าหน่วยกิต เงินเดือน รายรับ และรายจ่าย เป็นต้น

ตัวเลขอัตโนมัติ
(
AutoNumber)

เป็นตัวเลขจำนวนเต็มแบบลำดับที่ ซึ่งโปรแกรมจะกำหนดค่าให้โดย อัตโนมัติเมื่อมีการเพิ่มเรคอร์ดใหม่เข้ามาในตาราง

ใช่ / ไม่ใช่ (Yes/No)

เป็นข้อมูลทางตรรกะ ซึ่งมีสถานะเป็นจริงหรือเท็จ เช่น True/False, Yes/No, หรือ On/Off และจะเป็นค่าว่างไม่ได้

วัตถุ OLE
(OLE Object )

ข้อมูลที่เป็นการเชื่อมโยงหรือนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรมอื่นๆ มาเก็บไว้ เช่น รูปภาพ ตาราง กราฟ และเสียง เป็นต้น

ไฮเปอร์ลิงค์
(Hyperlink)

การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังแฟ้มอื่น ๆ ภายนอก เช่น  แฟ้มข้อมูลอื่น  เว็บไซด์ หรือ E-mail

สิ่งที่แนบมา

(Attachment)

เหมือนไฟล์แนบในอีเมล เป็นไฟล์ชนิดใดก็ได้เช่น Word, Excel

คำนวนแล้ว
(
Calculated)

ผลของการคำนวณจาก field อื่นในตาราง

ตัวช่วยสร้างการค้นหา
(
Lookup Wizard)

ที่แสดงในเมนู Data Type นั้น ไม่ใช่ชนิดข้อมูลแต่เป็นเครื่องมือช่วย ป้อนข้อมูลและนำเข้าข้อมูลจาก Table อื่นๆ ของฐานข้อมูล



           5.       ใส่รายละเอียดย่อๆ ของแต่ละ Field ในช่อง Description (จะใส่หรือไม่ก็ได้)


ชนิดข้อมูลใดเก็บข้อมูลเชิงตรรกะ จริงหรือเท็จ


           

           6.       กำหนดคุณสมบัติของเขตข้อมูล (Field Properties)


ชนิดข้อมูลใดเก็บข้อมูลเชิงตรรกะ จริงหรือเท็จ



คุณสมบัติของเขตข้อมูล (Field Properties) เป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของแต่ละ field เช่น กำหนดขนาดของ field รูปแบบที่ใช้ในการป้อนข้อมูล รูปแบบการแสดงผลข้อมูล และกำหนด เงื่อนไขที่ใช้ตรวจสอบค่าใน field เป็นต้น

คุณสมบัติ

ชนิดข้อมูล

คำอธิบาย

1. Field size
(ขนาดเขตข้อมูล)

Short text

กำหนดไม่เกิน 255 ตัวอักษร

Long text

กำหนดไม่เกิน 65,535 ตัวอักษร

Number

ขนาดเขตข้อมูล

ช่วงข้อมูล

Byte

จำนวนเต็มที่มีค่าระหว่าง 0-255

Integer

จำนวนเต็มที่มีค่าระหว่าง -32,768 ถึง 32,767

Long Integer

จำนวนเต็มที่มีค่าระหว่าง
-2
,147,483,648 ถึง 2,147,483,648

Single

ตัวเลขที่มีทศนิยมแบบความละเอียดปกติ

Double

ตัวเลขที่มีทศนิยมแบบ

ความละเอียดเป็น 2 เท่า

ReplicationID

ข้อมูลขนาด 16 ไบต์ ที่ใช้เก็บค่าที่ไม่ซ้ำกันเลย

Decimal

ข้อมูลที่มีค่าระหว่าง -1038-1 ถึง 1038-1

2. Format
(รูปแบบ)

Short text และ Long text

สัญลักษณ์

ความหมาย

@

แทนอักษร 1 ตัวต่อ 1 ตำแหน่ง ถ้าไม่กรอกข้อมูล จะใส่ช่องว่างแทนให้

แสดงตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด

แสดงตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด

ตัวอย่าง

รูปแบบ

ข้อมูล

ข้อมูลที่เก็บ

@@-@@@

AB001

AB-001

Access

ACCESS

Access

access

Number และ Currency

รูปแบบ

ความหมาย

General Number

เหมือนที่พิมพ์

Currency

มีเครื่องหมายทางการเงิน (฿)

Euro

มีเครื่องหมายทางการเงิน  (€)

Fixed

กำหนดทศนิยม

Standard

รูปแบบมาตรฐาน

Percent

ค่าเปอร์เซ็นต์

Scientific

ค่าแบบวิทยาศาสตร์

Date/Time

รูปแบบ

ตัวอย่าง

General Date

เหมือนที่พิมพ์

Long Date

12 พฤศจิกายน 2558

Medium Date

12 พ.ย. 58

Short Date

12/11/2558

Long Time

17:34:23

Medium Time

5:34 PM

Sort Time

17:34

Yes/No

รูปแบบ

ความหมาย

True/False

True = -1, False = 0

Yes/No

(ค่าปกติ) Yes = -1, No = 0

On/Off  

On = -1, Off = 0

3. Input Mask
(รูปแบบการป้อนข้อมูล)

Short text, Number และ Currency

ใช้กำหนดรูปแบบในการป้อนข้อมูล เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เช่น หมายเลขโทรศัพท์ และหมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น

5. Caption
(ป้ายคำอธิบาย)

ทุกชนิดข้อมูล

ใช้กำหนดข้อความที่แสดงในส่วนหัวคอลัมน์ใน Datasheet View หรือ เป็นชื่อที่จะปรากฏใน Form หรือ Report

6. Default Value
(ค่าเริ่มต้น)

ทุกชนิดข้อมูล

ใช้กำหนดค่าเริ่มต้นของข้อมูลใน field พิมพ์ใหม่ได้ แต่ถ้าไม่พิมพ์ใหม่ก็จะมีค่าเป็น Default Value

7. Validation Rule (กฎการตรวจสอบ)

ทุกชนิดข้อมูล

ใช้กำหนดเงื่อนไขสำหรับค่าของข้อมูล เช่น ใน field นี้ จะต้องป้อนข้อมูลเพียง 2 ค่า คือ หญิง หรือ ชาย เท่านั้น ถ้าป้อนนอกเหนือจากนี้แล้ว จะแสดงกรอบ หน้าต่างเตือน และไม่สามารถป้อนนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ได้