สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องมี ก่อน จะ เริ่ม ออกแบบ เรื่อง เล่า จากข้อมูล คือ ข้อ ใด

“เราทุกคนล้วนเคยตกเป็นเหยื่อของโปรแกรมออกแบบสไลด์ที่ไร้คุณภาพ”

รีวิว

  • รักสุดเล่มนี้ คือดีย์ต่อคนทำงานสร้างภาพ เอ้ย สร้างกราฟ มากกกกกกกกกก จริงๆครอบคลุมไปถึงการนำเสนอด้วยข้อมูลมากกว่า
  • ตัวอย่างชัดเจน ทั้งอันที่ห่วยและอันที่ดี
  • ละรายละเอียดแบบชัดเจนมากๆ ค่อยๆ improve ให้ดีขึ้นทีละ Step ว่า กราฟห่วยๆกราฟนึง ถ้าจะทำให้ดีขึ้น ต้องคิดเรื่องไหนบ้าง
  • หนังสือเล่มนี้ จะเน้นหนักไปที่การพัฒนาสกิล จากแค่การแสดงข้อมูล ไปสู่การถ่ายทอดเรื่องราวด้วยข้อมูล
  • 2–3 ชั่วโมงก็เพียงพอที่จะอ่านเล่มนี้จบ เหมาะกับการกลับมาเปิดอ่านบ่อยๆ เป็นคู่มือการเล่าเรื่องด้วยข้อมูล
  • เขามีแจกไฟล์excelด้วย เอาไปลองฝึกทำได้ Book downloads — storytelling with data

สปอย

ทำความเข้าใจบริบท

ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ว่ากำลังสื่อสารกับใครให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้หรือทำอะไร จะใช้วิธีการใดสื่อสาร และต้องใช้ข้อมูลใดเพื่อสนับสนุนประเด็นของคุณ โดยสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องเล่าสามนาทีหัวใจสำคัญ และการเขียนสตอรีบอร์ดเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวตลอดจนวางแผนเนื้อหาและการนำเสนอตามความต้องการได้

Key: ข้อมูลนี้จะนำเสนอให้ใคร และ คุณต้องการให้พวกเขาทำอะไรต่อไป

  • อะไรที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่เราจะสื่อ ก็ตัดทิ้งไป ด้วยคำถามว่า ไอกราฟนี่จำเป็นไหม
  • การโชว์ข้อมูลเยอะๆ อาจทำให้คนฟังไม่รู้จะทำอะไรต่อ หรือ ข้อมูลเยอะเกิดจนเขาบอกว่า เดี๋ยวกลับไปคิดก่อน
  • รายละเอียดทั้งหมดไม่จำเป็นต้องเอามาพูดตอน present สามารถส่งไฟล์แยกที่มีรายละเอียดเต็มๆได้ อย่าใช้สไลด์เป็นเครื่องฉายบทพูด

Key: Slide เนื้อหาน้อย (เลยต้องมีคุณอยู่ตรงนั้น) document เนื้อหาครบ (เพราะไม่มีคุณอยู่ตรงนั้น)

  • ใช้น้ำเสียงให้เข้ากับบริบทด้วย เช่นกำลังฉลอดความสำเร็จ หรือ กำลังพยายามจุดประกายให้ผู้รับสารลงมือทำอะไรบางอย่างหรือเปล่า

คำถามที่ควรถาม

  • ข้อมูลพื้นฐานใดบ้างที่จำเป็นหรือเกี่ยวข้อง
  • ใครคือผู้รับสารหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจ และเรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพวกเขา
  • ผู้รับสารมีทัศนคติต่อสารของเราอย่างไร พวกเขาสนับสนุนหรือต่อต้าน
  • ข้อมูลใดบ้างที่จะสนับสนุนการนำเสนอของเรา และผู้รับสารคุ้นเคยกับข้อมูลอยู่แล้วหรือเป็นข้อมูลใหม่
  • มีความเสี่ยงอะไรบ้าง เช่น ปัจจัยใดที่จะทำให้การนำเสนอขาดน้ำหนัก และเราจำเป็นต้องเอ่ยถึงปัจจัยดังกล่าวก่อนหรือไม่
  • ผลลัพธ์ที่ถือว่าประสบความสำเร็จมีลักษณะอย่างไร
  • หากคุณมีเวลาจำกัดหรือต้องถ่ายทอดสิ่งที่ผู้รับสารจำเป็นต้องรู้ด้วยประโยคเดียวคุณจะพูดอย่างไร

เลือกสื่อที่เหมาะสม

เมื่อนำเสนอตัวเลขเพียงหนึ่งหรือสองตัว การนำเสนอด้วยข้อความง่ายๆ จะเหมาะสมที่สุด กราฟเส้นนั้นเหมาะกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง ส่วนแผนภูมิแท่งใช้นำเสนอข้อมูลแบ่งประเภทได้ดีโดยต้องมีเส้นฐานที่ค่าเป็นศูนย์ พิจารณาให้ความเชื่องโยงของประเด็นที่ต้องการนำเสนอเป็นปัจจัยตัดสินว่าควรเลือกใช้แผนภูมิประเภทใด จงหลีกเลี่ยงแผนภูมิวงกลม แผนภูมิโดนัท รูปสามมิติ และการใช้เส้นแกน Y สองเส้น เพราะจะเป็นอุปสรรดต่อการตีความข้อมูล

Key: เลือกสื่อที่ตรงกับที่คุณจะสื่อสาร ไม่ใช่เน้นสวยอลัง

กราฟทั้งหมดของเล่มนี้ https://www.storytellingwithdata.com/book/downloads

charts and graphs — a complete guide — storytelling with data
ของดีมาก อธิบายวิธีใช้งานกราฟให้อ่านเข้าใจง่ายๆ

กราฟทั้งหมด Crop มาจากไฟล์ที่เขาแจกให้โหลดมาลองฝึกที่นี่

Book downloads — storytelling with data

ข้อความ

การมีข้อมูลตัวเลข ไม่ได้หมายความว่าคุณจำเป็นต้องใช้กราฟเสมอไป

แต่ในกรณีที่มีข้อมูลมากกว่านั้น ตารางหรือกราฟจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

ตาราง

คนเราจะ อ่าน ตารางทุกครั้งที่มีข้อมูลตรงหน้า

แต่ การใช่ตารางเป็นไอเดียที่ไม่ค่อยดีนักในการนำเสนอ เพราะขณะพูด เขาจะเลิกฟังคุณ และไปสนใจตารางแทน

ถ้าไม่ติดอะไร ก็แนะนำให้ลดการใช้ขอบตาราง ข้อมูลจะได้เด่นขึ้นมา คนจะได้ไม่เสียเวลากับตารางเยอะ

ฮีตแมพ

เราใช้ Heatmap เพื่อลดภาระทางสมอง คนอ่านตารางจะได้โฟกัสได้ถูก

เราจะรู้ทันทีว่า สีเข้มๆคือเยอะกว่าสีอ่อน ซึ่งช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กลับกัน ถ้าใช้สีหลากหลาย สมองจะพังกว่าเดิม

แผนภูมิกระจาย

Scatterplot จะมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง

เพิ่งรู้ว่า สีๆนี่คือ จิ้มไปที่จุดแล้วเปลี่ยนสือ ดื้อๆเลย แล้วเส้น AVG ก็ เพิ่มมาเองได้

กราฟเส้น

จงใส่ข้อมูลด้วยช่วงเวลาที่สม่ำเสมอ

ถ้าข้อมูลมีหลายเส้นมากๆ อย่าใช้หลายสี เพราะจะดูไม่รู้เรื่อง เลือกสักอย่างว่าจะบอกอะไร

กราฟความชัน

จะมีประโยชน์เมื่อคุณมีสองช่วงเวลา หรือ ข้อมูลเปรียบเทียบสองประเด็น และ ต้องการแสดงความสัมพันธ์ของการเพิ่ม ลด หรือความแตกต่าง

กราฟแท่ง

อันนี้ดีย์ เพราะคนอ่านไม่ต้องคิดเยอะ

และนั่นก็หมายถึงเข้าใจผิดได้ง่ายเช่นกัน

เลยต้องมีเส้นฐานเป็น 0เสมอ ไม่งั้น จะดูเหมือนแตกต่างกันมากกว่าความเป็นจริง

ซึ่งนั่นอาจจะทบความน่าเชื่อถือของคุณในอนาคต ถ้าใช้กราฟแบบไม่ซื่อตรง

แท่งๆ ควรกว้างกว่าสีขาวช่องว่าง

แผนภูมิแท่งแนวตั้ง

ยิ่งเยอะยิ่ง งง

การจัดลำดับประเภทข้อมูลให้สอดคล้องกันจึงสำคัญยิ่ง

ถ้าจะเน้นอะไรสักอย่าง ให้เอาไว้ที่ฐานเท่านั้น

แผนภูมิน้ำตก

เพื่อนำเสนอจุดเริ่มต้นของข้อมูล การเพิ่มและลด ตลอดจนผลลัพธ์ในตอนท้าย

แผนภูมิแท่งแนวนอน

เลือกใช้เพราะมันอ่านง่ายมาก และ ใช้กับพวกชื่อยาวๆได้ดี

แผนภูมิแท่งแนวนอนแบบเรียงซ้อน

ถูกใช้บ่อยมาก เวลาให้ประเมิน อะไรสักอย่าง แบบ Likert scale

พื้นที่

ปกติไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ ยกเว้นคือต้องการนำเสมอข้อมูลที่มีค่าแตกต่างกันอย่างมาก

นับวัน กราฟยิ่งมีให้เลือกเยอะมากขึ้น จงเลือกประเภทที่ช่วยให้คุณสามารถสื่อสารกับผู็รับสารได้อย่างจัดเจน

คำถามสำคัญคือ ใครคือผู้รับสาร คุณต้องการให้ผู้รับสารรับรู้หรือทำอะไร หลังจากที่ตอบคำถามเหล่านี้ได้แล้วเท่านั้นเราจึงจะสามารถเลือกวิธีการใช้กราฟฟิคเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาอย่างมีประสิทธิภาพได้

สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง

แผนภูมิวงกลมคือหายนะ

มันดูยากมาก ว่าใครเยอะกว่า

เนี่ย 31% อาจจะดูเยอะกว่า 34%

เทียบกับอะไรง่ายๆแบบกราฟแท่ง

กราฟ 3D อย่าใช้ มันไม่มีประโยชน์ใดๆ

2 แกนคือพัง จับแยกเถอะ

แยกแกน หรือ เติม label

ตัดน้ำให้เหลือแต่เนื้อ

ระบุองค์ประกอบที่ไม่เพิ่มประโยชน์ด้านการสื่อสารแล้วลบออกจากแผนภาพข้อมูล อาศัยหลักการของเกสทัลท์ที่ว่าด้วยความเข้าใจวิธีการมองเห็นของมนุษย์เพื่อระบุองค์ประกอบที่ควรตัดทิ้ง ใช้ความเปรียบต่างอย่างมีกลยุทธ์ และใช้หลักการจัดวางแนวกับองค์ประกอบต่างๆ รวมถึงเว้นพื้นที่สีขาวอย่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้รับสารตีความแผนภาพข้อมูลได้อย่างสะดวก

Key: ทุกอย่างที่คุณใส่ลงไป ล้วนสร้างภาระทางการรับรู้ให้แก่ผู้รับทั้งนั้น เราจึงต้องคิดว่าอะไรใครอยู๋ในหน้ากระดาษบ้าง

กฏของเกสทัลท์

  • กฏความใกล้ชิด
คุณจะมองเป็น สามกลุ่ม โดยอัตโนมัติคุณจะมองเป็นเส้น แนวตั้งหรือ แนวนอน โดยอัตโนมัติ
  • กฏความคล้ายคลึง
คุณจะรับรู้ถึงสิ่งที่คล้ายกันด้วย รูปทรง หรือ สี ขนาด หรือตำแหน่ง
  • กฏการตีกรอบ
สิ่งที่ถูกตีกรอบเข้าไว้ด้วยกันนับเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน
  • กฏการเติมเต็ม
เราจะเห็นเป็นวงกลมก่อน แล้วจึงมองเห็นเป็นองค์ประกอบแยกย่อยในภายหลัง

กฏการเติมเต็มทำให้เรารู้ว่าอะไรไม่จำเป็น

  • กฏความต่อเนื่อง
เมื่อเราแยก 1 เราคิดว่าจะเป็น 2 ทั้งๆที่อาจจะเป็น 3ก็ได้
  • กฏความเชื่อมโยง
เรามีแนวโฯ้มจะมองเห็นสิ่งต่างๆที่เชื่อมโยงกันทางกายภาพ ว่าเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน

การจัดวางแนว

คนเราจะเริ่มอ่านเป็นตัว Z

คำแนะนำคือให้วางข้อความ ชิดมุมซ้ายเลย จะได้อ่านก่อนดูกราฟ

พื้นที่สีขาว

อย่าใส่ข้อมูลเพียงเพราะยังมีพื้นที่สีขาวว่างอยู่ ให้ใส่เฉพาะมันที่ใส่แล้วเข้าใจง่ายขึ้นเท่านั้น

ปล่อยหน้าโล่งๆ

เป็นจังหวะหยุด

สามารถดึงความสนใจได้

การใช้ Contrast

ถ้าทุกอย่างเด่นหมด จะไม่เหลืออะไรเด่นเลย

เลือกสักอย่างว่าจะให้อะไรเด่น

แกนที่ คนดูอาจจะไม่แคร์ว่ามันคืออะไร ก็ลบไปได้ เพราะเขาสนใจอันดับมากกว่า

ขั้นตอนการกำจัดองค์ประกอบไม่สำคัญ

  1. ลบกรอบของเส้นกราฟ
  2. ลบเส้นกริด
  3. ลบจุดกำกับข้อมูล
  4. จัดระเบียบชื่อแกน (ย่อมันให้อ่านตรงๆ)
  5. ใส่ Label กำกับข้อมูลโดยตรง
  6. ใช้สีอย่างฉลาด ( สี Label เอาให้ตรงกัน)

มุ่งเน้นจุดสนใจที่ต้องการ

ใช้สิ่งดึงดูดความสนใจ เช่น สี ขนาด และตำแหน่งเพื่อส่งสัญญาณให้ผู้รับสารทราบว่าองค์ประกอบใดสำคัญ ใช้สิ่งดึงดูดความสนใจเหล่านี้อย่างมีกลยุทธ์เพื่อนำความสนใจของผู้รับสารไปยังองค์ประกอบที่คุณต้องการให้พวกเขาพิจารณา และเพื่อบอกพวกเขาถึงทิศทางการอ่านแผนภาพของคุณ โดยสามารถประเมินประสิทธิภาพของสิ่งดึงดูดความสนใจที่ใช้ในแผนภาพได้ด้วยบททดสอบ “สายตาของคุณมองไปที่ไหน”

Key: การวางกรอบที่จะดึงความสนใจ เช่น ขนาด สีสัน ตำแหน่ง เพื่อให้เขารับรู้สิ่งที่เราต้องการจะสื่อ

การทำให้สิ่งที่เราต้องการจะสื่อเด่นออกมา ทำให้เราไม่ต้องอ่านข้อมูลทั้งหมด ( ประหยัดเวลา แต่ข้อมูลไม่ครบ แต่นั่นก็หมายถึงตัวกวนน้อยลง คิดง่ายขึ้น )

ผู้รับสารมองเห็นสิ่งที่เราต้องการให้เห็น ก่อนที่พวกเขาจะรู้ตัวว่ากำลังมองเห็นข้อมูลดังกล่าวด้วยซ้ำ

เมื่อปราศจากตัวบ่งชี้ทางการมองเห็น คุณเก็เหมือนถูกบังคับให้อ่าน รายละเอียดทั้งหมด โดยไม่รู้เลยว่าข้อมูลส่วนใดสำคัญและควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

วิธีการนึง คือการทำให้ข้อมูลทั้งหมด กลายเป็นพื้นหลังก่อน แล้วค่อยคิดว่าจะทำให้อันไหนเด่น

ถ้าต้องการจะสื่อว่า มี Gap ตอนคนลาออก

ขนาด

หากมีข้อมูลไหนที่สำคัญเป็นพิเศษ ก็จงปรับขนาดให้แสดงถึงความสำคัญ คือให้ใหญ๋เข้าไว้

สีสัน

แนะนำให้ใช้สีโทนเท่าเป็นพื้นหลัง เพราะสีอื่นจะเด่นง่ายกว่าสีดำ

จงใช้สีเท่าที่จำเป็นและสอดคล้อง ออกแบบโดยคำนึงถึงอาการตาบอดสี แล้วก็ CI ของ Brand

สีที่เยอะเกิน จะทำให้ไม่มีอะไรเด่น

ควรเปลี่ยนสี เฉพาะตอนที่ต้องการให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

ผู้ชาย 8% และ ผู้หญิง 0.5% ตาบอดสี แยกแดงกับเขียวไม่ออก

คิดอย่างนักออกแบบ

ใช้ตัวช่วยบ่งชี้ทางการมองเห็นเพื่อบอกใบ้ผู้รับสารว่าพวกเขาควรมีปฏิสัมพันธ์กับแผนภาพของคุณอย่างไร เช่น เน้นองค์ประกอบสำคัญ กำจัดสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ และกำหนดลำดับความสำคัญในการมองเห็นข้อมูล ออกแบบแผนภาพให้เข้าใจง่ายโดยไม่ใส่รายละเอียดมากเกินไปรวมถึงใช้ข้อความเพื่อกำกับและอธิบายเพิ่มเติม ทำให้แผนภาพของคุณสวยงามเพื่อให้ผู้รับสารเปิดใจรับข้อมูลมากขึ้น และทำให้ผู้รับสารยอมรับผลงานการออกแบบแผนภาพของคุณ

Key: เราต้องคิดว่าเราต้องการให้ผู้รับสารสามารถ ทำอะไร กับข้อมูล ( การใช้งาน ) เป็นอันดับแรก จากนั้นค่อยออกแบบ

ด้านซ้าย อ่านแล้ว มึนๆ ไม่รู้จะให้ทำไรต่อ

ด้านขวา คือ ปรับองค์ประกอบอื่นๆเป็นสีเทา เพื่อที่เราจะได้รู้เลยว่าต้องโฟกัสที่ไหน

คุณจะรู้ว่าคุณไปถึง ความสมบูรณ์แบบแล้วไม่ใช่เพราะไม่ต้องเพิ่มอะไรแล้ว แต่เพราะ คุณไม่มีอะไรต้องตัดทิ้งแล้วต่างหาก

องค์ประกอบไม่สำคัญหมายถึงองค์ประกอบที่กินพื้นที่บนหน้าสไลด์แต่ไม่ช่วยเพิ่มข้อมูลอันเป็นประโยชน์ใดๆ

  • ข้อมูลไม่ได้สำคัญเท่ากันหมด
  • หากรายละเอียดไม่จำเป็น จงสรุปสั้นๆ คนฟังไม่ต้องรู้เท่าคุณก็ได้
  • ถามตัวเองว่า ถ้าตัดอันนี้ทิ้งแล้ว ผลลัพธ์จะเปลี่ยนหรือไม่ ถ้าไม่ ลบทิ้งเลย
  • ปรับองค์ประกอบที่จำเป็น แต่ไม่ใช่ประเด็นหลักให้เป็นพื้นหลัง

การเข้าถึงได้

กราฟคุณ แม้แต่คนที่ไม่มีปริญญาด้านวิศวกรรม ก็ควรจะเข้าได้กราฟคุณได้

อย่าทำให้ซับซ้อนไป

หากอ่านเข้าใจยาก ก็ปฏิบัติตามได้ยาก

Font อ่านง่าย ภาษาตรงไปตรงมา

คนที่พ่นคำศัพท์ยากๆ สักพักคนจะเลิกสนใจ

ข้อความคือมิตรแท้ของคุณ

จงใส่ข้อความกำกับให้จัดเจน คนรับสารจะได้ทุ่มเทพลังสมองเพื่อทำความเข้าใจข้อมูล แทนที่จะต้องเสียเวลาคิดว่าจะอ่านข้อมูลอย่างไร

อย่าทึกทักว่า 2 คนอ่านกราฟเดียวกัน จะตีความได้เหมือนกัน!! เขียนมันออกมาซะ

กราฟเพื่อขอจ้างคนเพิ่ม ก็บอกไปเลย

ถ่ายทอดเรื่องราว

สร้างสรรค์เรื่องราวด้วยจุดเริ่มต้น (โครงเรื่อง) จุดกึ่งกลาง(จุดพลิกผัน) และจุดสิ้นสุด (กระตุ้นให้ลงมือปฏิบัติ ที่ชัดเจนใช้ความขัดแย้งและความตึงเครียดตรึงความสนใจของผู้รับสารเอาไว้ พิจารณาลำดับและวิธีการถ่ายทอดเรื่องราวของคุณ ผสานพลังแห่งการกล่าวซ้ำเพื่อให้ผู้รับสารจดจำข้อมูลสุดท้าย ใช้เทคนิคตรรกะแนวตั้ง ตรรกะแนวนอน การเขียนสตอรีบอร์ดย้อนกลับและการมองสิ่งต่าง ๆ ด้วยมุมมองที่สดใหม่เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับสารจะเข้าใจเรื่องราวจากการนำเสนอของคุณอย่างชัดเจน

Key: คนจะเข้าใจหรือหรือจดจำได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการเล่า

บทที่เหลือเป็น การรวมเอาทริค 6 หัวข้อใหญ่นี้ไปใช้ร่วมกัน กับ Case study อีกครึ่งเล่มได้ มีตัวอย่างดีๆอีกเพียบ อย่าลืมไปหามาอ่านกัน มันดีย์มากกกกกก