การแบ่งขนาดของ ธุรกิจ sme ขนาดกลาง มีหลักเกณฑ์ อย่างไรบ้าง ตามกฏกระทรวงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

  • หน้าแรก

  • News & Events

  • บทความ

  • บริหารธุรกิจ

  • วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises = SMEs)

การแบ่งขนาดของ ธุรกิจ sme ขนาดกลาง มีหลักเกณฑ์ อย่างไรบ้าง ตามกฏกระทรวงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

       

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises = SMEs) เป็นธุรกิจที่มีจำนวนมากในประเทศไทยผู้ประกอบการส่วนมากประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดาคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล

       ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือกิจการร่วมค้าซึ่งจะประกอบธุรกิจขายสินค้าผลิตสินค้าหรือให้บริการทุกธุรกิจจะเกี่ยวข้องกับหน้าที่ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

       การกำหนดลักษณะ SMEs หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยมักจะใช้กำหนดลักษณะตามกฎกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2545สำหรับกรม สรรพากรประมวลรัษฎากรไม่ได้มีคำนิยาม SMEs ไว้ว่ามีลักษณะอย่างไรแต่ได้อาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากรออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจ SMEs เช่น ลดอัตราภาษีเงินได้ยกเว้นภาษีเงินได้การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่งเป็นต้นกำหนดลักษณะธุรกิจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 และกำหนดลักษณะธุรกิจตามประมวลรัษฎากร สรุปได้ดังนี้

  1. กำหนดลักษณะธุรกิจ SMEs ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543ตามกฎกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2545 อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 ได้กำหนดลักษณะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

       

ในกรณีที่จำนวนการจ้างงานของกิจการใดเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อมแต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางหรือมีจำนวนการจ้างงาน เข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางแต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อมให้ถือจำนวนการจ้างงานหรือมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่น้อยกว่าเป็นเกณฑ์การ พิจารณา

             2. กำหนดลักษณะธุรกิจที่กรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากรออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี


บทความโดย : กรมสรรพกร
ที่มา : 
http://www.prosmes.com

  • ​​​​​​​​​​​​​​​สรุปหลักเกณฑ์

  • กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง​

  • แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง​

  • clip ข้อมูลเกี่ยวกับการระดมทุนสำหรับ SME​

  • แนวทางการยื่นขอจดข้อจำกัดการโอนและรายงานผลการเสนอขายหลักทรัพย์​​​​​​

  • ศูนย์รวมข้อมูลระดมทุนผ่านช่องทางตลาดทุน​

การเสนอขายแบบ PP – SME ถือเป็นทางเลือกในการระดมทุนหนึ่งสำหรับกิจการที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง  ซึ่ง SME สามารถออกหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพ (“CD") เพื่อขายให้กับผู้ลงทุนได้ในวงจำกัด โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตหรือแบบแสดงรายการข้อมูล (“filing") ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.​

ขั้นตอนในการระดมทุนด้วยการเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจง (PP) - กรณีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (“SME")

  1. กิจการที่สนใจระดมทุนในรูปแบบ PP – SME จะต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุนระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (“สสว.") ผ่านทา​งเว็บไซต์ของสสว.​

  2. จัดเตรียมเอกสารสรุปข้อมูลที่อธิบายเกี่ยวกับลักษณะการประกอบธุรกิจ ความเสี่ยงและข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง (Factsheet) เพื่อเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาลงทุนของผู้ลงทุน

  3. เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายแล้ว กิจการมีหน้าที่ต้องรายงานผลการขายหลักทรัพย์มาที่สำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ปิดการเสนอขาย รวมถึงกิจการต้องรายงานผลการใช้สิทธิแปลงสภาพของ CD มาที่สำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้วย​

การแบ่งขนาดของ ธุรกิจ sme ขนาดกลาง มีหลักเกณฑ์ อย่างไรบ้าง ตามกฏกระทรวงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


สรุปหลักเกณฑ์

การเสนอขายขายหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพ (“CD") ถือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และถูกกำกับดูแลโดยสำนักงาน ก.ล.ต ทั้งนี้ สำนักงานตระหนักดีว่า แม้ SME และ startup ที่อยู่ในรูปแบบบริษัทจำกัดอาจยังอยู่ในช่วงเริ่มประกอบธุรกิจ หรือมีความเสี่ยงสูง แต่ก็เป็นบริษัทที่ยังคงต้องการเงินทุนเพื่อการเติบโตต่อไป สำนักงานจึงออกหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในรูปแบบเฉพาะเจาะจงของ SMEโดยเน้นหลักการกำกับดูแลที่ต้องไม่สร้างภาระและต้นทุนแก่บริษัทมากเกินไป ในขณะเดียวกัน ยังคงคำนึงถึงกลไกการคุ้มครองผู้ลงทุนด้วย ดังนี้​

1. คุณสมบัติของกิจการ

กิจการที่จะเสนอขายหลักทรัพย์แบบแบบเฉพาะเจาะจงของ SME ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • เป็นบริษัทจำกัดที่เข้าข่ายเป็น SME ขนาดกลางและขนาดย่อมตามนิยาม SME ของกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย พ.ศ. 2562

ภาคธุรกิจ

วิสา​หกิจขน​าดย่อม (Small)

วิสาหกิจขนาดกลาง (Medium)


การจ้างงาน

รายได้

การจ้างงาน

รายได้

ภาคการผลิต

ไม่เกิน 50 คน

ไม่เกิน 100 ลบ.

51 - 200 คน

เกินกว่า 100
แต่ไม่เกิน
500 ลบ.

ภาคการค้าและการบริการ

ไม่เกิน 30 คน

ไม่เกิน 50 ลบ.

31 - 100 คน

เกินกว่า 50
แต่ไม่เกิน
300 ลบ.

  • สมัครเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุนระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. และ สสว. โดยสามารถคลิกเพื่อตรวจสอบราย​ชื่อบริษัทที่เข้า​ร่วมโครงการดังกล่าว​​

2. การคุ้มครองผู้ลงทุน/การเสนอขายหลักทรัพย์

เนื่องจากบริษัทจำกัดที่มาระดมทุนแบบเฉพาะเจาะจง อาจเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น หรือมีความเสี่ยงในประกอบธุรกิจที่สูง รายได้หรือกำไรอาจยังไม่แน่นอน รวมทั้งมีโอกาสสูงที่จะไม่ประสบความสำเร็จ และเลิกประกอบธุรกิจไป ดังนั้น สำนักงานจึงกำหนดหลักเกณฑ์ประเภทผู้ลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนใน SME หรือ startup เพื่อใช้เป็นมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนตามระดับความสามารถในการรับความเสี่ยง หรือความเข้าใจในการลงทุนของผู้ลงทุน ดังนี้

​ประเภท​ผู้ลงทุน
วงเงินระดมทุน
​จำนวนผู้ลงทุน
วิสาหกิ​จขนาดย่อมและขนาดกลาง

(1)  ผู้ลงทุนสถาบัน (II) กิจการเงินร่วมลงทุน (PE) นิติบุคคลร่วมลงทุน (VC) และผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ (Angel Investor)

ไม่จำกัดวงเงิน

ไม่จำกัดจำนวน

(2)  กรรมการและพนักงานของกิจการและบริษัทย่อย รวมถึงนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นเพื่อถือหุ้นแทนกิจการสำหรับการจัดสรรหุ้นให้แก่กรรมการและพนักงาน (SPV)

ไม่จำกัดวงเงิน

ไม่จำกัดจำนวน

วิสาหกิจขนาดกลาง

(3) ผู้ลงทุนอื่นนอกจาก (1) และ (2)

ไม่เกิน 20 ล้านบาท
(รวมทั้งหุ้นและ CD)

ไม่เกิน 10 ราย
(รวมทั้งหุ้นและ CD)

3. หน้าที่ในการเสนอขายหลักทรัพย์

SME มีหน้าที่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • กรณีการเสนอขาย CD กิจการต้องจดข้อจำกัดการโอนสำหรับการเสนอขาย CD ในแต่ละครั้ง​กับสำนักงาน ก.ล.ต.
    .doc | .pdf

  • จัดให้มีข้อมูลสรุปที่อธิบายเกี่ยวกับลักษณะการประกอบธุรกิจ ความเสี่ยงและข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง (Factsheet) 
    .doc | .pdf​

  • ไม่โฆษณาการเสนอขายหลักทรัพย์ที่จะออกใหม่เป็นวงกว้าง

  • รายงานผลการขายหลักทรัพย์ (ทั้งหุ้นและ CD) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ปิดการเสนอขาย รวมถึงกรณี CD ต้องรายงานการใช้สิทธิแปลงสภาพภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้วย
    .doc | .pdf​

การแบ่งขนาดของ ธุรกิจ sme ขนาดกลาง มีหลักเกณฑ์ อย่างไรบ้าง ตามกฏกระทรวงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2563 ​เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นบริษัทจำกัด

  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2563 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัดโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม​

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง​

  • ข้อมูลสรุปสาระสำคัญของหุ้น / หุ้นกู้แปลงสภาพ (แบบ Factsheet SME)
    .doc | .pdf​

  • หนังสือขอจดข้อจำกัดการโอนหุ้นกู้แปลงสภาพ
    .doc | .pdf

  • รายงานผลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ SME PP-issuer)
    .doc | .pdf​

  • หนังสือแต่งตั้ง​เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operating Officer)
    .doc | .pdf
    ​​

clip ข้อมูลเกี่ยวกับการระดมทุนสำหรับ SME​

  • เสวนาออนไลน์ “SME-PO ทางเลือกใหม่ในการระดมทุนของ SME และ Startup" (วันที่ 1 ธ.ค. 64)​​

  • สัมมนาออนไลน์เรื่อง “SEC SME/Startup Forum: เริ่มต้นอย่างไรในตลาดทุน” (วันที่ 22 มี.ค. 64)

  • รายการ DCT Digital Future Talk เรื่อง “ปลดล็อก Crowdfunding ESOP และ Convertible Note เพื่อ Digital Startup” จัดโดยสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และคุณไพบูลย์ ดำรงวารี ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ สำนักงาน ก.ล.ต. ร่วมบรรยายและเสวนา (วันที่ 10 มี.ค. 64)​

  • งานสัมมนา : "ก้าวแรกของ SME สู่ตลาดทุนไทย" โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน ก.ล.ต. ​และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ในหัวข้อ "ช่องทางการระดมทุนผ่านตลาดทุนสำหรับ SME" และ "เส้นทาง SME สู่ตลาดทุนไทย" (วันที่ 16  ธ.ค. 2563)​​

  • "แหล่งทุนของ SMEs/Startups ที่ตลาดทุน" โดยคุณธนพงษ์ ณ ระนอง บริษัท Beacon Venture Capital (วันที่ 24 ต.ค. 2563)

  • "crowdfunding แหล่งทุนใหม่ของ SMEs/Startups" โดย คุณบุตรี หวังศิริรุ่งเรือง สำนักงาน ก.ล.ต. (วันที่ 23 ต.ค. 2563)

  • “SMEs/Startups ระดมทุนได้ ด้วยหุ้นกู้ Crowdfunding" โดย คุณศุภสิทธิ์ โล่ห์รัตนวิไล บริษัท เพียร์ พาวเวอร์ แพลตฟอร์ม จำกัด (วันที่ 22 ต.ค. 2563)

  • ก้าวต่อไป...ของ SMEs และ Start up วิกฤตกี่ครั้งฉันต้องอยู่รอด โดย...โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ แห่ง The Money Coach (วันที่ 25 ก.ย. 2563)

  • มีไอเดียเจ๋ง ทุนน้อย มาทางนี้ ตอนที่ 2 โดยคุณวรพล พรวาณิชย์ (จิม) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท เพียร์ พาวเวอร์ แพลตฟอร์ม จำกัด และคุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ (มิหมี) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย (วันที่ 18 ก.ย. 2563)

  • มีไอเดียเจ๋ง ทุนน้อย มาทางนี้ โดยคุณธนัช ศิริพูลเกียรติกุล Strategic Marketing Manager บริษัท ฟินิกซิคท์ จำกัด และ คุณธวัชชัย อิงบุญมีสกุล CEO & Co-Founder บริษัท เวลธิเทคฟิน จำกัด (วันที่ 11 ก.ย. 2563)

  • Smart SMEs/Smart Start up ฉลาดระดมทุน หนุนธุรกิจเติบโต โดย...คุณรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. (วันที่ 28 ส.ค. 2563)

  • Voice of SME ช่วงเดินหน้า SME ไทย "ก.ล.ต.กับการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SME" สัมภาษณ์คุณไพบูลย์ ดำรงวารี ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 สำนักงาน ก.ล.ต. (วันที่ 1 ก.ค. 2563)  

  • รายการ money buddy - เอสเอ็มอีหัวใจแกร่ง รับวันฟ้าหลังฝนโควิด-19 จากวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ คุณณัฐวุฒิ เผ่าปรีชา บริษัท โจ-ลี่ แฟมิลี่ จำกัด ธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปผลไม้ Wel.B  คุณเรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย และคุณธนพงษ์ ณ ระนอง นายกสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (วันที่ 29 พ.ค. 2563)

  • การบรรยาย “ช่องทางระดมทุน Crowdfunding ภาคการเกษตร" โดยคุณจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. (วันที่ 28 พ.ค. 2563)​

  • งานสัมมนา : "ROCKET LAUNCHER EP2 CONVERTIBLE DEBENTURE WEBINAR : เจาะลึกการเสนอขายหลักทรัพย์หุ้นกู้แปลงสภาพ" ผ่าน Facebook Live True digital park โดยคุณไพบูลย์ ดำรงวารี ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 สำนักงาน ก.ล.ต. ร่วมบรรยาย (วันที่ 21 พ.ค. 2563)

  • พลิกโฉมธุรกิจ SME: โอกาสใหม่ในยุค COVID-19" ตอนที่ 2 ของ SEC FinTech Virtual Seminar 2020 ผ่าน Facebook live สำนักงาน ก.ล.ต. (วันที่ 7 พ.ค. 2563)

  • งานสัมมนา “ROCKET LAUNCHER EP1 CONVERTIBLE DEBENTURE WEBINAR" ผ่าน Facebook Live True digital park โดยคุณไพบูลย์ ดำรงวารี ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 สำนักงาน ก.ล.ต. ร่วมบรรยาย (วันที่ 22 เม.ย.2563)​