การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง

                   ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า "เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ" เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า "เรือม หรือ เร็อม" เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรม ของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน

นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ


  ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่าหยาบนุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ


นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเมือง(ฟ้อนเล็บ ฟ้อนก๋ายลาย)ฟ้อนเทียน ฟ้อนจ้อง ฟ้อนวี ฟ้อนขันดอก ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนน้อยไจยา ฟ้อนหริภุญชัย ฟ้อนล่องน่าน ฟ้อนแง้น เป็นต้น นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น


ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนกำเบ้อ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก (กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำซอ ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา) ฟ้อนไต ฟ้อนไตอ่างขาง ฟ้อนนกยูง เป็นต้น



ฟ้อนเล็บ

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง



ฟ้อนเล็บ  เป็นการฟ้อนชนิดหนึ่งของชาวไทยในภาคเหนือ   ผู้ฟ้อนจะสวมเล็บยาว  ลีลาท่ารำของฟ้อนเล็บคล้ายกับฟ้อนเทียน  ต่างกันที่ฟ้อนเทียนมือทั้งสองถือเทียน  ตามแบบฉบับของการฟ้อน นางลมุล   ยมะคุปต์     ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย    ได้นำลีลาท่าฟ้อนอันเป็นแบบแผนมาจากคุ้มเจ้าหลวงมาฝึกสอน  จัดเป็นชุดการแสดงที่น่าชมอีกชุดหนึ่ง


        การแต่งกาย    นิยมใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วนๆ  นุ่งซิ่นมีเชิงที่ชายผ้า  สวมเสื้อแขนกระบอก    มีสไบเจียรบาดพาดไหล่ห่มทับเสื้อ  ผู้แสดงแต่งหน้าสดสวย  ยังมีการเกล้าผมมุ่นมวยแล้วใช้ดอกไม้ห้อยเป็นอุบะระย้าข้างศีรษะ


  ท่ารำ    มีการแบ่งท่ารำออกเป็น ๔ ชุด  คือ

ชุดที่  ๑ประกอบด้วยท่า จีบหลัง (ยูงฟ้อนหาง) บังพระสุริยา วันทา บัวบาน กังหันร่อน

ชุดที่  ๒ประกอบด้วยท่า  จีบหลัง  ตระเวนเวหา  รำกระบี่สี่ท่า  พระรถโยนสาร ผาลาเพียงไหล่   บัวชูฝัก          กังหันร่อน

ชุดที่  ๓  ประกอบด้วยท่า จีบหลัง พรหมสี่หน้า  พิสมัยเรียงหมอน  กังหันร่อน

ชุดที่  ๔ ประกอบด้วยท่า จีบหลัง  พรหมสี่หน้า  พิสมัยเรียงหมอนแปลง  ตากปีก

โอกาสที่ใช้   ใช้แสดงในวันสำคัญ  เช่น ต้อนรับแขกเมืองต่างชาติ  หรือในงานประเพณี 


 ฟ้อนที

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง


คำว่า “ที” หมายถึง “ร่ม” เป็นคำภาษา “ไต” ใช้เรียกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน “ที” ทางภาคเหนือมีลักษณะและรูปทรงแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัด “ที” ที่ชาวแม่ฮ่องสอนนิยมใช้มีรูปทรงสวยนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการรำได้ฟ้อนทีเป็นผลงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ จัดแสดงในงานนิทรรศการและการแสดงศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษาในสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร เพื่อเทิดพระเกียติมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ การแสดงชุดนี้นำร่มมาใช้ประกอบลีลานาฎศิลป์โดยมีท่าฟ้อนเหนือของเชียงใหม่ผสมกับท่ารำไตของแม่ฮ่องสอน มีการแปรแถว และลีลาการใช้ร่มในลักษณะต่าง ๆ ที่งดงาม เช่น การถือร่ม การกางร่ม การหุบร่ม เป็นต้น


ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้ดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือประสมวง ได้แก่ สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึ่งใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ขลุ่ย กรับคู่ กลองพื้นเมือง


การแต่งกาย มุ่งเน้นความสวยงามของเครื่องแต่งกายตามประเพณีนิยมภาคเหนือ แบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบหญิงไทลื้อ และแบบหญิงล้านนาแบบไทลื้อ นุ่งซิ่นลายขวาง เสื้อปั๊ด เกล้าผมสูงประดับดอกไม้เงิน ผ้าเคียนศีรษะประดับกำไลข้อมือ ต่างหูแบบล้านนา นุ่งซิ่นตีนจก ผ้าคาดเอว เสื้อเข้ารูปแขนยาว เกล้าผมมวยตั้งกระบังผมหน้าสูง ประดับดอกไม้เงิน เครื่องประดับมีเข็มขัด กำไลข้อมือ สร้อยคอ ต่างหู

การแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที


ฟ้อนผาง

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง


ฟ้อนผางเป็นศิลปะการฟ้อนที่มีมาแต่โบราณ เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ลีลาการฟ้อนดำเนินไปตามจังหวะของการตีกลองสะบัดชัย มือทั้งสองจะถือประทีปหรือผางผะตี้บ แต่เดิมใช้ผู้ชายแสดง ต่อมานายเจริญ จันทร์เพื่อน ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ดำริให้คณะครูอาจารย์หมวดวิชานาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับผู้หญิงแสดง โดยได้รับความอนุเคราะห์จากนายมานพ ยาระณะ ศิลปินพื้นบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดท่าฟ้อนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่ารำโดยมีนายปรีชา งามระเบียบอาจารย์ 2 ระดับ 7รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่(ฝ่ายกิจกรรม) เป็นผู้ควบคุมการประดิษฐ์ท่ารำ


  การแต่งกายและทำนองเพลง 

ลักษณะการแต่งกายแต่งแบบชาวไทยลื้อ สวมเสื้อป้ายทับข้าง เรียกว่า “เสื้อปั๊ด” หรือ “เสื้อปั๊ดข้าง” ขลิบริมด้วยผ้าหลากสีเป็นริ้ว นุ่งผ้าซิ่นเป็นริ้วลายขวาง ประดับด้วยแผ่นเงิน รัดเข็มขัดเงินเส้นใหญ่ ติดพู่แผงเงิน ใส่ต่างหูเงินและสวมกำไลข้อมือเงิน

สำหรับทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงชุดฟ้อนผางให้ชื่อว่า “เพลงฟ้อนผาง” แต่งโดยนายรักเกียรติ ปัญญายศ อาจารย์ 3 ระดับ 8 หมวดวิชาเครื่องสายไทย วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่


ฟ้อนสาวไหม

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง


ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก)


ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกัน

ในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ได้ขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่


ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นมาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยเอง


ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมนำมาแสดง จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมา คณะครูนาฎศิลป์จึงได้เลือกสรรโดยใช้เพลง "ซอปั่นฝ้าย" ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับท่ารำ การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้


ฟ้อนเงี้ยว

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง


ฟ้อนเงี้ยว  เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่  ประกอบด้วย  ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่  แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทยใหญ่  การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงาม   จึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน   หรือใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆ  มีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ  ฟ้อนเทียน 


การแต่งกาย  จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง   โดยใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก  นุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่า  หรือกางเกงขากว้างๆ   หรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า  สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู

โอกาสที่ใช้แสดง  แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป


ฟ้อมเมืองก๋ายลาย

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง


 ฟ้อมเมืองก๋ายลายเป็นการฟ้อนพื้นบ้านที่มีการปรับเปลี่ยนท่าฟ้อนโดยนำลีลาท่าฟ้อนเชิง (ลาย) เข้าไปผสมผสานกับท่าฟ้อนรำ ทั้งนี้เพราะ ฟ้อนเมือง หมายถึง การฟ้อนพื้นบ้านในล้านนา กลาย (อ่านว่า  ก๋าย) หมายถึง การปรับเปลี่ยนลีลาท่าฟ้อน และ ลาย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า เชิง ในที่นี้หมายถึง ลีลาการร่ายรำ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวล้านนา ฟ้อนเมืองก๋ายลายได้มีการค้นพบโดยนายสุชาติ กันชัย และนายสนั่น ธรรมธิ อดีตสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนาสโมสรนักศึกษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๓๑ในปัจจุบันแม่ครูฟ้อนเมืองก๋ายลาย  ของบ้านเหล่าแสนตอง  มีเหลืออยู่เพียงคนเดียว  คือ  แม่ครูเตรียมต๋า  วงศ์วาน    จากการสัมภาษณ์แม่ครู  แม่ครูเล่าว่าได้เรียนการฟ้อนชนิดนี้มาจากแม่ก๋องแก้ว  ซึ่งเป็นแม่ของแม่ครูเอง  และได้กล่าวถึงการฟ้อนในอดีตว่า  ช่างฟ้อนแต่ละคนก็มีพื้นฐานในการฟ้อนอยู่บ้างแล้วแต่ท่าฟ้อนนั้นมีความแตกต่างกันบ้างเมื่อมาฟ้อนร่วมกันจึงมีการตกลงเรื่องท่าฟ้อนให้มีท่าเดียวกันหลังจากนั้นก็ได้ติดตามคณะศรัทธาวัดไปแสดงในงานบุญ  ต่าง ๆ โดยเฉพาะงานฉลองถาวรวัตถุที่เรียกว่า “ปอยหลวง” การฟ้อนแต่ละครั้ง ได้รับความ  ชื่นชมจากผู้ที่ได้พบเห็นเป็นประจำ   จนถึงกับมีคนกล่าวกันว่า “หากงานบุญใดถ้าไม่ได้เห็นการฟ้อนเมืองก๋ายลายของช่างฟ้อนบ้านเหล่าแสนตอง จะไม่เดินทางกลับ  ต้องรอชมการฟ้อนชุดนี้ก่อน

    ท่าฟ้อนเมืองก๋ายลายที่แม่ครูได้รับการสืบทอดมานั้น มีอยู่ทั้งหมด  ๑๒  ท่า


การฟ้อนรำ นก โต

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง


การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีอะไรบ้าง



การฟ้อนรำ นก โต เป็นการแสดงของชาวไทใหญ่ที่มีเอกลักษ์ไม่เหมือนชาติใด โดยผู้แสดงการฟ้อนนก จะแต่งกายเลียนแบบนกยูงกรีดกรายร่ายรำแสดงท่ารื่นเริงสุขใจ ถ้าเป็นชายแต่งกายเป็นนกตัวผู้เรียกว่า กิ่งนะหร่า ถ้าเป็นหญิงแต่งเป็นนก ตัวเมียเรียก กิ่งนะหรี่ แต่เรียกทั่วไปว่า รำกิ่งกะหร่า มีความหมายว่าเป็นการรำนกทั้งหญิงและชาย

ส่วนการรำโต หรือ ก้าโต เป็นการแสดงโดยให้ผู้แสดงสองคนมุดเข้าไปอยู่ในหุ่นคล้ายกับกวาง ซึ่งไทใหญ่เรียกว่า โต เป็นสัตว์ในนิยายในสมัยพระพุทธกาล จากนั้นก็จะเต้นรำไปตามจังหวะกลองก้นยาว
อย่างน่าสนุกสนาน ซึ่งการฟ้อนนกและโตนี้ ส่วนใหญ่จะนิยมฟ้อนและรำในช่วงงานวันออกพรรษา เนื่องจากชาวไทใหญ่มีความเชื่อ ว่า นก โต เป็นสัตว์ที่ได้ร่วมถวายการฟ้อนรำแด่พระพุทธเจ้าในช่วงวันออกพรรษา 

กล่าวกันว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการเทศนาธรรมให้แก่พระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงด์มาสู่โลกมนุษย์ หรือที่เรียกว่าวันพระเจ้าเปิดโลกซึ่งตรงกับวันออกพรรษานั้น ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้พากันถวายการต้อนรับ ขณะที่สัตว์น้อยใหญ่ เช่น เสือ  สิงห์ ช้าง ลิง นก นกกิ่งนะหร่า กิ่งนะหรี่ โต ก็ได้พากันมาถวายการฟ้อนรำด้วย เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ชาวไทใหญ่ จึงได้ยึดถือเอาเหตุการณ์นั้นนำมาปฏิบัติสืบทอดกันมา

ปัจจุบัน การฟ้อนรำ นก โต ได้เริ่มเผยแพร่เข้าสู่สังคมไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและแม่ฮ่องสอน ซึ่งสามารถพบเห็นในงานหรือการเดินขบวนทั่วไป ทั้งนี้ เนื่องจากตลอดช่วง 10 - 15 ปีมานี้ ในภาคเหนือของไทยมีชนชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น และการฟ้อนรำ นก โต ได้มีการนำเข้าไปสอนตามโรงเรียนหลายแห่งของไทย

นาฏศิลป์พื้นเมืองของไทย ภาคเหนือ มีชุดการแสดงอะไรบ้าง

นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะการแสดงอย่างไร

จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น ภาคเหนือ ...

การแสดงใดจัดเป็นนาฏศิลป์พื้นเมือง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด นาฏศิลป์พื้นเมือง หมายถึง ศิลปะการแสดงร่ายรำประกอบดนตรี ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อนต่าง ๆ ที่นิยมเล่นกัน และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละท้องถิ่น เป็นมรดกท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองมีที่มาอย่างไร

นาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นศิลปะด้านการฟ้อนรำาดั้งเดิมของมนุษย์ มีที่มาจากประเพณี วัฒนธรรม การฟ้อนรำาของชาวบ้านพื้นถิ่น ประกอบด้วยการร้องรำา ที่มีลักษณะเรียบง่ายแต่ แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตนในด้านบทเพลง การแต่งกาย และการเคลื่อนไหวร่างกาย มีบทบาท ศิลปกรรมสาร ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2564 97 Page 9 และความสำาคัญ ในด้านการสื่อสาร ...