ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานมีอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง

โดย | ก.พ. 14, 2020 | บทความสุขภาพ

ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานมีอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานมีอะไรบ้าง

“ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง จะต้องตรวจเอดส์ไหม กังวลมาก ” สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีแล้ว การจำกัด จำนวนคนที่จะรู้เรื่อง ผลเลือดของตน รวมถึงโอกาสในการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างคนปกติทั่วไป ถือเป็นสิ่งที่มีผลต่อจิตใจ ดังนั้น ในการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน หากข้อกำหนด ในการตรวจสุขภาพของบริษัท จะรวมการตรวจเอชไอวีเข้าไปด้วยนั้น ก็จะยิ่งมีผลต่อจิตใจ และ เป็นสิ่งที่ บั่นทอนความรู้สึกของผู้ป่วย

การตรวจเชื้อเอชไอวี เป็นสิ่งที่ อยากให้ทุกคน ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ควรจะตรวจอย่างยิ่ง แต่ทั้งนี้ ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นความพึงพอใจ และความสบายใจที่จะตรวจ เรื่องนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ใคร ๆ ก็ไม่มีสิทธิ์ ที่จะไปสุ่มตรวจผู้อื่น หรือบังคับให้ผู้อื่นตรวจได้

การ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง โดยทั่วไป
เพศชาย
• ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (PE)
• เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (CXR)
• ตรวจความสำบูรณ์ของเลือด (CBC)
• ตรวจความผิดปกติในปัสสาวะ (U/A)
• ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด (Amphetamine)
• ตรวจการมองเห็น สั้น/ยาว/ตาบอดสี (V/A)
เพศหญิง
• ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (PE)
• เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (CXR)
• ตรวจความสำบูรณ์ของเลือด (CBC)
• ตรวจความผิดปกติในปัสสาวะ (U/A)
• ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด (Amphetamine)
• ตรวจการตั้งครรภ์ (Preg Test)
• ตรวจการมองเห็น สั้น/ยาว/ตาบอดสี (V/A)
นอกจากการตรวจสุขภาพหลักๆ โดยทั่วไปแล้ว อาจมีการกำหนด ให้ผู้สมัครงานตรวจสุขภาพ อย่างอื่นเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งงาน และขึ้นอยู่กับ ข้อกำหนดของบริษัท

แล้วสรุปว่า ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจเอดส์ไหม
ผลตรวจเชื้อเอชไอวี ถูกกำหนดให้ เป็นความลับส่วนบุคคล ห้ามมิให้ผู้ใดนำไปเปิดเผย โดยไม่ยินยอม หากบริษัทให้ผู้สมัครงาน ตรวจหาเชื้อเอชไอวี โดยใช้เป็นเงื่อนไข ในการจ้างงาน จะถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  หากไม่ได้รับการยินยอม ของบุคคล อีกทั้ง การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ก็มิได้ระบุ อยู่ในข้อกฎหมายแรงงาน เป็นเพียงสิ่งที่บริษัท จัดตั้งเงื่อนไขขึ้นมาเอง ถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ในเงื่อนไขใดๆ ก็ถือเป็นสิทธิส่วน (นิติ) บุคคลขององค์กรต่างๆ เช่นกัน เพื่อเป็นการป้องกันองค์กร และป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหากผู้สมัคร มีการท้วงติง และไม่ยินยอมที่จะตรวจ ทางบริษัทก็มีสิทธิ์ ที่จะปฏิเสธการว่าจ้าง แต่หากมาตรวจ ทราบภายหลังการว่าจ้างไปแล้ว ทางบริษัท ไม่มีสิทธิ์ที่จะไล่บุคคลนั้นออก

ประเด็นการ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน หรือ การตรวจสุขภาพประจำปี โดยการตรวจเลือดหาเอชไอวีด้วยนั้น ยังคงเป็นประเด็นที่ ถูกถกเถียงกันมากในสังคม ถึงแม้จะมีหลายๆ หน่วยงาน ที่ออกมาพูด แล้วว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ มีกฎหมายออกมาคุ้มครองโดยตรง มีเพียง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตราที่ 7 โดยมีความว่า “ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผย ให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้” ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ แต่ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้มีการร้องเรียนอย่างจริงจัง เนื่องจากผู้เสียหายนั้น ไม่กล้าที่จะแสดงตน

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ในส่วนของ การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีนั้น คงขึ้นอยู่กับ ข้อกำหนดของทางบริษัท สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ต้องการจะสมัครงานใดๆ และกลัวว่า จะมีการตรวจเอชไอวีด้วย แนะนำให้อ่านรายละเอียด ในด้านการตรวจสุขภาพ ให้เข้าใจก่อนสมัคร หรือ หากมีการระบุที่ไม่ชัดเจน ให้สอบถามกับแผนกงาน Human Resources หรือ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า HR เพื่อให้ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ทางเว็บไซต์ Thaihivtest.com ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ ให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้สามารถก้าวผ่านเรื่องนี้ไปให้ได้ และเป็นกำลังใจ ให้กับหน่วยงานที่กำลังดำเนินการในเรื่อง สิทธิมนุษยชในด้านนี้ ให้ประสบผลสำเร็จโดยเร็ว

การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน

ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานมีอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพ หมายถึง การตรวจร่างกาย และสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

    • การตรวจสุขภาพทั่วไป หมายถึง การตรวจสุขภาพของลูกจ้าง ปกติตรวจปีละครั้ง รายการตรวจสุขภาพทั่วไป ได้แก่ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด น้ำตาลในเลือด ค่าการทำงานของไต ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น รวมถึงการพิจารณาการตรวจตามอายุ เช่น อายุ 35 ปีขึ้นไปตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

    • การตรวจตามปัจจัยเสี่ยง หมายถึง การตรวจสุขภาพในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมอันตราย คือ สารเคมีอันตราย เชื้อโรคต่าง ๆ กัมมันตภาพรังสี ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน แสง  เสียง และสภาพแวดล้อมอื่นที่อาจเป็นอันตราย เช่น ฝุ่นฝ้าย ฝุ่นไม้ ซึ่งอาจต้องใช้การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด  สมรรถภาพการได้ยิน การตรวจสารบ่งชี้ทางชีวภาพของสารเคมีทางปัสสาวะ หรือเลือด

วัตถุประสงค์การตรวจสุขภาพ

    • เพื่อป้องกันโรคที่อาจค้นพบได้ในระยะต้น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  การคัดกรองมะเร็งเต้านม เป็นต้น

    • เพื่อประเมินความเหมาะสมของลูกจ้างที่จะเข้ามาทำงานว่าสภาพร่างกายมีความพร้อมหรือไม่ เช่น การทำงานในที่อับอากาศ การทำงานบนแท่นน้ำมัน การทำงานบนเรือ เป็นต้น

    • เพื่อใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบพื้นฐาน สำหรับการเฝ้าระวังทางสุขภาพต่อไปในอนาคต

    • เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลูกจ้างที่อาจเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เพื่อเฝ้าระวังโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง การตรวจสมรรถภาพปอดให้กับพนักงานที่สัมผัสสารเคมีที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานมีอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพทางด้านอาชีวอนามัย

    • ตรวจสุขภาพก่อนจ้างงาน (pre-employment examination) เป็นการตรวจสุขภาพก่อนที่หน่วยงานนั้นจะจ้างคนทำงานเข้ามาทำงาน (ผู้รับการตรวจการตรวจยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้างของหน่วยงานนั้น) เพื่อหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับงาน  โดยการตรวจสุขภาพประเภทนี้ไม่ได้มีข้อบังคับตามกฏหมาย

    • ตรวจแรกรับเข้าทำงาน (pre-placement examination) เป็นการตรวจสุขภาพหลังจากตกลงรับเข้าทำงานแล้วหรือเปลี่ยนลักษณะงานที่มีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม เพื่อเป็นข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นและดูว่าสุขภาพพนักงานมีความพร้อมในการทำงานประเภทนั้นๆหรือไม่ เช่น การทำงานที่ต้องสัมผัสเสียงดัง   การทำงานที่ต้องสัมผัสสารเคมี  โดยต้องตรวจให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน

    • การตรวจสุขภาพตามระยะ (periodic examination) เป็นการตรวจติดตาม หรือเฝ้าระวังสุขภาพคนทำงาน  ซึ่งอาจมีแนวโน้มแย่ลงหลังสัมผัสปัจจัยเสี่ยงต่างๆในที่ทำงาน โดยจัดให้มีการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

    • การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงาน (return to work examination) หมายถึง การสุขภาพของลุกจ้างว่ามีความพร้อมกับการกลับเข้ามาทำงานหรือไม่ ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงหยุดงานตั้งแต่ 3 วันทำงานติดต่อกันขึ้นไป เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใดๆ ก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ให้นายจ้างขอความเห็นจากแพทย์ผู้รักษา หรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการ

    • การตรวจสุขภาพก่อนออกจากงาน (retirement examination ) การตรวจสุขภาพเพื่อทราบสุขภาพของลูกจ้างที่กำลังจะออกจากงาน  ข้อมูลการตรวจสุขภาพที่ได้จะเป็นประโยชน์สำหรับสถานประกอบกิจการ เพื่อพิจารณาต้นเหตุว่า โรคหรือภาวะที่เป็น เกิดจากการทำงานในสถานประกอบการที่เดิมหรือไม่

บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน มีอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง?.
ซักประวัติและตรวจสุขภาพทั่วไป (Physical exams) ... .
การตรวจวัดทางสายตา ... .
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ... .
ตรวจปัสสาวะและตรวจสารเสพติด ... .
ตรวจหาเชื้อไวรัส โรคติดต่อ.

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทํางาน กี่บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน 3-5 รายการ ราคาอยู่ที่ประมาณ 350-1,300 บาท โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน 5-15 รายการ ราคาอยู่ที่ประมาณ 450-3,500 บาท

ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน โดยปกติแล้วจะเป็นการตรวจหาโรคติดต่อ หรือปัญหาสุขภาพที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ที่จะช่วยให้ท่านมั่นใจและปลอดภัยในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นในองค์กร เป็นการเสริมความมั่นใจให้กับองค์กรและผู้ที่เริ่มงาน ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ และพยาบาลวิชาชีพพร้อมมอบการตรวจสุขภาพอย่างเต็มที่ ของโรงพยาบาลนครธน ...

การตรวจสุขภาพทั่วไป ตรวจอะไรบ้าง

1. ตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Examination) ... .
2. วัดความดันโลหิตและชีพจร (Vital Signs) ... .
3. การวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ... .
4. ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ (Dental Examination) ... .
5. ตรวจวัดสายตา (Auto-refraction) ... .
6. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC).