หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีกี่ข้อ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 อาศัยความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 80 ที่กำหนดให้รัฐจะต้องดำเนินการพัฒนาทางด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม โดยมติเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสมัยนายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมดุลในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านความรู้ คุณธรรม ร่างกาย และจิตใจ หรือกล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งเน้นให้ผู้เรียน เก่ง ดี มีสุข ภายใต้แนวคิดที่ว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ โดยมีหลักการที่สำคัญคือ เน้นให้หลักสูตรมีเอกภาพ เป็นไปเพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสทั่วถึง สังคมมีส่วนร่วม หลักสูตรมีโครงสร้างที่สามารถปรับยืดหยุ่นได้ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ  โดยมาตรฐานที่เป็นตัวบ่งชี้การพัฒนาของผู้เรียนประกอบด้วย 2 ส่วน คือ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ

1. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คือ คุณสมบัติเป้าหมายที่หลักสูตรคาดหวังจากการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ ได้แก่ (1) ความสามารถในการสื่อสาร (2) ความสามารถในการคิด (3) ความสามารถในการแก้ปัญหา (4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และ (5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

เป็นคุณสมบัติที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานคาดหวังจากการพัฒนาผู้เรียน มี 8 ประการ คือ

(1) รักชาติ ศาสนา กษัตริย์ (2) ซื่อสัตย์สุจริต (3) มีวินัย (4) ใฝ่เรียนรู้ (5) อยู่อย่างพอเพียง (6) มุ่งมั่นในการทำงาน (7) รักความเป็นไทย และ (8) มีจิตสาธารณะ

ทั้งสองส่วนนี้คือ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จะสอดแทรกอยู่ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ย่อยลงมาจากสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ซึ่งระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้พึงปฏิบัติได้ โดยจะไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีอยู่ 8 กลุ่มสาระ รวมเป็นจำนวน 67 มาตรฐาน

สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วยองค์ความรู้   ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ
1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
5. สุขศึกษาและพลศึกษา
6. ศิลปะ
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8. ภาษาต่างประเทศ

ตัวชี้วัด คือเป้าหมายระดับย่อยที่สุดที่อยู่ในรูปของรายละเอียดพฤติกรรมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่ระบุไว้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งจะระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น โดยตัวชี้วัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่              

1. ตัวชี้วัดชั้นปี   เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1ม.3)           

2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้

1. กิจกรรมแนะแนว

2.  กิจกรรมนักเรียน แบ่งเป็น

 กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร 

 กิจกรรมชุมนุม ชมรม

3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

          หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เกิดขึ้นจากความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม กระตุ้นพ่อแม่ ผู้ปกครองหันมาส่งเสริมบุตรหลานให้ได้รับการศึกษามากขึ้น  เพื่อลดปัญหาความบกพร่องทางพัฒนาการในเด็กไทย และเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 จัดทำขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้แสดงเจตนารมณ์ของการศึกษาปฐมวัยว่าเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี ให้เป็นไปตามธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ภายใต้ความรักและความเข้าใจ เพื่อสร้างรากฐานให้เด็กเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  มีหลักการสำคัญที่มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท ยึดเด็กเป็นสำคัญโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  พัฒนาเด็กเป็นองค์รวม เน้นให้เด็กสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือจากครอบครัวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

การศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี โดยในแต่ละช่วงจะมีจุดหมาย คุณลักษณะตามวัยที่คาดหวัง และโครงสร้างหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป  จุดหมายโดยรวมเป็นการมุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ และความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์


หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีกี่ประการ

หลักการมี 3 ประการดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ

หลักสูตรแกนกลาง 2551 มีอะไรบ้าง

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน

จุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งเน้นการพัฒนาข้อใด

หลักสูตรแกนกลางการศึษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีจุดเน้นที่สำคัญในการพัมนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ โดยกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้