ผู้ให้ยืมมีสิทธิ อย่างไร บ้าง

  • หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • บทความที่น่าสนใจ

  • รู้หรือไม่ ยืมใช้สินค้าต้องเสียภาษี

รู้หรือไม่ ยืมใช้สินค้าต้องเสียภาษี

ผู้ให้ยืมมีสิทธิ อย่างไร บ้าง

          การยืมสินค้ามีหลายลักษณะทั้งแบบสินค้าคงรูปและแบบสินค้าใช้สิ้นเปลือง ซึ่งการยืมสินค้าในแต่ละแบบจะมีภาระภาษีแตกต่างกัน โดยหลักแล้วหากเป็นกรณีการให้ยืมสินค้าแบบคงรูป จะพิจารณาว่าผู้ให้ยืมได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปยังผู้ยืมหรือไม่เป็นสำคัญ หากสินค้าที่นำมาให้ยืมนั้น ผู้ให้ยืมไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมได้นำสินค้าตัวที่ยืมไปนั้นคืนให้แก่ผู้ให้ยืม กรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าแต่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ซึ่งการยืมสินค้านี้ อาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการให้เช่าทรัพย์สินในบางลักษณะ และอาจทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ใช้กฎหมาย จึงต้องศึกษาหลักกฎหมายและตัวอย่างต่างๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

          เจ้าของกิจการ พนักงาน หรือบุคคลอื่นใด อาจเคยให้ยืมใช้สินค้ากับบุคคลอื่นๆ ใช้เพื่อกิจการหรือเพื่อส่วนตัวเช่น ให้ยืมใช้เครื่องจักรเพื่อนำไปผลิตสินค้าให้ยืมทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อให้ผู้ที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ทรัพย์สินได้ใช้สอยประโยชน์ในทรัพย์สินที่ยืมมาตามความประสงค์

          การให้ยืมทรัพย์สินที่เป็นการยืมตามสัญญายืมใช้คงรูปจะไม่ได้มีการคิดค่าตอบแทนระหว่างกันแต่อย่างใดแต่ในบางกรณีอาจมีการคิดค่าตอบแทน เช่น การคิดดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงิน การคิดค่าเสียประโยชน์จากการให้บุคคลอื่นใช้ทรัพย์สินที่ยืม เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อบุคคลฝ่ายหนึ่งให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งยืมทรัพย์สินสิ่งสำคัญที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องศึกษาให้ถ่องแท้ คือ หลักกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร เป็นต้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  1. สัญญายืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ในการศึกษากฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยืมจะต้องศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและ

          พาณิชย์โดยเฉพาะบรรพที่ 3 ลักษณะที่ 9 ว่าด้วยเรื่องการยืม นอกจากนี้ยังต้องศึกษาบรรพที่ 1 ได้แก่ หลักในเรื่องนิติกรรม เนื่องจากสัญญายืมเป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย และบรรพที่ 2 ได้แก่ หลักในเรื่องหนี้ เนื่องจากสัญญายืมเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ขึ้นตามกฎหมายด้วย นอกจากนี้ยังต้องนำหลักกฎหมายที่เป็นบททั่วไปในบรรพที่ 1 และ 2 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเจตนาของคู่สัญญา ความสามารถในการทำนิติกรรม และวัตถุประสงค์ในการทำนิติกรรม สัญญายืมนั้นจึงจะมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย

หลักของกฎหมายแล้ว สัญญายืมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สัญญายืมใช้คงรูป และสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง โดยแยกพิจารณาสาระสำคัญได้ ดังนี้

  1. สัญญายืมใช้คงรูป หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว ดังนั้นสัญญายืมจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน(มาตรา 640 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
  2. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง หมายความว่า สัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืมและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภทชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้นสัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม (มาตรา 650 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
  3. สัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หลายๆ ท่านมักสับสนระหว่างสัญญาเช่ากับสัญญายืมว่ามีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

           เนื่องจากสัญญาทั้ง 2 สัญญานี้มีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้าน โดยสัญญาเช่าทรัพย์สินตามมาตรา 537 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ดังนั้น สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญามีค่าตอบแทน

 
ที่มา : www.dharmniti.co.th

หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป

ผู้ให้ยืมมีสิทธิ อย่างไร บ้าง

หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป 7 ประการ คือ
1. หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ส่งมอบ และส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 642 บัญญัติว่า "ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบ และค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย"
- ค่าส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สิน ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ยืมจะต้องเป็นผู้เสีย
- การส่งมอบและส่งคืน ถ้าไม่ได้กำหนดสถานที่ใดไว้ ต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ที่ทรัพย์นั้นอยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น ตามมาตรา 324 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมิได้มีแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะพึงชำระหนี้ ณ สถานที่ใดไซร้ หากจะต้องส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น ส่วนการชำระหนี้โดยประการอื่น ท่านว่าต้องชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้"

2. หน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง"
- ปกติคนทั่วไปใช้ทรัพย์สินนั้นทำอะไร ผู้ยืมก็จะต้องใช้อย่างนั้น เช่น รถเก๋งใช้ให้คนนั่ง ไม่ใช่เอาไปใช้บรรทุกของ
- สัญญาว่ายืมรถไปธุระที่เชียงใหม่ จะนำไปใช้เส้นทางอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ได้
- ผู้ยืมจะต้องเป็นคนใช้สอยทรัพย์สินเอง 
- เมื่อใช้สอยทรัพย์สินเสร็จแล้วหรือเมื่อครบกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้ยืมต้องคืน
- ถ้าผู้ยืมผิดหน้าที่ตามมาตรานี้ แล้วทรัพย์สินที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย ผู้ยืมจะต้องรับผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรก็ต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่แล้ว เช่น บ้านผู้ยืมและบ้านผู้ให้ยืมเป็นตึกแถวอยู่ติดกันถูกไฟไหม้ทั้งหมด ทรัพย์สินที่ยืมอย่างไรก็ต้องบุบสลายอยู่นั่นเอง ผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิด

3. หน้าที่สงวนทรัพย์สินที่ยืม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 644 บัญญัติว่า "ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง"
- ต้องใช้เกณฑ์วิญญูชนว่าในภาวะเช่นนั้นเขาปฏิบัติอย่างไรต่อทรัพย์สินนั้นๆ

4. หน้าที่คืนทรัพย์สินที่ยืม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640 ตอนท้าย บัญญัติว่า "...ผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว"
มาตรา 646 บัญญัติว่า "ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืม เมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว
ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อไรก็ได้"

- ถ้ายืมมีกำหนดเวลาไว้ เมื่อครบกำหนดก็ต้องคืน
- ถ้ายืมไม่มีกำหนดเวลาไว้ ก็ต้องคืนเมื่อใช้สอยเสร็จสิ้น หรือปกติจะใช้ทรัพย์สินเสร็จเมื่อใดก็ต้องคืนเมื่อนั้น
- ถ้ายืมไม่มีกำหนดเวลาและไม่ปรากฏในสัญญาว่ายืมไปเพื่อการใด ผู้ให้ยืมเรียกคืนได้ทันที

5. หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 647 บัญญัติว่า "ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย"
- เป็นค่าใช้จ่ายตามปกติของการดูแลรักษาทรัพย์สินนั้นๆ เช่น ยืมรถไป ผู้ยืมก็ต้องบำรุงรักษารถให้อยู่ในสภาพดี เติมน้ำ น้ำกลั่น น้ำมันเครื่อง ลมยาง
- ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ยืมจะเรียกค่าใช้จ่ายตามมาตรานี้จากผู้ให้ยืมไม่ได้
- ถ้าเป็นการซ่อมใหญ่ ไม่ใช่การบำรุงรักษาตามปกติ กฎหมายเรื่องยืมไม่ได้บัญญัติไว้ ถ้าผู้ยืมเอาทรัพย์สินไปซ่อมใหญ่โดยพลการ และไม่ได้ตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายกับผู้ให้ยืมก่อน ผู้ยืมจะเรียกให้ผู้ให้ยืมชดใช้คืนไม่ได้

6. ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมเมื่อผิดหน้าที่
มาตรา 643 และมาตรา 644 กำหนดหน้าที่ของผู้ยืมไว้ดังกล่าว เมื่อเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่ยืม ผู้ยืมจะต้องรับผิดชอบเฉพาะเมื่อผิดหน้าที่ตามสัญญาหรือตามมาตรา 643 หรือมาตรา 644
- ถ้าผู้ยืมไม่ผิดหน้าที่ แม้เกิดความเสียหาย ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิด

7. ผู้ยืมฟ้องผู้ทำละเมิดทำให้ทรัพย์สินที่ยืมเสียหาย
- ต้องพิจารณาว่า ผู้ยืมมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมหรือไม่ 
- ถ้าผู้ยืมใช้ทรัพย์ตามปกติ ไม่ผิดหน้าที่ แต่มีบุคคลภายนอกมาทำละเมิด ทำให้ทรัพย์สินที่ยืมเสียหาย แม้ผู้ยืมจะเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมทรัพย์สินให้กลับสู่สภาพเดิม ผู้ยืมก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดใช้ค่าเสียหาย เป็นเรื่องที่ผู้ให้ยืมจะต้องฟ้องเอง
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6683/2537 โจทก์ยืมรถยนต์มาใช้แล้วถูกจำเลยทำละเมิดขับรถยนต์มาชนท้ายรถคันที่ยืมเสียหาย แม้มาตรา 647 จะบัญญัติว่าค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติและการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืมอันเป็นปกติของการใช้ทรัพย์สินที่ยืมเท่านั้น มิใช่กรณีอันเกิดจากการถูกกระทำละเมิดซึ่งเป็นเหตุอันผิดปกติที่มีมาตรา 420 และมาตรา 438 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดไว้แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องซ่อมรถยนต์คันที่จำเลยทำให้เสียหาย โจทก์มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิด จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2551 โจทก์ผู้ยืมรถยนต์ยืนยันในคำฟ้องว่าเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ แม้โจทก์จะได้ซ่อมรถยนต์คันที่ยืมมาเรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของรถ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ที่มา
อาจารย์ปัญญา ถนอมรอด. คำบรรยายเนติบัณฑิต ภาค 1 สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 1 วิชายืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ

หน้าที่ของผู้ให้ยืมมีอะไรบ้าง

หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป.
หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ส่งมอบ และส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ... .
หน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์สิน ... .
หน้าที่สงวนทรัพย์สินที่ยืม ... .
หน้าที่คืนทรัพย์สินที่ยืม ... .
หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืม ... .
ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมเมื่อผิดหน้าที่.

สิทธิหน้าที่ของผู้ยืมและผู้ให้ยืม มีอะไรบ้าง

1. ผู้ยืมต้องจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดจากการยืม การทำสัญญา การส่งมอบ หรือการส่งคืนทรัพย์ที่ยืม 2. ผู้ยืมต้องใช้ความระวังในการใช้ทรัพย์สินที่ยืม ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้ในการอย่างอื่นนอกจากการใช้ แบบไม่ปกติ 3. ผู้ยืมจะต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะ

ข้อใดคือเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง

ยืมใช้สิ้นเปลือง 1.ลักษณะและหลักเกณฑ์สำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 15 15 การยืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป เช่นข้าวสาร น้ำมัน เป็นต้น ในปริมาณที่มีกำหนดแน่นอนให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืน ทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ ...

ข้อใดเป็นสิทธิของผู้ยืมใช้คงรูป

สัญญายืมใช้คงรูปเมื่อบริบูรณ์แล้ว ไม่ก่อหน้าที่แก่ผู้ให้ยืมให้ต้องรับผิดเพราะความชำรุดบกพร่องใด ๆ ที่เกิดต่อทรัพย์สินอันให้ยืม เว้นแต่เขารู้ดีอยู่แล้วว่ามีความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินแล้วให้ยืมไปโดยไม่บอกกล่าวผู้ยืม อันเป็นผลให้ผู้ยืมไม่อาจใช้สอยทรัพย์สินนั้นได้ด้วยดี ผู้ให้ยืมอาจต้องรับผิดตามหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วย ...