คุณธรรมและจริยธรรมในการทํางานมีประโยชน์อย่างไร

Details: Parent Category: ROOT Category: บทความคุณธรรม | Published: 31 October 2016

 ๑. ขยัน
     มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

๒. ประหยัด
   ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายรู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของอย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ

๓. ซื่อสัตย์
   มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงในปลอดจากความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อมรับรู้หน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง

๔. มีวินัย
   ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม

๕. สุภาพ
   มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าวรุนแรง หรืวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย

๖. สะอาด
   รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้ง กาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

๗. สามัคคี
   เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและอย่างสมานฉันท์

๘. มีน้ำใจ
   เป็นผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคมรู้จักแบ่งปันเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเห็นอก เห็นใจและเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

๙. กตัญญู
   ปฏิบัติตนเห็นคุณค่าแห่งการกระทำดี หรืออุปการคุณของผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ หรือผู้อื่น พร้อมที่จะแสดงออกเพื่อบูชา และตอบแทนคุณความดีนั้นด้วยการกระทำ การพูดและการระลึกถึงด้วยความบริสุทธิ์ใจ

   จากคุณธรรมพื้นฐาน ๙ ประการ สามารถนำไปกำกับการแสดงพฤติกรรมอย่างเหมาะสมกับการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม ภูมิใจในความเป็นไทย มีสำนึกนำในการดูและรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ การสำรวจตนเองทางด้านบุคลิกภาพ คุณธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การวางแผนชีวิตและงาน และแนวทางในการบริหารจัดการชีวิต ครอบครัว สังคม การมองโลกในแง่ดี โดยการนำคุณธรรม ความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและยั่งยืน

ที่มา : gotoknow

จริยธรรมต่อตนเอง
๑. เป็นผู้มีศีลธรรม และประพฤติตนเหมาะสม
๒. ซื่อสัตย์
๓. มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง
จริยธรรมต่อหน่วยงาน
๑. สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ
๒. ทำงานเต็มความสามารถ รวดเร็ว ขยัน ถูกต้อง
๓. ตรงต่อเวลา
๔. ดูแล รักษา และใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด
จริยธรรมต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน
๑. ร่วมมือ ช่วยเหลือ แนะนำ ทำงานเป็นทีม
๒. เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง
๓. สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่
๔. สุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์
๕. ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

จริยธรรมต่อประชาชนและสังคม
๑. ให้ความเป็นธรรมเอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ สุภาพอ่อนโยน
๒. ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป
๓. ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยจากผู้มาติดต่อ

จริยธรรมในฐานะหัวหน้างาน
จริยธรรมพื้นฐานของหัวหน้างาน มี ๔ ประการ คือ
๑. ความซื่อสัตย์ต่อหน่วยงานแม่
๒. ความซื่อสัตย์ต่อหน่วยงานของตน
๓. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
๔. ความเสียสละ
๕. รับผิดชอบในความสำเร็จและความล้มเหลวของหน่วย
๖. ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
๗. สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในหน่วย
๘. สั่งงานไม่เกินขีดความสามารถของหน่วยรอง
๙. ตรงไปตรงมา
๑๐. ยุติธรรม
๑๑. ไม่เห็นแก่ตัว

จริยธรรมในฐานะฝ่ายบริการ และสนับสนุน
๑. พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
๒. ปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ
๓. มีความรับผิดชอบ
๔. พัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ
๕. ประหยัดทรัพยากรของหน่วยงาน
๖. ดำรงชีพให้เหมาะสมกับฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย
๗. รักษาจรรยาวิชาชีพที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
๘. มีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับทุกคน

จริยธรรมในการทำงาน จากประสบการณ์

ข้อที่พึงละเว้น
– ไม่นินทานาย หรือกล่าวถึงส่วนไม่ดีของนายให้ผู้ใดฟังทั้งสิ้น
– ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของนายให้ผู้อื่นทราบแม้คนใกล้ชิดในครอบครัวของเรา
– ไม่ปิดบังเรื่องใด ๆ กับนายแม้ความผิดของตัวเองก็ยอมรับผิดอย่างตรงไปตรงมา
– ไม่ฟ้องนายในเรื่องที่เพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องทำผิดพลาด บางเรื่องกลับต้องออกรับหน้าแทนเสียเอง
– ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงานในทุกเรื่อง
– ไม่เห็นแก่ตัวเอาความดีใส่ตัวเพียงคนเดียว หรือโยนความผิดให้ผู้อื่น
– ไม่งอนหรือแสดงสีหน้าไม่พอใจนาย เมื่อนายใช้อารมณ์กับเรา
– ไม่เถียงนายต่อหน้าผู้อื่น ใช้วิธีขออนุญาตชี้แจงเมื่อไม่มีคนอื่นแล้ว
– ไม่ต้องให้นายสั่งไปเสียทุกเรื่อง
– ไม่ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของนาย
– ไม่ทำหรือส่งเสริมหรือสนับสนุนให้นายทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม, คุณธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ ตลอดจนกฎหมายบ้านเมือง
– ไม่ประพฤติตนผิดศีลธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ, กฎหมายบ้านเมือง จนมีเรื่องเดือนร้อนมาถึงนาย
– ไม่รับสินบนหรือของกำนัลในลักษณะสินบนจากบุคคลอื่น
– ไม่ใช้หน้าที่และฐานะที่อยู่หน้าห้องนาย เพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง หรือคนในครอบครัวในทางที่ไม่สมควร
– ไม่นำพวกพ้องหรือคนในครอบครัวมาเป็นภาระให้นายช่วยเหลือ
– ไม่ร้องขอความช่วยเหลือในเรื่องส่วนตัวใด ๆ จากนาย ยกเว้น นายยื่นมือเข้าช่วยเหลือเอง
– ไม่กีดกันบุคคลใด ๆ ไม่ให้เข้าพบหรือติดต่อกับนาย ยกเว้นบุคคลที่นายสั่งไว้ (ไม่หวงนาย)
– ไม่ตัดสินใจหรือออกความเห็นแทนนายในเรื่องที่บุคคลในหน่วยงานขอให้ถามนาย
– ไม่แก้หนังสือของหน่วยรอง และส่งกลับคืนเสียเองก่อนนำเรียนนาย
– ไม่ตอบนายว่า “ไม่ทราบ” อยู่เสมอ ๆ ควรใช้คำพูดว่า “ขออนุญาตไปตรวจสอบก่อน”
– ไม่ใช้โทรศัพท์ของนาย หรือเวลาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้นายไปติดต่อเรื่องส่วนตัว
– ไม่ฉวยโอกาสแสวงประโยชน์ส่วนตัวจากบุคคลที่มาติดต่อกับนายหรือแขกของนาย
– ไม่เปิดเผยข้อราชการหรือการสั่งการของนายที่เป็นเรื่องลับ หรือเรื่องที่ไม่ควรเปิดเผยทั่วไป ให้แก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
– ไม่อ้างนายหรือคำสั่งนาย หรือทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นคำสั่งนาย ต่อผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตน
– ไม่ขออนุญาตไปทำธุระส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของงานของนายในวันนั้น

ข้อที่พึงปฏิบัติ
– กล่าวสรรเสริญความดีของนายต่อบุคคลอื่นเสมอ (ถึงแม้มีส่วนที่ไม่ดีอยู่บ้างก็จะพูดเฉพาะส่วนที่ดี)
– รักษาความลับในเรื่องส่วนตัวของนาย
– กล้าพูด กล้าถาม กล้าแสดงความคิดเห็นทุกเรื่อง อย่างตรงไปตรงมา
– เสนอแนะนายในการดูแลสวัสดิการและความก้าวหน้าของเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง
– ทำใจให้พร้อมที่จะรองรับอารมณ์โกรธหรือถูกด่าว่า ถูกตำหนิจากนาย (บางคน) โดยไม่แสดงออกซึ่งความไม่พอใจ
– ชี้แจงเหตุผลให้นายทราบเมื่อนายอารมณ์เย็นลงแล้ว
– ดูแลต้อนรับผู้มาติดต่อกับนาย และแขกของนายอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องให้นายสั่ง
– ริเริ่มวาดภาพล่วงหน้าเสมอ สมมุติว่าถ้าเราเป็นนายเราจะต้องไปไหน ทำอะไรบ้างในวันนี้และพรุ่งนี้ ควรจะต้องรับรู้หรือเตรียมการอย่างไรบ้าง แล้วเราก็เตรียมแบบนั้นให้นายโดยไม่ต้องรอให้นายสั่งก่อนจึงทำ
– ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี การพูดติดต่อประสานงานกระทำด้วยวาจาสุภาพ แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ มีวินัยในการแสดงการเคารพ ไม่ถือตัวว่าอยู่หน้าห้องนายแล้วไม่ต้องไหว้ใคร ทำตัวให้ผู้อื่นชื่นชม
– ปฏิบัติต่อบุคคลต่าง ๆ ตามนโยบายของนาย เช่น ผู้ใดไม่ต้องการพูดโทรศัพท์ด้วย หรือไม่อยากให้เข้าพบ เป็นต้น ต้องรู้จักหาวิธีพูดปฏิเสธโดยนุ่มนวล ไม่ให้เขารู้สึกว่านายสั่งไว้
– หากตรวจพบข้อผิดพลาดในหนังสือที่จะนำเรียนนาย ควรนำกลับไปถามนายรองคนสุดท้ายที่เซ็นเสนอขึ้นมาให้ท่านตัดสินใจและรับผิดชอบดำเนินการต่อไป ไม่ควรติดต่อกับเจ้าของ ยกเว้นเป็นคำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ควรกวนนายรอง
– มาถึงที่ทำงานก่อนนายและกลับหลังนายเสมอ
– ใช้คำพูดที่เหมาะสมในการตอบผู้มาติดต่อในขณะที่นายพักผ่อนอยู่ หรือออกไปรับประทานอาหารกลางวันแล้วยังไม่กลับเข้าสำนักงาน
– รีบติดต่อแจ้งให้นายทราบทันทีที่นายใหญ่เรียกพบ หรือมีบันทึกสั่งการในหนังสือ – ต้องเรียนรู้นิสัยใจคอของนายรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรพูด ควรทำหรือไม่ แค่ไหน อย่างไร ในช่วงจังหวะเวลาใด

เทคนิคบางประการในการทำงานทั่วไป
– สร้างความสัมพันธ์อันดีกับทุกคนในหน่วยงาน
– มีของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ทุกคนในหน่วยงาน เมื่อถึงวันเกิดหรือเทศกาลปีใหม่
– ถ้าผู้อาวุโสโทรมาบอกว่าจะมาประสานเรื่องงาน จะเป็นฝ่ายเดินไปหาผู้อาวุโสเอง
– ใช้หลักธรรมะในการปฏิบัติงาน ที่ใช้ประจำได้แก่
* เราจะให้อภัย ไม่โกรธ ไม่หงุดหงิด ไม่อึดอัดขัดเคืองผู้ใด หรือเรื่องใด
* เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนที่ดีเขามีอยู่…
* แก้ที่คนอื่นยาก ต้องแก้ที่ใจเรา
* กรรมบท ๑๐ ได้แก่ กาย ๓ (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม) วาจา ๔(ไม่พูดปด ไม่พูดหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ) ใจ ๓ (ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ผู้อื่น – โลภะ ไม่ผูกอาฆาต – โทสะ มีความเห็นถูกต้อง – โมหะ)
– ซื่อสัตย์ จริงใจต่อนายและลูกน้องในหน่วย ถือหลัก รายงานนายทุกเรื่องกระจายข่าวสาร แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนร่วมงาน
– รายงานเรื่องที่ทำการแทนนายทันที่ที่ท่านกลับมา หรือเขียนโน้ตทิ้งไว้บนโต๊ะนาย
– เมื่อหัวหน้าเรียกนาย ช่วยคิดและคาดเดาว่าจะเป็นเรื่องอะไร เสนอแฟ้มอะไรขึ้นไปหรือสอบถามเลขา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่นาย เอาเรื่องเดิมมาให้ท่านทบทวน เสนอแนะจุดที่คิดว่าน่าจะเป็นปัญหา และคำตอบหรือคำชี้แจงหัวหน้า
– แสดงการเคารพผู้อื่นด้วยความเคารพ ยิ้มแย้มแจ่มใส
– รักษาน้ำใจเพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น การแก้หนังสือ การรับประทานของว่าง
– ให้ความเห็นใจต่อความจำเป็นส่วนตัวของแต่ละคน ถามทุกข์สุข ถามการเดินทางไป – กลับบ้าน เห็นใจไม่ใช้งานใกล้เวลากลับบ้าน
– ก่อนเวลางาน หรือพักเที่ยง หรือเกินเวลางาน ถ้ามีงานด่วนมักจะพิมพ์เองทำเอง แล้วลูกน้องเขาก็มาช่วยเอง
– ใช้คนให้เหมาะกับงาน รู้ว่าใครถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร สั่งแล้วทำไม่ถูก ใคร่ครวญดูว่าเขาเข้าใจผิดหรือเราสั่งไม่ชัดเจน
– พูดกับลูกน้องที่เกเร แบบสองต่อสอง สอบถามความจำเป็นส่วนตัว ขอให้คิดถึงส่วนรวมไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน ไม่ด่าว่าต่อหน้าคนอื่น
– ไม่ทำลายบรรยากาศในสำนักงานด้วยการระบายอารมณ์ใส่ลูกน้อง
– ขอโทษทุกคนเสมอ เมื่อความผิดพลาดนั้นเกิดจากเรา
– ให้เกียรติด้วยคำพูดต่อผู้ที่มีอายุมากกว่า
– ปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างทุกเรื่องที่คนทั่วไปมักจะปฏิบัติย่อหย่อน เช่น การตรงต่อเวลาในการเข้าทำงานเช้า พักกลางวัน และเวลากลับบ้าน การไม่ใช้โทรศัพท์ของหน่วยงานติดต่อเรื่องส่วนตัว การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของโต๊ะทำงาน การประหยัดไฟฟ้าด้วยการปิด – เปิดไฟ/เครื่องปรับอากาศ ตามเวลาที่กำหนด การไปร่วมฟังธรรม การไม่กู้หนี้ยืมสิน ไม่เล่นหวยใต้ดินในที่ทำงาน ไม่สวมรองเท้าแตะออกนอกห้องทำงาน ใช้ห้องน้ำแล้วราดให้เรียบร้อยช่วยปิดก๊อกที่ปิดไม่สนิท ช่วยเก็บถ้วยจานที่ลูกน้องบริการของว่างบนโต๊ะทำงาน ช่วยปิดสำนักงานหน้าต่างประตูเมื่อจะกลับบ้าน เซ็นแฟ้มแล้วเดินเอาไปให้ลูกน้องที่โต๊ะ รีบทำเรื่องด่วนทันทีที่เห็นไม่รอให้ลูกน้องนำมาให้ตามขั้นตอน เซ็นแฟ้มทันทีที่ลูกน้องนำมาวางไม่ให้เรื่องแช่อยู่ที่โต๊ะเรา ไม่ใช้ลูกน้องทำธุระส่วนตัวมากจนเกินควร
– ลูกน้องปฏิบัติไม่ถูกไม่เหมาะสมด้วยเรื่องใด ไม่ต่อว่าทันที ดูที่ตัวเราก่อนว่าสั่งผิดหรือเปล่า พูดหรือเขียนไม่ชัดเจนหรือเปล่า ถ้าตรวจสอบแล้วเราไม่ผิด จะใช้วิธีสอนและอธิบายในสิ่งที่ถูกให้ฟัง
– ไม่โทษลูกน้องเมื่อนายตำหนิ เนื่องจากเอกสารผิดพลาดเพราะเราก็มีส่วนในการตรวจผ่านไป
– หน้าห้องนายแก้หนังสือเรา ถ้าเราผิดจริงยอมแก้โดยดุษณีและขอบคุณเขาที่ช่วยดูไม่โกรธ แต่ถ้าเขาผิด ขึ้นไปอธิบายให้ฟังหรือเขียนโน้ตชี้แจง ขออนุญาตยืนยันตามเดิมยกเว้นนายสั่งแก้
– เรื่องด่วนที่สุด สำคัญจริง ๆ ต้องรู้วิธีลัดขั้นตอน ทั้งการเสนอเซ็น และการให้ม้าเร็วไปส่งหนังสือถึงตัวผู้ดำเนินการต่อ ไม่ยึดติดกับระเบียบปฏิบัติจนเกินไป
– ให้เกียรติหน้าห้องนายในการตรวจแก้หนังสือ ถึงแม้เขาจะอาวุโสน้อยกว่า ถือว่าเขาช่วยไม่ให้หนังสือของหน่วยผิดพลาด
– ไม่แก้ร่างหนังสือของลูกน้องโดยฉีกทิ้งทั้งฉบับหรือร่างใหม่ทั้งหมด พยายามใช้กระดาษของเขาและข้อความของเขาให้มากที่สุด เพื่อรักษาน้ำใจและเสริมสร้างกำลังใจ
– การแก้ร่างหนังสือหากงานไม่ยุ่งมากจะพยายามแก้ไขร่างที่ลูกน้องเขียนมาทุกเรื่อง จะไม่ใช้วิธี “พูดอย่างเดียว” ว่าให้ไปปรับอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้ลูกน้องไม่อึดอัดและบ่นในใจว่า “ก็ผมคิดได้แค่นี้ จะให้แก้อย่างไรก็เขียนมาสิ” และเพื่อให้เขามีตัวอย่างเก็บไว้ดูด้วยว่าเราคิดอย่างไรเขียนอย่างไร
– สนับสนุนลูกน้องที่หารายได้พิเศษโดยสุจริต ไม่เบียดบังเวลางานจนเกินไป เช่น ช่วยซื้อของที่นำมาขายนอกเวลางาน ฯลฯ
– กล่าวชมเชยและขอบคุณลูกน้องเสมอ ๆ
– ดูแลให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานของลูกน้องอย่างเพียงพอไม่สั่งงานอย่างเดียว
– ใช้งานลูกน้องออกนอกหน่วย ให้ค่าอาหาร ค่าน้ำมันรถ และใช้ในเส้นทางกลับบ้าน
– รีบแจ้งเรื่องสำคัญเร่งด่วน ที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการปฏิบัติของนายให้หน้าห้องทราบทางโทรศัพท์ในชั้นต้นก่อน แล้วจึงทำงานหนังสือ

ข้อคิดบางประการในการทำงานเกี่ยวกับการเงิน
– มีความรู้สึกต่อเงินของหน่วยงานเสมือนหนึ่งเป็นผู้เก็บรักษาเศษกระดาษ (ไม่มีค่าสำหรับเรา) แต่ต้องเก็บรักษาให้ดีเหมือนธนาคารรับฝากเงินคนอื่น
– เก็บเงินของหน่วยงานกับเงินส่วนตัวคนละกระเป๋า คนละบัญชี เพื่อป้องกันการครหา
– เงินแก้ปัญหาของผู้บังคับบัญชา ต้องสนับสนุนให้หน่วยเกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา ไม่กำหนดข้อปฏิบัติด้านเอกสารยุบยิบเกินไป เพื่อมุ่งแต่จะป้องกันตนเองไม่ให้ถูกกล่าวหาว่า ทุจริต หรือไม่รอบคอบ
– ทำหน้าที่ถือเงินของหน่วย ถ้าออกเงินให้กู้ (ถึงแม้จะเป็นเงินส่วนตัว) จะทำให้ภาพพจน์เสียได้ อาจถูกมองว่า นำเงินหน่วยมาให้กู้กินดอก
– เจ้าหน้าที่การเงินเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยสร้างและบำรุงขวัญของข้าราชการในหน่วยได้ เพราะทุกคนย่อมต้องการได้รับเงินโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เงินตกเบิก เงินค่าเช่าบ้าน เงินค่ารักษาพยาบาล เงินค่าเล่าเรียนบุตร ฯลฯ ฉะนั้น พึงปฏิบัติงานเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
– ข้าราชการบางคนติดภารกิจสำคัญไม่สามารถไปเซ็นรับเงินด้วยตนเองได้ อาจขอให้ผู้อื่นมาเซ็นรับแทน เรื่องนี้ถ้าพออนุโลมได้น่าจะให้รับแทนได้ ไม่ทำตัวเป็นไม้บรรทัดเหล็กตรงเป๊ะ
– ไม่ทำงานป้องกันตนเองจนเกินไป โดยไม่คำนึงถึงภารกิจของหน่วยหรือความเดือนร้อนของข้าราชการในหน่วย
– ไม่ห่วงเรื่องส่วนตัวมากกว่างานในหน้าที่ เช่น ลาหยุด ๓ วัน เพื่อดูหนังสือเตรียมสอบวิชาที่กำลังเรียนนอกเวลาราชการ ทำให้งานในส่วนที่รับผิดชอบอยู่ต้องชะงักล่าช้าไป ๓ วัน หรือบางครั้งเกินกำหนดส่งประจำงวดหรือประจำเดือน กลายเป็นล่าช้าไปอีก ๑ งวด หรือ ๑ เดือน
– ไม่สะสมเรื่องไว้ทำพร้อมกันครั้งเดียวหลายเรื่อง ทั้งที่เรื่องนั้นสามารถแยกทำทีละรายได้ ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ยื่นเรื่อง ก่อน – หลัง
– ไม่เลือกปฏิบัติกับคนที่คุ้นเคยกันโดยทำเรื่องให้เร็วหรือทำเรื่องให้ก่อน และไม่ดึงเรื่องของคนที่ไม่ชอบกันให้ช้า ควรแยกความรู้สึกส่วนตัวกับบุคคลต่าง ๆ ออกจากความรับผิดชอบงานในหน้าที่

พฤติกรรมตัวอย่างที่เห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
๑. พาผู้ใต้บังคับบัญชาไปวัดฟังธรรมและนั่งสมาธิ
๒. ให้หัวหน้าแผนกไปติดตามดูลูกจ้างที่ขาดราชการไปหลายวัน ทราบว่าที่บ้านถูกน้ำท่วมจึงทำเรื่องขอความช่วยเหลือจากทางราชการและรวบรวมความช่วยเหลือขั้นต้นภายในหน่วย
๓. ยอมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายไม่ถือความคิดของตนเองเป็นใหญ่
๔. สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาให้เข้าศึกษาอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้
๕. แยกเรื่องงานออกจากความขัดแย้งส่วนตัวได้
๖. ถือว่าความสำเร็จของงานมาจากความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน
๗. ไม่ปล่อยให้งานคั่งค้าง ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องพร้อมให้ข้อมูลแก่ผู้บังคับบัญชาเสมอ
๘. ได้รับสินน้ำใจจากผู้มาติดต่อ นำเข้าเป็นส่วนรวมไม่เก็บไว้คนเดียว
๙. เก็บเงินที่ผู้รับเงินทำตกไว้ คืนให้เจ้าของ
๑๐. ไม่ใช้อารมณ์ในการทำงานไม่ใช้วาจาจาบจ้วงหรืออารมณ์ร้ายกับผู้ใต้บังคับบัญชา
๑๑. เป็นครูของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ไม่สั่งการหรือควบคุมอย่างเดียว
๑๒. แสดงความชื่นชมผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๑๓. ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ นำมาบอกผู้ใต้บังคับบัญชาให้รู้ด้วย
๑๔. ประดิษฐ์ดอกไม้มอบให้ลูกน้องในวันเกิด
๑๕. เยี่ยมให้กำลังใจข้าราชการที่ป่วย รวมทั้งบิดา – มารดา ของข้าราชการที่ป่วยนอน รพ.
๑๖. สวดมนต์ไหว้พระและแผ่เมตตาทุกเช้าก่อนเริ่มงาน
๑๗. ปกป้องลูกน้องที่ดีเมื่อทำงานผิดพลาดในบางครั้ง
๑๘. ปฏิบัติงานก่อนและหลังเวลาราชการ (มาทำงาน ๐๗๐๐ – ๑๘๐๐)
๑๙. กล้ารับผิดชอบงานที่ลูกน้องทำเสมอ
๒๐. ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของผู้ใต้บังคับบัญชา
๒๑. มาทำงานตรงต่อเวลาและไม่กลับก่อนเวลา
๒๒. ช่วยดูแลไม่ให้เพื่อนร่วมงานใช้วัสดุสิ้นเปลืองเกินจำเป็น และไม่ใช้วัสดุของทางราชการไปทำงานส่วนตัว เช่น การถ่ายเอกสาร เป็นต้น
๒๓. ช่วยปิดไฟฟ้าเมื่อหยุดพักทำงาน
๒๔. ข้าราชการเข้าใหม่ผู้หนึ่ง ใช้ความเป็นข้าราชการไปทำมาหากินโดยมิชอบ เพื่อนำเงินทองมาเที่ยวเตร่เลี้ยงเพื่อนฝูงจนเกิดเหตุ ผู้บังคับบัญชาได้ลงโทษพอควรแก่เหตุและให้โอกาสปรับปรุงตัว และกระตุ้นเตือนเพื่อนร่วมงานอย่าได้ซ้ำเติม ขอให้ช่วยเป็นกำลังใจและให้โอกาสแก่ข้าราชการผู้นั้น ทำให้ข้าราชการผู้นั้นมีกำลังใจที่จะแก้ไขปรับปรุงตัว จนเป็นข้าราชการที่ดีในที่สุด
๒๕. เมื่อมีข้าราชการมีเหตุจำเป็น ก็จัดเวรแทนกัน
๒๖. มีความเป็นธรรมในการพิจารณาบำเหน็จประจำปี โดยพิจารณาจากการทำงานทั้งปี ไม่ได้ดูเฉพาะใกล้ ๆ เวลาพิจารณาบำเหน็จ
๒๗. เรียกผู้ใต้บังคับบัญชาไปตักเตือนตัวต่อตัว ด้วยคำพูดแสดงความห่วงใย ไม่ประจานต่อหน้าผู้อื่น
๒๘. ข้าราชการผู้หนึ่งพบเห็นอุปกรณ์ของทางราชการชำรุด ก็ซ่อมให้ด้วยความรู้ความ สามารถของตนด้วยใจ โดยไม่คิดว่าธุระไม่ใช่
๒๙. จ่ายเงินให้ลูกน้องเกินไป ๕๐๐.- บาท ลูกน้องผู้นั้นได้นำเงินมาคืนให้
๓๐. ผู้บังคับบัญชาท่านหนึ่ง ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาเหมือนพ่อแม่ที่ห่วงใยลูกหลาน ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยใจจริง และห่วงใยไปถึงครอบครัวและบุตรหลาน
๓๑. ผู้บังคับบัญชาท่านหนึ่งมีความเป็นธรรมในการปกครองบังคับบัญชา ผู้ใดทำงานดีท่านจะยกย่องและให้ความดีความชอบตามความเหมาะสม ผู้ใดทำงานไม่ดีไม่มีผลงานท่านจะว่ากล่าวตักเตือนและพิจารณาผลงานตามความเป็นธรรม ผู้ใต้บังคับบัญชาบางรายพยายามประจบประแจงทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีผลงานแต่ท่านก็ไม่หลงกลทำให้เสียความเป็นธรรมแต่อย่างใด

พฤติกรรมตัวอย่างที่เห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่มี หรือขาด หรือด้อย คุณธรรมและจริยธรรม
๑. ทราบข้อมูลใหม่ ๆ แต่ไม่บอกเพื่อนร่วมงาน
๒. ไม่ให้ความร่วมมือให้ข้อมูลแก่ผู้อื่น จะเก็บไว้เรียนกับผู้บังคับบัญชาเอง
๓. เอาแต่พวกพ้อง พูดจาไม่ดีในการใช้งาน ผู้ใต้บังคับบัญชามีปัญหาส่วนตัวซึ่งทำให้กระทบถึงการทำงาน แต่ไม่สอบถามทุกข์สุขกลับรายงานผู้บังคับบัญชาชั้นสูงเพื่อลงโทษเลย
๔. ใช้พระเดชมากกว่าพระคุณ ถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
๕. ไม่มีจุดยืนของตัวเอง ขาดความเชื่อมั่นไม่กล้าตัดสินใจ
๖. ไม่กล้าลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาที่ละทิ้งงาน
๗. เป็นเจ้าหน้าที่เบิกค่ารักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียน แต่มักจะพูดจาไม่ไพเราะเอาแต่ใจ จนคนงานและลูกจ้างไม่กล้าติดต่อด้วย ต้องติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่คนอื่น
๘. ยักยอก ปลอมแปลงเอกสาร ปลอมลายเซ็นผู้บังคับบัญชา
๙. พิจารณาบำเหน็จไม่เป็นธรรม งานคั่งค้างทำงานไม่ตรงต่อเวลาแต่ได้รับการปูนบำเหน็จ
๑๐. พูดจาไม่เรียบร้อย เสียงดัง ข่มด่าข้ามหัวผู้อื่น ชอบนำปมด้อยของผู้อื่นมาล้อเลียน ชอบนินทา ยุแยงตะแคงรั่วให้ผู้อื่นทะเลาะกัน
๑๑. ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาแบบระบบอาญาสิทธิ์ ใช้อารมณ์ ไม่เป็นกลางในการตัดสินใจ
๑๒. สั่งงานข้ามขั้นไม่สั่งตามสายการบังคับบัญชา
๑๓. พูดคำด่าคำ เช่น โง่ บ้า ปัญญาอ่อน สมองหมา ปัญญาควาย
๑๔. หวงความรู้ หวงข้อมูล ไม่ยอมบอกให้เพื่อนร่วมงานทราบ เพราะเกรงว่าเพื่อนร่วมงานจะดีเด่นกว่า
๑๕. เชื่อและฟังคนใกล้ชิดมากเกินไป ทำให้เสียการปกครอง
๑๖. บางคนทำผิดร้ายแรงแต่ไม่ลงโทษหรือลงโทษเบา แต่บางคนทำผิดเล็กน้อยหรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่ใช่ความผิดร้ายแรง กลับได้รับโทษหนัก
๑๗. เอาความดีใส่ตนโดยที่ตนเองไม่ได้ทำงานนั้นเอง
๑๘. ผู้บังคับบัญชาบางคนไม่ชอบพอใครเป็นส่วนตัว พยายามหาทางขัดขวางหรือทำลายให้เสียหาย
๑๙. นำปัญหาของผู้อื่นไปเล่าให้คนอื่น ๆ ฟังในลักษณะนินทา แทนที่จะสงสารหรือคิดช่วยเหลือ
๒๐. โกงกินกันเป็นกลุ่ม ๆ
๒๑. มาทำงานสาย กลับก่อน ลาครึ่งวัน ชอบเดินคุยตามห้อง เวลาทำงานลงไปกินข้าว เวลาคนอื่นทำงานก็นั่งหลับ ทำงานส่วนตัวในที่ทำงาน ทำงานราชการเป็นงานอดิเรก ไม่เคยให้คำปรึกษาแก่ลูกน้อง ไม่สนใจว่าลูกน้องมีปัญหาอะไร
๒๒. เมื่อย้ายมารับหน้าที่ใหม่ นำพวกพ้องตามมาด้วยกลุ่มหนึ่ง และร่วมกันทำการไม่โปร่งใส
๒๓. ลูกน้องไปส่งหนังสือนอกหน่วย รถจักรยานยนต์ล้มได้รับบาดเจ็บ รถเสียหาย หัวหน้ากลับเรียกมาด่า หาว่าทำงานโดยความประมาทแทนที่จะให้กำลังใจ
๒๔. คนที่ทำงานขยันมากไม่ได้รับบำเหน็จ ๒ ขั้น แต่เด็กของนายที่ไม่ค่อยทำงานเท่าไรนายกลับให้ ๒ ขั้น
๒๕. ชอบบังหลวงเป็นประจำ สร้างหนี้สินมากมาย
๒๖. ผู้บังคับบัญชาบางคนพยายามสร้างความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับลูกน้องผู้หญิงที่หน้าตาดี
๒๗. ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ทั่วถึง ให้ความสนิทสนมเฉพาะกลุ่ม
๒๘. มีอคติลำเอียง มีความอยุติธรรม ขาดเมตตาธรรม ขาดภาวะผู้นำ ให้สิทธิประโยชน์แก่คนใกล้ตัว ตัดสินใจไม่เด็ดขาด
๒๙. ผู้ร่วมงานบางคนหวงงาน เอาเปรียบผู้อื่น ทำงานหยิบโหย่ง ชอบทำงานเอาหน้า ชอบการหมกเม็ด
๓๐. นินทาเพื่อนร่วมงาน หาทางปัดแข้งปัดขาผู้อื่น
๓๑. เอาเปรียบทางราชการ มาสายกลับก่อน ใช้วัสดุของทางราชการไปทำประโยชน์ส่วนตัว
๓๒. ไม่ให้ความร่วมมือในการประหยัดพลังงานของหน่วย
๓๓. เพื่อนร่วมงานมีงานเข้ามามากจะไม่ยอมช่วยเหลือ แต่ถ้างานของตัวเองเข้ามามาก ก็จะบ่นมากมายเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาแบ่งงานของตนเองให้แก่ผู้อื่น
๓๔. ผู้บังคับบัญชาท่านหนึ่ง ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาโดยใช้อำนาจตามความพอใจของตนไม่เคยฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา หากไม่พอใจใครจะคอยหาโอกาสขัดขวางและทำลายให้เกิดความเสียหายโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง จนทำให้ข้าราชการดี ๆ ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเกิดความท้อแท้อย่างมาก
๓๕. บางคนหาทางก้าวหน้าโดยอาศัยคนรู้จัก โดยไม่คำนึงถึงใครมาก่อนมาหลัง
๓๖. ผู้บังคับบัญชาบางคนใจแคบ ไม่ค่อยซื้ออะไรเลี้ยงลูกน้อง แต่ชอบกินของลูกน้องเป็นประจำ กว่าจะเลี้ยงลูกน้องบ้างก็ต้องถูกลูกน้องพูดจากถากถางเสียก่อน
๓๗. เป็นผู้บังคับบัญชา แต่พูดจาทะลึ่งไม่น่าเคารพ
๓๘. ผู้เป็นหัวหน้างานควรมีความรับผิดชอบ เมื่อลูกน้องทำผิดพลาดควรจะรับผิดชอบด้วยเพราะหัวหน้างานก็เซ็นผ่านไม่น่าอ้างว่าไม่เห็น หรือโทษว่าลูกน้องเป็นคนทำ ควรรับผิดด้วยไม่ใช่รับชอบอย่างเดียว
๓๙. ข้าราชการบางคนดื่มสุราเป็นอาจิณ ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว เล่นการพนันในวันเงินเดือนออก
๔๐. แก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยาในวงราชการ
๔๑. ข้าราชการบางคน ไม่อุทิศกำลังกายกำลังใจในการปฏิบัติงาน เมื่อไม่สมหวังก็เริ่มจะเกเรลาป่วย ทำงานตอนเช้าตอนบ่ายหาย
๔๒. ข้าราชการบางคนไม่ตั้งใจทำงานแต่พยายามเอาตัวรอดโดยการประจบประแจง เช่นนำสิ่งของมาให้ผู้บังคับบัญชา หรือพูดยกย่องผู้บังคับบัญชาโดยไม่เป็นจริง
๔๓. มีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ ตนเองมีครอบครัวแล้ว แต่ยังชอบคบกับคนต่างเพศอย่างใกล้ชิดจนเกินควร เช่น ไปไหนมาไหนด้วยกันตามลำพัง เป็นต้น

……………………………………………………….

Advertisement

คุณธรรม จริยธรรมในการทำงาน
คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงานมความดีและความถูกต้องในการแสดงออกทั้งกาย วาจา และใจของแต่ละบุคคลซึ่งยึดมั่นไว้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย
จริยธรรม หมายถึง กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงาม เหมาะสม และเป็นที่นิยมชมชอบหรือยอมรับจากสังคม เพื่อความสันติสุขแห่งตนเองและความสงบเรียบร้อยของสังคม

ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม
1.ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ
2.ช่วยให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
3.ช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้แก่บุคคลในชาติ
4.ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนมากขึ้น
5.ช่วยให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์มาสร้างสรรค์แต่สิ่งที่มีคุณค่า
6.ช่วยควบคุมความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เจิญไปพร้อม ๆ กัน
คุณธรรมในการทำงาน
คุณธรรมในการทำงาน หมายถึง ลักษณะนิสัยที่ดีที่ควรประพฤติปฏิบัติในการประกอบอาชีพคุณธรรมสำคัญที่ช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จมีดังนี้
1.ความมีสติสัมปชัญญะ หมายถึง การควบคุมตนเองให้พร้อม มีสภาพตื่นตัวฉับไวในการรับรู้ทางประสาทสัมผัส การใช้ปัญญาและเหตุผลในการตัดสินใจที่จะประพฤติปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ เหมาะสม และถูกต้อง
2.ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจา และใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง และไม่หลอกลวงใคร
3.ความขยันหมั่นเพียร หมายถึง ความพยายามในการทำงานหรือหน้าที่ของตนเองอย่างแข็งขัน ด้วยความมุ่งมั่นเอาใจใส่อย่างจริงจังพยายามทำเรื่อยไปจนกว่างานจะสำเร็จ
4.ความมีระเบียบวินัย หมายถึง แบบแผนที่วางไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและดำเนินการให้ถูกลำดับ ถูกที่ มีความเรียบร้อย ถูกต้องเหมาะสมกับจรรยาบรรณ ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
5.ความรับผิดชอบ หมายถึง ความเอาใจใส่มุ่งมั่นตั้งใจต่องาน หน้าที่ ด้วยความผูกพัน ความพากเพียร เพื่อให้งานสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
6.ความมีน้ำใจ คือ ปรารถนาดีมีไมตรืจิตต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบความสุข และชาวยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
7.ความประหยัด หมายถึง การรู้จักใช้ รู้จักออม รู้จักประหยัดเวลาตามความจำเป็น เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด
8.ความสามัคคี หมายถึง การที่ทุกคนมีความพร้อมทั้งกาย จิตใจ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จโดยไม่มีการเกี่ยงงอน
จริยธรรมในการทำงาน
จริยธรรมในการทำงาน หมายถึง กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางปกิบัติตนในการประกอบอาชีพที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาน เหทาะสม และยอมรับ
การทำงานหรือการประกอบอาชีพต่าง ๆ จะเน้นในเรื่องของจริยธรรมที่มีความแตกต่างกันดังนี้
จริยธรรมในการทำงานทั่วไป
จริยธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญในการทำงานและการดำรงชีวิต เรียกว่า มงคล 38 ประการ มงคลชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทำงานมีดังนี้
1.ชำนาญในวิชาชีพของตน ( มงคลชีวิตข้อที่ 8 ) เป็นการนำความรู้ที่เล่าเรียน ฝึกฝน อบรม มาปฏิบัติให้เกิดความชำนาญจนสามารถยึดเป็นอาชีพได้
2.ระเบียบวินัย ( มงคลชีวิตข้อที่ 9 ) การฝึกกาย วาจาให้อยู่ในระเบียบวินัยที่สังคมหรือสถาบันวางไว้เป็นแบบแผน
3.กล่าววาจาดี( มงคลชีวิตข้อที่ 10 ) คือ วจีสุจริต 4 ประการ ได้แก่ ความจริง คำประสานสามัคคี คำสุภาพ คำมีประโยชน์
4.ทำงานไม่คั่งค้างสับสน ( มงคลชีวิตข้อที่ 14 ) ลักษณะการทำงานของคนโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ
– การทำงานคั่งค้างสับสน คือ ทำงานหยาบยุ่งเหยิง ทำงานไม่สำเร็จ
– การทำงานไม่คั่งค้าง คือ การทำงานดีมีระเบียบ ทำงานเต็มฝีมือ และทำงานให้เสร็จ

จรรยาบรรณวิชาชีพ
จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อมุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม

ความสำคัญของจรรยาบรรณ
เพื่อให้มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข จึงต้องมีกฎ กติกา มารยาท ของการอยุ่ร่วมกัน ในสังคมที่เจริญแล้วไม่มองแต่ความเจริญทางวัตถุ

จริยธรรมในการทำงานผู้บริหาร
1.มีหิริโอตตัปปะ
2.เว้นอคติ 4 ประการ
3.มีพรหมวิหาร 4
4.มีสังคหวัตถุ 4
จริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพค้าขาย
1.ตาดี หมายถึง รู้จักสินค้า ดูของเป็น สามารถคำนวณราคา กะต้นทุน เก็งกำไรได้แม่นยำ
2.จัดเจนธุรกิจ หมายถึง รู้จักแหล่งซื้อขายสินค้า รู้ความเคลื่อนไหวและความต้องการของตลาด
3.พ้อมด้วยแหล่งทุนเป็นที่อาศัย หมายถึงเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจในหมู่แหล่งลงทุนใหญ่ ๆ
จรรยาบรรณวิชาชีพ
จรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง กฎเกณฑ์หรือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ผู้ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติ ชื่อเสียง ฐานะของสมาชิกและวงการวิชาชีพนั้น ๆ ของสมาชิกที่ประกอบอาชีพนั้น ๆ

ตัวอย่างจรรยาบรรณวิชาชีพ

จรรยาบรรณของผู้ประกอบอาชีพค้าขาย
1.พึงมีสัจจะ คือ ความจริงในอาชีพของตนและผู้อื่นที่ใช้บริการของตนอย่างเคร่งครัด
2.พึงมีเมตตากรุณาต่อลูกค้าเสมอหน้ากัน ไม่ควรคิดเอาประโยชน์ตน หรือผลกำไรลูกเดียว
3.พึงเฉลี่ยผลกำไรผู้ร่วมงานทุกคนเสมอหน้ากัน
4.พึงให้เกียรติแก่ลูกค้าทุกคน ไม่คดโกง
5.พึงหาวิธีการร่วมมือกับนักการค้าอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม
6.พึงเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างถูกต้องเต็มเม็ดเต็มหน่วย
7.พึงรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงานทุกคนด้วยความเมตตาธรรม
8.พึงพูดจาไพเราะอ่อนหวานและปฏิบัติตนเป็นกัลยณมิตรกับลูกค้าทุกคน
9.พึงบริการลูกค้าให้รวดเร็วทันใจเท่าที่จะทำได้
10.พึงหาทางร่วมมือ รวมแรง ร่วมใจกับรัฐบาลในการพัฒนาสังคม
จรรยาบรรณครู
1.เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์ อุทิศเวลาของตนให้ศิษย์
4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่า เป็นคนประพฤติชั่ว
5.ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา
6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง
7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ ไม่นำผลงานฃของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นของตน
8.ประพฤติอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต
9.สุภาพ เรียบร้อย เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์
10.รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
จรรยาบรรณแพทย์

1. มีเมตตาจิตแก่คนไข้ ไม่เลือกชั้นวรรณะ
2. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน
3. มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป
4. มีความละเอียดรอบคอบ สุขุม มีสติใคร่ครวญเหตุผล
5. ไม่โลภเห็นแก่ลาภของผู้ป่วยแต่ฝ่ายเดียว
6. ไม่โอ้อวดวิชาความรู้ให้ผู้อื่นหลงเชื่อ
7. ไม่เป็นคนเกียจคร้าน เผอเรอ มักง่าย
8. ไม่ลุอำนาจแก่อคติ 4 คือ ความลำเอียงด้วยความรัก
ความโกรธ ความกลัว ความหลง (โง่)
9. ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่เป็นโลกธรรม 8 คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และความเสื่อม
10. ไม่มีสันดานชอบความมัวเมาในหมู่อบายมุข
จรรยาบรรณนักกฎหมาย
1.พึงถือว่างานด้านกฎหมายเป็นอาชีพไม่ใช่ธุรกิจ
2.พึงถือว่ากฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือของความยุติธรรม มิใช่มาตราการความยุติธรรม
3.พึงถือว่านักกฎหมายทุกคนเป็นที่พึงของประชาชนทุกคนในด้านกฎหมาย
4.พึงถือว่าความยุติธรรมอยู่เหนืออามิสสินจ้้างหรือผลประโยชน์ใด ๆ
5.พึงถือว่าความยุติธรรมเป็นกลางสำหรับทุกคน
6.พึงถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิในเรื่องยุติธรรมเท่าเทียมกัน
7.พึงขวนขวายหาความรู้ให้ทันเหตุการณ์เสมอ
8.พึงงดเว้นอบายมุขทั้งหลายอันเป็นสิ่งบั่นทอนความยุติธรรม
9.พึงรักษาเกียรติยิ่งกว่าทรัพย์สินใด
10.พึงถือว่าบุคคลมีค่าเหนือวัตถุ

จรรณยาบรรณทหาร
1. มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. ยอมสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ
4. รักษาชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์ของทหาร
5. มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต
6. ซื่อตรงต่อตนเอง ผู้อื่น และครอบครัว
7. มีลักษณะผู้นำ มีวินัย ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเคร่งครัด และปกครองผู้ใต้ บังคับ บัญชา ด้วยความเป็นธรรม
8. ต้องไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ อันจักทำให้ เสื่อมเสียศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของทหาร
9. ไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใต้บังคับบัญชา หรือบุคคลอื่น อันอาจทำให้เป็นที่สงสัย หรือเข้าใจว่ามีการเลือกปฏิบัติ หรือไม่เป็นธรรม
10. ปฏิบัติต่อบุคคลที่มาติดต่อเกี่ยวข้องอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
11. รู้รักสามัคคี เพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการทหาร
12. ต้องบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ทางการทหาร
13. พัฒนาตนให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการทหาร
14. รักษาความลับของทางราชการทหารโดยเคร่งครัด

ค่านิยม
ความหมายของค่านิยมมีผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ ค่านิยม มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “Value” และมาจากคำสองคำคือ “ค่า” “นิยม”เมื่อคำสองคำรวมกันแปลว่า การกำหนดคุณค่า คุณค่าที่เราต้องการทำให้เกิดคุณค่า คุณค่าดังกล่าวนี้มีทั้งคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม ซึ่งคุณค่าแท้เป็นคุณค่าที่สนองความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนคุณค่าเทียม หมายถึงคุณค่าที่สนองความต้องการอยากเสพสิ่งปรนเปรอชั่วคู่ชั่วยาม

ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่บุคคลพอใจหรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แล้วยอมรับไว้เป็นความเชื่อ หรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ค่านิยมจะสิงอยู่ในตัวบุคคลในรูปของความเชื่อตลอดไป จนกว่าจะพบกับค่านิยมใหม่ ซึ่งตนพอใจกว่าก็จะยอมรับไว้ เมื่อบุคคลประสบกับ การเลือกหรือเผชิญกับเหตุการณ์ ละต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าจะนำค่านิยมมาประกอบการตัดสินใจทุกครั้งไป ค่านิยมจึงเป็นเสมือนพื้นฐานแห่งการประพฤติ ปฏิบัติของบุคคลโดยตรง
“ค่านิยม” หมายถึง ความเชื่อว่าอะไรดี ไม่ดี อะไรควร ไม่ควร เช่น เราเชื่อว่าการขโมยทรัพย์ของผู้อื่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่ดี ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ดี

อิทธิพลของค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล รองศาสตราจารย์ สุพัตรา สุภาพ ได้กล่าวถึงค่านิยมสังคมเมืองและค่านิยมสังคมชนบทของสังคมไทยไว้ค่อนข้างชัดเจน โดยแบ่งค่านิยมออกเป็นค่านิยมของคนในสังคมเมืองและสังคมชนบทซึ่งลักษณะค่านิยมทั้งสองลักษณะ จัดได้ว่าเป็นลักษณะของค่านิยมที่ทำให้เกิดมีอิทธิพลต่อค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรม
อิทธิพลของค่านิยมต่อตัวบุคคล ค่านิยมไม่ว่าจะเป็นของบุคคลหรือค่านิยมของสังคม จะมีอิทธิพลต่อตัวบุคคล ดังนี้ คือ ๑. ช่วยให้บุคคลตัดสินใจว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ดีหรือไม่ดี มีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าควรทำหรือไม่ควรทำ ๒. ช่วยให้บุคคลในการกำหนดท่าทีของตนต่อเหตุการณ์ที่ตนต้องเผชิญ ๓. ช่วยสร้างมาตรฐาน และแบบฉบับจากการประพฤติปฏิบัติของบุคคล ๔. มีอิทธิพลเหนือบุคคลในการเลือกคบหาสมาคมกับบุคคลอื่น และเลือกกิจกรรมทางสังคม ซึ่งตนจะต้องเข้าไปร่วมด้วย ๕. ช่วยให้บุคคลกำหนดความคิดและแนวทางปฏิบัติ ๖. ช่วยเสริมสร้างหลักศีลธรรม ซึ่งบุคคลจะใช้ในการพิจารณา การกระทำของตนอย่างมีเหตุผล

คุณธรรมและจริยธรรมในการทํางาน มีอะไรบ้าง

๙ คุณธรรมพื้นฐาน.
๑. ขยัน มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง.
๒. ประหยัด ... .
๓. ซื่อสัตย์ ... .
๔. มีวินัย ... .
๕. สุภาพ ... .
๖. สะอาด ... .
๗. สามัคคี ... .
๘. มีน้ำใจ.

คุณธรรมจริยธรรมมีความสําคัญต่อการประกอบอาชีพอย่างไร

คุณธรรมในการประกอบชีพ หมายถึง การกระทำ ที่เป็นประโยชน์ต่อการ ประกอบ อาชีพ ซึ่งก่อให้เกิดผลผลิต และรายได้โดยไม่เบียดเบียน หรือ ทำให้ ผู้อื่น เดือดร้อน และเป็นที่ยอมรับของสังคม ผู้ประกอบอาชีพทุกคนต้องมีคุณธรรมใน การประกอบอาชีพ เพื่อธำรงศักดิ์ศรีของมนุษย์เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ช่วยเสริมสร้างบุคลิกที่ดี สร้างความสำเร็จ ...

คุณธรรมและจริยธรรมมีประโยชน์อย่างไร

ให้ความรู้ในเรื่องคุณค่าของชีวิต.
ให้หลักในการดำเนินชีวิตว่าอะไรควร อะไรไม่ควร.
เป็นการพัฒนาจิตใจของคนให้มีระดับจิตใจสูงขึ้น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น.
ช่วยให้เห็นคุณค่าของจริยธรรมสากล เช่น ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน.
ให้หลักในการตัดสินว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด.

จริยธรรมมีความสําคัญอย่างไร

จริยธรรม มีความส าคัญส าหรับเป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติส าหรับตนเองและสังคม โดยรวม ซึ่งเมื่อบุคคลได้นามาปฏิบัติแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์สุข มีความสงบและเจริญก้าวหน้า องค์การ ใด หรือหมู่คณะใด ได้ประพฤติปฏิบัติในหลักของจริยธรรมแล้ว ย่อมเป็นสังคมแห่งอารยะ คือ สังคมแห่งผู้ เจริญอย่างแท้จริงโดยมีผู้กล่าวถึงความสาคัญ ...