เครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง มีอะไรบ้าง

เครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง มีอะไรบ้าง

นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจรับรองประจําปีเครื่องจักร และ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางาน ก่อสร้างให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และปลอดภัย ตามชนิดและประเภท ดังนี้

(๑) เครื่องจักรที่ใช้งานยก งานเคลื่อนย้าย หรืองานติดตั้ง ได้แก่ รถบรรทุก ระบบสายพานลำเลียง รถยก

(๒) เครื่องจักรที่ใช้ในงานดินหรืองานถนน ได้แก่ รถแทรกเตอร์ รถตัก เครื่องจักรสำหรับงานขุด รถบด รถขูดอุ้มดิน (Scraper) รถเกรด (Grader) รถปูคอนกรีตแอสฟัลต์ (Asphaltic Concrete Paver) รถพ่นยาง (Bitumen Distributor, Sprayer)

(๓) เครื่องจักรที่ใช้ในงานคอนกรีต ได้แก่ เครื่องผสมคอนกรีต (Concrete mixer) เครื่องสั่นคอนกรีต (Concrete Vibrator) เครื่องปั๊มคอนกรีต (Concrete Pumping Machine) เครื่องยิงคอนกรีต (Shotcrete Machine) เครื่องพ่นปูนทราย (Mortar Sprayer) รถคอนกรีตผสมเสร็จ (Transit-Mixer Truck)

(๔) เครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างฐานราก ได้แก่ เครื่องตอกเสาเข็ม เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง เสาเข็มเจาะและกำแพงพืด เครื่องอัดน้ำปูน (Cement Grouting Machine) เครื่องทำเสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Column Machine)

(๕) เครื่องจักรที่ใช้ในงานขุด งานเจาะ หรืองานอุโมงค์ ได้แก่ เครื่องอัดลม (Air Compressor) เครื่องเจาะหิน (Drilling Rock Machine) เครื่องเจาะอุโมงค์ (Tunnel Boring Machine) เครื่องดันท่อ (Pipe Jacking Machine) แบ็กโฮ (Backhoe) แดร็กไลน์ (Dragline) รถตักหน้า-ขุดหลัง (Front-End Loader)

(๖) เครื่องจักรที่ใช้ในงานตัด งานเชื่อม หรืองานเจีย

(๗) เครื่องจักรที่ใช้ในงานรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ เครื่องสกัด (Jack Hammer) คอนกรีตเบรกเกอร์ (Concrete Breaker) เครื่องตัดทำลายโครงสร้าง (Demolition Shears)

เครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง มีอะไรบ้าง

ที่มา : ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Picture : City vector designed by Freepik

หน้าแรก > บทความ > ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครึ่องจักรกลในงานก่อสร้าง

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครึ่องจักรกลในงานก่อสร้าง

เครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง มีอะไรบ้าง

  • เครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง มีอะไรบ้าง

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครึ่องจักรกลในงานก่อสร้าง

           การก่อสร้างปัจจุบันนี้ ได้นำเอาเครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องจักรกลต่างๆ เข้ามาใช้ดำเนินการเป็นจำนวนมากนับวันยิ่งจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะต้องการผลงานทีได้มาตรฐานตรงตามข้อกำหนดในรายการก่อสร้าง (Specifications) ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งทำเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยมุ่งหวังให้งานเสร็จทันตามกำหนดเวลาด้วย ถึงแม้ว่าแรงงาน (Labour) ประเทศเราจะหาได้ง่าย ค่าแรงงานถูก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย แต่เหตุผลสำคัญที่นำเอาเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ดำเนินการก่อสร้างนั้นเพราะว่า
           1. ประสิทธิภาพการทำงานบางอย่างสูงกว่าการใช้แรงงาน เครื่องจักรกลบางชนิดใช้แทนแรงงานได้ หลาย ๆ คน และเมื่อใช้เครื่องจักรกลแล้ว ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าการใช้แรงงานอีก
           2. การทำงานบางอย่างซึ่งถ้าใช้แรงงานแล้ว อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง และไม่สามารถทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาได้
           3. ลักษณะของงานก่อสร้างบางอย่าง ต้องกระทำให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในรายการก่อสร้าง เช่น การบดอัด การตัดเกรด เป็นต้น ซึ่งแรงงานไม่สามารถจะทำให้ได้ผลดีเท่ากับเครื่องจักรกล และในงานบางประเภทไม่สามารถจะใช้แรงงานได้เลย ต้องใช้เฉพาะเครื่องจักรกล เท่านั้น
           4 แนวโน้มของค่าแรงสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการคิดค้นเครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ เข้ามาใช้งาน เพื่อจะได้ลดจำนวนคนงานลงได้
           5 การใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นได้เสมอ เป็นปัญหาเรื่องที่อยู่ อุบัติเหตุ ข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้แรงงานด้วยกันเอง การร้องเรียกผลประโยชน์ต่างๆตลอดจนการนัดหยุดงาน เพื่อต่อรองกับผู้รับเหมาก่อสร้าง อันเป็นปัญหาแรงงานซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเวลาและค่าใช้จ่ายของงานโครงการอย่างแน่นอน

           ดังนั้นการใช้เครื่องจักรกลจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรโครงการ (Project Engineer.) ว่าควรจะใช้เครื่องจักรชนิดไหนกับงานรูปแบบใด หรือจะนำไปใช้กับงานในภูมิประเทศอย่างไร ซึ่งเครื่องจักรกลแต่ละชนิด แต่ละแบบนั้นย่อมมีความเหมาะสมกับงานและลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันด้วย

ประเภทของเครื่องจักรกล
           เครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทหลายชนิด ซึ่งแต่ละประเภทแต่ละชนิดมีขีดความสามารถและความเหมาะสมกับการใช้งานแต่ละอย่างต่างกันไป ดังนั้น ผู้ดำเนินการก่อสร้าง นอกจากจะต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการก่อสร้างเป็นอย่างดีแล้วจะต้องรู้จักเลือกใช้ประเภท ชนิดและขนาดของเครื่องจักรกลให้เหมาะสมกับสภาพงานนั้นๆ ด้วย จึงคุ้มค่ากับการลงทุนจนสำหรับการแบ่งประเภทของเครื่องจักรกลได้แบ่งออกเป็

           ประเภทของการใช้งาน คือ
           1. เครื่องจักรกลที่ใช้ยกและขนถ่ายวัสด
           2. เครื่องจักรกลที่ใช้ยกในงานดิน
           3. เครื่องจักรกลที่ใช้ยกในงานคอนกรีต
           4. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานถนน
           5. เครื่องจักรกลที่ใช้กับงานฐานราก
           6. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานขุดเจาะ

หลักการเลือกใช้เครื่องจักรกล
           หลักการทั่วไปควรเลือกใช้เครื่องจักรกล ที่มีคุณภาพดีเชื่อถือได้ มีบริการอะไหล่พร้อมเพียงอย่างสม่ำเสมอ มีบริการซ่อมที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อลดเวลาการซ่อมบำรุงให้น้อยลง จะได้มีเวลาในการทำงานมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้งานก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้น และลดต้นทุนการก่อสร้างให้ถูกลง โดยมีข้อควรพิจารณา ดังต่อไปนี้
           1. เลือกขนาดเครื่องจักรกลว่าจะต้องใช้เครื่องจักรกลขนาดใด ชนิดไหนจึงจะเหมาะสมกับงานที่กระทำอยู่ ข้อนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของงาน ระยะทางการขนถ่ายวัสดุจากแหล่งวัสดุไปยังบริเวณก่อสร้าง หลักสำคัญคือจะต้องให้เครื่องจักรกลต่างๆ ทำงานสัมพันธ์กัน โดยไม่ต้องหยุดรอเครื่องจักรกลบางเครื่อง ในขณะที่เครื่องจักรกลอื่นทำงานอยู่ ทั้งนี้จะต้องให้เครื่องจักรกลแต่ละเครื่องทำงานเต็มกำลังความสามารถ ดังนั้น การเลือกเครื่องจักรกลจึงต้องพอเหมาะกับงานไม่มีขนาดใหญ่หรือเล็กจนเกินไป
           2. เลือกใช้เครื่องจักรกลแต่ละชนิดให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของงานและสภาพของงาน เพื่อให้เครื่องจักรกลมีอายุการใช้งานยาวนาน เป็นการลดต้นทุนการซ่อมบำรุงไปด้วย เช่น เครื่องจักรกลที่มีอุปกรณ์สำหรับงานดินไม่ควรนำไปใช้กับงานหิน ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานชองเครื่องจักรกลนั้นสั้นลง หรือ รถตักก็ไม่ควรนำไปใช้งานดันหรือตักดินโดยไม่กองดินไว้ก่อนโดยรถแทรกเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะเครื่องจักรกลแต่ละชนิดได้ออกแบบเพื่อใช้งานเฉพาะแต่ละอย่างเท่านั้น ถ้านำไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี จึงเป็นการไม่คุ้มค่ากัน
           3. ใช้เครื่องจักรกลให้เต็มความสามารถ แต่ต้องไม่เกินขีดความสามารถเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการใช้เครื่องจักรเหล่านั้น บางเครื่องอาจต้องติดอุปกรณ์พิเศษบางอย่างช่วย เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน เช่น ใช้ลิปเปอร์ติดท้ายรถแทรกเตอร์ เพื่อขุดลากกับสภาพของดินหรือหิน ซึ่งแข็งเกินกว่าที่จะใช้ใบมีดไถดันโดยตรง ลักษณะเช่นนี้ย่อมจะทำให้งานง่ายขึ้น และยังช่วยให้อายุการใช้งานของเครื่องจักรกลยาวนานขึ้นอีกด้วย
           4 ใช้เครื่องจักรกลตามข้อแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาเครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพที่ดีจะช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักรกลได้ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงกจะต่ำลง ทั้งนี้จะต้องเลือกผู้ที่มีความชำนาญในการใช้เครื่องจักรกลนั้นๆ เป็นอย่างดี โดยกำหนดหน้าที่เป็นพนักงานบังคับรถตลอดจนมีผู้ดูแลบำรุงรักษาประจำรถ หรือเครื่องจักรกลนั้นๆ ด้วย
           5 ในงานก่อสร้างผู้ควบคุมควรมีความเข้าใจถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่เครื่องจักรกลบ้างตามสมควร ถ้าเกิดการชำรุดเพียงเล็กน้อยก็ควรหยุดเพื่อตรวจสอบและแก้ไข เพื่อป้องกันการเสียหายมากขึ้น จนต้อหยุดซ่อมเครื่องจักรกลเป็นเวลาหลายๆ วันซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การทำงานต้องชะงักลงด้วย และแผนการทำงานรองโครงการต้องล่าช้ากว่าปกติ

ปัญหาและสาเหตุของอุบัติเหตุเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรกล
ปัญหาและสาเหตุของอุบัติเหตุในการใช้เครื่องจักรกล สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็น คือ
           1. ทางด้านแรงงาน พนักงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักรกล และผู้ปฏิบัติงาน
                      - แรงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ เป็นชาวนา ชาวไร่ มีการศึกษาไม่สูงนักขาดความรู้ ทักษะการทำงานที่ใช้เครื่องจักรกล
                      - ขาดระเบียบในการทำงานกับเครื่องจักรกล โดยมักจะไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)
                      - ทางบริษัทผู้รับผิดชอบไม่มีการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานก่อนที่จะทำงานกับเครื่องจักรกล
           2 ทางด้านเครื่องจักรกล
                      - การใช้ครื่องจักรกลผิดประเภทกับงานที่ทำ เครื่องจักรแต่ละชนิดจะถูกออกแบบ และกำหนดแนวทางการใช้เฉพาะงาน
                      - การใช้เครื่องจักรกลเกินขีดความสามารถที่จะทำได้
                      - มีการแก้ไขดัดแปลงเครื่องจักรกลเอง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
                      - ไม่มีมาตราการ และออกกฎระเบียบในการใช้เครื่องจักรกลนั้นๆ
                      - ไม่มีการบำรุงตรวจสภาพเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ประกอบตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด

ขอบคุณข้อมูลจาก : กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

Visitors: 357,850