ข้อสอบระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ออนไลน์

แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534

จำนวน 55 ข้อ พร้อมเฉลย

บทนำ

แนวข้อสอบ “แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534” เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วนทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ“แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534” ไว้ในนี้แล้ว

1.พระราชบัญญัตินี้ฯ ให้ไว้ ณ. วันใด

ก. วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534

ข.วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2534

ค.วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534

ง.วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2534

ตอบ  ข.

2. พระราชบัญญัติขึ้นไว้โยคำแนะนำและยินยอมตามข้อใด

ก.สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ

6.การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ากำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงตามข้อใด

ก.เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

ข.ความมีประสิทธิภาพ

ค.ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

7.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน”

ก.ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

ข.ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

ค.ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 4 ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้

(1) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

(2) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

(3) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

8.ให้ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.คณะกรรมการนายกรัฐมนตรี

ง.เลขานุกรรมคณะนายกรัฐมนตรี

ตอบ ก.

9.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง”

ก.องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ข.สำนักนายกรัฐมนตรี

ค.ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง

ง.กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง

ตอบ ก.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 7 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้

(1) สำนักนายกรัฐมนตรี

(2) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง

(3) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง

(4) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนัก นายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง

10.สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นอะไร

ก.กรม

ข.กระทรวง

ค.ทบวง

ง.ราชการ

ตอบ ข.

11.ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณมีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้มีการ กำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดกี่ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกา

ก.หนึ่งปี

ข.สองปี

ค.สามปี

ง.สี่ปี

ตอบ ค.

12.การยุบส่วนราชการให้ตราเป็นตามข้อใด

ก.พระราชกฤษฎีกา

ข.ตามที่รัฐมนตรีกำหนด

ค.ความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี

ง.ตามที่กำหนด  กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

ตอบ ก.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 8 จัตวา 6  การยุบส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้งบประมาณรายจ่ายที่เหลืออยู่ของส่วน ราชการนั้นเป็นอันระงับไป สำหรับทรัพย์สินอื่นของส่วนราชการนั้นให้โอนให้แก่ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ ตามที่รัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งกำหนดโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี สำหรับวิธีการจัดการกิจการ สิทธิและหนี้สินของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราช กฤษฎีกา

13.ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐประสงค์จะรับโอนข้าราชการหรือลูกจ้างให้กระทำได้โดยมิให้ถือว่าข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นได้พ้นจากราชการ แต่ทั้งนี้ต้อง กระทำภายในกี่วัน นับแต่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ

ก.สามสิบวัน

ข.สี่สิบห้าวัน

ค.หกสิบวัน

ง.หนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ตอบ ก.

14.การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ตามข้อใด

ก.ระเบียบราชการ

ข.กฎกระทรวง

ค.ตามกฎหมาย

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ข.

15.ให้ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีบรรดาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นเป็นอะไร

ก.กรม

ข.กระทรวง

ค.ทบวง

ง.ราชการ

ตอบ ก.

16.สำนักนายกรัฐมนตรีมีหน่วยงานใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ

ก.คณะกรรมการรัฐมนตรี

ข.เลขานุการรัฐมนตรี

ค.นายกรัฐมนตรี

ง.ปลัดนายกรัฐมนตรี

ตอบ ค.

17.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

ก.กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน

ข.บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม

ค.แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 11 นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วน ภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการ ปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการ ส่วนท้องถิ่น

(2) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลาย กระทรวงหรือทบวง (3) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม

(4) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับ เงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม

(5) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรม หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะ เสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรงตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้ง ข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

(6) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็น คณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง

(7) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

(8) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

(9) ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย

18.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ “ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี”

ก.สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม

ข.รับผิดชอบควบคุมราชการประนำในสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ง.เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

ตอบ ก.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 16 สำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากมีนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติ ราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการใน สำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีกำหนดรวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการ ปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

(2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีรองจากนายกรัฐมนตรี รอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นข้าราชการของส่วนราชการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

(3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

19.ในการปฏิบัติราชการของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีใครเป็น ผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ

ก.ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ข.เลขาปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ง.ข้าราชการ

ตอบ ค.

20.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “จัดระเบียบราชการของกระทรวง”

ก.สำนักงานรัฐมนตรี

ข.สำนักงานปลัดกระทรวง

ค.กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

ง.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 18 ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้

(1) สำนักงานรัฐมนตรี

(2) สำนักงานปลัดกระทรวง

(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางกระทรวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วน ราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้

21. สำนักงานรัฐมนตรี และ สำนักงานปลัดกระทรวง มีฐานเป็นอะไร

ก.ทบวง

ข.กรม

ค.กระทรวง

ง.บริษัทหาชน

ตอบ กรม

22.การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง ให้เป็นไปตามข้อใด

ก.กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

ข.กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระรวง

ค.กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง ทบวง

ง.กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กรม

ตอบ ก.

23.วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงร่วมกันเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายของกระทรวง เป็นอำนาจหน้าที่ของใคร

ก. ปลัดกระทรวง  รองปลัดกระทรวง

ข.ปลัดกระทรวง  หัวหน้ากลุ่มภารกิจและหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป

ค.สำนักงานรัฐมนตรี  เลขาสำนักงานรัฐมนตรี

ง.สำนักงานปลัดกระทรวง  คณะสำนักงานปลัดกระทรวง

ตอบ ข.

24.รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติ ราชการ กำกับการทำงานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสานการปฏิบัติงานของส่วน ราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัดติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วน ราชการในกระทรวง เป็นอำหน้าหน้าที่ของใคร

ก.รัฐมนตรี

ข.สำนักงานรัฐมนตรี

ค.ปลัดกระทรวง

ง.รองจากรัฐมนตรี

ตอบ ค.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 21 ในกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติ ราชการ กำกับการทำงานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสานการปฏิบัติงานของส่วน ราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัดติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วน ราชการในกระทรวง

(2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี

(3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ สำนักงานปลัดกระทรวง

25.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง”

ก.สำนักงานรัฐมนตรี

ข.สำนักงานปลัดทบวง

ค.กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

26.ในกรณีที่สำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงมีทบวงอยู่ในสังกัด และปริมาณและคุณภาพของราชการใน ทบวงยังไม่สมควรจัดตั้งสำนักงานปลัดทบวง จะให้หน่วยงานใด ทำหน้าที่สำนักงานปลัดทบวงด้วยก็ได้

ก.สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ข.สำนักงานปลัดกระทรวง

ค.สำนักงานปลัดทบวง

ง.ถูกทั้ง ข้อ ก. และข้อ ข.

ตอบ ง.

27.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การจัดระเบียบราชการในกรม”

ก.สำนักงานเลขานุการกรม

ข.กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง

ค.สำนักงานตำรวจแห่งชาต

ง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.

ตอบ ง.

28.ใน กรมหนึ่ง มีอธิบดีกี่คนเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ

ก.หนึ่งคน

ข.สองคน

ค.สามคน

ง.สี่คน

ตอบ ก.

29.หัวหน้าส่วนราชการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามข้อใด เพื่อมาปฏิบัติงานทางวิชาการ

ก.รับนโยบายและคำสั่งจาก กระทรวง

ข.รับนโยบายและคำสั่งจาก ทบวง

ค.รับนโยบายและคำสั่งจาก กรม

ง.รับนโยบายและคำสั่งจาก กระทรวง ทบวง กรม

ตอบ ง.

30.ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมต้องมีใคร เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ก.รองเลขาธิการ

ข.รองผู้อำนวยการ

ค.ผู้ช่วยเลขาธิการ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

31.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การปฏิบัติราชการแทน”

ก.ให้ทำเป็นหนังสือ

ข.มอบหมายด้วยวาจา

ค.ได้รับอนุญาตจากหัวหน้างาน

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ ก.

32.ในการมอบอำนาจ ให้ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึงข้อใด

ก.การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

ข.ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ

ค.การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 40  ในการมอบอำนาจ ให้ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึงการำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจตามวัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจดังกล่าว เมื่อได้มอบอำนาจแล้ว ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่กำกับดูแลและติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบ อำนาจ และให้มีอำนาจแนะนำหรือแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้

33.ให้หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ มีหน้าที่ปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการตามภารกิจตามข้อใด

ก.งานการให้บริการ

ข.การให้บริการ

ค.การอำนวยความสะดวก

ง.ถูกทั้ง ข้อ ก. แล ข้อ ข.

ตอบ ง.

34.รายได้ของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเป็นรายได้ตามข้อได้

ก.เป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง

ข.เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลัง

ค.เป็นรายได้แผ่นดิน

ง.เป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งคลัง

ตอบ ก.

35.ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ มอบหมายให้ใครรักษาราชการแทน

ก.รองนายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี

ง.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

ตอบ ก.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 41 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการ แทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษา ราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

36.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน

ก.รองนายกรัฐมนตรี

ข.คณะรัฐมนตรี

ค.ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี

ง.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

ตอบ ค.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 43ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีหลายคน ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

37.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน

ก.ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี

ข.รองปลัดกระทรวง

ค.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

ง.นายกรัฐมนตรี

ตอบ ก.

38.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้อธิบดีให้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน

ก.ข้าราชการใน กรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี

ข.ข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า

ค.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง39.

ง.ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ข้อ ข.

ตอบ ง.

39.การรักษาราชการแทน มิให้ใช้บังคับแก่ราชการในกกระทรวงที่เกี่ยวกับใคร

ก.ครู

ข.ตำรวจ

ค.ทหาร

ง.หมอ

ตอบ ค.

40.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ““หัวหน้าคณะผู้แทน”

ก.บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายทหารประจำในต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุล ส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศ

ข.ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทย

ค.ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทน ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ข.

41.การสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลในคณะผู้แทนให้เป็นไปตามระเบียบที่ใครกำหนด

ก.นายกรัฐมนตรี

ข.รัฐมนตรี

ค.คณะรัฐมนตรี

ง.หัวหน้ารัฐบาล

ตอบ ค.

42.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน

ก.รองหัวหน้าคณะผู้แทน

ข.เลขาคณะผู้แทน

ค.คณะรัฐมนตรี

ง.หัวหน้ารัฐบาล

ตอบ ก.

43.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทน”

ก.บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย

ข.บังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทนและข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่บุคคลในคณะผู้แทนซึ่งประจำอยู่ในประเทศที่ตนมีอำนาจหน้าที่

ค.บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 50/4 หัวหน้าคณะผู้แทนมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้

(1) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ

(2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

(3) บังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทนและข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่บุคคลในคณะผู้แทนซึ่งประจำอยู่ในประเทศที่ตนมีอำนาจหน้าที่เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

(4) รายงานข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการของบุคคลตาม (3) เพื่อ ประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการต้นสังกัดเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือน

44.การที่กระทรวง ทบวง กรม จะมอบอำนาจหรือมีคำสั่งใดที่เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะ ผู้แทน ให้แจ้งผ่านใคร

ก.กระทรวงการคลัง

ข.กระทรวงการต่างประเทศ

ค.กระทรวงการกลาโหน

ง.กระทรวงการมหาดไทย

ตอบ ข.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 50/4 การที่กระทรวง ทบวง กรม จะมอบอำนาจหรือมีคำสั่งใดที่เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะ ผู้แทน ให้แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศ

45.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค”

ก.จังหวัด

ข.อำเภอ

ค.ตำบล

ง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.

ตอบ ง.

46. จังหวัด และ อำเภอ มีฐานะเป็นอะไร

ก.รัฐบาล

ข.เอกชน

ค.นิติบุคคล

ง.บุคคลธรรมดา

ตอบ ค.

47.ข้อใดหมายถึง “คณะกรรมการจังหวัด”

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.ปลัดจังหวัด

ค.ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

48.ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอะไร

ก.อำเภอ

ข.นายอำเภอ

ค.เขตอำเภอ

ง.รองนายอำเภอ

ตอบ ก.

49.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ”

ก.บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ

ข.บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย

ค.ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 65 นายอำเภอมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

() บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่า การปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไป ตามกฎหมายนั้นด้วย

(2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

(3) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่นซึ่ง คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี

(4) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย

50.ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบบริหารส่วนราชการส่วนท้องถิ่น

ก.องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ข.องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.เมืองพัทยา

ง.สุขาภิบาล

ตอบ ค.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 70 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้

(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด

(2) เทศบาล

(3) สุขาภิบาล

(4) ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด

51.ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผล คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่ากี่คนแต่ไม่เกินกี่คนต้องทำงานเต็มเวลาก็ได้

ก.ไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน

ข.ไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน

ค.ไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินเจ็ดคน

ง.ไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินห้าคน

ตอบ ก.

52.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี

ก.คราวละ หนึ่งปี

ข.คราวละ สองปี

ค.คราวละ สามปี

ง.คราวละ สี่ปี

ตอบ ง.

53.เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในกี่วัน

ก.สามสิบวัน

ข.สี่สิบแปดสิบวัน

ค.หนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ง.หนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ ก.

54.กรณีที่วาระของกรรมการผู้ทรงวุฒิเหลือไม่ถึงกี่วันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็ได้

ก.สามสิบวัน

ข.สี่สิบแปดสิบวัน

ค.หนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ง.หนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 71/5 ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระและยังมิได้แต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้

เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายใน สามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็ได้

55.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ”

ก.เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่าง อื่น

ข.เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่มิได้อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารตามที่ หน่วยงานดังกล่าวร้องขอ

ค.รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดำเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 71/10 “คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ” มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่าง อื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่น ให้เป็นไปตามมาตรา 3/1 โดยจะเสนอแนะให้มีการกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ และมาตรการก็ได้

(2) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่มิได้อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารตามที่ หน่วยงานดังกล่าวร้องขอ

(3) รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดำเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 3/1

(4) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบ เลิก การกำหนดชื่อการเปลี่ยนชื่อ การกำหนดอำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการที่ เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น

(5) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกา และกฎที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้

(6) ดำเนินการให้มีการชี้แจงทำความเข้าใจแก่ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชน ทั่วไป รวมตลอดทั้งการฝึกอบรม

(7) ติดตาม ประเมินผล และแนะนำเพื่อให้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ และรายงานต่อ คณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ

(8) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายว่าด้วยการ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติ ในกรณีที่เป็นปัญหา มติของคณะกรรมการ ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

(9) เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณา

(10) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่นเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา

(11) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่ มอบหมาย และจะกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่นด้วยก็ได้

(12) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

บทสรุป

แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534”  ทางผู้เขียนได้เน้นสาระสำคัญของเนื้อหาและความยาก ที่เคยออกสอบบ่อย“พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534”  เช่น ความหมายต่างๆ การจัดระเบียบบริหารราชากรกลาง การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง  การจัดระเบียบราชการในกรม การปฏิบัติราชการแทน  การรักษาราชการแทน  การบริหารราชการในต่างประเทศ  การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคจังหวัดและอำเภอ  การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ  ได้ลงไว้ในแนวข้อสอบนี้ไว้ หวังว่าผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจมีแรงบันดาลใจจากแนวข้อสอบให้

ข้อสอบระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ออนไลน์

อำนาจหน้าที่ของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  โดย ปลาทู

ข้อสอบระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ออนไลน์
อำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวง โดย ปลาทู

ข้อสอบระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ออนไลน์
ข้อสอบระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ออนไลน์
อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ  โดย ปลาทู

การจัดระเบียบบริหารส่วนราชการส่วนท้องถิ่น โดย  ปลาทู

ข้อสอบระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ออนไลน์
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดย  ปลาทู

ภาพทั้งหมด โดย  ปลาทู

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !