Wealth maximization หมายถึง

What is Wealth Maximization?

Wealth maximization is the concept of increasing the value of a business in order to increase the value of the shares held by its stockholders. The concept requires a company's management team to continually search for the highest possible returns on funds invested in the business, while mitigating any associated risk of loss. This calls for a detailed analysis of the cash flows associated with each prospective investment, as well as constant attention to the strategic direction of the organization.

The most direct evidence of wealth maximization is changes in the price of a company's shares. For example, if a company spends funds to develop valuable new intellectual property, the investment community is likely to recognize the future positive cash flows associated with this new property by bidding up the price of the company's shares. Similar reactions may occur if a business reports continuing increases in cash flow or profits.

Problems with Wealth Maximization

The concept of wealth maximization has been criticized, since it tends to drive a company to take actions that are not always in the best interests of its stakeholders, such as suppliers, employees, and local communities. For example:

  • A company may minimize its investment in safety equipment in order to save cash, thereby putting workers at risk.

  • A company may continually pit suppliers against each other in the unmitigated pursuit of the lowest possible parts prices, resulting in some suppliers going out of business.

  • A company may only invest minimal amounts in pollution controls, resulting in environmental damage to the surrounding area.

Because of these types of issues, senior management may find it necessary to back away from the sole pursuit of wealth maximization, and instead pay attention to other issues, as well. The result is likely to be a modest reduction in shareholder wealth. Given the issues noted here, wealth maximization should be considered just one of the goals that a company must attend to, rather than its only goal.

วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการบริหารการเงิน
โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าวัตถุประสงค์ของการบริหารการเงิน คือ การแสวงหากำไรสูงสุดหรือผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด (profit maximization) แต่แท้ที่จริงแล้ววัตถุประสงค์นี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่ดีเสมอไป เนื่องจากการแสวงหากำไรสูงสุดนั้นไม่ได้คำนึงถึงความพยายามที่ได้ทำลงไปในรูปของการเพิ่มเงินลงทุนหรือเพิ่มจำนวนหุ้นสามัญ นั่นคือไม่ได้คำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ (efficiency) ในการบริหาร
ดังนั้นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการบริหารการเงินก็คือ การแสวงหากำไรสูงสุดภายใต้ความมีประสิทธิภาพซึ่งหมายความว่า มีการใช้ความพยายามน้อยที่สุด แต่ได้รับผลตอบแทนมากที่สุด เมื่อเทียบกับกำไรและเงินลงทุนที่ธุรกิจได้รับ ซึ่งเรียกว่ากำไรต่อความพยายามสูงสุด โดยที่จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงทางธุรกิจ (business risk) และระยะเวลาของการได้รับผลตอบแทนด้วย ซึ่งก็คือ เป้าหมายในการแสวงหาความมั่งคั่งสูงสุด (wealth maximization หรือ maximize share holder wealth) คือ การแสวงหาความมั่งคั่งขั้นสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นสามัญ
สรุปแล้วเป้าหมายในการบริหารการเงิน คือ การแสวงหาความมั่งคั่งสูงสุด นั่นคือ การมีกำไรสูงสุดภายใต้ความมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงภัยทางธุรกิจที่ยอมรับได้และภายในระยะเวลาของการได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมที่สุด
การแสวงหาความมั่งคั่งสูงสุด หมายถึง ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นสามัญซึ่งเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง โดยวัดได้จากราคาตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น ดังนั้นเป้าหมายในการบริหารการเงินก็คือ การแสวงหาความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญหรือการทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญมีราคาสูงที่สุดนั่นเอง
หน้าที่ทางการเงิน
เพื่อให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายในการบริหารการเงิน คือ มีความมั่งคั่งสูงสุด จะต้องมีการจัดการที่ดีในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การผลิต การตลาด การบัญชี บุคลากร และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหน้าที่หนึ่งที่มีความสำคัญคือหน้าที่ทางการเงินนั่นเอง
หน้าที่ทางการเงิน (financial function) ประกอบด้วยหน้าที่หลัก ๆ คือ
1. หน้าที่ในการจัดหาเงินทุน
2. หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุน
3. การตัดสินใจในนโยบายเงินปันผล

การจัดหาเงินทุน
ผู้จัดการทางการเงินมีหน้าที่ต้องตัดสินใจว่า ควรจะจัดหาเงินทุนมาจากแหล่งใดและจะจัดหาด้วยสัดส่วนเท่าใด จึงจะทำให้ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนทางการเงิน (financial cost) ต่ำที่สุด ในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่เกิดความเสี่ยงภัยทางการเงิน (financial risk) มากจนเกินไป
การจัดหาเงินสามารถจัดหาได้จาก 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ
1. แหล่งเจ้าหนี้หรือหนี้สิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. หนี้สินระยะสั้น ได้แก่ การซื้อเชื่อ การเบิกเกินบัญชี ตั๋วเงินจ่าย รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น
2. หนี้ระยะปานกลาง ได้แก่ การเช่าทรัพย์สิน การซื้อผ่อนชำระ เป็นต้น
3. หนี้สินระยะยาว ได้แก่ การกู้ยืมระยะยาว การออกจำหน่ายหุ้นกู้หรือพันธบัตร เป็นต้น
ในการจัดหาเงินจากแหล่งหนี้สินนี้จะมี financial risk สูง แต่มี financial cost ต่ำ (มีความเสี่ยงทางการเงินสูงแต่มีต้นทุนทางการเงินต่ำ)
2. แหล่งเจ้าของกิจการ ได้แก่ การออกจำหน่ายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และกำไรสะสม ซึ่งการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเจ้าของกิจการจะเสียต้นทุนทางการเงิน (financial cost) สูง แต่จะมีความเสี่ยงทางการเงิน (financial risk) ต่ำส่วนการพิจารณาสัดส่วนการจัดหาเงินทุนว่าควรจะจัดหาจากแหล่งต่าง ๆ ในสัดส่วนเท่าใด เพื่อให้การจัดหาเงินทุนเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการชอบความเสี่ยง (risk preference) ของผู้บริหารทางการเงินแต่ละคนว่าชอบความเสี่ยงมากหรือน้อย
ถ้าหากชอบความเสี่ยงมากโครงสร้างเงินทุนก็จะประกอบไปด้วยสัดส่วนของหนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของ แต่ถ้าไม่ชอบความเสี่ยงโครงสร้างเงินทุนก็จะประกอบไปด้วยสัดส่วนของส่วนของเจ้าของมากกว่าหนี้สิน การตัดสินใจจัดหาเงินทุนจึงเป็นตัวกำหนดต้นทุนของเงินทุน (cost of capital) และความเสี่ยงทางการเงิน (financial risk) หรือความเสี่ยงที่อาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้เมื่อถึงกำหนดชำระ ซึ่งแหล่งเงินทุนแต่ละแหล่งจะมีคุณลักษณะแตกต่างกันดังนี้
- แหล่งเงินทุนระยะสั้น โดยปกติจะเสียต้นทุนของการจัดหาเงินต่ำ เนื่องจากเจ้าหนี้รับภาระความเสี่ยงในระยะเวลาไม่นานนัก จึงสามารถรับอัตราผลตอบแทนที่ต่ำได้ แต่ความเสี่ยงภัยในการหาเงินจะสูง เนื่องจากผู้จัดหาเงินมีเวลาสั้นในการหาเงินมาชำระหนี้
- แหล่งเงินทุนระยะยาว โดยปกติจะเสีย ต้นทุนของการจัดหาเงินสูง เนื่องจากมีระยะเวลานาน เจ้าหนี้จะรับภาระความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จึงต้องเรียกร้องดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงที่เจ้าหนี้ได้รับ แต่ความเสี่ยงภัยในการหาเงินต่ำ เนื่องจากผู้จัดหาเงินมีเวลานานในการหาเงินมาชำระหนี้ในการเปรียบเทียบแหล่งของการจัดหาเงินทุนโดยละเอียดว่าแหล่งใดมีความเสี่ยงภัยสูงหรือต่ำกว่า และต้นทุนการจัดหาสูงหรือต่ำกว่า
ก็อาจเปรียบเทียบจากการเรียงลำดับการจัดหาเงินทุนจากงบดุลทางด้านขวาหรือด้านหนี้สินและทุนซึ่งโดยปกติจะเรียงลำดับจากแหล่งเงินทุนที่มีระยะสั้นที่สุดไปหาแหล่งที่มีระยะยาวที่สุด หรือเรียงจากความเสี่ยงสูงที่สุดไปหาความเสี่ยงต่ำที่สุดดังนี้
ผู้จัดการทางการเงินที่เลือกจัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นในสัดส่วนที่มากกว่าจะเสียต้นทุนในการจัดหาเงินทุนที่ต่ำแต่มีความเสี่ยงภัยสูง ตรงข้ามกับผู้จัดการทางการเงินที่จัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะยาวในสัดส่วนที่มากกว่าจะเสียต้นทุนในการจัดหาเงินทุนสูงแต่ความเสี่ยงภัยจะลดลง
การจัดสรรเงินทุน
ผู้จัดการทางการเงินจะต้องตัดสินใจว่าควรจะนำเงินทุนที่ได้มาไปลงทุนสินทรัพย์อะไรบ้างและในสัดส่วนเท่าไร ซึ่งถ้าหากเป็นการลงทุนในเงินสดก็จะไม่ก่อให้เกิดรายได้ แต่จะก่อให้เกิดความคล่องตัวในการชำระหนี้ แต่ถ้าหากเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรก็จะก่อให้เกิดรายได้สูง แต่ความคล่องตัวหรือสภาพคล่องในการเปลี่ยนเป็นเงินสดเพื่อการชำระหนี้ต่ำสุดนั่นคือ เมื่อดูจากการจัดสรรเงินทุนในงบดุลทางด้านซ้าย จะเห็นว่าทรัพย์สินหมุนเวียนจะมีสภาพคล่องที่สูงแต่ให้ผลตอบแทนที่ต่ำ ส่วนทรัพย์สินถาวรจะมีสภาพคล่องที่ต่ำแต่จะให้ผลตอบแทนที่สูง (สภาพคล่อง หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงินสด เพื่อนำมาชำระหนี้ให้เร็วที่สุด)
ในการจัดสรรเงินทุนนั้นจะส่งผลกระทบต่อหลายอย่างดังนี้
- ขนาดของธุรกิจ (size of firm)
- สภาพคล่องของธุรกิจ (liquidity)
- กำไรของกิจการ (return)
- ขนาดของกำไร (size of profit)
- ความเสี่ยงของธุรกิจ (business risk)
การตัดสินใจในนโยบายเงินปันผล
นโยบายเงินปันผลมีความสัมพันธ์กับการจัดหาเงินทุนและการจัดสรรเงินทุน เพราะการจ่ายเงินปันผลคือการนำเอากำไรสุทธิที่สะสมอยู่ในรูปของกำไรสะสมมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่เจ้าของกิจการ และส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงขึ้นด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้ากิจการไม่มีการจ่ายเงินปันผล ราคาตลาดของหุ้นสามัญจะลดลง แต่กิจการก็สามารถที่จะนำเงินกำไรสะสมนั้นไปลงทุนต่อ (reinvestment) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ในการจัดหาเงินทุนของผู้จัดการทางการเงินอีกทางหนึ่ง ซึ่งการที่กิจการจะประกาศจ่ายเงินปันผลหรือไม่และจะจ่ายในอัตราเท่าใดนั้น ก็จะต้องคำนึงถึงความต้องการใช้เงินทุนของกิจการในขณะนั้นหรือในอนาคตด้วย
ข้อควรจำ จากงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) สรุปได้ว่า
1. ด้านทรัพย์สิน (งบดุลด้านซ้ายมือ) แสดงให้เห็นถึงการจัดสรรเงินทุนของกิจการว่าได้ลงทุนไปในสินทรัพย์ใดบ้าง ในสัดส่วนเท่าไร
2. ด้านหนี้สินและทุน (งบดุลด้านขวามือ) แสดงให้เห็นถึงการจัดหาเงินทุนของกิจการว่าได้จัดหาเงินทุนจากแหล่งใดบ้าง ในสัดส่วนเท่าไร
ผู้จัดการทางการเงินที่มีความสามารถจะมีนโยบายในการจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน ตลอดจนนโยบายเงินปันผลที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้กิจการมีกำไรต่อหุ้นสูงสุด มีความเสี่ยงภัยน้อยที่สุด มีระยะเวลาของการเริ่มได้รับผลตอบแทนเร็วที่สุด และราคาตลาดของหุ้นสามัญของกิจการสูงที่สุด ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นสูงที่สุด นั่นคือกิจการสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
ค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2553. จากเว็บไซต์ http://www.sheetram.com/mb203.asp

Maximize shareholder Wealth คืออะไร

ความมั่งคั่งสูงสุดของผู้ถือหุ้น (Maximize Shareholder Wealth) วัตถุประสงค์ของธุรกิจปัจจุบัน การพยายามทาให้มูลค่าของธุรกิจมีมูลค่าในปัจจุบันสูง (ราคาตลาดหุ้นสามัญสูง) ยอมรับได้ เพื่อความมั่งคั่งสูงสุดของผู้ถือหุ้น (Maximize Shareholder Wealth)

เป้าหมายของการบริหารการเงิน ที่สำคัญ หมายถึงอะไร

เป้าหมายทางการเงิน” หรือ “เป้าหมายที่เป็นตัวเงิน” คือ สิ่งที่เรากำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นทิศทางในการสร้างแผนปฏิบัติทางการเงิน พูดง่าย ๆ คือ เป็นเป้าหมายในวางแผนทางการเงินของเรานั่นแหละ พี่ทุยว่าลักษณะสำคัญของเป้าหมายทางการเงิน จะต้องเป็นเป้าหมายที่สามารถกำหนดเป็นตัวเงินได้อย่างชัดเจน ต้องมีความเป็นไปได้ชัดเจน วัดได้ และ ...

ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ด้านการเงิน

วัตถุประสงค์ของการวางแผนการเงิน เพื่อกำหนดทิศทาง และวิธีการในการตัดสินใจทางการเงิน เพื่อทำความเข้าใจว่าเมื่อตัดสินใจเรื่องการเงินด้านใด ก็จะส่งผลกระทบถึงการเงินด้านอื่นๆด้วย เพื่อให้บุคคลสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้ง่ายขึ้น และมีความสงบทางใจ

หน้าที่ของผู้บริหารการเงินที่สําคัญมีอะไรบ้าง

ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่ในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ขององค์การเพื่อรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ซึ่งการพยากรณ์และการวางแผนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะสั้น การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะยาว เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์เกี่ยวกับการรับ และจ่ายเงินสดของ ...