ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

Advertisement

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เผยยอดคืนสิทธิผู้ประกันตน มาตรา 39 เกือบ 400,000 คน

วันที่ 24 เม.ย.2562 นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานคืนสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 39 ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2561 จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของคืนสิทธิ ผลปรากฎว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่สิ้นสภาพจากระบบประกันสังคมได้กลับเข้าสู่ระบบแล้วจำนวน 384,086 คน จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ให้ความสำคัญกับระบบประกันสังคมที่ช่วยดูแลและสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้ ซึ่งเมื่อกลับเข้าสู่การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังคงให้ความคุ้มครอง 6 กรณีเช่นเดิม คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ เพียงจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาทต่อเดือน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวย้ำว่า ขอให้ผู้ประกันตนที่กลับเข้าสู่ระบบแล้วคำนึงถึงสิทธิของตนเอง โดยให้ความสำคัญในการตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบกับสำนักงานประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอ และควรนำส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง หากขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนทันที ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

สำหรับมาตรา 39 ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ระบุว่า

“ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป

ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง”

เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเท่ากับบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน เมื่อได้สิ้นสุดความเป็นลูกจ้างของบริษัทที่เราเป็นลูกจ้าง ก็ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ หากเรายังมีความประสงค์จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนต่อก็สามารถทำได้ ด้วยการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเอง เพราะทางประกันสังคมต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกับ ตามนโยบายพื้นฐานที่ว่าด้วยการเฉลี่ยความสุขและทุกข์

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

ขอรับเงินประกันสังคมคืน ยกเลิกประกันสังคม ได้เงินคืนไหม 

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับข้อมูลข่าวสารการเงินกันอีกครั้ง  ช่วงที่เขียนอยู่นี้ใกล้ๆ ช่วงปลายปี โบนัสออก หลายคนตัดสินใจเปลี่ยนงาน  บางคนทะเลาะคนที่ออฟฟิศ ทนวิกฤติมานานปี ตัดสินใจลาออก! และอยากจะ ขอออกจากระบบลูกจ้าไปเป็นเจ้าของกิจการไปเลย  หรือขอเปลี่ยนสายงานจากพนักงานบริษัทเอกชน เป็น ข้าราชการ  ดังนั้นปัญหาที่เกิดตามมาคือข้อสงสัยว่า จะขอออกจากประกันสังคมได้หรือไม่? แล้วคุณจะได้เงินคืนหรือเปล่า? วันนี้เรามีคำตอบกันค่ะ

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33
https://pantip.com/topic/36447420
มาตราประกันสังคมใกล้ตัว
1. ถ้าเป็น "พนักงานเอกชน" คือ มาตรา 33
2. เคยเป็นพนักงานเอกชน "ส่งตัวเองต่อ" คือ มาตรา 39
3. ฟรีแลนซ์ / แรงงานนอกระบบ คือ มาตรา 40

ถ้าต้องการหยุดส่งประกันสังคม

ก่อนอื่นคุณต้องพิจารณาความต้องการของตัวเองก่อน  ถ้าอยากจะพักผ่อน ให้ไปลงทะเบียนใช้สิทธิ์ว่างงานแทนดีกว่า ซึ่งคุณจะได้รับเงินชดเชย 3-6 เดือน (สูงสุด 6 เดือน “ไม่เกินปีละ 180 วัน ต่อปี”) หากคุณมีเงินเดือนเกิน 15,000 บาท จะได้ชดเชยเดือนละ 4,500 บาท และต้องไปลงทะเบียนว่างงานกันที่ประกันสังคมในพื้นที่ที่คุณสังกัด (ภายใน 30 วัน) และ ไปยืนยันตน ในเว็บไซต์แรงงานได้ด้วย

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

ขั้นตอน & เอกสาร สำหรับลงทะเบียนว่างงาน

  1. คุณต้องไปติดต่อ “ขึ้นทะเบียนว่างงาน” กับประกันสังคมภายใน 30 วัน หลังจากลาออกจากงาน หรือ วันสุดท้ายที่มีชื่ออยู่ในที่ทำงาน
  2. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน ที่ประกันสังคมหาให้
  3. ต้องไม่เป็นผู้ถูกเลิกจ้าง จากกรณีทุจริตต่อหน้าที่ หรือ ฝ่าฝืนข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงาน หรือ ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา และอื่นๆ (สอบถามกับเจ้าหน้าที่)
  4. เตรียมหลักฐานไป คือ 1) สำเนาบัตรประชาชน  2)  รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 รูป  3)  หนังสือรับรองการออกจากงาน  4)  สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อเจ้าของบัญชี และเลขบัญชี สำหรับให้ประกันสังคมโอนเข้า
  5. กรอกเอกสาร ขอรับสิทธิ์ “ชดเชยว่างงาน” ได้ที่เจ้าหน้าที่ประกันสังคม
  6. เข้าไปสร้าง Log In ที่ www.sso.go.th และ Empui.doe.go.th (ไว้สำหรับยืนยันตัวตน)
  7. ครบ 1 เดือน ต้องมายืนยันตนที่ประกันสังคม หรือ เข้าไปที่เว็บไซต์ Empui.doe.go.th  สามารถยืนยันตนล่วงหน้าได้ แต่ช้าได้ไม่เกิน 7 วัน

ไปเปิดกิจการ จะได้เงินคืนหรือไม่?

มีเคยที่น่าสนใจคือ หากลาออกจากระบบประกันสังคม เพื่อไปใช้สิทธิ์เป็นนายจ้าง ในกรณีที่ต้องขึ้นทะเบียนลูกจ้าง คุณจะไม่มีสิทธิ์ในประกันสังคม แล้วจริงหรือ? ในส่วนนี้มีผู้มาแสดงความคิดเห็นใน Pantip  แต่ไม่สามารถฟันธงได้ เพราะแต่ละท่านมีเงื่อนไขการลาออก และขาดส่งแตกต่างกัน  เพื่อความถูกต้อง  หากเกิดขึ้นกับคุณ คุณควรไปเช็คกับประกันสังคมในพื้นที่ แต่ Trick คร่าวๆ คือ

  • เมื่อขาดส่ง 6 เดือน สิทธิ์คุณจะขาดทันที
  • เพราะฉะนั้นต้องโทรไปถามที่ 1506 ก่อน ว่าวันสุดท้ายที่สิทธิ์จะขาดคือวันที่เท่าไหร่
  • เปลี่ยนมาส่งประกันสังคมมาตรา 39 ไม่ให้สิทธิ์ขาด
  • หากต้องการได้เงินชดเชยจากกรณีว่างงาน จะได้สูงสุด 27,000 บาท ต่อปี (คิดจากเงินเดือน 15,000 บาท) จะได้ครบเต็ม 27,000 ก็ต่อเมื่อลาออกประมาณเดือน เมษายน บริษัทให้ออก พฤษภาคม  ทิ้งช่วงว่างงาน 6 เดือน รายงานตัวตั้งแต่ มิถุนายน – ธันวาคม อย่าให้คาบเกียวกับวันครบสิทธิ์ขาดส่งในเดือนสุดท้าย ต้องไปทำเรื่องยื่นมาตรา 39 ต่อ

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

ลาออกไปรับราชการ ได้เงินคืนหรือไม่?

กรณีนี้ เจ้าของกระทู้ ต้องการยกเลิกประกันสังคม เพื่อไปรับราชการ จึงต้องการสอบถามเรื่องสิทธิ์การรับเงินคืน ซึ่งหลังจากที่โพสต์ถามไป ก็มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า ต้องรอถึงอายุ 55 ปี เกษียณ แล้วจึงจะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย จริงหรือไม่?

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33
ข้อมูลจากคุณ Destiny mind จากกระทู้ https://pantip.com/topic/31176804

มีความคิดเห็นที่ให้ Link ไปที่ งานเวชระเบียน โรงพยาบาลศิริราช (http://www.si.mahidol.ac.th/office_h/medrecord/sso.htm)  ซึ่งเป็นข้อมูลประกันสังคม ที่โรงพยาบาลศิริราชนำมาประกาศให้กับพนักงานอีกช่องทางหนึ่ง และทางเว็บไซต์ประกันสังคม http://www.sso.go.th ก็มีข้อมูลที่ตรงกัน คือ

  • เงินสมทบจะได้คืน ก็ต่อเมื่อ อายุ 55 ปี หรือ เกษียณแล้วเท่านั้น
  • ต้องทำเรื่องภายใน 1 ปี หลังเกษียณ ห้ามเกินแม้แต่วันเดียว (ไม่เช่นนั้นเงินส่วนนี้จะเข้าสู่กองกลาง)

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

ถ้าไม่ได้ส่งประกันสังคมใน 6 เดือน เงินสมทบที่ส่งไป จะต้องไปรอขอรับตอนอายุ 55 ปี กับก้อนที่เรียกว่า “เงินสมทบชราภาพ” เท่านั้น

จำนวนเงินสมทบที่จะได้คืน (เรียกว่า “เงินสมทบชราภาพ”)

  • หากส่งไม่ครบ 15 ปี  หรือไม่ถึง 180 เดือน  จะได้รับบำเหน็จเป็นก้อน
  • หากส่งเกิน 15 ปี  หรือเกิน 180 เดือน  จะได้รับเป็นบำนาญ

เพราะฉะนั้น หากต้องการเงินคืนเป็นก้อน เพื่อความชัวร์ว่าสัญญาของประกันสังคมจะไม่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อส่งประกันสังคมใกล้ครบ 15 ปี (ไม่ให้เกิน 180 เดือน) ก็เตรียมยื่นเอกสารขอบำเหน็จคืนได้เลย ถ้าเกิดเสียชีวิตไปก่อน ทายาทต้องไป

ประกันสังคมจะ “ไม่ได้” คืนจริงหรือไม่?

ในก้อนที่คุณจ่ายไปต่อเดือน สมมติเป็นยอดสูงสุด 750 บาท จะแบ่งออกเป็น

  • สมทบกรณีเจ็บป่วย   225 บาท
  • สมทบกรณีชราภาพ   450 บาท
  • สมทบกรณีว่างงาน     75 บาท

เท่ากับว่าหากปีหนึ่ง ใช้สิทธิ์กับโรงพยาบาลด้วยเงื่อนไขเจ็บป่วย ได้ไม่ถึง 2,700 บาท ก็จะไม่คุ้ม แต่โดยปกติก็มักใช้กันถึงอยู่แล้ว เป็นการทำฟัน เบิกค่าใช้จ่ายปวดหัว ปวดท้อง คลอดบุตร รวมอยู่แล้ว

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

โดยเฉพาะสิทธิ์เรื่อง ทันตกรรม ที่คุณไม่ค่อยทราบว่า นำไปเป็นส่วนลดได้ถึง 900 บาท อย่างน้อยก็ควรไปตรวจฟัน อุดฟัน  (ประมาณ 500 บาท) และ ผ่าฟันคุด (ประมาณ 1,500 บาท) และไม่ต้องสำรองจ่ายได้ในบางคลินิก  ซึ่งสามารถเบิกได้ทุกปี ดังนั้นอย่าให้เสียสิทธิ์ เหลือเวลาอีกไม่กี่เดือน รีบไปทำฟันกันเดี๋ยวนี้ได้เลย

สิ่งสำคัญคือคนที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการหารายได้อิสระ หรือ เป็นพนักงานบริษัท ก็ต้องรู้สิทธิ์ประกันสังคมของตัวเอง  เป็นสวัสดิการรัฐที่ช่วยเหลือควรทำไว้ เมื่อยามเจ็บป่วย ด้วยโรคที่อาจจะทำให้การเงินยากลำบากขึ้นมา อย่างเช่น  เส้นเลือดสมองแตก  เกิดอุบัติเหตุ  สูญเสียอวัยวะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น ดังนั้นหากใครยังไม่เข้าใจสิทธิ์ประกันสังคม ควรเข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ศึกษาได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง และหากมีข้อสงสัย โทรสอบถามได้ที่ Call Center ประกันสังคม 1506 ได้เลยค่ะ

Read More :

  1. ค่าคลอดไม่พอ ขอผ่อนได้ไหม? จ่ายด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดดี?
  2. ประกันสังคม มอบของขวัญปีใหม่ ทำฟันปี 60 ไม่ต้องสำรองจ่าย
  3. เงินเดือน 15,000 บาท เสียภาษีไหม?  แล้วเงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี?
  4. ริบบัญชีเงินฝาก ถ้าไม่มีความเคลื่อนไหว 10 ปี? รับมือยังไงดี?
  5. ครบหรือยัง!! Check List เอกสารขอคืนภาษี 2560

ต้องการ ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

ลาออกจากประกันสังคม มาตรา 33 ทำยังไง

หลังลาออกจากงานแล้วต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออก จากนั้นต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

ออกจากม.33 คุ้มครองกี่เดือน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แนะว่า หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงาน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 432 บาท และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนลูกจ้างผู้ประกันตน มาตรา 33 ...

ลาออกจากงานประกันสังคมจ่ายยังไง

ลาออกจากงาน ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชยเท่าไร ? กรณีลาออกจากงานเองโดยสมัครใจ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนว่างงาน ไม่เกินปีละ 90 วัน ในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย (คิดจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำ 1,650 บาท/เดือน และฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท/เดือน) เช่น

เอกสาร ยื่น ประกันสังคม มาตรา 33 ใช้ อะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ หนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-02) พร้อมใบแนบแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) ของพนักงาน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน 3. ยื่นข้อมูลเงินสมทบ (ตารางสรุปเงินพนักงานประจำเดือน โดยใส่ข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน, คำนำหน้า, ชื่อ-นามสกุล, ตำแหน่ง, เงินเดือน และเงินสมทบ)