ประกันสังคมส่งกี่ปีถึงจะได้บํานาญ

Show

หลังจากผ่านช่วงวิกฤตวิด-19 ทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ต้องมีการวางแผนทางการเงินที่มากขึ้นอย่างเท่าตัว เคยรู้กันไหมว่า การที่คุณจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนประกันสังคม นอกจากคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงานหรือเสียชีวีตแล้ว ในกรณีเกษียณอายุ คุณมีโอกาสได้รับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคมในรูปเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือเงินบำนาญ (เงินรายเดือน) ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ส่วนหนึ่งไว้ใช้หลังเกษียณ รายละเอียดการได้รับเงินส่วนนี้จะเป็นอย่างไร เรามาทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมกันก่อนครับ มาดูกันว่ามนุษย์เงินเดือน จะได้เงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมกันเท่าไร?

กองทุนประกันสังคมคืออะไร เกี่ยวข้องกับมนุษย์เงินเดือนอย่างไร

กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่ผู้ประกันตน (มนุษย์เงินเดือน) ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ที่มีรายได้ จ่ายเงินสมทบเข้ามาทุกเดือน เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต ตัวอย่างหลักประกันเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูบุตร เงินชดเชยกรณีว่างงาน เงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญ เป็นต้น

คุณมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยหักจากเงินเดือนในอัตรา 5% เช่น หากคุณได้รับเงินเดือน 10,000 บาท ก็จะถูกหัก 500 บาทเข้ากองทุน แต่จะหักได้สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน

ประกันสังคมส่งกี่ปีถึงจะได้บํานาญ

แล้วเราจะได้รับเงินคืนจากประกันสังคมเมื่อไหร่ อย่างไร

การได้รับเงินคืนจากประกันสังคมขึ้นอยู่กับจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ อายุ และสถานะความเป็นผู้ประกันตน ซึ่งรูปแบบการได้รับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคมมี 3 กรณี ดังต่อไปนี้

กรณีที่ 1: ผู้ประกันตนจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเกิน 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินเกษียณอายุจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินรายเดือนใช้ตลอดชีวิต โดยจะได้รับเท่าไร สามารถคำนวณตามได้จากคำอธิบายนี้เลย

การคำนวณเงินเกษียณอายุประกันสังคมหรือเงินบำนาญชราภาพจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ และค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท จาก 5 ปี เป็น 15 ปี พอดิบพอดี จะได้เงินบำนาญรายเดือนเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ไม่เกิน 15,000 บาท) แต่ถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเพิ่มอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน (ถ้ามีเศษเกินจะถูกปัดทิ้ง เช่น ถ้าสะสมมา 16 ปี 2 เดือน ก็คิดแค่ 16 ปี)

อธิบายเรียบร้อยแล้ว สรุปมาให้เป็นตาราง เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น

ระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบ (ปี) เงินบำนาญที่ได้รับ
ร้อยละของค่าจ้างเดือนสุดท้าย จำนวนเงิน (บาท/เดือน)
15 20 3,000
20 27.5 4,125
25 35 5,250
30 42.5 6,375
35 50 7,500

กรณีที่ 2: จ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบในส่วนของนายจ้างและรัฐบาล + ผลประโยชน์ตอบแทน (ผลกำไรจากกองทุนประกันสังคมนำเงินไปลงทุน)

กรณีที่ 3: จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนท่านหนึ่ง จ่ายเงินสมทบของตนเอง 450 บาท/เดือน เป็นเวลารวม 11 เดือน ดังนั้นผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับ 450*11 หรือ 4,590 บาท

กรณี 2 และ 3 สามารถอธิบายด้วยรูปภาพด้านล่าง เพื่อความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้น

ประกันสังคมส่งกี่ปีถึงจะได้บํานาญ

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเงินเกษียณกองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม เช่น ข้อมูลการส่งเงินสมทบ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.sso.go.th

ในส่วนของผู้ประกันตน ท่านต้องสมัครสมาชิกก่อน แล้วจึงจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการส่งเงินสมทบและการรับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมได้ หากมีข้อสงสัย ต้องการปรึกษาเพิ่มเติมว่าเงินประกันตนที่ออมได้จะนำไปออมต่อหรือลงทุนในรูปแบบไหนดีที่เหมาะกับคุณ สามารถโทร. 1572 กด 5 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น. เพื่อรับคำแนะนำแบบส่วนบุคคลจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หรือเข้าไปอ่านบทความเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองที่เว็บไซต์ KRUNGSRI Plan Your Money

วันนี้พาไปตรวจสอบว่า บำเหน็จ-บำนาญชราภาพประกันสังคม มีวิธี คํานวณเงินเกษียณประกันสังคม อย่างไรบ้างและจะได้เงินเท่าไรบ้างสำหรับไว้ใช้ยามเกษียณ

คํานวณเงินเกษียณประกันสังคม แบบง่ายๆพร้อมหลักเกณฑ์ที่ประชาชนต้องรู้

ประกันสังคมส่งกี่ปีถึงจะได้บํานาญ

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน  หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านผู้อ่านสามารถรับสิทธิ ได้มีดังนี้

1.ผู้ประกันตนหรือทายาทผู้มีสิทธิจะต้องทำการกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อจากนั้นนำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน

2.เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา หลังจากนั้นรอสำนักงานประกันสังคมจะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

3.พิจารณาสั่งจ่าย เงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนหมายเหตุ : เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว

  • วิธีคำนวณค่า บำเหน็จชราภาพ จากประกันสังคม

ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน) กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณี ชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทน กรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 10 = 3,000 บาท กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน

  • การคำนวณเงินบำนาญชราภาพจะแบ่งออกเป็น 2 สูตรดังนี้

1.สูตรคำนวณ (กรณีจ่ายครบ 180 เดือน) สามารถทำได้ดังนี้

อัตราบำนาญเงินชราภาพที่จะได้รับ(20%)คูณด้วยอัตราเงินเดือนสูงสุดไม่กิน 15,000 บาท
หรือ 20x15,000 หารด้วย 100 = จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท

2.สูตรคำนวณ (กรณีเกิน 180 เดือน) สามารถทำได้ดังนี้

อัตราบำนาญเงินชราภาพที่จะได้รับ(20%) +เงินสมทบเพิ่มอีก 5% คูณจำนวนปีที่ส่งเงินสมทบคูณด้วยอัตราเงินเดือนสูงสุดไม่กิน 15,000 บาท
หรือ [20+(1.5xจำนวนปี )]x 15,000 หารด้วย 100

ผู้ประกันตนสามารถเช็คเงินสมทบเงินบำนาญ ได้ดังนี้

ประกันสังคมส่งกี่ปีถึงจะได้บํานาญ

  • ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 3,000-4,125 บาท
  • ส่งเงินสมทบ 21-25 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 4,350-5,250 บาท
  • ส่งเงินสมทบ 26-30 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 5,475-6,375 บาท
  • ส่งเงินสมทบ 31-35 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 6,600-7,500 บาท

ตัวอย่างตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด  

ตัวอย่างแรก ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2547 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยในวันเดียวกัน โดยมีรายการนำส่งเงินสมทบ กรณีชราภาพของผู้ประกันตน ดังนี้

ปี

จำนวนเงินสมทบ

นายจ้าง

ผู้ประกันตน

2542 

850 

850 

1,700

2543

1,550 

1,550 

3,100

2544

2,300

2,300

4 ,600

2545

3,200

3,200

6,400

2546

4,100

4,100

8,200

2547

2,800

2,800

5,600

รวม

 14,800 

 14,800 

29,600

วิธีคำนวณผลประโยชน์ตอบแทน

ปี 

  เงินสมทบ

เงินสมทบสะสม x อัตรา 

ผลประโยชน์ตอบแทน

2542

1,700

1,700 x 2.4% 

= 40.80

2543

3,100

(1,700 + 3,100 = 4,800 ) x 3.7%

= 177.60

2544

4,600

(4,800 + 4,600 = 9,400) x 4.2% 

= 394.80

2545

6,400

(9,400 + 6,400 = 15,800) x 4.3%

= 679.40

2546

8,200

(15,800 + 8,200 = 24,000) x 6.5% 

= 1,560.00

2547

5,600 

(24,000 + 5,600 = 29,600) x 2.00% x 11/12  

=  542.67

รวม   3,395.27   *หมายเหตุ 11/12 หมายถึง ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบมาแค่ 11 เดือน ภายใน 1 ปี เงินบำเหน็จชราภาพและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับ คือ 29,600 + 3,395.27 = 32,995.27บาท

ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน

สำหรับ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

ตัวอย่างที่ 1     

20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย                             =             20 x 13.000  100  = 2,600

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 2,600 บาท ไปจนตลอดชีวิต

การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ นำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย รวมกันแล้วหารด้วย 60

ค่าจ้างเฉลี่ย = ผลรวมของค่าจ้าง 60 เดือน  จำนวนเดือน (60 เดือน)

กรณีที่จ่ายเงิน สมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน

เช่น จ่ายเงินสมทบมาได้ 193 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 21.5% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย เป็นต้น

ตัวอย่างที่  2  

ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55    ปีบริบูรณ์  และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่อย่างไร

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ

=  15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%

=  5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 5ปี )

= 7.5%

รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี

= 20% + 7.5% = 27.5%               ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน

= 27.5% ของ 15,000 บาท

= 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต

กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

= 4,125 บาท  × 10 เท่า

= 41,250 บาท

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้นมิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่าง  การทำงานมากมายแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคง อุ่นใจได้ว่ามีเงินออมชราภาพไว้เป็นหลักประกัน

บทความน่ารู้ : วิธีเช็กสิทธิประกันสังคม ออนไลน์ด้วยตัวเองไม่เกิน 3 นาทีรู้ผล

สำหรับใครที่กำลังมองหาตัวเลือก สินเชื่อส่วนบุคคล เพียงคลิกเข้ามาเปรียบเทียบที่ MoneyGuru.co.th คุณจะได้รับข้อเสนอจากผู้ให้กู้สินเชื่อต่าง ๆ ในที่เดียว ไม่ต้องไปติดต่อสถาบันการเงินต่าง ๆ ทีละเจ้าให้เสียรง เสียเงิน และเสียเวลา