กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป


จากการประกาศบังคับใช้พรบ ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเต็มรูปแบบ ทุกองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสม ทั้งยังต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการนำข้อมูลต่าง ๆ มาเปิดเผยและใช้งาน อย่างไรก็ตาม ยังมีบางบริษัทที่ไม่มีการปรับตัวและดำเนินการไม่ตรงตามที่ PDPA กำหนดไว้ ซึ่งอาจทำให้มีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต

Show

พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA จึงเป็นตัวช่วยที่สร้างความชัดเจน หากบริษัทไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อปกป้องข้อมูลของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการขอทราบว่าข้อมูลที่มีการนำไปประมวลผลมีข้อมูลอะไรบ้าง ขอให้หยุดการใช้ข้อมูล ไปจนถึงการลบข้อมูลออกจากระบบ นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการใช้รูป คลิป และการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์มาใช้งาน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง หากนำข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง PDPA Pro จะพาทุกคนไปดูกันว่า ถ้ามีการนำรูปภาพ คลิป และข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ไปใช้งาน จะผิดกฎหมายหรือไม่ ไปหาคำตอบกันเลย

ถ่ายรูปเพื่อนแล้วเอาลงโซเชียล ผิด PDPA ไหม

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

เนื่องจากพรบ ข้อมูลส่วนบุคคลจะมีการบังคับกับองค์กรที่นำข้อมูลไปใช้เป็นหลัก การใช้งานระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลธรรมดา ที่มีการนำรูปของเพื่อนไปโพสต์บนโซเชียลมีเดียเพื่อให้เพื่อนดู อาจจะไม่เข้าข่ายกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนบุคคล ซึ่งกฎหมาย PDPA จะไม่เข้าไปยุ่งในส่วนตรงนี้ แต่จะบังคับใช้ เมื่อมีการนำข้อมูลออกมาใช้งานและเป็นการละเมิดสิทธิ หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต

แต่ถ้าหากมีการโพสต์รูปภาพลงในพื้นที่ส่วนตัว และทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อบุคคลนั้น ๆ ที่อยู่ภายในรูปภาพ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมา จะมีกฎหมายที่คุ้มครองในนี้อยู่แล้ว นั่นก็คือกฎหมายแพ่งว่าด้วยการถูกละเมิด เพราะฉะนั้น สามารถมั่นใจได้ว่าเมื่อมีการโพสต์รูปถ่ายเพื่อนลงโซเชียลมีเดีย จะไม่ผิดกฎหมาย PDPA อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อน หรือไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดตามมา รวมไปถึงข้อความบรรยายเกี่ยวกับรูปภาพ และคอมเมนต์ต่าง ๆ ด้วย

เอารูปจากกล้องหน้ารถ/กล้องวงจรปิดมาลง ผิด PDPA ไหม

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

การนำรูปจากกล้องหน้ารถหรือกล้องวงจรปิดมาลงหรือนำมาใช้งาน ถือเป็นการล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นในระดับหนึ่ง แต่หากเป็นการใช้งานเพื่อบันทึกภาพของรถขณะขับรถหรือเป็นการบันทึกภาพเพื่อดูว่ามีใครเข้า-ออกพื้นที่นั้น ๆ บ้าง ก็ถือว่าเป็นการใช้งานตามปกติ ซึ่งความผิดตามพรบ ข้อมูลส่วนบุคคล จะพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการใช้งานรูปหรือคลิปเป็นหลัก ว่าสุดท้ายแล้ว ข้อมูลที่มีการบันทึกเอาไว้ จะนำไปใช้ทำอะไรนั่นเอง

สถานศึกษาเอารูปเด็กนักเรียนขึ้นป้าย ถือว่าผิดหรือไม่

การที่สถานศึกษาเอารูปนักเรียนขึ้นป้ายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดีหรือนำไปใช้เพื่อโปรโมต จำเป็นจะต้องมีการขอความยินยอมอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นรายกรณีไป ซึ่งตัวเจ้าของข้อมูล (นักเรียนเจ้าของรูป) สามารถถอนความยินยอมได้ทันที เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่มีความอ่อนไหว อาจทำให้เกิดความกังวลใจ และความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลด้วย

การดึงข้อมูลจากเว็บไซต์มาใช้งาน (Scrape Public Information) ผิดหรือไม่?

การทำ Scrape Public Information เป็นการรวบรวมข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้เข้าใจเกี่ยวกับการตลาดบนสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะช่วยในการสร้างฟีดแบคและนำไปปรับปรุงพัฒนาสินค้าและบริการ ซึ่งการทำ Scrape Public Information นั้น จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็น การนำมาใช้มีความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคล และความคาดหวังของผู้ลงบทความนั้น ๆ ซึ่งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล จำเป็นที่จะต้องพิจารณาที่วัตถุประสงค์และบริบทของข้อมูลเป็นหลัก

สำหรับการตัดสินใจทำ Scrape Public Information ควรที่จะต้องใช้เครื่องมืออย่าง Data Protection Impact Assessment (DPIA หรือ การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) เพื่อเข้ามาช่วยในการประเมินผลกระทบจากกิจกรรมที่ทำ หากเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง การทำ DPIA ก็จะเข้ามาช่วยป้องกันได้


จะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพรบ ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจึงควรทำความเข้าใจถึงขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางที่ผิด ขณะที่องค์กรและภาคธุรกิจก็จำเป็นต้องปรับตัวและให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้งานตามหลัก PDPA ด้วยเช่นกัน

หากคุณกำลังมองหาผู้ช่วยในการสร้าง Privacy Policy ที่ครอบคลุม รวดเร็ว และตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างตรงจุด PDPA Pro มาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างนโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีการเก็บข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามที่ PDPA กำหนดไว้อีกต่อไป สร้าง Privacy Policy ได้แล้ววันนี้ ที่ PDPA Pro

ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปวิดีโอ ติดภาพคนอื่นในที่สาธารณะ ได้หรือไม่ ? ถ่ายอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย PDPA

หลังจากที่ กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มีผลบังคับใช้แล้ว หลาย ๆ คนที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ อาจจะสงสัยและกังวลว่าการถ่ายภาพ หรือ ถ่ายคลิป ในที่สาธารณะที่ถ่ายติดคนอื่น ๆ ในภาพ จะยังบันทึกภาพได้อยู่หรือไม่ ? และสามารถนำไปโพสต์ลงโซเชียลได้อยู่ไหม ? ถือเป็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปล่า ?

บทความเกี่ยวกับ PDPA อื่นๆ

ตอบสั้น ๆ คือ ถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นในที่สาธารณะยังสามารถทำได้ หากเป็นการถ่ายใช้งานเพื่อประโยชน์ส่วนตน และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ที่ถูกถ่าย และไม่นำไปใช้ทางการค้า แบบนี้จะไม่ถือว่าผิดกฎ PDPA

แต่จริง ๆ การถ่ายภาพนั้นยังมีการแบ่งตามเหตุผลและลักษณะการใช้งานอีกหลายด้านที่ควรรู้ ดังนั้นเราไปทำความรู้จักกับข้อควรระวังของการถ่ายภาพในกฎหมาย PDPA ให้มากขึ้นกัน

คนทั่วไปถ่ายภาพไว้ดูเองสามารถทำได้ ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA*

*หมายเหตุ : เรื่องการถ่ายภาพมีหลายเงื่อนไข ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

PDPA คืออะไร ? (What is PDPA ?)

PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งการจัดเก็บข้อมูล, บันทึกภาพ หรือ เผยแพร่ หากมีผู้นำเอาข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ไปใช้งานโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้ให้ความยินยอมก็จะสามารถร้องเรียนเพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับบุคคลหรือนิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการนำเอาข้อมูลนั้น ๆ ไปใช้งานโดยพลการได้

อ่านเพิ่มเติม : PDPA คืออะไร ? PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีประโยชน์กับเราอย่างไร ?

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (กฎหมาย PDPA) พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) มีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022)

การถ่ายรูปในที่สาธารณะ เข้าข่าย PDPA หรือไม่ ? (Is public photo shoot protected by PDPA ?)

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

"การถ่ายรูปในที่สาธารณะที่เข้าข่าย PDPA คือ การทําเพื่อประกอบการงานอาชีพ (Professional Use)" เช่น การถ่ายเพื่อใช้ในการค้า ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา, บริษัทเอกชน หรือ รัฐ ถือว่าเข้าข่ายตามกฎหมาย PDPA จำเป็นต้องมีการขออนุญาตและความยินยอมจากบุคคลในภาพทุกครั้ง

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

ส่วน "การถ่ายเพื่อใช้งานส่วนตัว (Personal Use)" ไม่เข้าข่าย PDPA ถึงแม้จะถ่ายติดผู้อื่นในภาพโดยไม่ได้ขออนุญาตก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพ หากถ่ายเพื่อใช้งานเพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ที่ถูกถ่าย และไม่นำไปใช้ทางการค้า ไม่ถือว่าผิดกฎ PDPA

ยกตัวอย่างเช่น การถ่ายตัวเอง, เซลฟี่ (Selfie), ถ่ายรูปเพื่อน, ถ่ายรูปหมู่, ครอบครัว และ คนรู้จัก เก็บภาพไว้ดูส่วนตัว หรือ แบ่งปันกับเพื่อนฝูง สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นสามารถถ่ายภาพได้ตามปกติ

สิ่งที่ควรระวัง : การนำรูปไปใช้ในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย จะผิดกฎหมายในรูปแบบอื่น ๆ
ซึ่งผู้ที่เสียหายสามารถฟ้องละเมิดทางแพ่งได้ โดยไม่ต้องใช้ PDPA

ตามหลักการของกฎหมาย คือ "สามารถโพสต์และเผยแพร่ลงโซเชียลมีเดียได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว" ไม่ใช้เพื่อการแสวงหากำไรทางการค้า และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

ยกตัวอย่างเช่น การท่องเที่ยวในที่สาธารณะ หากเราถ่ายรูป หรือ คลิปวิดีโอ ที่มีบุคคลอื่น ๆ ติดอยู่ในภาพพื้นหลัง หากถ่ายโดยไม่เจตนา และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ที่ถูกถ่าย สามารถนำภาพมาโพสต์ลงโซเชียลมีเดียได้ อย่างไรก็ตามการถ่ายภาพเพื่อนำมาเผยแพร่ควรได้รับอนุญาตจากตัวบุคคลในภาพก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันการฟ้องร้องและกฎหมายด้านอื่น ๆ เช่น กฏหมายด้านลิขสิทธิ์ และ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

นอกจากนี้สิ่งที่ควรรู้คือ การบันทึกภาพ หรือ การนำคลิปและรูปภาพออกมาเผยแพร่ หากบุคคลในภาพไม่ยินยอมให้เผยแพร่ หากภาพถูกโพสต์ไปแล้ว สามารถขอให้ลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน

การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน และกล้องติดรถยนต์ หากไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิดกฎ PDPA หรือไม่ ? (Are CCTV and Dashcam installations in residence illegal without PDPA warning ?)

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้านและพื้นที่อยู่อาศัย "ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากติดตั้งเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัย" กับตัวเจ้าของบ้าน รวมไปถึงกล้องติดรถยนต์ ที่ใช้เพื่อเป็นหลักฐาน ก็ไม่ผิดกฎ PDPA เช่นกัน อย่างไรก็ตามหากมีบุคคลที่นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อการค้า หารายได้ หรือ นำไปใช้ในกรณีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เพื่อส่วนตัว จะผิดกฏหมายทันที

ผู้ที่ถูกบันทึกภาพ-ถ่ายคลิปวิดีโอ ต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ หรือไม่ ? (Has a person in photo or video need to accept a usage everytime ?)

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

ตอบ ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว เข้าข่ายด้านล่างนี้

  1. เป็นการทำตามสัญญา 
  2. เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ 
  3. เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ / หรือ ร่างกายของบุคคล 
  4. เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยหรือสถิติ 
  5. เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  6. เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง 

ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป

การบันทึกภาพและวิดีโอ ที่สามารถทำได้ภายใต้กฎหมาย PDPA (What types of photo and video can be recorded under PDPA ?)

หลายคนอาจจะยังสงสัยอยู่ ว่าจริง ๆ แล้วการถ่ายภาพแบบไหน ถ่ายได้ หรือ ไม่ได้บ้าง ? ซึ่งการบันทึกภาพและวิดีโอที่สามารถทำได้ภายใต้กฎหมาย PDPA นั้นถูกแบ่งออกตามเหตุผล และ ลักษณะการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

ขอบคุณข้อมูลจาก : อ.ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล

จากที่เห็นการถ่ายภาพทั่วไปนั้นสามารถทำได้ หากเป็นการถ่ายภาพเพื่อใช้งานส่วนตัว ไม่ใช้ทางการค้า และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สามารถโพสต์และแบ่งปันให้กับเพื่อน ๆ ในโลกโซเชียลได้ตามปกติ ตราบใดที่ไม่นำรูปไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อทำให้ผู้อื่นเสียหาย ก็สามารถทำได้

ส่วนผู้ที่ทำงานด้านสื่อมวลชน นิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน นั้นต่างก็มีรายละเอียดและข้อควรระวังในด้านกฎหมายแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะอยู่ส่วนไหน ก็ควรให้เกียรติและเคารพสิทธิผู้อื่นในที่สาธารณะอยู่เสมอ

สุดท้ายนี้ กฎหมาย PDPA นั้นถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ การนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลทุกคนก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้

ที่มา : www.facebook.com , www.facebook.com , bigdata.go.th , thematter.co , www.facebook.com , www.bangkokbiznews.com

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป

เขียนโดย

กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ่ายรูป
    สมาชิก

It was just an ordinary day.