สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงโทรศัพท์

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงโทรศัพท์

หากตอนนี้เราอายุสักประมาณ 30-40 ปี หลายคนอาจจะมองว่าแก่แล้วนะ ชราแล้วนะ แต่จะบอกว่า ความโชคดีของคนอายุประมาณนี้ก็คือ พวกเค้าจะได้เห็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายหลายมิติ หนึ่งในมิติที่ว่าก็คือเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ลองนึกภาพย้อนกลับไปดูคนวัยนี้อาจจะผ่านระบบการสื่อสารจากโทรเลข หรือ จดหมายในตอนเด็ก มาเป็นการใช้ไลน์ในตอนปัจจุบัน เรามาย้อนดูว่าความเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือในแต่ละยุคมีอะไรบ้าง

ยุคโทรศัพท์มือถือแบบเครื่องใหญ่ ยุค 1 G

ใครจะเชื่อว่ายุคแรกสุดของโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ มันจะเป็นสิ่งที่แพงถึงแพงมากยุคแรกราคาเป็นแสน(หากเทียบค่าเงินตอนนั้นกับตอนนี้ ก็หลายแสนจนถึงล้านด้วยซ้ำ) ยุคแรกนี้โทรศัพท์จะเป็นเหมือนกระเป๋าเจมส์ บอนด์ เหมือนกับพวกพลทหารสื่อสารที่จะต้องแบกกระเป๋าในแนวหน้าเลย ก่อนจะพัฒนามาเป็นรุ่นกระติกน้ำ หรือ รุ่นกระดูกหมาที่เราเคยได้ยินกัน มารุ่นนี้โทรศัพท์เริ่มที่จะลดขนาดลงมาให้เหลือแบบหยิบขึ้นมาได้เลยไม่ต้องใช้คำว่าแบกอีกแล้ว แต่ตัวโทรศัพท์ยังมีหนักอยู่

ยุคโทรศัพท์เริ่มแพร่หลาย ยุค 2G

หลังจากผ่านมาสักพัก เทคโนโลยีของการสื่อสารเครื่องโทรศัพท์มือถือมีการพัฒนามากขึ้น ตอนนั้นโทรศัพท์จะถูกลดขนาดลงสามารถใส่ในกระเป๋าเสื้อ หรือ กระเป๋ากางเกงได้แล้ว ตัวโทรศัพท์ก็พัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้นไม่ได้มีเพียงแค่โทรเข้าออกอย่างเดียว แต่มีการส่งข้อความหากันด้วย (ตอนนั้นเทคโนโลยีนี้ว้าวมากเลยนะ) รวมถึงได้มีการพัฒนาให้โทรศัพท์มือถือมีเสาสัญญาณในตัวทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องจับสัญญาณไม่ดี อีกทั้งตอนนั้นมีการสร้างโทรศัพท์มือถือแบบโทรศัพท์บ้านที่เรารู้จักกันดีว่า PCT (personal communication telephone) น่าเสียดายที่ระบบนี้มีแต่ในกรุงเทพเท่านั้นที่มีสัญญาณ

ยุคแห่งเทคโนโลยีก้าวกระโดด ยุค 3G

ในช่วงปลายยุค 2G ต้องบอกว่าโทรศัพท์เริ่มมีการใส่ลูกเล่นสำคัญลงไปอย่างการเล่นเกม การใส่เครื่องคิดเลข การแชท และที่สำคัญเริ่มจะมีระบบจอสีกันแล้วด้วย (แน่นอนว่าตอนนั้นฮือฮามาก แข่งกันว่าใครจะทำภาพออกมาได้สวยกันกว่า) จนกระทั่งมีการใส่ระบบพื้นฐานของโทรศัพท์ทุกรุ่นตอนนี้ก็คือ กล้องถ่ายภาพ ทีนี้พอเข้าสู่ยุค 3G โทรศัพท์มือถือมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบ 3G เพื่อส่งข้อความหากันได้ง่ายขึ้นแบบแชทไลน์ในทุกวันนี้ ซึ่งโทรศัพท์ยอดฮิตที่วัยรุ่นถามหากันก็คือ BB หรือ Blackberry จนมีวลีติดปากกันว่า มีเบอร์พินไหม แต่หลังจาก 3BB ได้พัฒนามาจนถึงขีดสุด โลกก็ได้พัฒนาตัวเองอีกครั้งกับเทคโนโลยีที่เราเรียกกันว่า ทัชสกรีน ตอนนั้นโทรศัพท์ไอโฟน ได้ออกมาให้เราว้าวกับเทคโนโลยีไม่มีแป้น ไม่มีปุ่ม เราสามารถกดทุกอย่างบนหน้าจอได้เลย ซึ่งนี่เป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญของวงการเทคโนโลยีเลยทีเดียว

ยุคแห่งความจำเป็นของโทรศัพท์มือถือ ยุค 4G

หลังจากเราพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างชัดเจนกับ ทัชสกรีน ในยุค 3G ปลายๆ ทีนี้พอเข้าสู่ยุค 4G แน่นอนว่าเรายังยกให้กับความสามารถของทัชสกรีนเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญ แต่ยุคนี้เรื่องการถ่ายโอนข้อมูลทำได้เร็วขึ้น จนทำให้การสร้างแอพพลิเคชั่นทำได้เร็วง่าย และ หลากหลายขึ้น จึงทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นมากกว่าโทรศัพท์ไปแล้ว แอพพลิเคชั่นทำให้เราสามารถทำได้ทุกอย่างบนมือถือตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น จับ จ่ายซื้อของ ทำธุรกรรมทางการเงิน ดูหนัง ฟังเพลง เรียนหนังสือ ติดต่องาน ทำรายงาน ทุกอย่างได้หมด เรียกว่า แอพพลิเคชั่นเป็นพระเอกของการพัฒนา เปลี่ยนแปลงโทรศัพท์มือถือให้กลายเป็นของจำเป็นของทุกคนในยุคนี้ไปได้เลย น่าสนใจว่า ในยุค 5G ที่กำลังจะเข้ามาอะไรจะมาเปลี่ยนแปลงโทรศัพท์มือถือให้กลายเป็นอะไรไปอีก

ประวัติการประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมาใช้ครั้งแรกของโลก


โทรศัพท์ถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ALEXANDER GRAHAM BELL เมื่อปี ค.ศ. 1876 (พ.ศ. 2419) ระบบโทรศัพท์นั้น จะต้องประกอบด้วยเครื่องโทรศัพท์ 2 เครื่องวางห่างกัน โดยมีสายไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่าง 2 เครื่อง สามารถสื่อสารถึงกันโดยอาศัยหลักการของการเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งไปตามสายไฟฟ้า เมื่อถึงปลายทางสัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียงตามเดิม ในระบบนี้ยังไม่มีระบบชุมสายโทรศัพท์เข้ามาเกี่ยวข้อง

ลำดับการประดิษฐ์โทรศัพท์


สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงโทรศัพท์

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงโทรศัพท์

การนำโทรศัพท์เข้ามาใช้ในเมืองไทย


โทรศัพท์ถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2419 หลังจากนั้น 5 ปี ตรงกับปีพ.ศ. 2424 โทรศัพท์ได้ถูก นำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยสมเด็จพระราชปิตุลาบรมวงศาภิมุข เจ้าฟ้า-ภาณุรังสีสว่างวงศ์ เจ้ากรมกลาโหมในสมัย นั้นได้ทรงดำรินำวิทยาการด้านการสื่อสารด้วยโทรศัพท์เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก โดยทดลองนำเครื่องโทรศัพท์มาติดตั้งที่กรุงเทพฯ และที่ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ วัตถุประสงค์ในเบื้องต้นเพื่อใช้แจ้งข่าวเรือเข้า - ออก ที่ปากน้ำ สมุทรปราการให้ทาง กรุงเทพฯ ทราบ

  • 1G ยุคของโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก

ถือเป็นยุคแรกๆ ที่มีโทรศัพท์มือถือใช้บนโลกใบนี้ ในยุค 1G นั้น เครื่องโทรศัพท์ยังเป็นแบบปุ่มกดนูนๆ ที่มาพร้อมกับเสาอากาศขนาดใหญ่ ในยุคนั้นเครื่องโทรศัพท์ทำได้เพียงแค่การโทรเข้า-ออก และรับสายหรือที่เรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบอนาล็อก โดยหลักการของการสื่อสารแบบอนาล็อกนั้น จะเป็นการส่งสัญญาณแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) หรือแบ่งช่องความถี่เป็นแบบย่อยๆ หลายช่อง แล้วใช้สัญญาณวิทยุส่งคลื่นเสียงไปยังสถานีรับส่งสัญญาณ หนึ่งคลื่นความถี่จึงเท่ากับหนึ่งช่องสัญญาณ การใช้บริการระบบโทรศัพท์จึงใช้ได้เพียงช่องความถี่ที่ว่างอยู่เท่านั้น ในยุค 1G จึงไม่สามารถรับส่งข้อความใดๆ ได้ และไม่รองรับการใช้งานจำนวนมาก อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการดักฟังโทรศัพท์ได้ง่าย

  • 2G พัฒนาการส่งคลื่นเสียงแบบอนาล็อกไปเป็นดิจิทัล

ยุคนี้มีการพัฒนาจากแบบอนาล็อกมาเป็นดิจิทัล ซึ่งอาศัยการเข้ารหัสโดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้ปลอดภัยในการใช้งาน และช่วยเรื่องสัญญาณเสียงที่คมชัดมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่าง FDMA กับ TDMA (Time Division Multiple Access) สามารถรองรับผู้ใช้งานในปริมาณมากขึ้น รวมทั้งส่งข้อความถึงกันได้มากกว่าแค่โทรเข้า-ออก และรับสาย อีกทั้งรูปลักษณ์ของโทรศัพท์ในยุคนี้ได้พัฒนาให้ดูทันสมัย มีน้ำหนักเบา และใช้งานง่ายขึ้น

  • 2.5G ยุคที่มีการกำเนิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS

เป็นช่วงที่มีเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) เกิดขึ้น ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้มากกว่าแค่ข้อความ แต่เป็นการส่งภาพหรือข้อความในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นหรือที่เรียกว่า MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอเริ่มเป็นจอสี เสียงเรียกเข้าเริ่มพัฒนาเป็นแบบ MP3 และเริ่มเล่นอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 115 kbps

  • 2.75G มีการพัฒนาจาก GPRS เป็น EDGE เพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 3G

เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data Rates for Global Evolution) ซึ่งพัฒนาต่อมาจาก GPRS ในยุค 2.75G ผู้คนจึงสามารถเล่นอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็วที่มากขึ้นหรือสูงสุดที่ 180 kbps

  • 3Gมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่าย 24 ชั่วโมง (Always on)

ถือเป็นยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เช่น สามารถออนไลน์ผ่านมือถือได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยุค 2G จะออนไลน์ได้เฉพาะเมื่อมีการ Log-in เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายเท่านั้น แต่ยุค 3G จะมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายตลอดเวลา แต่จะเสียค่าบริการเมื่อมีการใช้ข้อมูลผ่านเครือข่าย ต่างจากยุคก่อนหน้านี้ที่เมื่อ Log-in เข้าระบบจะเสียค่าบริการทันที โดยในยุคนี้ความเร็วของเครือข่ายจะสูงกว่าแบบเดิม เป็นยุคที่เริ่มมีการโทรผ่านอินเตอร์เน็ตได้ คุยแบบเห็นหน้าได้ ประชุมทางไกล ดูทีวีและวีดิโอออนไลน์ ตลอดจนเล่นเกมออนไลน์ได้

  • 4Gมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 100 Mpbs 

ถือเป็นยุคที่มีการประมวลเอาคุณภาพของการสื่อสารยุค 1G-3G มาพัฒนาในเรื่องความเร็วของการรับส่งข้อมูล โดยจะอยู่ที่ 100 Mbps ทำให้สามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตได้และสัญญาณไม่มีการกระตุก สามารถดูวีดิโอออนไลน์ได้อย่างคมชัด โทรทางไกลข้ามประเทศผ่านอินเตอร์เน็ตม Video Call และประชุมผ่านโทรศัพท์ได้ง่ายดาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งสามารถรองรับระบบโทรศัพท์ VoIP Phone ได้อย่างราบรื่น

  • 5G ระบบการสื่อสารไร้สาย รับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า 4G ถึง 20 เท่า

สำหรับยุค 5G นั้น ถือเป็นการเข้าสู่การสื่อสารยุคใหม่ของทั่วโลก ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ประเทศที่เริ่มใช้ 5G ในเชิงพาณิชย์ อาทิ จีน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และยุโรปบางประเทศ ส่วนในไทยได้ประมูลคลื่นความถี่กันเป็นที่เรียบร้อยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สิ่งที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยเปิดใช้เครือข่าย 5G คือ ความเร็วสูงกว่า 4G อย่างมากหรือราวๆ 500 Mbps (หรือขั้นต่ำตั้งแต่ 1Gbps – มากกว่า 10 Gbps) สามารถรองรับเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์อัจฉริยะ ตลอดจนการผลักดันเมืองไปสู่การเป็น Smart City เป็นต้น