โล จิ สติ ก ส์ มี อะไรบ้าง

ในยุคปัจจุบัน โลจิสติกส์นับเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราอย่างแท้จริง โดยแฝงมาในกิจกรรมที่เราทำกันเป็นประจำอย่างเช่น การสั่งอาหารเดลิเวอรี หรือการซื้อของออนไลน์ แต่ถึงแม้โลจิสติกส์จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น หลายๆคนก็อาจจะยังคงสงสัยว่า โลจิสติกส์มันคืออะไรกันแน่? ด้วยเหตุนี้CPLINTER ในฐานะผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จึงอยากมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนเอง

ที่มาของคำว่า โลจิสติกส์

โลจิสติกส์นับเป็นกระบวนการหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) โดยคำว่า โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการขนทรัพยากรจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยคำนึงถึงทั้งต้นทุนและเวลาที่ใช้ไป เพื่อทำให้กระบวนการขนส่งสำเร็จได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มีการคาดการณ์ว่า “Logistics” มีที่มาจากคำภาษาฝรั่งเศส “Logistique” (แปลว่า เก็บ) ซึ่งปรากฎในหนังสือของ Baron Henri แม่ทัพของกองทัพฝรั่งเศส ในยุคสมัยของนโปเลียน ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยหมายถึงกระบวนการเก็บสเบียง อาวุธ และกำลังพลสำหรับสงคราม นอกเหนือไปจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่คำว่า โลจิสติกส์ จะมีที่มาจากภาษากรีกอย่างคำว่า “λόγος” (LOGOSH) แปลว่า เหตุผล และคำว่า “λογιστικός”(LOYISTIKOSH) แปลว่า นักบัญชี หรือผู้รับผิดชอบในการนับ

องค์ประกอบของโลจิสติกส์

การคลังสินค้า – เพื่อจัดเก็บและรักษาวัตถุดิบและสินค้า การบรรจุสินค้าและบรรจุภัณฑ์ – โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสินค้า และความสะดวกในการจัดเก็บและขนส่ง การสต็อคสินค้าหรือการจัดการสินค้าคงคลัง – ทั้งการไหลเวียนของสินค้า การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า และสถานที่ที่เหมาะสมในการจัดเก็บสินค้า การขนส่งสินค้า – ทั้งประเภทของการขนส่งและวันหมดอายุของสินค้า การจัดการข้อมูล – เพื่อวางแผนการจัดการโลจิสติกส์ที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความสำคัญของโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ถือเป็นส่วนสำคัญในเกือบทุกวงการธุรกิจ โดยนอกเหนือไปจากการออกแบบและผลิตสินค้าให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมายแล้ว การขนส่งสินค้าไปให้ถึงมือของลูกค้าก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถละเลยได้เช่นกัน โดยหากสินค้าเสียหายหรือไปถึงมือลูกค้าช้า ย่อมส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างแน่นอน และนอกเหนือไปจากการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าแล้ว การขนส่งและจัดเก็บวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตลดลง หรือสามารถเพิ่มกำลังผลิตให้สูงขึ้นในเวลาเท่าเดิมได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า การจัดการโลจิสติกส์ที่ดีย่อมส่งผลต่อผลกำไรของบริษัทโดยตรง ท่านใดสนใจบริการด้านโลจิสติกส์ CPLINTER ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรแบบ Door To Door ทั้งบริการส่งของไปต่างประเทศทางเครื่องบิน บริการส่งของไปต่างประเทศทางรถ บริการส่งของไปต่างประเทศทางเรือ บริการบรรจุสินค้า เตรียมเอกสารสำหรับส่งออก เดินพิธีการขาเข้าและขาออก สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ สอบถามซีพีแอล โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com ได้เลยค่ะ

บทความนี้จะมาตอบทุกคำถามของน้องๆ ที่สงสัยเกี่ยวกับการเรียนในคณะหรือสาขาทางด้าน "โลจิสติกส์" โลจิสติกส์ คืออะไร? เรียนยังไง เรียนที่ไหน จบไปทำงานอะไรได้บ้าง?

โลจิสติกส์ คืออะไร?
อย่างที่น้องๆ หลายคนพอทราบมาบ้างว่า สาขาวิชาโลจิสติกส์ นั้น เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

เรียนยังไง? เกี่ยวกับอะไรบ้าง? 
สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยที่ไหน ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน นั่นคือ น้องๆ ปี 1 จะได้เรียนพื้นฐานวิชาทั่วไป เช่น ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น

ในปีต่อๆ มาจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะ เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น และจากนั้นน้องๆ จะได้เรียนการสัมมนาทางโลจิสติกส์ รวมถึงออกสหกิจศึกษาในชั้นปีที่ 4

โล จิ สติ ก ส์ มี อะไรบ้าง

เรียนโลจิสติกส์ จบไปทำงานอะไรได้?
หลังจากเรียนจบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแล้ว มาถึงเส้นทางอาชีพและการทำงานบ้าง งานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน ถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการ และนี่คือสายงานและตำแหน่งที่น้องๆ บัณฑิตสาขานี้สามารถทำได้

ระดับปฏิบัติการ
เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

ระดับบริหาร
เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน,  นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ

ประกอบธุรกิจส่วนตัว
เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

รับราชการ 
รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  งานสายวิชาการ
เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น

โล จิ สติ ก ส์ มี อะไรบ้าง

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชาด้าน โลจิสติกส์ 

สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก
ภาควิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

ที่มา: 
adecco.co.th/salary-guide/2018