ปัญหาการหมกมุ่นของเยาวชนที่เข้าไปในเว็บไซต์ เรียกว่า

   
1. ข้อใดคือคำที่ประกอบกันแล้วมีความหมายเหมือนคำว่า “ไอที”
ก. ข้อมูล สารสนเทศ
ข. เทคโนโลยี สารสนเทศ
ค. การประมวลผล เทคโนโลยี
ง. ข้อมูล การประมวลผล สารสนเทศ
2. ข้อใดไม่ใช่ผลกระบททางด้านบวกของเทคโลโนยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
ก. ส่งเสริมการเรียนรู้
ข. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
ค. เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน
ง. สร้างความเสมอภาคในสังคม
3. ข้อใดคือผลกระทบทางด้านบวกจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสังคม
ก. ลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
ข. ลดปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ค. ทำให้เข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ต้องได้รับอนุญาต
ง. ทำให้รับรู้ข่าวสารและติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกยิ่งขึ้น
4. ไวรัสคอมพิวเตอร์ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคม
ก. เกิดความไม่เสมอภาค
ข. เพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อม
ค. เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล
ง. เพิ่มจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์
5. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบการป้องกันภัยคุกคาม
ก. ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้รู้
ข. ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้มี
ค. ตรวจสอบจากสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้
ง. ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้ทำ 
6. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบทางลบของอินเตอร์เน็ต
ก. การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน
ข. เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง
ค. เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม
ง. ก่อให้เปิดความเครียดของคนในสังคม
7. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต
ก. ไม่ใช้ข้อความหยาบคายในการส่งข้อความ
ข. ไม่ใช้ภาพที่ไม่เหมาะสม
ค.ไม่ควรใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
ง.ควรเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
8. ข้อใดกล่าวถึงโทษของอินเตอร์เน็ตถูกต้อง
ก. สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วถึง
ข. สะดวกสบาย
ค. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นได้
ง. เกิดปัญหาของลิขสิทธิ์
9. ปัญหาการหมกมุ่นของเยาวชนที่เข้าไปในเว็บไซต์ เรียกว่า
ก. ค้นหาข้อมูล
ข. เศรษฐกิจในระดับประเทศรุ่งเรือง
ค. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม
ง. เกิดความบันเทิง
10. บุคคลใดปฏิบัติถูกต้องเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต
ก. โป้งใช้อินเตอร์เน็ตขายสินค้าผิดกฎหมาย
ข. กลางให้อินเตอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกับเพื่อน
ค. นางใช้อินเตอร์เน็ตโหลดเพลงมาขาย
ง. ก้อยใช้อินเตอร์เน็ตล่อลวงบุคคลอื่น

ปัญหาสังคมจากโลกไซเบอร์

สภาพโดยทั่วไป
        ในสังคมไทยปัจจุบันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเจริญทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆได้ก้าวเข้าสู่สังคมและเป็นที่แพร่หลายเรียบร้อยแล้ว อาจจะเนื่องมาจากการพัฒนา การมีวิวัฒนาการด้านการศึกษา การประดิษฐ์คิดค้น และมีการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงความแพร่หลาย ความนิยมในการใช้อินเทอร์เน็ตกับสังคมไทย
        คงจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า อินเทอร์เน็ตนั้นได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความเจริญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น อินเทอร์เน็ตนั้นสามารถสนองความต้องการในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้เป็นอย่างดี มีความสะดวก รวดเร็ว ไม่จำกัดผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นเพศหรือวัย นอกจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารแล้วยังสามารถใช้เพื่อความบันเทิงได้อีกด้วยซึ่งออกมาในรูปแบบเช่น การดูหนัง ฟังเพลง เกมออนไลน์ หรือสามารถเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารได้ เช่น msn hi5 facebook ซึ่งเป็นที่นิยมมากในกลุ่มเด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นช่องทางในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของแต่ละบุคคล เช่น การตั้ง การตอบกระทู้ต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นจึงทำให้อินเทอร์เน็ตมีความหลากหลายในการที่จะเลือกใช้งาน อีกทั้งยังมีรูปแบบที่น่าสนใจ เว็บไซต์ต่างๆก็ได้มีการตกแต่ง การจัดรูปแบบ เนื้อหาสาระต่างๆให้มีความน่าสนใจอีกด้วย
       การเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นก็ทำได้ไม่ยาก บางคนก็มีอินเทอร์เน็ตไว้เล่นที่บ้าน ตามสถานศึกษาก็มีให้ใช้บริการ นอกจากนั้นยังมีร้านอินเทอร์เน็ตซึ่งเปิดให้บริการโดยจะเห็นได้ทั่วไปตามตัวเมือง ไม่ว่าจะเป็นที่กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัดก็เช่นเดียวกัน เมื่อการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นไปได้อย่างสะดวก ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าเหตุใดจึงมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ทำให้อินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลต่อสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

สภาพปัญหา
       จากที่ได้กล่าวไปว่าในสังคมไทยปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่มีความรวดเร็วต่อการรับเทคโนโลยี มีความทันสมัย และในขณะเดียวกันข้อมูลต่างๆในอินเทอร์เน็ตนั้นก็สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก ตลอดจนความน่าสนใจ ความหลากหลายในการใช้งาน จึงทำให้กลุ่มเยาวชนมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง หมกหรือวุ่นอยู่กับการใช้งานอินเทอร์เน็ต จนบางครั้งกลายเป็นโรคติดอินเทอร์เน็ต
       โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
        1.รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
        2.มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ
        3.ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
        4.รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
        5.คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
        6.ใช้เป็นอินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
        7.หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
        8.มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
        ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป

               

ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากเกินจนเด็กไม่สามารถกลั่นกรองสิ่งที่มีประโยชน์ได้อีกต่อไป มีข้อมูลมากจึงเหมือนไม่มี แถมยังทำลายความสามารถในการสกัดข้อมูลทิ้งไปเสียอีก สมองของวัยรุ่นนั้นปกติ แต่ต้องมาเผชิญหน้ากับข้อมูลจำนวนมหาศาลมากเกินปกติ คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตจู่โจมพวกเราด้วยกำลังแรงและรวดเร็วมาก จนกระทั่งพวกเราไม่ทันตั้งตัว สังเกตว่ามันได้พาเอามายาคติจำนวนหนึ่งติดมาด้วย มายาคติที่เกี่ยวพันกับบทความวันนี้คือ มันหลอกเราว่าข้อมูลเยอะแต่ไม่ได้แปลว่าเป็นข้อมูลที่เหมาะสม
(น.พ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ http://healthygamer.net/news 20 เมษายน 2010)

                และด้วยความที่ว่าบางครั้งเด็กและเยาวชนยังขาดวิจารณญาณหรือยังขาดวุฒิภาวะในการเลือกรับข้อมูลซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับวัยทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น

                น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ถึงผลการวิจัยของ น.ส.ศศิดารา สิงหเนตร เรื่องการขายบริการทางเพศผ่านห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิดำรงชัยธรรมว่า ผลวิจัยพบการขายบริการทางเพศผ่านทางอินเตอร์เน็ตเตอร์เน็ต แบ่งเป็น 2 แบบ 1.การขายบริการทางเพศผ่านห้องสนทนาโดยตรง อาทิ การขายบริการผ่านห้องสนทนา การสุ่มเข้าไปเสนอขายบริการกับผู้ซื้อเอง 2.ขายบริการทางเพศผ่านห้องสนทนาทางอ้อม เช่น การติดต่อกับเอเย่นต์ หรือคนกลางผ่านอินเตอร์เน็ต และการขายบริการผ่านทางโทรศัพท์กับผู้ที่เคยใช้บริการหรือมีคนแนะนำมา
(http://www.thaihealth.or.th/node/7789)

                การเข้าไปใช้บริการในเว็บไซต์ต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่นเว็บไซต์ลามกอนาจาร ที่มีอยู่จำนวนมาก โดยการเข้าไปใช้บริการเว็บนั้นๆ ง่ายดายมาก ถึงแม้ว่าในสถานที่ราชการ หรือสถานศึกษาบางแห่งจะเข้าไปสกัดกั้น ไม่ให้เข้าไปใช้บริการบนเว็บนั้นได้ แต่ก็ไม่สามารถสกัดกั้นได้ เนื่องจากยังมีสถานที่ที่คอยรองรับการบริการแบบเช่าชั่วโมงให้กับเยาวชน ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไป ข้อมูลเว็บไซต์เหล่านั้นมีออกมาหลากหลายรูปแบบ เพื่อดึงดูดความสนใจ ไม่ว่าจะนำเสนอเป็นภาพนิ่ง วีดีโอ ภาพยนตร์ ฯลฯ จึงทำให้ธุรกิจด้านสื่อลามกมีผู้ใช้บริการมากขึ้น จากการที่เยาวชนของเราได้เข้าไปดูในเว็บไซต์ต่างๆเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย เช่น ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาครอบครัว
(สุธารัตน์ วงศ์พุ่ม http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12774.html)

        “ปัญหาคุกคามเด็กและวัยรุ่นในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่” โดยศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรณีศึกษาเด็กและวัยรุ่นอายุ 7-19ปี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 2,276ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 22-23เมษายน พ.ศ.2551พบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตมีการใช้ความรุนแรง อาทิ พูดจาหยาบคาย โวยวาย ด่าทอ และทำร้ายร่างกาย อีกทั้ง เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ที่นิยมเข้าไปเกมจะเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะ สม เนื่องจากเกมที่ให้บริการมีทั้งเกมต่อสู้ เกมใช้ความรุนแรง เกมที่มีภาพโป๊ เกมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์
(ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 6 เมษายน 2010 เรื่องแก้เด็กติดเกมและโทรทัศน์ www.healthygamer.net/articles)

ปัญหาการหมกมุ่นของเยาวชนที่เข้าไปในเว็บไซต์ เรียกว่า
ปัญหาการหมกมุ่นของเยาวชนที่เข้าไปในเว็บไซต์ เรียกว่า

       

แม้ว่าอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถที่จะใช้อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ การใช้เพื่อความบันเทิง ตลอดจนสามารถเป็นช่องทางในการสื่อสารได้ แต่จากที่ได้ยกมา ก็จะเห็นว่าปัญหาสังคมของเยาวชนที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นก็มีไม่น้อยเช่นเดียวกัน

บทวิเคราะห์
        การเสพติด การหมกมุ่นอินเทอร์เน็ตของเยาวชน ก็เนื่องมาจากยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงอินเทอร์เน็ตซึ่งมีความหลากหลาย น่าสนใจ สามารถใช้ได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อสืบค้นข้อมูลต่างๆ การบริโภคข่าวสาร เพื่อความบันเทิง เช่น การดูหนัง ฟังเพลง อ่านการ์ตูน เล่นเกมออนไลน์ ตลอดจนสามารถเป็นช่องทางในการสื่อสารได้อีกด้วย จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่เยาวชนซึ่งกำลังเป็นวัยที่มีความรวดเร็วในการรับเทคโนโลยีใหม่ๆ รับความทันสมัย จะมีความสนใจในอินเทอร์เน็ตเป็นพิเศษ นอกจากนั้น การที่เยาวชนหมกมุ่นอยู่แต่กับอินเทอร์เน็ตก็อาจเกิดจากความเก็บกดหรือความไม่สบายใจแล้วไม่สามารถระบายออกสู่โลกความเป็นจริงได้ ซึ่งอาจจะถูกจำกัดพื้นที่ทางสังคม จำกัดบทบาท จำกัดทางความคิดการแสดงออกในเรื่องต่างๆ เช่น การที่พ่อ แม่ ผู้ปกครองห้ามให้เล่นเกม ห้ามออกไปเที่ยวกับเพื่อน ตลอดจนการสั่งสอนหรืออบรมโดยวิธีบังคับ ไม่รับฟังความคิดเห็นลูก ก็จะทำให้เยาวชนเกิดความกดดัน แล้วเมื่อระบายออกในโลกของความจริงไม่ได้ ก็นำไปสู่การแสดงออกทางโลกอินเทอร์เน็ต บางครั้งเล่นมากจนถึงขั้นแบ่งเวลาไม่เป็น เล่นจนเสียสุขภาพ เช่น การแชทคุยกับบุคคลอื่นจนดึก ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ เสียสายตา เป็นต้น การที่เยาวชนอยู่แต่กับโลกอินเทอร์เน็ตจนเกินไปนั้น จะทำให้ขาดทักษะการสื่อสารในโลกของความเป็นจริง เพราะบางครั้งการคุยกันผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นอาจไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นตัวตนจริง อาจเกิดจากการสร้างหรือสมมติขึ้นมาก็ได้ ไม่ได้มีตัวกำหนดหรือกฎเกณฑ์เสมอไป จนทำให้เกิดปัญหาการโดนหลอกไปกระทำในทางที่ไม่ดีดังที่เห็นในปัจจุบัน เยาวชนมีโลกส่วนตัวสูงขึ้น จนอาจทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลจริงห่างเหิน เช่น ความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกันในครอบครัว ซึ่งปัญหานี้น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสถาบันครอบครัวนั้น เป็นสถาบันทางสังคมที่จะทำหน้าที่อบรมดูแลขั้นพื้นฐานเพื่อให้สมาชิกใหม่ของครอบครัวดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ เมื่อเกิดความห่างเหินกันในเรื่องความสัมพันธ์กันในครอบครัว พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ห่างเหินต่อลูกซึ่งเป็นเยาวชนนั้น ก็จะทำให้ขาดการอบรมดูแล ขาดการขัดเกลาทางสังคม ซึ่งเป็นกระบวนการอบรม หล่อหลอมตามแนวทางการปฏิบัติของสังคม การถ่ายทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆ การพัฒนาบุคลิกภาพ ตลอดจนการรู้จักบทบาททางสังคมตามสถานภาพ เช่น การมีสัมมาคารวะ การอ่อนน้อมถ่อมตน การพูดจาไพเราะ เป็นต้น ซึ่งเมื่อขาดกระบวนการนี้ไปแล้วก็อาจทำให้เยาวชนไม่สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสมบูรณ์ อาจเกิดความไม่เข้าใจในบางแนวคิด หรือการปฏิบัติของสังคมในบางเรื่อง ทำให้การบริโภคข้อมูลข่าวสารต่างๆในอินเทอร์เน็ตนั้น เยาวชนยังขาดวิจารณญาณในการเลือกรับ บางครั้งเมื่อได้พบเห็นบางสิ่งก็อาจมีพฤติกรรมเลียนแบบ เช่น การใช้ความรุนแรง เรื่องเพศ เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปก็จะคิดว่าเป็นเรื่องปกติของสังคม ยึดถือในความคิดเห็นของตนเองมากขึ้น และก็จะคิดว่าผู้ใหญ่นั้นล้าสมัย ก้าวไม่ทันเทคโนโลยี และก็อาจเป็นผลให้ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ต่อไป ในขณะเดียวกัน ด้านผู้ใหญ่นั้นก็อาจไม่เข้าใจวัยรุ่นหรือเยาวชน เนื่องจากยุคสมัยนั้นเปลี่ยนไป เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปมาก ตลอดจนวัยรุ่นนั้นก็อยู่แต่กับสื่อ อยู่กับอินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มวัยเดียวกัน ผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารในอินเทอร์เน็ต เช่น msn facebook ดังที่ได้กล่าวไป ทำให้เกิดเป็นช่องว่างระหว่างวัย ความสัมพันธ์ที่ห่างเหิน จนนำไปสู่ปัญหาสังคมอื่นต่อไป ดังที่ได้ยกมา เป็นต้น

แนวโน้ม

        ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวว่า “สำหรับแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในปีหน้านั้น จะมีการขยายตัวของการใช้อินเทอร์เน็ต
(15 มกราคม 2553 http://thaiview.wordpress.com/2010/01/16/thailand-internet-user-profile-2009/)

ปัญหาการหมกมุ่นของเยาวชนที่เข้าไปในเว็บไซต์ เรียกว่า

         

จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ 2000 ที่ผ่านมามีการเติบโตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในอัตราเร็วที่น้อยลง นั่นแปลว่าหน้าใหม่ก็เข้ามาเรื่อยๆ แต่อัตราที่เข้ามานั้นน้อยลง แต่ว่าการลดลงของอัตราเร็วผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตนี้กลับเป็นการเพิ่มปริมาณ การใช้ปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ปัญหาการหมกมุ่นของเยาวชนที่เข้าไปในเว็บไซต์ เรียกว่า

          จะเห็นได้ว่าเว็บในไทยร้อยละ 40 คือเว็บเพื่อการบันเทิง รองลงมาก็คือ game ประมาณร้อยละ 14 ที่กำลังไล่ตามมาอย่างติดๆก็คือ เว็บส่วนตัว ซึ่งเป็นอานิสงค์ช่วง diary fever ตามต่อด้วยช่วง blog fever ผสมโรงเข้ามาอีก รวมส่วนนี้ร้อยละ 10 ซึ่งสังเกตเห็นว่าหมดการศึกษา หมวดคอมพิวเตอร์ หมวดธุรกิจ หมวดอินเตอร์เน็ตลดลง
(รายงานของคุณ Thaweesak Koanantakool   http://meewebfree.com/site/something-in-the-world/71-stat-internet-user-in-thailand)

       ดังที่ทราบว่าอินเทอร์เน็ตนั้นได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่งโดยปฏิเสธไม่ได้ และเราก็ไม่อาจสามารถหยุดยั้งความเจริญเหล่านี้ได้ ในอนาคตแนวโน้มการพัฒนามีมากยิ่งขึ้น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นมากขึ้น สะดวกขึ้น จากปัญหาที่ได้พบมาทั้งหมดซึ่งเป็นผลกระทบมาจากอินเทอร์เน็ตของเยาวชนนั้น เราก็ไม่สามารถที่จะไปห้าม ไปกีดกั้นไม่ให้เยาวชนใช้อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากประโยชน์ของมันก็มีหลายประการเช่นกัน หากแต่ควรจะมีวิธีการปรับให้เยาวชนใช้อย่างเหมาะสม ใช้ไปในทางที่เกิดประโยชน์ โดยผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ เริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองควรดูแลเอาใจใส่ มีเวลาครอบครัว มีกิจกรรมร่วมกัน ควรจะเพิ่มพื้นที่ทางสังคมให้แก่บุตรหลาน กล่าวคือ ไม่ให้รู้สึกว่าอยู่คนเดียวไม่มีที่ปรึกษา ให้บุตรหลานกล้าที่จะเข้าหา ให้บุตรหลานสามารถแสดงออก แสดงความคิดเห็นได้ในบางกิจกรรม เช่น การเลือกสถานที่ไปเที่ยวของครอบครัว การเลือกอาหารรับประทานในครอบครัว เป็นต้น เพื่อที่จะไม่ให้เยาวชนมีความเก็บกด สามารถระบายออกมาได้ และเพื่อเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นการหันเหความสนใจไม่ให้เยาวชนหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ตมากเกินไป สอนให้รู้จักแบ่งเวลา รู้จักความพอดี รู้จักความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการเลือกบริโภคข้อมูล และช่วยให้เยาวชนมีวิจารณญาณในการรับสื่อมากขึ้น ทำให้ปัญหาสังคมที่ตามมานั้นลดลง
(ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 6 เมษายน 2010 เรื่องแก้เด็กติดเกมและโทรทัศน์ www.healthygamer.net/articles)
(ชำนาญ ไชยศร http://www.moc.moe.go.th/node/626 )
(สุธารัตน์ วงศ์พุ่ม http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12774.html)