วิทยาการคํานวณมีองค์ประกอบของเนื้อหา 3 ส่วน คือ

       กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดวิชาใหม่ “วิทยาการคำนวณ” ขึ้นมา บังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2561 เป็นต้นมา เริ่มใช้สอนในชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4 เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อสร้างเส้นทางอาชีพและโอกาสการทำงานที่ดีของเด็กไทยในอนาคต…

รู้จักวิชาวิทยาการคำนวณ

        สำหรับ วิชาวิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่จะมาแทนที่วิชาคอมพิวเตอร์หรือวิชาทางด้านเทคโนโลยี ที่มีสอนอยู่ในปัจจุบันผ และจะย้ายจากวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี มาอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (อ่านเพิ่มเติม คำอธิบายรายวิชา : คลิกที่นี่)

ข้อดีของวิชา วิชาวิทยาการคำนวณ

       สรุปได้ว่าการเรียนวิชาการคำนวณ จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การคิดให้เหมือนคอมพิเตอร์เท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นกระบวนการความคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ โดยเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ไขปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       ทั้งนี้ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาวิชาใหม่นี้ ได้มีการกำหนดขอบเขตการเรียนการสอนของวิชาวิทยาการคำนวณเอาไว้ 3 องค์ความรู้ ดังนี้

การคิดเชิงคำนวณ

        1. การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) เป็นวิธีการคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ สามารถใช้จินตนาการมองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและมีลำดับวิธีคิดได้ โดยวิธีคิดแบบวิทยาการคำนวณนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโปรแกรม เพราะภาษาโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จุดประสงค์ที่สำคัญกว่าคือการสอนให้เด็กคิดและเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เป็น จนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบนั่นเอง

พื้นฐานด้านดิจิทัล

        2. พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (digital technology) เป็นการสอนให้รู้จักเทคนิควิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในยุคไทยแลนด์ 4.0 จะเน้นในด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคม ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน และนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

รู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร

        3. พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (media and information literacy) เป็นทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่างๆ เพื่อให้เด็กใช้ช่องทางนี้ได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัยมากที่สุด

เริ่มใช้เป็นวิชาบังคับในปี 2561

        วิชาวิทยาการคำนวณ ถูกเพิ่มเข้ามาในการเรียนการสอนชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4 ในเดือนพฤษภาคม ปีการศึกษา 2561

        โดยทาง สสวท. ได้วางแผนวิชา ออกแบบหนังสือเรียน แบบฝึกหัด คู่มือครู และมีการจัดอบรมครูในรายวิชาใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะมีการเปิดการเรียนการสอนให้ครบ 12 ชั้นเรียนทั้งประถมและชั้นมัธยมในปีต่อๆ ไป นอกจากนี้ยังรวมถึงระดับอาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาทางเลือกอื่นๆ ในอนาคตอีกด้วย

        วิธีการเรียนการสอนจะเน้นการนำรูปแบบของโปรแกรมคอมพิวเตอ ร์มาสอนเด็กอย่างเหมาะสมตามพัฒนาการแต่ละวัย เด็กเล็กจะเน้นสื่อการเรียนรู้ประเภท Unplugged เช่น แบบฝึกหัด การ์ดคำสั่ง บอร์ดเกม เป็นต้น และค่อยๆ ปรับสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมขึ้นตามระดับชั้นปี เช่น ป.4 ให้เรียนเขียนโปรแกรมอย่างง่ายผ่าน Scratch เป็นต้น

เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน

        สำหรับเนื้อหาที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนนั้น จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระดับชั้นการศึกษา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

ชั้นประถมตอนต้น

        จะเน้นเรียนทางการแก้ไขปัญหาอย่างง่าย โดยใช้สื่อการเรียนรู้ประเภทต่างๆ เข้ามาช่วยสอน เช่น แบบฝึกหัด การ์ดคำสั่ง บอร์ดเกม ภาพวาด หรือสัญลักษณ์ เป็นต้น

ชั้นประถมตอนปลาย

        จะเน้นการเรียนการสอนในการออกแบบและการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายผ่าน Scratch เป็นการนำซอฟต์แวร์หรือสื่อการเรียนการสอน เรียนรู้วิธีการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม

ชั้นมัธยมตอนต้น

        จะเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการออกแบบและการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อเป็นการฝึกแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน

ชั้นมัธยมตอนปลาย

จะเป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อนำไปใช้ในการบูรณาการกับโครงานวิชาอื่นๆ อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

................................................................................อ้างอิง : https://campus.campus-star.com/education/62881.html

 "วิทยาการคำนวณ" เรียนอะไรกันแน่ 

     ชื่ออย่างเป็นทางการ คือ วิชาวิทยาการคำนวณ (Computing Science) จะมาแทนที่วิชาคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีที่มีสอนอยู่ในตอนนี้ สิ่งที่เปลี่ยนไปในหลักสูตรนี้คือ ไม่ใช่แค่เรียนเพื่อใช้คอมพิวเตอร์เป็น แต่จะต้องมี "ระบบคิดและแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์" สามารถใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่เหมาะสม และจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นด้วย
     โดย รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาการคำนวณ สรุปถึงขอบเขตของวิชานี้ว่า ประกอบไปด้วย 3 องค์ความรู้ คือ

     1. การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) คือ เข้าใจและเรียนรู้วิธีคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ มีลำดับวิธีคิด ซึ่งนอกจากการเรียนการเขียนโปรแกรมแล้ว หัวใจที่สำคัญกว่าคือสอนให้เราเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ และแก้ไขปัญหาได้

     2. ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (digital technology) ทั้งเทคนิควิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในยุค 4.0 และเป็นทางเลือกในการบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้ด้วย

     3. รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล (media and information literacy) พูดง่ายๆ คือ แยกแยะได้ว่าข้อมูลไหนเป็นจริงหรือหลอกลวง รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ต่างๆ บนโลกไซเบอร์ เพื่อให้ใช้งานกันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

     สำหรับเนื้อหาที่น้องๆ จะได้เรียน ก็จะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ เพื่อให้ปรับตัวและพัฒนาไปตามเด็กแต่ละวัย เช่น

     - ประถมต้น เรียนการแก้ปัญหาอย่างง่าย โดยใช้สื่ออื่นๆ สอนเช่น บัตรคำสั่ง ภาพวาด หรือสัญลักษณ์
     - ประถมปลาย เรียนการออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ เรียนการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
     - มัธยมต้น เรียนการออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์
     - มัธยมปลาย ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ ไปใช้บูรณาการกับโครงงานวิชาอื่นๆ อย่างสร้างสรรค์
     สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับวิชา "วิทยาการคำนวณ" ดูเพิ่มเติมได้ที่ 
"ทำไมวิชาวิทยาการคำนวณ ถึงต้องเป็นวิชาบังคับ"(คลิก)

   
 เรียนไปแล้ว วิชานี้วัดผลยังไง? 
     มาถึงคำถามที่หลายคนสงสัย เรื่องสอบหรือการวัดผลจะออกมาในรูปแบบไหน เว็บไซต์ kid coding ได้ให้คำตอบว่า "เป็นการวัดผลแบบสร้างสรรค์"(คลิก การวัดผลคงไม่ใช่แบบเดิมที่จะต้อง"ถูก"หรือ"ผิด" เท่านั้น แต่จะวัดจากการที่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังหรือไม่ โดยจะเน้นให้น้องๆ คิดเป็นมากกว่าท่องจำแบบเดิมๆ เพราะหัวใจสำคัญของหลักสูตรนี้คือ ให้เด็กคิด และแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่จำเป็นต้องเก่งระดับท็อป แต่ถ้ามีการคิดที่เป็นขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะสนุกกับวิชานี้ได้ 


 เริ่มเรียนกันปีไหน? 
     เปิดเทอมพฤษภาคม 2561 ทุกโรงเรียน รุ่นที่จะได้เรียนก่อนเพื่อนคือ ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4 ซึ่งก็คือปีแรกของแต่ละช่วงชั้นนั่นเอง เปิดเทอมแรกปี 2562 ป.1,2 ป.4,5 ม.1,2 และ ม.4,5 และครบทุกชั้นปี ป.1-ม.6 ในปี 2563


 ในอนาคตจะมีผลต่อการศึกษาหรือไม่ ยังเป็นเรื่องน่าติดตาม!
     หลังจากที่ได้รู้ว่าวิชา "วิทยาการคำนวณ" จะย้ายไปอยู่กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ก็ทำให้นึกถึงผลที่ตามมาในเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะหลายๆ แห่งมีการใช้ผลการเรียนกลุ่ม "วิทยาศาสตร์" และ "คณิตศาสตร์" เป็นองค์ประกอบในการสอบเข้าด้วย 

นั่นหมายความว่า ถ้ายังคงใช้รูปแบบเดิม วิชาที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้มีแค่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เหมือนเดิมแล้ว วิชาใหม่นี้จะเป็นอีกวิชาที่น้องๆ ปล่อยปละละเลยไม่ได้ เพราะจะส่งผลต่อภาพรวมกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
     แต่นี่ก็เป็นแค่ข้อสงสัยเท่านั้นนะ ยังไม่มีการคอนเฟิร์มจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้ามีโอกาสจะหาคำตอบมาให้

......................................................................................................อ้างอิง : https://www.dek-d.com/education/48514/

วิทยาการคํานวณประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคืออะไรบ้าง

กระบวนการคิดเชิงคำนวณ.
การแบ่งย่อยปัญหา (Decomposition) แบ่งปัญหาหรือสิ่งต่างๆ ออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการแก้ปัญหานั้นๆ.
การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) สามารถมองและระบุปัญหาหลัก หรือสิ่งที่จำเป็นได้.
การเข้าใจรูปแบบ (Pattern Recognition) ... .
การออกแบบขั้นตอน (Algorithm Design).

วิทยาการคํานวณ มีกี่ประเภท

เนื้อหาวิชาวิทยาการคำนวณ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์) หัวใจหลักของวิชานี้ ให้ผู้เรียนสามารถคิดได้เป็นขั้นตอน นำการเขียนโปรแกรมมาเป็นเครื่องมือในการฝึกคิดเป็นขั้นตอน ตามแนวทาง Computational Thinking.

วิทยาการคํานวณ ได้อะไร

วิทยาการคำนวณสอนให้เราสามารถรวบรวมข้อมูล จัดการกับข้อมูล และนำข้อมูลมาประมวลผลได้ นำไปสู่การตัดสินใจ โดยอาศัยข้อมูลทั้งหมดที่มี จนสามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม และใช้โปรแกรมต่างๆ ได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของงาน วิทยาการคำนวณเน้นให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี

วิทยาการคำนวนมีองค์ประกอบกี่ส่วน อะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

แนวคิดเชิงคำนวณมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition) การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition) การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) การออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm) ในบทเรียนนี้จะกล่าวเพียง การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition) เท่านั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้