ขั้นตอนแรกของการจัดการโลจิสติกส์

ขั้นตอนแรกของการจัดการโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ (logistics) คืออะไร

            เมื่อกระบวนการผลิตสินค้า เจ้าของสินค้าอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง แต่ผู้บริโภคกลับมีหลักแหล่งอยู่ทั่วประเทศ ทำอย่างไร ผลิตภัณฑ์ ข้อมูล หรือทรัพยากรทั้งหลายเหล่านั้นจึงจะไปถึงมือของกลุ่มผู้บริโภคได้ นั่นเองคือที่มาของโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ คืออะไร

            โลจิสติกส์ เป็นเรื่องของระบบการจัดส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของข้อมูล หรือตัวสินค้า ไปยังลูกค้าที่ต้องการโดยมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น การขนส่ง การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการเกี่ยวกับหีบห่อ รวมถึงจัดการเรื่องวัตถุดิบ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อลดต้นทุนเรื่องเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขนส่ง ทั้งนี้ เรื่องทั้งหมดต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งเป็นหลักจึงจะเป็นเรื่องของโลจิสติกส์

กระบวนการของโลจิสติกส์

            เป็นกระบวนการการเชื่อมโยงระบบการจัดการและขนส่งสินค้าจากต้นทางไปสู่ปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการจึงเริ่มต้นที่

  1. ขั้นตอนการหาวัตถุดิบ สินค้า และบริการ
  2. ขั้นตอนการหา จัดเตรียม เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ แพ็กเกจ สินค้า
  3. ขั้นตอนการจัดส่งสินค้าจากต้นทางไปสู่คลังสินค้าปลายทาง
  4. 4. ขั้นตอนการบริหารสินค้าในคลังสินค้า สถานที่ตั้ง ระบบการจัดเก็บ การจัดการคลังสินค้าก่อนกระจายสินค้า ระบบจัดการเลือกสินค้าเพื่อจำหน่ายออก เช่น เข้าก่อน ออกก่อน รวมถึงปริมาณสินค้าที่ควรจัดเก็บไว้ในคลังเพื่อให้พร้อมบริการ
  5. ขั้นตอนการติดตามกระบวนการโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ การสื่อสารออนไลน์

การวัดประสิทธิภาพของโลจิสติกส์

            จุดมุ่งหมายของโลจิสติกส์มีเงื่อนไขอยู่ว่า กระบวนการทั้งหมดต้องดำเนินการภายใต้คำว่า จากต้นทางถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ประสิทธิภาพจะมีหรือไม่ต้องพิจารณาจาก

  1. สินค้าที่ลูกค้าต้องการ มีกระบวนการจัดส่งอย่างรวดเร็วหรือไม่
  2. กระบวนการการเดินทางของสินค้าจากแหล่งผลิตจนถึงมือผู้บริโภค มีความลื่นไหลหรือติดขัดอุปสรรคอะไรหรือไม่
  3. การติดต่อส่งข้อมูล การสื่อสาร เป็นไปแบบสะดวก รวดเร็วและทันการณ์หรือไม่
  4. ในระบบโลจิสติกส์นี้ สามารถช่วยลดต้นทุนสินค้าได้มากน้อยเพียงใด

            หากระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว ไม่ติดขัด เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ประหยัด ลดต้นทุน ทันเวลา

ประโยชน์ของระบบโลจิสติกส์

  1. ลดต้นทุนราคาสินค้าและบริการ รวมถึงประหยัดเวลาในการส่งสินค้าถึงผู้บริโภคเมื่อได้รับคำสั่งซื้อ
  2. การหมุนเวียนสินค้ามีประสิทธิภาพ ไม่มีของค้างสต๊อกนานเกินหรือเสียหายจากการจัดเก็บ
  3. ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจจากการสั่งซื้อสินค้า
  4. คนทำงานทุกขั้นตอนในระบบ พึงพอใจในระบบการทำงาน ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรืออุปสรรค จากเรื่องระบบจัดการและขนส่ง

            ระบบโลจิสติกส์ มีขึ้นเพื่อบริหารสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย และสามารถควบคุมประสิทธิภาพ ประสิทธิผลให้เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานแต่ละขั้นตอน คนจัดการสินค้า และผู้ผลิตและจัดจำหน่ายยังสามารถคุมต้นทุนและทำกำไรได้ตามที่ควรจะเป็น

ขั้นตอนแรกของการจัดการโลจิสติกส์

หากสนใจโปรโมทเว็บ โปรโมทสินค้าเรามีบริการหลายช่องทาง

เช่นการรับทำ SEO  และgoogle Adwordsลงโฆษณาfacebookและเรายังรับเป็นที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์
สำหรับท่านที่อยากมีที่ปรึกษาด้านการตาดออนไลน์ หรือต้องการโปรโมทเว็บไซต์ สามารถปรึกษาเราได้ฟรี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่https://www.mdsiglobal.com/

โทร : 0-8885888-69  Line : @9seo (มี @ ด้วยนะคะ)

Author: admin

ขั้นตอนแรกของการจัดการโลจิสติกส์

การจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) คือ การจัดการในการขนส่งสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีการวางแผน ควบคุม จัดเก็บข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวของเพื่อให้ไปถึงยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบโลจิสติกส์นี้ช่วยให้การบริหารงานด้านธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย

กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์

          กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย การบริหารจัดการการผลิต การตลาดและการบริการลูกค้า การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ การจัดการสินค้าคงคลังและการกระจายสินค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

ขั้นตอนแรกของการจัดการโลจิสติกส์

การเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์

          ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์ คือความต้องการของมนุษย์และการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์ต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ขั้นตอนแรกของการจัดการโลจิสติกส์

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น

ความรู้การยศาสตร์ : ออกแบบกระบวนการทำงาน และเครื่องใช้สำนักงานที่เหมาะสมกับสรีระของแรงงาน เพื่อทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการหาความคุ้มค่าและจุดคุ้มทุน : ของการสั่งซื้อวัตถุดิบการควบคุมปริมาณวัตถุดิบที่เก็บไว้ไม่ให้มีอยู่มากหรือน้อยจนเกินไป

ความรู้เกษตรศาสตร์ เรื่องการเลือกวัตถุดิบและแหล่งผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ

ความรู้วิศวกรรมศาสตร์ เรื่องกระบวนการผลิต : นำมาใช้ในการดูแลรักษาและควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตสินค้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการบริหารจัดการ : วางแผนการขนส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความรู้สังคมศาสตร์และจิตวิทยา เรื่องความต้องการของแต่ละวัยแต่ละสังคม : เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตภาวะทางการเงินรสนิยมเพื่อที่จะผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์

ด้านเศรษฐกิจ
ด้านบวก : เริ่มรายได้ให้กับประชาชนเนื่องจากสามารถขายสินค้า และขนส่งสินค้าในพื้นที่ห่างไกลได้ สามารถลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขนส่ง การวางแผนจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มูลค่าความเสียหายของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผลิตและการขนส่งมีจำนวนลดลง

ด้านลบ : มีการสื่อสารติดต่อในหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ต้องใช้งบประมาณลงทุนจำนวนมากในการวางโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านสังคม
ด้านบวก : ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าได้สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี เพราะมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน

ด้านลบ : ลดการใช้แรงงานในการผลิตและการขนส่งทำให้เกิดการว่างงาน มีการประสานงานในหลายหน่วยงานซึ่งหลายครั้งก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านบวก : เกิดของเสียจากกระบวนการน้อย

ด้านลบ : มีความต้องการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น

อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี), พิมพ์ครั้งที่ 1, สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ปีที่พิมพ์ 2563

prosoftgps, “Logistics Management เพื่อประโยชน์สูงสุดของการขนส่ง”, https://www.prosoftgps.com/Article/Detail/70852 สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

SURIYA ANJUMOHAN, “Global Logistics Industry: Grappling with Supply Shocks Across Markets Amid COVID-19”, https://ww2.frost.com/frost-perspectives/global-logistics-industry-grappling-with-supply-shocks-across-markets-amid-covid-19/ สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

การจัดการโลจิสติกส์มีขั้นตอน อะไรบ้าง

กระบวนการกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญของโลจิสติกส์นั้นประกอบไปด้วย – กระบวนการสั่งซื้อ (Order Processing) – การคาดการณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) – การจัดซื้อ (Procurement) – การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)

การบริหารจัดการโลจิสติกส์มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

การจัดการโลจิสติกส์ (logistics Management) หมายถึง “การบริหารจัดการระบบการไหลหรือการ เคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์และข้อมูลสารสนเทศตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสาคัญคือจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับ ผลิตภัณฑ์และมีต้นทุนเหมาะสม”

จุดเริ่มต้นของการจัดการโลจิสติกส์มาจากสิ่งใด

จุดกำเนิดของบริการด้านโลจิสติกส์มาจากกองทัพอังกฤษก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการจัดระบบการส่งกำลังบำรุงทางทหาร มีการสร้างสาธารณูปการ เช่น ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานที่จัดเก็บสินค้า รวมทั้งยานพาหนะที่ใช้ในการลำเรียงอาวุธยุทโธปกรณ์ ก่อนจะมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการกระจายสินค้า ...

การบริหารจัดการผลิตในการจัดการโลจิสติกส์คืออะไร

การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) คือ ระบบบริหารกิจกรรมด้านห่วงโซ่อุปทาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและลดค่าใช้จ่ายในองค์กร ด้วยการใช้ทรัพยากรให้มีคุณค่าที่สุด การจัดการด้านโลจิสติกส์ รวมถึงการจัดการวางแผน การจัดซื้อ การควบคุมการปฏิบัติการ การไหลเวียนของสินค้า และ การจัดเก็บวัสดุสินค้า