การเข้ามาของชาติตะวันตกในจีน

การที่ประเทศในยุโรป มีความเจริญทางด้านวิทยาการสมัยใหม่ และการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ เป็นเหตุให้มีการสำรวจทางทะเล  และค้นพบเส้นทางการเดินเรือ จากยุโรป  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการเพิ่มจำนวนประชากร ในยุโรป ประกอบกับ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร  เป็นเหตุจูงใจที่ทำให้ประเทศตะวันตกแข่งขันกันเข้ายึดครองประเทศเป็นอาณานิคม

การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก มีจุดประสงค์เพื่อ ผลประโยชน์ทางการเมือง รัฐบาลสนับสนุนบริษัทที่ทำการค้าให้มีอิทธิพลทางการเมือง เพื่อเข้าครอบครองดินแดนที่ทำการค้าด้วย ยุคนี้เรียกว่า ยุคจักรวรรดินิยม  ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทั้งหมด   ตกเป็น อาณานิคมของชาติตะวันตก  ยกเว้นประเทศไทย    ชาติตะวันตกที่เข้ามาในภูมิภาคนี้ ได้แก่

1.       โปรตุเกส   มีจุดมุ่งหมาย ที่สำคัญ คือ  การค้าเครื่องเทศ  และการเผยแพร่ศาสนา

คริสต์     เป็นชาติแรกที่ทำการสำรวจทางทะเล  เพื่อหาเส้นทางการค้าด้านฝั่งตะวันออก  โดยมี วาสโก ดากามา  ได้เดินทางมาถึงเมือง กาลิกัต  ในอินเดีย  เมื่อ พ.ศ.  2041  โปรตุเกสพยายามกำจัดพ่อค้าชาวอาหรับ  โดยพยายามยึดเมืองท่าต่างๆ ไว้สำหรับทำการค้า และเป็นที่จอดพักเรือ  และได้ยึดเมืองกัว ของอินเดีย เป็นอาณานิคมแห่งแรก  เมื่อ พ.ศ.2053  แล้วเข้าดจมตีเมืองเอเดนและเมืองเฮอร์มุซ ของพวกอาหรับได้สำเร็จ  โปรตุเกสไม่ต้องการดินแดนใหม่เป็นอาณานิคม ที่ถาวรแต่อย่างใด แต่ต้องการสถานีการค้าริมทะเล  เพื่อประโยชน์ทางการค้า จากอินเดียไปจีน   เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  และในปี พ.ศ.  2054   ได้เข้ายึดมะละกา  ทำให้สามารถผูกขาดการค้าเครื่องเทศและสินค้าอื่นๆ  ตลอดจนเป็นฐานทัพ และเมืองท่าสำหรับติดต่อค้าขายกับประเทศอื่นๆ  พ.ศ.  2100  ได้เข้ายึดมาเก๊า  ทางฝั่งทะเลจีนใต้  เพื่อเป็นสถานีการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และยึดติมอร์ ที่อยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา   การค่าโปรตุเกส เจริญรุ่งเรืองมาก สมารถผูกขาดภายการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะอินดิสตะวันออกได้     ต่อมาได้เผยแพร่ศาสนาในภูมิภาคนี้  ยกเว้นฟิลิปปินส์   ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสเปน     โปรตุเกส เป็นชาติแรกที่นำวิทยาการใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่   และเสื่อมอำนาจไปเมื่อชาติตะวันตกอื่นๆ เข้ามาแข่งขันค้าขาย  และมีอำนาจในการเดินเรือมากกว่า เช่น ฮอลันดา อังกฤษ  ทำให้โปรตุเกสต้องเสียอิทธิพลทางการค้า และฮอลันดาได้เข้าครอบครองมะละกาแทน ใน พ.ศ. 2184 

การเข้ามาของชาติตะวันตกในจีน

เรือของโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายกับเมืองมะละกาในสมัยนั้น

2.      สเปน    ในขณะที่โปรตุเกสทำการสำรวจซีกโลกตะวันออก  สเปน ได้ทำการสำรวจ

ซีกโลกตะวันตก  โดยมี เฟอร์ดินาน  แมกเจลแลน  ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลม  เขาเดินเรือจากตะวันตกของยุโรปผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกมาถึงหมู่เกาะเซบู ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์  แต่ถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะ แม็กตัน  ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆใกล้เกาะเซบู  ลูกเรือชื่อ ฮวนเซบาสเตียน  เดลคาโน ได้คุมขบวนเรือเดินทางรอบโลกได้สำเร็จ  ต่อมาวิลลา โลโบส  ได้เดินทางมายังหมู่เกาะนี้ ใน พ.ศ. 2085 และให้ชื่อหมู่เกาะนี้ว่า ฟิลิปปิน    เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าชาย ฟิลิป องค์รัชทายาทของสเปน ต่อมา เลกาสปี  ได้เข่ายึดครองหมู่เกาะเซบู  ในพ.ศ. 2108  และประกาศเป็นอาณานิคมของสเปน  สเปนได้นำวัฒนธรรมของตนเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนนี้ โดยเฉพาะการปกครอง ศาสนา  มีมะนิลาเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่สุด  อิทธิพลของสเปนที่เห็นได้ชัด คือ ศาสนาคริสต์  อันเป็นผลงานของมิชชันนารี หลังจากนั้น สเปนพยายามเข้ายึดครองอาณานิคมของโปรตุเกส จนกระทั่งมีเรื่องขัดแย้งกันกับฮอลันดาในเวลาต่อมา

เฟอร์ดินาน แมเจนแลนด์ ผู้สำรวจเส้นทางเดินเรือไปหมู่เกาะฟิลิปปินส์ โดยผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก

3.      ฮอลันดา   เป็นชาติที่มีความสามารถในการต่อเรือ  ฮอลันดาเดิม เคยอยู่ภายใต้

อำนาจของสเปน สามารถปลดแอกจากสเปน ได้สำเร็จ พ.ศ. 2111 จึงทำการค้ากับประเทศต่างในยุโรปเหนือ โดยผ่านทางเมืองลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส   จนกระทั่ง สเปน และโปรตุเกส ประกาศว่า ไม่ยอมให้ฮอลันดาทำการค้าด้วย   ทำให้ฮอลันดาต้องเปลี่ยนทิศทาง มายังหมู่เกาะเครื่องเทศ โดยมีจุดประสงค์  ที่จะทำการค้า เครื่องเทศกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ไม่คิดทำการเผยแพร่ศาสนาคริสต์   เช่นเดียวกับ สเปนและโปรตุเกส  ฮอลันดาสนใจการค้ามากกว่าเข้าปกครอง ดินแดน นั้น มีบริษัทการค้ามากมาย  ใน พ.ศ. 2145  บริษัทการค้าของฮอลันดาประมาณ50 บริษัท  ได้รวมตัวกันจัดตั้ง บริษัท อินดิสตะวันออก ของฮอลันดา นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบอาณานิคมสมัยใหม่ ที่อาศัยการค้าเป็นสำคัญ  เป็นบริษัทกึ่งราชการ มีอำนาจทางการค้า การเมือง การปกครอง  การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนการทำสงคราม และการทำสนธิสัญญา  มีการสร้างป้อมปราการและมีกองทัพประจำบริษัท บริษัทฮอลันดาได้เปรียบกว่าบริษัทของชาติต่างๆ ในเวลานั้น   พ.ศ. 2162  ฮอลันดาได้เข้ายึดครองเมืองปัตตาเวีย (จาร์กาตาร์ในปัจจุบัน)  ในเกาะชวา และในพ.ศ.  2184  ได้เข้ายึดครองมะละกาของโปรตุเกส  ต่อมาไปทำการค้าในเกาะชวา  สุมาตรา  หมู่เกาะ  โมลุกกะ  เกาะบอร์เนียว  เซลีเบส   ตลอดจนแหลมมลายู 

    การที่มีอำนาจผูกขาดในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก  ในขณะที่ชาวพื้นเมือง  รบพุ่งกันอยู่ได้เปิดโอกาสให้ฮอลันดา เข้าแทรกแซงกิจการภายใน และขยายอิทธิพลของตนได้สะดวกขึ้น  ต่อมาบริษัทเสื่อมลงเนื่องจาก เกิดการฉ้อโกงในบริษัท  เจ้าหน้าที่ของบริษัท  ทำการค้าขายส่วนตัว  ทำให้บริษัทขาดทุนมีหนี้สินมาก  รัฐบาลจึงยุบบริษัทและเข้าปกครองหมู่เกาะอินดีสตะวันออกโดยตรง

4.      อังกฤษ  เริ่มสนใจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ภายหลังจากการเดินทาง

รอบโลก  ของ เซอร์ ฟรานซิส เดรก( Sir Francis Drake)  และได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตนแข่งกับฮอลันดา เพื่อ ผลประโยชน์ทางการค้าในหมู่เกาะอิสดีสตะวันออก แต่อการลงทุน และระยะเวลาที่เข้ามามีน้อยกว่าฮอลันดา

  อังกฤษได้เข้ามาตั้งบริษัทอิสเดียตะวันออกของตน  เพื่อทำการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย  เมื่อการค้าก้าวหน้าขึ้น อังกฤษจึงต้องการดินแดนริมฝั่งทะเล  เพื่อเป็นสถานีการค้าและเป็นฐานทัพ  เรือของตน  อังกฤษจึงสนใจมลายู และได้ดำเนินการเป็ฯขั้นตอนเพื่อเข้าครอบครองมลายู คือ ในพ.ศ.  2329  อังกฤษ ได้ดำเนินการขอเช่าเกาะปีนังจากเจ้าเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทยเวลานั้น    ต่อมาได้ขอเช่าไทรบุรี  ใน พ.ศ.  2345  และให้ชื่อว่า  “โพรวินส์  เวสลีย์  “  (Province  wellsley )  และในพ.ศ.  2362  ได้เจรจาขอเช่าเกาะสิงคโปร์  จากสุลต่านรัฐยะโฮร์  ซึ่งดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของฮอลันดามาก่อน  อังกฤษจึงต้องเจรจากับฮอลันดา ตกลงทำ “ สนธิสัญญาลอนดอน “ เมื่อ พ.ศ. 2367  สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการแบ่งอิทธิพล ระหว่างอังกฤษกับฮอลันดา  คือ  ฮอลันดาได้ครอบครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก  ในขณะที่อังกฤษครอบครองมะละกา  ซึ่งเป็นของฮอลันดามาก่อน    และอังกฤษต้องถอนตนออกจากเกาะสุมาตรา   หลังจากนั้น อังกฤษได้รวมปีนัง สิงคโปร์  และมะละกาเข้าด้วยกัน  เรียกว่า “ สเตรทส์  เซทเทิลเมนส์ “(  Strait Seetlements)  อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษ  หลักจากที่อังกฤษเข้ายึดอินเดีย เป็นอาณานิคมใน พศ. 2401  แล้ว  อังกฤษก็ให้ความสนใจดินแดนในแหลมมลายูมากขึ้น  โดยเข้าไปรักษาความสงบและเข้าแทรกแซงกิจการภายในของรัฐต่างๆ  จนเป็นอาณานิคมได้สำเร็จ  รวมทั้งการเจรจาทำสนธิสัญญากับไทยในสมัยพระบาทสวมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.             2452  เพื่อขอไทรบุรี    กลันตัน ตรังกานู  และปะลิส  ซึ่งเป็นของไทยมาก่อน  โดยอังกฤษจะยอมเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  และให้รัฐบาลไทยกู้เงิน ล้านปอนด์  เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้

     หลังจากที่อังกฤษ ได้ครอบครองดอนแดนในแหลมมลายูแล้ว  อังกฤษได้ครอบครองดินแดนอื่นๆ  คือ บอร์เนียว เมื่อ พ.ศ. 2423  บรุไนส์ พ.ศ.  2431  และพม่า ในพ.ศ.  2429  โดยที่อังกฤษได้ทำสงครามกับพม่าถึง ครั้ง   และได้ชัยชนะตลอด  จนพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

5.      ฝรั่งเศส   เข้ามาตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก   เพื่อแข่งขันกับอังกฤษ ฮอลันดา  แต่ไม่

ประสบผลสำเร็จ  เพราะบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสเป็นแบบกึ่งราชการ  มี่ทุนน้อย   ฝรั่งเศสเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มแรก คือ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ควบคู่ไปกับการค้า  โดยเริ่มเข้ามาในเวียดนาม  ในสมัยของพระเจ้านโปเลียนที่  แห่งฝรั่งเศส (พ.ศ. 2395- 2413)  แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะ เวียดนามยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีเดิม  ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพเข้ายึดไซง่อน  ใน   พ.ศ. 2402  พระเจ้ากูดึก กษัตริย์  จึงต้องยอมเจรจาสงบศึกกับฝรั่งเศส ยอมเปิดเมืองท่าทำการค้าขาย และยอมให้พวกมิชชันนารีเผยแพร่ศาสนาได้      

     หลังจากได้เวียดนามแล้ว  ก็หาทางเข้าครอบครองเขมร เพื่อจะได้อาศัยแม่น้ำโขงเป็นเส้นทางผ่านทำการค้ากับจีน พระเจ้านโรดม  กษัตริย์เขมร  ต้องยอมให้เขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ในพ.ศ. 2406  โดยฝรั่งเศสได้อ้างสิทธิว่าเขมรเคยเป็นเมืองขึ้นของเวียดนามมาก่อน  ดังนั้น ฝรั่งเศสก็ขยายอิทธิพลเข้าไปในลาวซึ่งเป็นประเทศราชของไทย และด้วยการสนับสนุนของ นายออกุสต์  ปาวี  รองกงศุลประจำเมืองหลวงพระบาง  ฝรั่งเศสต้องการเข้าครอบครองดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง  จนกระทั่งเกิดการปะทะกับไทย  ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบ ลำเข้ามายังปากแม่น้ำเจ้าพระยา ของไทย  เมื่อวันที่ 13  กรกฎาคม  พ.ศ. 2436  ไทยได้ยิงตอบโต้  แต่ไม่สามารถสกัดกั้นได้  ในที่สุดมีการเจรจาตกลงกัน  ไทยต้องยอมรับว่าดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส  และฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรี ไว้เป็นประกัน  ต่อมาใน พ.ศ. 2446  ไทยต้องยอมยกฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับจันทบุรี  ฝรั่งเศสจึงเคลื่อนทัพออกจากจันทบุรีไปยึดเมืองตราด และ ไทยต้องยอมยก เสียมราช  พระตะบอง  และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.  2449 เพื่อแลกกับเมืองตราด  จากนั้นเวียดนามกัมพูชา และลาว ที่ฝรั่งเศสเรียกว่า “ อินโดจีน “  ก็ตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

6.      สหรัฐอเมริกา  นับตั้งแต่ ได้รับเอกราช  ในปีพ.ศ.  2319  ได้มุ่งพัฒนาประเทศ

ทางด้านเศรษฐกิจ   สังคมและการเมือง  และปฏิบัติตามนโยบายของประธานาธิบดี  เจมส์  มอนโร( James Monroe)  ซึ่งได้ประกาศ “วาทะมอนโร “ เมื่อ พ.ศ.  2366  เป็นหลักการว่า  มหาอำนาจในยุโรป จะต้องไม่จับจองดินแดนในทวีปอเมริกาเป็นอาณานิคมของตนอีกต่อไป  และสหรัฐอเมริกา จะยึดนโยบายโดดเดี่ยว  ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศอื่น  หลีกเลี่ยงการทำสงคราม แต่จะมาติดต่อค้าขายกันได้   ด้วยเหตุนี้อเมริกาจึงไม่มีนโยบายจะยึดดินแดนในภูมิภาคอื่น  มาเป็นอาณานิคมของตนเอง  ในปลายพุทธศตวรรษที่ 24  เศรษฐกิจของอเมริกาเจริญขึ้นมาก  เนื่องจากมีทรัพยากรสมบูรณ์  ประชากรมีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป  และได้ทำการติดต่อกับประเทศต่างๆมากขึ้น  จนกระทั่งนโยบายโดดเดี่ยวเปลี่ยนไป    คือ สหรัฐอเมริกาต้องการตลาดการค้าต่างประเทศ  เพื่อเป็นแหล่งระบายสินค้า  อุตสาหกรรมของตน    ในขณะที่มหาอำนาจในยุโรปมุ่งแสวงหาอาณานิคม  เพื่อต้องการวัตถุดิบ  ระบายสินค้าอุตสาหกรรม  และระบายพลเมืองออกไป เช่นกัน 

   สหรัฐอเมริกาได้แทรกแซงสงครามกลางเมืองระหว่าง  สเปน และคิวบา  เพื่อทำลายอิทธิพลของสเปน  และช่วยให้คิวบา ประกาศเอกราชได้สำเร็จ  การที่สหรัฐประกาศสงครามกับสเปน  ใน พ.ศ.  2341  ทำให้สหรัฐอเมริกามีอิทธิพลในทะเลแคริเบียน  มากขึ้น  จนสามารถยึดหมู่เกาะฟิลิปปินส์  ซึ่งเป็นอาณานิคมของสเปนไว้ได้    ซึ่งเป็นเวลาที่ชาวฟิลิปปินส์  กำลังต่อต้านสเปน  ฟิลิปปินส์ก็ถือโอกาส ประกาศเอกราชของตน  ในเดือน มิถุนายน  พ.ศ.  2341  คณะปฏิวัติได้รับการสนับสนุนจากพวกพระ ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปินส์ขึ้น

       สหรัฐอเมริกา เข้ายึดครองฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ พฤษภาคม   พ.ศ.  2341  และ เห็นว่าฟิลิปปินส์ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง จึงเข้าทำการปกครอง ฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน  รัฐบาลฟิลิปปินส์ ภายใต้การนำของ เอมิลิโอ  อากินันโด (Emilio Aquinaldo)  ได้ทำการต่อต้านสหรัฐอเมริกา  แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ