วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยมีหลากหลาย ทั้งภูมิปัญญาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิต และภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ความเจริญทางวัฒนธรรม ศาสนา ตัวอย่างภูมิปัญญาสมัยสุโขทัย มีดังนี้

      ๑. ภูมิปัญญาในการดำรงชีวิต พื้นฐานทางเศรษฐกิจของสุโขทัย คือ การเกษตรกรรม แต่สุโขทัยไม่ใช่ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เพราะตั้งแต่อยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นที่ลาด จึงมีปัญหาในการเก็บกักน้ำไว้ใช้ นอกจากนี้ ศรีสัชนาลัย

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

สุโขทัย อุตรดิตถ์ ซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน เป็นแหล่งรับน้ำจากภูเขาทำให้มีน้ำท่วมขัง การเพราะปลูกได้ผลไม่ดี ชาวสุโขทัยจึงใช้ระบบชลประทานมาช่วยควบคุมน้ำที่ไหลมาจากภูเขาและน้ำที่ท่วมตามลำน้ำต่างๆ ด้วยการสร้างคันดินและสร้างทำนบกั้นน้ำ ซึ่งเรียกว่า สรีดภงส์ ส่วนในที่ลุ่มก็สร้างฝายทดน้ำและขุดคลองส่งน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้ในพื้นที่รอบเมืองสุโขทัย รวมทั้งขุดสระน้ำที่เรียกว่า ตระพัง ไว้ทั่วเมืองสุโขทัย ปัจจุบันยังมีตระพังจำนวนมากที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ การพัฒนาระบบชลประทานเป็นการใช้ภูมิปัญญาของชาวสุโขทัยในการแก้ปัญหาน้ำ ทำให้มีน้ำเพียงพอในการอุปโภคบริโภค

      ๒. ภูมิปัญญาในด้านศิลปวัฒนธรรม ในสมัยสุโขทัยมีการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมหลายอย่าง ได้แก่

      พ่อขุนรามคำแหงคิดประดิษฐ์อักษรไทย หรือ ลายสือไทย ขึ้นเมื่อ พ.ศ.1826 ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่งที่สืบทอดมาจนปัจจุบัน การมีตัวหนังสือใช้ทำให้มีการจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงบนศิลาจารึก ซึ่งกลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่คนรุ่นหลังได้ใช้ศึกษาค้นคว้า

      ชาวสุโขทัยได้สร้างสรรค์งานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ของสุโขทัย ศิลปะสมัยสุโขทัยจัดได้ว่าเป็นศิลปะไทยที่มีความงดงามที่สุดและมีความงดงามที่สุดและมีเอกลักษณ์เฉพาะของไทยมากที่สุด ศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของสมัยสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกมะตูม ดังเช่น เจดีย์ที่วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัยเก่าเจดีย์ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวที่ศรีสัชนาลัย พระพุทธรูปปางลีลาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียงที่ศรีสัชนาลัย พระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก

      การผลิตเครื่องสังคโลกนับเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของชาวสุโขทัยสันนิษฐานว่า ชาวสุโขทัยได้เรียนรู้วิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีนและได้นำมาพัฒนาจนมีรูปแบบของตนเอง

                                

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
                         
วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

๓. ภูมิปัญญาในด้านศาสนา

      ผู้ปกครองในสุโขทัยได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปกครอง ทำให้ผู้ปกครองเปรียบเหมือนธรรมราชา ถือเป็นหลักการปกครองของกษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัย

      การศึกษาพระพุทธศาสนาทำให้พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

      การมีความศรัทธายึดมั่นในพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวสุโขทัยได้สร้างงานศิลปะที่มีความงดงามเพื่ออุทิศแต่พระพุทธศาสนา เช่น วัด เจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

                เนื่องจากสภาพพื้นที่บริเวณเมืองสุโขทัยเอียงลาดเพราะเป็นพื้นที่เชิงเขาทําให้ไม่สามารถเก็บน้ําได้ ตาม

ธรรมชาติ จําเป็นต้องพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ําไว้ใช้ในฤดูแล้งผู้คนในสมัยสุโขทัยจึงได้สร้างอ่างเก็บน้ําขึ้น โดยสร้าง

ทํานบเชื่อมระหว่างเขาเพื่อเก็บกักน้ํา เรียกตามจารึกว่า สรีดภงส์ รวมทั้งขุดบ่อหรือสระเรียกว่า ตระพัง ดัง

ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยมีกุฎีวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์ นาพราว ป่าลางหมาย

ถึง เมืองสุโขทัยทางทิศใต้นั้นได้มีการสร้างทํานบที่เรียกว่า สรีดภงส์เพื่อบังคับ จากคลองเสาหอให้ไหลไปทาง

ท่อดินเผาขนาดต่างๆ ผ่านเข้าไปในกําแพงเมือง แล้วลงไปในตระพังขนาดใหญ่กลางเมืองสุโขทัย

                การชลประทานของสุโขทัย เป็นประโยชน์ทั้งทางเกษตรกรรม เพราะ การอุปโภคและบริโภคภายใน

เมืองสุโขทัย เพราะชาวสุโขทัยจะขุด ตระพังน้ําไว้ใช้ในการดําเนินชีวิต ภูมิปัญญาทางด้านอุปโภค เป็นประโยชน์

ทั้งทางเกษตรกรรม เพราะชาวสุโขทัยใช้นําทีมาทางท่อขดนาผาย โดยไม่ต้องอาศัยน้ําฝนแต่เพียงอย่างเดียวและ

เป็นประโยชน์ทางด้านเมืองสุโขทัย เพราะชาวสุโขทัยจะขุด ตระพัง หรือบ่อน้ําจํานวนมากไว้เก็บกักน้ำไว้ใช้ใน

การดำเนินชีวิต ภูมิปัญญาทางด้านนี้ทําให้สโขทัยมีน้ําใช้ตลอดปี ผืนแผ่นดินมีความสมบูรณ์ สามารถ ผลิตพืชพันธุ์

ธัญญาหารเลี้ยงชาวเมืองได้เป็นอย่างดี

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

ตระพังน้ำในอุทยานประวัติศาสตร์จังหวัดสุโขทัย

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

                เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยที่เรียกว่า สังคโลกนั้น สุโขทัยได้รับเทคโนโลยีจากจีนมาพัฒนาด้านการ

ผลิต เครื่องสังคโลกได้งดงามเป็นที่เลื่องลือ ทําให้ขยายแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกขึ้นมากมาย เช่น บริเวณแม่โจน

ในเมืองสุโขทัย ป่ายาง ตําบลเกาะน้อยนอกเมืองศรีสัชนาลัยบ้านเตาไหในพิษณุโลก ประกอบกับขณะนั้น จีนอยู่

ในภาวะสงครามไม่สามารถส่งเครื่องสังคโลกออกจําหน่ายได้ทําให้สุโขทัยขยายการค้าเครื่องสังคโลก ไปต่าง

ประเทศ ดังจะเห็นได้จากหลักฐานซากเรือบรรทุกเครื่องสังคโลกจมอยู่บริเวณใกล้เกาะคราม เกาะสีชัง แถวพัทยา

และสัตหีบจํานวนมาก                                                                                                                                       

                เตาเผาเครื่องสังคโลกของชาวสโขทัย แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวสุโขทัยที่เจริญก้าวหน้ามากเพื่อให้

เครื่องสังคโลกมีเนื้อแกร่ง ใช้ได้นาน ชาวสุโขทัยจึงสร้างเตาขุดดออกกมเนื้อแกร่ง ใช้ได้นาน ชาวสโขทัยจึง

สร้างเตาขดด้วยการขุดดินริมฝั่งแม่น้ําให้เป็นโพรง ด้านหน้า บทเป็นห้องใส่ไฟ ตรงกลางขดกว้างสําหรับวาง

ภาชนะ ด้านหลังทําให้แคบลงแล้วเจาะเป็นปล่องควันไฟ  ต่อมาเปลี่ยนเป็นขุดในบริเวณที่เป็นเนินใช้ดินเหนียว

พอกเตาให้เป็นรูปคล้ายประทุนเรือ เผาเครื่องสังคโลกของสุขทยมี 2 แบบ แบบแรกเป็นเตาเผาชนิดระบายความ

ร้อนผ่านแนวขึ้น อีกแบบหนึ่งเป็นเตาเผาชนิด ระบายความร้อนผ่านแนวนอนซึ่งให้อุณหภูมิสูงกว่าสงคเล็กของ

สุโขทัยเป็นที่นิยมของตลาดต่างประเทศสืบต่อมาจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 22 เครื่องสังคโลกของสุโขทัยจึง

ค่อยหมดความสําคัญลง เมื่อเครื่องเคลือบจีนได้รับความนิยมขึ้นแทนที่

  

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
  

     เครื่องสังคโลกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสุโขทัย          

 

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

เตาทุเรียงในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย   


วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

                มรดกทางวัฒนธรรมของสุโขทัยที่ทรงคุณค่ายิ่งต่อชาติไทยมาจนถึงปัจจุบัน คือ ตัวอักษรไทยที่กําเนิด

ขึ้น เพราะพ่อขุนรามคําแหงมหาราชทรงโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตคิดค้นดัดแปลงตัวหนังสือของชาติต่างๆ ที่

ติดต่อกับไทยสมัยนั้น เช่น อินเดีย ลังกา ขอม มอญ และตัวหนังสือที่ใช้กันมาแต่ก่อน มาประดิษฐ์เป็น ตัวหนังสือ

ไทยที่เรียกว่า ลายสือไทย ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 ทั้ง ตัวพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ รวมทั้งตัวเลขไทย ทําให้สามารถ 

เขียนภาษาไทยได้ครบถ้วน วัฒนธรรมนี้ได้ถ่ายทอดต่อมายัง สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ จวบจน

ปัจจุบัน                                                                                                                                                                       พยัญชนะไทยในสมัยสุโขทัยมีทั้งหมด 42 ตัว (ปัจจุบัน มี 44 ตัว เพิ่มตัว ฑ, ฮ) โดยในสมัยพ่อขุนราม

คําแหง การเขียน จะเรียงสระและพยัญชนะทุกตัวอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และยังไม่มี การใช้ไม้หันอากาศ แต่ใช้

พยัญชนะเขียนเชื่อมต่อกันสองตัวแทน เช่น อนน (อัน) ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) รูปแบบ

ของลายสือไทยได้เปลี่ยนแปลง โดยมีการวางรูป สระบางตัวไว้ข้างบนและข้างล่างตามลักษณะตัวหนังสือขอมที่เคย

ใช้มาก่อน และได้มีวิวัฒนาการสืบต่อมาจนถึงสมัยพระนารายณ์ มหาราชของอยุธยา เมื่อมีหนังสือแบบเรียน

จินดามณีใช้ในการ เรียนการสอนรูปแบบของอักษรไทยจึงคล้ายอักษรไทยในปัจจุบัน                                                           การประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ได้ก่อประโยชน์อย่างมากมาย นอกจากแสดง

ถึงเอกลักษณ์และ ความเป็นเอกราชของชาติที่มีภาษาแลวัฒนธรรมของตนเองเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ําค่า

แล้ว ยังทําให้เกิดการจารึกเรื่องราวความเป็นมาของชาติไทยในศิลาจารึก เกิดวรรณกรรมไทยที่เป็นการสื่อสาร

ด้วยลายลักษณ์ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการปกครองด้วย นอกจากนลายสือไทยของพ่อขุนรามคําแหงมหาราชยัง

ได้แพร่หลายไปยังดินแดนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ล้านนา ลาว และดินแดนพม่าด้วย

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

ภาพจินตานาการเกี่ยวกับนรก-สวรรค์ ตามเรื่องราวที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง

                  พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) ทรงพระราชนิพนธ์ ไตรภูมิพระร่วงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1888 ตั้งแต่เมื่อ

ครั้งยังทรงเป็นพระ เอปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย โดยทรงคัดความจากคัมภีร์ต่างๆ ในพระไตรปิฏกรวบรวมแต่ง

เป็นไตรภูมิพระร่วง คําว่าไตรภูมิ แปลว่า ภพสาม ประกอบด้วยกามภูมิรูปภูมิ อรูปภูมิเค้าโครงเรื่อง ของไตรภูมิ

พระร่วงกล่าวถึงเรื่องกําเนิดของสัตว์ ยักษ์ มาร มนุษย์ เทวดา พรหม และการกําเนิดของสากลจักรวาล เนื้อหา

สำคัญคือ การให้ผู้คนยึดมั่นในการทําความดี จะได้ผลตอบแทนที่ดีได้อยู่ใน สวรรค์ แต่หากทําความชั่วก็ต้องได้รับ

ทุกข์ทรมานในนรก                                                                                                                                                     ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมที่แสดงแนวคิดทางการ ปกครองของพระมหาธรรมราชาที่ 9 ที่ผู้

ปกครองต้องยึดมั่นใน หลักธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อประชาชน โดยทําหน้าที่สั่งสอนประชาชนให้ยึดมั่นใน

หลักศีลธรรม นับเป็นภูมิปัญญาหนึ่ง ของผู้นําสุโขทัยที่นําหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาช่วยทาง ด้านการ

ปกครอง

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

                ประติมากรรมในสมัยสุโขทัยที่โดดเด่น คือ การหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะผสม พระพุทธรูปของสุโขทัย

 มีเอกลักษณ์ที่งดงาม ได้แก่ พระพักตร์วงกลมรูปไข่พระโอษฐ์อมยิม พระเนตร โค้งงอนมีสายตาแห่ง ความเมตตา 

พระวรกายสร้างให้กลมกลึงไม่เหมือนร่างกายมนุษย์ ท่าทางแสดงความอ่อนโยน และใช้ลักษณะคนโค้งสร้างสัด

ส่วนให้สวยงาม พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยนิยมสร้างพระสี่อิริยาบถ คือ ปางประทับนั่ง นางประทับยืน ปางลีลาหรือ

เดิน ปางไสยาสน์หรือพระนอน ตัวอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่รู้จักกันดี ได้แก่ พระพุทธชินราช และ พระศรี

ศากยมุนี

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
  
วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

    พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร         พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

                ในสมัยสุโขทัยวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างมีอิฐและศิลาแลง วัสดุดังกล่าวเป็นอุปกรณ์สำคัญใน

การวางรากฐานของอาคารและใช้ก่อเสากับผนังส่วนโครงหลังคาใช้ไม้หลังคาใช้กระเบื้องดินเผามีทั้งกระเบื้อง 

เกล็ดและกระเบื้องรางขนาดเล็ก ส่วนวัสดุประเภทฉาบผิวจะมีส่วนผสมของปูนขาว ทราย และตัวประสาน เช่น 

น้ําตาล น้ําฝาดของเปลือกไม้ ส่วนผสมดังกล่าวนี้ยังได้ใช้เป็นวัสดุตกแต่งทําลวดลายตามเสา ขอบผนัง คันทวย

และบัวหัวเสาอีกด้วย โดยตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ ได้อ่อนช้อย สวยงามมาก

                ตัวอย่างที่สะท้อนได้ชัดเจนของสถาปัตยกรรมที่งดงาม ได้แก่ เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าว

บิณฑ์ ที่สร้างบนฐานสี่เหลี่ยม แต่ทํายอดเป็นดอกบัวตูมในลักษณะก้านชูดอกบัวตูมใหญ่ความหมายคือเอาดอก

บัวเป็นพุทธบูชา เช่น เจดีย์ประธานของวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัยเก่า เจดีย์ประธานของวัดเจดีย์เจ็ดแถวเมือง

ศรีสัชนาลัย                  

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
     

วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย     

วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
                                    

เจดีย์วัดช้างล้อม  เมืองศรีสัชนาลัย

                นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงลังกา ที่มีลักษณะเป็นทรงระฆังคว่ํา มีปลีปล้องไฉนยอดแหลมตั้งอยู่บนฐาน

สี่เหลี่ยม ที่ผนังนั้นสร้างซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ฐานชั้นล่างนั้นนิยมล้อมด้วยสัตว์ เช่น ช้าง อันเป็น ลักษณะ

เฉพาะ เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย เจดีย์วัดสระศรี เมืองสุโขทัยเก่า