ซิงโครไนซ์ สัญญาณบังคับให้เกิดเส้นสะบัดกลับทางแนวนอน


ซิงโครไนซ์ สัญญาณบังคับให้เกิดเส้นสะบัดกลับทางแนวนอน

การส่งสัญญาณโทรทัศน์
1) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
       เป็นการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณไปในอากาศเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายนำสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30- 300MHz จะเป็นช่วงของ Very high Frequency (VHF) และช่วงความถี่ 300 - 3000 MHz จะเป็นช่วงของ Ultra high Frequency (UHF)

2) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ
      เป็นการส่งสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ การส่งสัญญาณด้วยสายนำสัญญาณแบ่งออกเป็น
      2.1) เคเบิลโทรทัศน์ชุมชน
      2.2) ระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน
      2.3) ระบบเสาอากาศชุดเดียว

3) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
      เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านดาวเทียมซึ่งใช้คลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ

4) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต
      เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www สามารถเปิดใช้งานและรับชมได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านระบบเครือข่ายเนตเวิร์ก ( Network )

ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทย
      ประเทศไทยใช้ระบบโทรทัศน์ PAL ซึ่งแบ่งแถบคลื่นความถี่ของการใช้งานโทรทัศน์ออกเป็นย่านความถี่ VHF และ ความถี่ UHF โดยที่ย่านความถี่ VHFได้ถูกใช้จนเต็มแล้ว ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่จึงต้องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในย่านความถี่ UHF แถบคลื่นความถี่ของความถี่การใช้งานโทรทัศน์ได้แบ่งตามตารางดังนี้

ช่องความถี่ใช้งาน    ย่านความถี่          ช่วงความถี่
ช่อง 2-4                   VHF                41 - 68 เมกะเฮิร์ซ
สถานีวิทยุ FM          VHF                88 - 108 เมกะเฮิร์ซ
ช่อง 5-13                 VHF               174 - 230 เมกะเฮิร์ซ
ช่อง 21-69               UHF               470 - 806 เมกะเฮิร์ซ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
      1) ดาวเทียม ดาวเทียมมีความเกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ในแง่ของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ในทุกที่
      2) สายอากาศ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยคลื่นวิทยุโดยที่มีระยะทางจำกัด
      3) การผสมสัญญาณ เป็นการผสมสัญญาณระหว่างสัญญาณภาพกับสัญญาณคลื่นวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ เพื่อทำการส่งออกไปในรูปสัญญาณ เอ.เอ็ม. ( AM )

          และยังเป็นการผสมสัญญาณเสียงกับคลื่นพาหะเสียงเพื่อส่งออกไปในรูปสัญญาณ เอฟ.เอ็ม. ( FM )
      4) คลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นวิทยุที่ใช้สำหรับการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระยะทางไกลเนื่องจากสามารถกำหนดทิศทางการส่งได้แน่นอน เพราะคลื่นความถี่สูงมากๆ จะมีการหักเหน้อย
      5) คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นที่กระจายไปได้ทุกทิศทาง ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย สามารถส่งออกไปได้ในระยะทางไกล แต่เมื่อผ่านสิ่งกีดขวางกำลังในการส่งก็จะลดลงอย่างมาก
      6) จดหมายเหตุ
      โทรทัศน์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจากบันทึกในหนังสือเทคโนโลยีโทรทัศน์โดยได้ระบุว่า จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นผู้ริเริ่มให้นำโทรทัศน์เข้ามาในประเทศ โดยมีหนังสือถึงอธิบดีกรมโฆษณาการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ความตอนหนึ่งว่า "...ผมอยากจะให้พิจารณาจัดหา และจัดการส่ง Television ขึ้นในประเทศของเรา เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของประชาชน จะควรทำเป็น Mobile unit อย่างที่สนทนาวันก่อน แล้วจัดหารถจี๊บขนาดเล็กมาทดลองต่อไป..."  ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงได้มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นหลังจากนั้นมา

การค้นพบและการใช้งาน
ปี พ.ศ.   การค้นพบและการใช้งาน
2416   Andrew May ค้นพบสารเซเลเนียมซึ่งเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า
2426   Paul Nipkow คิดค้นหลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนแบบกลไก
2454   Campbell Swinton ได้นำหลอดรังสีแคโทดมาใช้ในการรับส่งภาพของการสแกนภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์
2466   Vladimir Zworykinประดิษฐ์ iconoscope
2467   Vladimir Zworykin ประดิษฐ์ kinescope
2468   John Logie Baird และ Charles Francis Jenkins ทดลองการออกอากาศโดยส่งภาพเงาโดยไม่ใช้สาย
2471   James L. Bairdนำแผ่นกรองสีมาใช้แยกสัญญาณสี เกิดการส่งภาพสี
2479   แพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษด้วยระบบ 405 เส้น 25 ภาพต่อวินาที
2494    แพร่ภาพสีเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที
2495   ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ( ใน พ.ศ. 2550 คือสถานีโทรทัศน์โมเดิลไนน์ ทีวี Modern Nine TV )
2498    มีการแพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (ใน พ.ศ.2550 คือ สถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี)
2500   ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และมีการแพร่ภาพเป็นภาพขาว-ดำ
2510   สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แพร่ภาพเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
2513    ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์สีระบบ PAL
2517    สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ย้ายมาเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และได้เปลี่ยนจากการแพร่ภาพระบบขาว-ดำมาเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL
2539   สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ใน พ.ศ.2550 เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี) เป็นสถานีแรกที่ใช้ระบบ UHF เนื่องจากช่องสัญญาณในย่านความถี่ VHF ถูกใช้จนเต็ม