บทกรวดน้ําแบบย่อ หลังใส่บาตร

การกรวดน้ำ คือ การตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่เราได้ทำไว้แล้วไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งรินน้ำให้ไหลลงไปที่พื้นดินหรือที่รองรับ แล้วเอาไปเทที่พื้นดินอีกต่อหนึ่งหรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้

 

และสำหรับประเพณีกรวดน้ำนั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้สอนให้ พระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งได้มาทำบุญเลี้ยงพระ ทรงหลั่งทักษิโณทก (กรวดน้ำ) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการ "อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล" ให้แก่พระญาติที่ล่วงลับของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นมา เวลาทำบุญจึงนิยมใช้การกรวดน้ำเป็นสัญลักษณ์แทนการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

 

วิธีกรวดน้ำ ที่ควรรู้

 

1. กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย
2. กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนมอธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไปให้

 

และในระหว่างที่ทำการกรวดน้ำนั้น เราควรระลึกถึงผู้ที่มีคุณ หรือมีเวรกรรมต่อกัน เพื่ออุทิศผลบุญที่ได้ทำให้แก่บุคคลเหล่านั้น

 

ควรกรวดน้ำเวลาไหน

 

สำหรับเราที่เราควรกรวดน้ำนั้น คือ ขณะที่พระอนุโมทนา หรือหลังทำบุญเสร็จ แต่หากไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

 

- ถ้ามีเปรตญาติมารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที

 

- การรอไปกรวดที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งก็อาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับก็อด ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ก็อดไปด้วย

 

บทกรวดน้ำแบบยาว หรือ บทกรวดน้ำอิมินา           ตั้งนะโม 3 จบ           อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา           ด้วยบุญนี้ อุททิศให้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ           อาจะริยูปะการาจะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา           และอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ           ปิยา มะมัง สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ           สูรย์จันทร์ และราชา ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ           พรัหมะมารา จะ อินทา จะ โลกะปาลา จะ เทวะตา           พรหม มาร และอินทราช ทั้งทวยเทพ และโลกบาล           ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ           ยมราช มนุษย์มิตร ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ           สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม           ขอให้สุขศานติ์ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน บุญผองที่ข้าทำจงอำนวยศุภผล           สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง           ให้สุขสามอย่างล้น ให้ลุถึงนิพพานพลัน           อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ           ด้วยบุญนี้ที่เราทำ และอุทิศให้ปวงสัตว์           ขิปปังหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง           เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน           เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง           สิ่งชั่วในดวงใจ กว่าเราจะถึงนิพพาน           นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว           มลายสิ้นจากสันดาน ทุก ๆ ภพ ที่เราเกิด           อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา           มีจิตตรง และสติปัญญาอันประเสริฐ  พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย           มารา ละภันตะ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม           โอกาส อย่าพึงมี แก่หมูมารทั้งสิ้นทั้งหลาย เป็นช่อง  ประทุษร้ายทำลายล้างความเพียรจม           พุทธาทิปะวะโร นาโถธัมโม นาโถ วะรุตตะโม           พระพุทธผู้วรนาถ พระธรรมที่พึ่งอุดม           นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง           พระปัจเจกะพุทะสมทบ พระสงฆ์ ที่ผึ่งพยอง           เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา           ด้วยอานุภาพนั้น อย่าเปิดโอกาสให้แก่มาร ( เทอญ )
บทกรวดน้ำแบบสั้น           อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย           ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด  ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข สุขใจเถิดฯ
บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

 

ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

การกรวดน้ำ คือ การตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่เราได้ทำไว้แล้วไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งรินน้ำให้ไหลลงไปที่พื้นดินหรือที่รองรับ แล้วเอาไปเทที่พื้นดินอีกต่อหนึ่งหรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้

 

และสำหรับประเพณีกรวดน้ำนั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้สอนให้ พระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งได้มาทำบุญเลี้ยงพระ ทรงหลั่งทักษิโณทก (กรวดน้ำ) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการ "อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล" ให้แก่พระญาติที่ล่วงลับของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นมา เวลาทำบุญจึงนิยมใช้การกรวดน้ำเป็นสัญลักษณ์แทนการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

 

ด้วยความเชื่อนี้ ครูบาอาจารย์หลายๆท่าน แนะนำว่า ก่อนจะกรวดน้ำให้ดวงวิญญาณ หรือเจ้ากรรมนายเวร ให้กรวดน้ำให้ตัวเองก่อน คำว่ากรวดน้ำให้ตัวเองไม่ใช่เป็นการดึงบุญที่ตนทำให้ตัวเอง เพราะเราเป็นคนทำบุญบุญก็อยู่กับเราอยู่แล้ว แต่เป็นการแบ่งบุญให้เทวดาประจำตัวที่ปกปักรักษาเรา ไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย แคล้วคลาด ในภยันตรายต่างๆ

 

 

[adcenter1]
ขั้นตอนและวิธีกรวดน้ำ ที่ควรรู้

 

เตรียมน้ำสะอาดไว้ ๑ ขวด และนำจรดระหว่างคิ้ว กล่าวคำอธิษฐานจิต ดังต่อไปนี้

 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ สวด 3 จบ นะ โม พุท ธา ยะ

 

ลูกขอเชิญพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ โปรดเสด็จ มาเป็นประธาน อิทัง สัพพะเทวานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา ขอส่วนบุญนี้

 

จงสำเร็จแก่เทวดา ทั้งหลายทั้งปวง ที่รักษาตัวข้าพเจ้า ขอให้เทวดา ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข ให้เริ่ม เทน้ำลงบนพื้นดิน ลูกขอฝากน้ำอุทิศนี้ไปกับ พระแม่ธรณี พระแม่คงคา โปรดมาเป็นทิพย์พยาน

 

ขออานิสงค์ ผลบุญ กุศลอันใดที่ข้าพเจ้า ชื่อ สกุล ได้กระทำในวันนี้ทั้งหมด ทั้งปวง ข้าพเจ้าขออุทิศให้ กับเทวดาทั้งหลายทั้ง ปวงของข้าพเจ้า อยู่ ณ ปัจจุบันนี้ ที่ทำให้ข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์

 

ควรกรวดน้ำเวลาไหน          

 

สำหรับเราที่เราควรกรวดน้ำนั้น คือ ขณะที่พระอนุโมทนา หรือหลังทำบุญเสร็จ แต่หากไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ          

 

- ถ้ามีเปรตญาติมารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที          

 

- การรอไปกรวดที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งก็อาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับก็อด ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ก็อดไปด้วย