ส ป ส 6 15 ต้องแนบ เอกสาร อะไร บ้าง

หนังสือแจ้งการประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนประจำปี (กท. 26 ก.)และแบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี (กท. 20 ก.)
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • หนังสือรับรองของแพทย์ผู้รักษา
  • หนังสืออุทธรณ์
  • แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน

    • แบบขอรับค่าบริการทางการแพทย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของผู้ป่วยประกันสังคม (สปส.2-17)
    • แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและฉีดยาอิริโธรปัวอิติน(รายสัปดาห์) (สปส.2-181ก) (ใช้สำหรับสถานพยาบาล)
    • แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยประกันสังคม(สำหรับสถานพยาบาล) (สปส.2-15 )
    • แบบคำขอรับค่าบำบัดทดแทนไต (สปส.2-18)
    • แบบคำขอรับค่าอวัยวะเทียมอุปกรณ์ในการบำบัดโรค สำหรับผู้ประกันตนสถานพยาบาล (สปส.2-09)
    • แบบคำขอรับบริการทางการแพทย์ โดยการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวรและการฉีดยาอิริโธรปัวอิติน (รายเดือน)(สปส.2-181ข) (ใช้สำหรับสถานพยาบาล)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-017)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนการบำบัดทดแทนไต กรณีปลูกถ่ายไต (สปส.2-182)
    • แบบหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ตัวอย่าง)
    • ใบรับรองแพทย์
    • หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน (กรณีสงเคราะห์บุตร)
    • หนังสือมอบอำนาจ (รับเงินประโยชน์ทดแทน)
    • หนังสือรับรองของนายจ้าง
    • หนังสือรับรองของบุคคลซึ่งอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยากับผปต.โดยเปิดเผย กรณีผปต.ถึงแก่ความตาย(เฉพาะกรณีสงเคราะห์บุตร)
      ประกันสังคม คือ สวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ทางรัฐบาลมอบให้แก่ลูกจ้าง โดยระบบประกันสังคมนั่นคือมีในประเทศไทยมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2480 และเริ่มพัฒนาเรื่อยมาจนเกิดเป็นสำนักงานประกันสังคมเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2533 ซึ่งหลักการก็คือจะมีการหักเงินจากฐานเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสังคมสำหรับพนักงานที่มีรายได้ เอาไว้ใช้คุ้มครองลูกจ้างจากการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานและนอกเหนือการทำงาน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคมจะประกอบด้วย ผู้ประกันตน, นายจ้าง และรัฐบาล

      ส ป ส 6 15 ต้องแนบ เอกสาร อะไร บ้าง
      ประกันสังคมนายจ้าง

      โดยในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวของประกันสังคมในฝั่งของนายจ้าง ว่าเรื่องไหนที่ควรรู้ และต้องดำเนินการแจ้งต่อหรือขึ้นทะเบียนมให้ลูกจ้างต่อสำนักงานประกันสังคมกันอย่างไร

       

      นายจ้างต้องเริ่มต้นอย่างไร

       

      อย่างที่เราทราบกันว่าระบบประกันสังคมนั้นมีผลคุ้มครองสำหรับลูกจ้าง แต่ผู้ประกอบหรือบริษัทที่ถือเป็นนายจ้าง ก็ต้องมีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยนายจ้างต้องทำการลงทะเบียนกับระบบของสำนักงานประกันสังคม ดังนี้

       

      1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)

       

      นายจ้างหรือบริษัทที่มีลูกจ้างทำงานอยู่ในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับการขึ้นทะเบียนลูกจ้างในการเป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและเพื่อการรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน อีกทั้งเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ก็ต้องดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน

       

      เจ้าของกิจการสามารถใช้เลขนิติบุคคล 13 หลัก ดำเนินการขึ้นทะเบียนลูกจ้าง ประกอบกับการยื่นข้อมูลเงินสมทบ เช่น ตารางสรุปเงินเดือนพนักงานในแต่ละเดือน พร้อมระบุข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน, คำนำหน้านาม, ชื่อ-สกุล, ตำแหน่ง, เงินเดือน และเงินสมทบ

       

      โดยนายจ้างจะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนตลอดไปจนถึงการแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (กรณที่มีพนักงานลาออก) อย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นจะมีความผิด ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       

      หลักฐานที่ต้องใช้ในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน

       

      กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องมีการแนบเอกสารทุกข้อที่ระบุไว้)

      – แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)

      – สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมวัตถุประสงค์

      – สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช. 20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4)

      – แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ

      – หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

       

      กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องมีการแนบเอกสารทุกข้อที่ระบุไว้)

      – สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)

      – สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน

      – สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฎหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน

      – สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ. 20)

      – แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ

      – หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

       

      2. แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03)

       

      ในส่วนของผู้ที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อน หรือขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) นายจ้างสามารถส่งข้อมูลผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) ให้แก่ประกันสังคม ได้ดังนี้

       

      – ยื่นตามแบบฟอร์มแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับผู้ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส. 1-03 (สปส. 1-03/1) หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10)

      – ยื่นข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

      – หรือยื่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

       

      หลักฐานที่ต้องใช้ในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน

       

      – กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03)

      – บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตนได้

      – ใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทางหรือใบอนุญาตทำงานและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นคนต่างชาติ

      – ลูกจ้างที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วัน  นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน

       

      ข้อควรรู้อีกหนึ่งอย่างคือ หากคุณดำรงสถานะนายจ้างอยู่ จะไม่สามารถยื่นเรื่องให้ตนเองกลายเป็นผู้ประกันตนได้

       

      ขั้นตอนการยื่นข้อมูลเงินสมทบประกันสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต

       

      อีกวิธีที่สะดวกสบายและรวดเร็ว แบบที่ไม่ต้องเดินทางไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมให้เหนื่อย ก็คือการยื่นผ่านช่องทางออนไลน์นั่นเอง โดยขั้นตอนต่างๆ มีดังนี้

       

      การยื่นข้อมูลเงินสมทบออนไลน์

      1. เข้าสู่ระบบ และเลือกเมนู “ส่งข้อมูลเงินสมทบ”
      2. เลือก “วิธียื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ”
      3. เลือกสถานประกอบการ
      4. เลือกวิธีการนำส่ง พร้อมกรอกเดือน ปี และอัตราเงินสมทบ
      5. เลือกอัปโหลดไฟล์ “ข้อมูลเงินสมทบ”
      6. สรุปข้อมูลเงินสมทบ
      7. ส่งข้อมูลเงินสมทบสำเร็จ
      8. จากนั้นระบบจะส่งข้อมูลยืนยันตามแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ 2) เข้าทางอีเมลของนายจ้าง เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงินต่อไป

       

      การยื่นข้อมูลพนักงานเข้าใหม่ทางออนไลน์

      1. เข้าสู่ระบบ และเลือกเมนู “ทะเบียนผู้ประกันตน”
      2. คลิกเลือกข้อ 1 กรณีที่พนักงานเข้าใหม่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกับทางประกันสังคม หรือคลิกเลือกข้อ 2 หากพนักงานคนนั้นเคยขึ้นทะเบียนแล้ว และมีการเลือกสถานพยาบาลเดิม
      3. เพิ่มข้อมูลพนักงานใหม่ทั้งหมด ในกรณีที่พนักงานไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกับทางประกันสังคม ส่วนพนักงานที่เคยขึ้นทะเบียนแล้ว ให้กรอกเลขที่บัตรประชาชน  กรณีพนักงานคนนั้นเลือกสถานพยาบาลเดิม
      4. ตรวจสอบข้อมูล
      5. ยืนยันการบันทึกข้อมูล

       

      วิธีการนำส่งเงินสมทบประกันสังคม

       

      นายจ้างจะต้องเป็นผู้หักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง โดยต้องมีการคำนวณเงินสมทบค่าจ้าง ฐานของเงินค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยพนักงานจะถูกหักจ้างเงินเดือน 5% ตามด้วยเจ้าของกิจการจ่ายสมทบ 5% และรัฐบาลจ่ายสมทบอีก 2.75%

       

      จากนั้นให้นำส่งเงินสมทบพร้อมจัดทำเอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส.1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือนำส่งทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเงื่อนไขดังนี้

       

      – นำส่งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัดด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์เป็นเงินหรือเช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

      – ชำระเงินผ่านทางธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคากรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด โดยต้องเป็นสาขาในจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

       

      ถ้านายจ้างไม่ส่งเงินสมทบให้ลูกจ้าง?

       

      หากนายจ้างดำเนินการส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งเงินสมทบไม่ครบ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่งหรือจำนวนเงินที่ขาดอยู่ โดยต้องนำส่งด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น

       

      แต่ถ้านายจ้างเกิดกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10) ผิดพลาด เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะดำเนินการสั่งให้นายจ้างกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้อง หากยังไม่ปฏิบัติตามหรือยังทำไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       

      หากมีลูกจ้างลาออก ต้องทำอย่างไร

       

      เมื่อมีลูกจ้างลาออกจากบริษัทหรือสถานประกอบการ ให้นายจ้างดำเนินการแจ้งการออกจากงาน โดยต้องมีการระบุถึงสาเหตุการออกจากงาน โดยใช้หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

       

      ถ้าลูกจ้างเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ต้องทำอย่างไร

       

      อีกหนึ่งกรณีก็คือ หากลูกจ้างมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด เช่น การเปลี่ยนชื่อ-สกุล, ข้อมูลสถานพยาบาล หรือข้อมูลครอบครัว-บุตร ให้ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

       

      นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของนายจ้างด้วย หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนชื่อกิจการ, เปลี่ยนแปลงที่อยู่ของลำดับที่สาขา, ย้ายสถานที่ของบริษัท หรือ ยกเลิกกิจการ เป็นต้น นายจ้างก็จะต้องมีการแจ้งเปลี่ยนโดยใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส. 6-15) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เช่นเดียวกัน

       

      สรุปข้อมูลเกี่ยวกับประกันสังคมที่นายจ้างต้องรู้

       

      เรื่องราวของประกันสังคมถือเป็นสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลจัดทำขึ้น เพื่อมอบประโยชน์ให้แก่ประชาชนที่เป็นพนักงานบริษัท ดังนั้นนายจ้างที่ดีจึงต้องพึงปฏิบัติตาม เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่พนักงานในบริษัท ว่าจะได้รับสิทธินี้อย่างเต็มที่ ยิ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากมาย รับรองว่าการยื่นเงินสมทบให้แก่พนักงานในทุกวันนี้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแน่นอน

      ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

      ส ป ส 6 15 ต้องแนบ เอกสาร อะไร บ้าง

      เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า

      สิทธิประกันสังคมสำหรับคนที่ออกจากงาน
      การเปลี่ยนแปลงที่ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม

      ประกันสังคม  ประกันสังคมสำหรับผู้ประกอบการ

      บทความยอดนิยม

      Term Paper Writing Services

      The need for an expert to do term essay...

      Can Be Term Paper Writing Services worth the Price?

      Students have many choices available to them when they’re...

      ส ป ส 6 15 ต้องแนบ เอกสาร อะไร บ้าง

      10 เช็คลิสต์เคลียร์งานก่อนหยุดยาว

      ช่วงปลายปีถือเป็นถือช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนรอคอยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ที่ถือเป็นเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤ...