จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง คือ ส่วนสำคัญของกระบวนการสืบพันธุ์ ที่มีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ มดลูก โดยมีต่อมใต้สมองที่คอยสร้างฮอร์โมนเพศที่ช่วยกระตุ้นให้รังไข่เกิดการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน และนำส่งไปยังท่อนำไข่ เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิจากฝ่ายชาย จนกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวที่เยื่องบุโพรงมดลูก และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ แต่หากไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกและไหลออกมาเป็นประจำเดือน

ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มีดังนี้

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงภายนอก

  • แคมนอก หรือ แคมใหญ่ (Labia Majora) คือ เนื้อเยื่อผิวหนังที่มีลักษณะเป็นกลีบ 2 กลีบ อยู่บริเวณหัวหน่าวจนถึงปากช่องคลอด มีขนอวัยวะเพศปกคลุม
  • แคมใน หรือ แคมเล็ก (Labia Minora) คือ เนื้อเยื่อผิวหนังที่มีลักษณะเหมือนแคมใหญ่แต่มีขนาดที่เล็กกว่า อยู่ด้านในแคมใหญ่ ล้อมรอบบริเวณปากช่องคลอด ทำหน้าที่ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์ด้านใน
  • คลิตอริส หรือ ปุ่มกระสัน (Clitoris) คือ อวัยวะที่ถูกแคมเล็กปกคลุม มีลักษณะเป็นปุ่มเล็ก ๆ ที่ไวต่อความรู้สึก เมื่อสัมผัสอาจช่วยกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ทำให้ผู้หญิงไปถึงจุดสุดยอดได้
  • ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Gland) คือต่อมที่อยู่บริเวณปากช่องคลอดทั้งสองด้าน มีหน้าที่ผลิตสารหล่อลื่นภายในช่องคลอด เพื่อช่วยลดการเสียดสีที่อาจส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงภายใน

  • ท่อปัสสาวะ (Urethra) คือ ท่อที่เชื่อมต่อกับกระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่เป็นทางผ่านให้น้ำปัสสาวะไหลสู่ภายนอก
  • ช่องคลอด (Vagina) คือ ช่องกล้ามเนื้อที่เชื่อมต่อกับปากมดลูก ไปจนถึงมดลูก มีหน้าที่เป็นทางผ่านให้อสุจิไปผสมกับไข่ เป็นทางออกของประจำเดือนและทารกในครรภ์ ช่องคลอดเป็นอวัยวะที่มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถขยายได้ใหญ่พอให้ศีรษะและลำตัวของทารกในครรภ์ผ่านได้
  • มดลูก (Uterus) คือ อวัยวะที่อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน มีลักษณะคล้ายลูกแพร์ มีท่อยาว 2 ทางที่เชื่อมต่อกับปีกมดลูกซ้ายและปีกมดลูกขวา และอีกส่วนหนึ่งเชื่อมต่อกับช่องคลอด มดลูกมีบทบาทสำคัญต่อวงจรการเจริญพันธุ์ การสืบพันธุ์ และการคลอดบุตร นอกจากนี้ กล้ามเนื้อมดลูกยังสามารถขยายออกได้เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และสามารถหดกลับสู่ขนาดปกติได้หลังคลอด
  • รังไข่ (Ovaries) มีลักษณะเป็นวงรี ติดกับปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศให้สมดุล โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่กระตุ้นให้ประจำเดือนมาปกติ อีกทั้งยังมีหน้าที่ผลิตไข่ออกมาและลำเลียงผ่านท่อนำไข่ เพื่อเตรียมผสมกับอสุจิ
  • ท่อนำไข่ (Fallopian tubes) คือ ท่อขนาดเล็กที่เชื่อมติดกับมดลูกส่วนบน เป็นทางผ่านให้ไข่ที่สุกแล้วจากรังไข่ เคลื่อนผ่านออกมายังมดลูก เพื่อรอผสมกับตัวอสุจิ

โรคที่พบบ่อยในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

โรคที่พบบ่อยในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มีดังต่อไปนี้

เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้หญิง จึงควรใส่ใจสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่มีอาการผิดปกติ ดังต่อไปนนี้ ปวดท้องน้อยเรื้อรังปวดประจำเดือนมากผิดปกติปวดท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธุ์ หรือ ขณะเบ่งถ่ายประจำเดือนผิดปกติเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ปวดปัสสาวะบ่อยคลำพบก้อนเนื้อที่เต้านม

เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้หญิง จึงควรใส่ใจสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่มีอาการผิดปกติ ดังต่อไปนนี้

  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ
  • ปวดท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธุ์ หรือ ขณะเบ่งถ่าย
  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • คลำพบก้อนเนื้อที่เต้านม

อาการต่างๆ เหล่านี้ อาจเกิดจากโรคภายในอวัวยะอุ้งเชิงกราน ระบบสืบพันธุ์สตรี เช่น

  • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือ ช็อคโกแลตซีสท์ (Chocolate Cyst)
  • เนื้องอกมดลูก หรือ เนื้องอกรังไข่
  • มะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี

ซึ่งหากพบว่ามีอาการต่างๆ เหล่านี้ การมาพบแพทย์และปรึกษาสูตินรีแพทย์ จะช่วยให้ท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่ในสตรีบางรายที่เป็นโรคภายในอวัยวะสืบพันธุ์เหล่านี้ อาจจะไม่มีอาการ หรือ มีอาการเพียงเล็กน้อยจนไม่สามารถสังเกตได้ หากปล่อยทิ้งไว้โรคอาจลุกลามมากขึ้น

ดังนั้น ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ รวมทั้งสตรีที่หมดประจำเดือนแล้ว ควรได้รับการตรวจระบบสืบพันธุ์อย่างสม่ำเสมอถ้าพบความผิดปกติจะได้รับการรักษา และคำแนะนำในการดูแลจากแพทย์เพิ่มเติม

สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดนั้นมีอายุขัยที่แตกต่างกันครับ  สิ่งมีชีวิตบางชนิดนั้นอายุเพียง 7 วัน แต่ก็มีบางชนิดที่มีอายุเฉลี่ยกว่าร้อยปีเลยทีเดียว สิ่งมีชีวิตจึงต้องมีการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป  ไม่ใช่เพียงสัตว์เท่านั้น อาณาจักรพืชก็มีระบบสืบพันธุ์เช่นกันครับ

มนุษย์เป็นสิ่งมีอายุขัยตามพันธุกรรม อยู่ในหลักน้อยกว่า 100 ปี นานๆครั้งที่จะพบเห็นมนุษย์เราอายุมากกว่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม อายุเฉลี่ยของมนุษย์นั้นแตกต่างกันตามอาหาร และ พื้นที่อยู่อาศัยครับ

ระบบสืบพันธุ์ของคนเรานั้นเป็นแบบอาศัยเพศครับ  ในแต่ละหน่วยของคนนั้นจะมีเพียงเพศเดียว และ คนหนึ่งคนจะสามารถสร้าง ชุดพันธุกรรมเพื่อการสืบพันธุ์ได้เพียงครึ่งเดียว  และรอชุดพันธุกรรมอีกครึ่งหนึ่งจากเพศตรงข้าม เพื่อการรวมตัวกลายเป็นหน่วยสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่

เพศชายนั้นสร้างชุดพันธุกรรมในรูปแบบของ sperm และในเพศหญิงนั้นสร้าง Egg ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ จะได้รับการสร้างขึ้นมาเมื่อเรานั้นเติบโตเป็นวัยรุ่น  ในภาวะที่เหมาะสม Sperm และ Egg นั้นจะรวมตัวกันโดยชุดพันธุกรรมคนละครึ่ง กลายเป็นชุดพันธุกรรมที่สมบูรณ์และเกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมาครับ

.

.

.

จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

กลไกการทำงานของระบบสืบพันธุ์ (ฉบับเต็ม)


มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยเพศในการสืบเผ่าพันธุ์ครับ  สารพันธุกรรมในหน่วยเล็กๆนั้นเรียกกันว่า Chromosome(โครโมโซม) ซึ่งอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในจำนวนที่แตกต่างกัน  มนุษย์เรามีโครโมโซมทั้งหมดคือ 46 โครโมโซม ใกล้เคียงกับลิงที่มี 42 โครโมโซม ต่างจากสุนัขที่มีถึง 78 โครโมโซม และ แมวที่มีเพียง 38 โครโมโซม

จำนวนโครโมโซม ที่ทำให้เกิดมนุษย์นั้น มาจาก แม่ 23 โครโมโซม และ พ่ออีก 23 โครโมโซม ซึ่งถือเป็นจำนวนครึ่งต่อครึ่ง จะมีการรวมกัน จนสุดท้ายได้ชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ และกำเนิดตัวเราขึ้นมาครับ

เพศหญิงจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า Egg หรือ ไข่ เป็นตัวกลางในการขนส่ง สารพันธุกรรมเหล่านี้ และ จะมีการตกไข่เดือนละ 1 ครั้ง เริ่มในระยะที่เป็นวัยรุ่น จนถึงวัยหมดประจำเดือน

เพศชายจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า Sperm หรือ ตัวอสุจิ เป็นตัวกลางในการขนส่ง สารพันธุกรรม อีกครึ่งหนึ่ง ซึ่งมีการสร้างตลอดเวลา ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น จนเสียชีวิตเลยทีเดียวครับ

หมอขอแยกการอธิบายเป็นสองอย่างคือ เพศชาย และ เพศหญิง ครับ

 

จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

 

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย


จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

ตัวหลักในการสร้าง Sperm และ ฮอร์โมนต่างๆที่เกี่ยวกับเพศชายจะอยู่ที่ “อัณฑะ” เป็นหลักครับ

หลังจากมีการสร้าง Sperm และสารคัดหลั่งต่างๆแล้ว   Sperm นั้นจะได้รับการลำเลียงไปตามท่อต่างๆและเก็บบางส่วนไว้ใน seminal vesicle(ถุงเก็บอสุจิ) เพื่อรอการหลั่งออกมา

การแข็งตัวของอวัยวะเพศนั้น  ได้รับการควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ(คลิกเพื่อเรียนรู้ระบบประสาท) โดยสิ่งที่กระตุ้นระบบประสาทนั้น คือ อารมณ์ เป็นหลักครับ  เมื่อมีการกระตุ้นโดยระบบประสาท Parasympathetic(พาราซิมพาเทติก) จะกระตุ้นให้เกิดการคลั่งของเลือดในอวัยวะเพศ ทำให้อวัยวะเพศนั้นขยายขนาด และเริ่มแข็งตัวขึ้นครับ

เมื่อการกระตุ้นถึงระดับที่สมควร ระบบประสาท Sympathetic(ซิมพาเทติก) จะกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวถุงเก็บอสุจิ เพื่อหลั่ง sperm ออกมา ที่ปลายอวัยวะเพศชายครับ และหลังจากนั้นร่างกายจะเข้าสู่ระยะพักและผ่อนคลาย

จากการศึกษาแล้ว Sperm นั้นสามารถมีชีวิตอยู่ใน อวัยวะเพศหญิงได้นาน 3-5 วันเลยทีเดียวนะครับ

 

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง


จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงนั้นมีความแตกต่างกับเพศชายพอสมควรครับ  เพศชายนั้นสามารถสร้าง Sperm ได้ตลอดเวลา ต่างจากเพศหญิงที่การสร้าง Egg(ไข่) นั้นต้องใช้เวลาเพื่อสร้างและเตรียมการนานในระดับเดือนเลยทีเดียว

เพศหญิงมีรอบ “การเจริญเติบโตของไข่” และ “การเตรียมความพร้อมของมดลูก” ซึ่งใช้เวลาประมาณ 28 วันโดยเฉลี่ยครับ อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับรอบของการสืบพันธุ์นั้นมีดังนี้ครับ

  • Hypothalamus (ต่อมใต้สมอง) ทำการหลั่ง GnRH เพื่อไปกระตุ้น Pituitary
  • Pituitary gland (ต่อมพิทูอิทารี่) ทำการหลั่ง FSH (Follicular Stimulating Hormone) และ LH (Luteinizing Hormone) เพื่อกระตุ้น Ovary
  • Ovary (รังไข่) ทำหน้าที่ในการสร้าง Egg (ไข่) ซึ่งเป็นเซลล์หลักในการขนส่งสารพันธุกรรม เพื่อการกำเนิดชีวิต และรังไข่ยังหลั่ง Estrogen(อีสโตรเจน) Progesterone(โปรเจนเตอโรน) Inhibin(อินฮิบิน)
  • Uterus (มดลูก) ทำหน้าที่หนาตัวขึ้น เป็นรอบๆ เพื่อรอรับการฝังตัวของ ไข่ที่รับการปฏิสนธิแล้ว และเป็นบ้านสำหรับชีวิตใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น

จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

จำง่ายๆคือ  “ต่อมใต้สมอง” –สั่งการ–> “ต่อมพิทูอิทารี่” –สั่งการ–> “รังไข่” –สั่งการ–> “มดลูก”

หากจะทำความเข้าใจ หมออยากให้ดูแผนภาพ จะได้เข้าใจได้ง่ายกว่าครับ

จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

เริ่มจาก Hypothalamus (ต่อมใต้สมอง) หลั่ง GnRH เพื่อกระตุ้น  Pituitary gland ให้ทำการหลั่ง FSH และ LH ออกมาในกระแสเลือด

FSH และ LH จะมากระตุ้นรังไข่ ให้สร้าง “ไข่ที่พร้อมที่สุดเพียงใบเดียว” และรังไข่นั้นยังสร้าง Estrogen และ Progesterone ออกมาในกระแสเลือด

Estrogen และ Progesterone จะมากระตุ้นให้มดลูก สร้างเยื่อบุให้หนาขึ้นเพื่อรอรับการฝังตัว

หากไม่มีการฝังตัวใดๆ เยื่อบุมดลูกนั้น จะหลุดลอกกลายเป็น “เลือดประจำเดือน” และเริ่มรอบใหม่ไปอย่างนี้ทุกเดือนครับ  แต่หากมีการฝังตัว หรือตั้งครรภ์แล้วจะมี รก และ ฮอร์โมน ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก

จะทำอย่างไรให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ปกติ

คำถามที่พบบ่อยๆ


นับวันปลอดภัยยังไงครับ?

การนับวันปลอดภัย ในที่นี้หมายถึงวันที่จะมีเพศสัมพันธ์โดยที่โอกาสในการตั้งครรภ์ต่ำกว่าปกติ  วิธีนี้ไม่ได้ปลอดภัย 100 % นะครับ และ ต้องใช้กับผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนค่อนข้างคงที่  วิธีการนับคือ “นับประจำเดือนวันแรกของรอบประจำเดือนเป็นหลัก” แล้วนับถอยหลังและเดินหน้าไปอีก 7 วัน คือวันที่ปลอดภัยสำหรับการตั้งครรภ์ แต่ไม่ได้ปลอดภัยสำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นะครับน้อง

 

หลั่งข้างนอกจะท้องได้ไงครับ?

ได้สิครับน้อง มาดูเหตุผลกัน ขณะที่อวัยวะเพศชายเริ่มแข็งตัว จะมีน้ำจากต่อม Cowper’s หลั่งออกมาเพื่อเตรียมพร้อมท่อนำอสุจิให้หายจากความเป็นกรด  เราเรียกสิ่งนี้ว่า Pre-cum fluid  และจากการศึกษาพบว่าของเหลวนี้ มีอสุจิผสมอยู่  ถ้าสังเกตดูจะเป็นน้ำใสๆเหนียวๆที่ปลายอวัยวะเพศครับ เพราะฉะนั้นไม่ปลอดภัยครับน้อง

 

พลาดมีเพศสัมพันธ์แล้ว ทำไงได้ รอลุ้นเอา ?

ไม่ถูกครับ ปัจจุบัน เรามียาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน สามารถกินได้ภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์ สองเม็ดห่างกัน 12 ชั่วโมง ผลการคุมกำเนิดค่อนข้างน่าพอใจ แต่เป็นฮอร์โมนในระดับสูง ถ้าเลี่ยงได้จะดีกว่า แต่ถ้าไม่มีทางเลือกก็จำเป็นครับ

 

คุมกำเนิดแบบไหนดีที่สุด? 

คำถามนี้ต้องเลือกเป็นรายๆไปครับ สำหรับครอบครัวที่มีบุตรเพียงพอการทำหมันก็เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ส่วนบุคคลทั่วไปที่ ถุงยางอนามัยน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เพราะป้องกันทั้งการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วยครับ

 

เราจะรู้ได้เร็วที่สุดตอนไหนว่าเราท้อง ?

หากประจำเดือนขาดไป สามารถตรวจการตั้งครรภ์จากปัสสาวะได้ทันทีครับ เพราะจริงๆแล้ว ฮอร์โมนจากรกนั้นเริ่มสร้างและสามารถตรวจพบได้ ตั้งแต่ประจำเดือนยังไม่ขาดด้วยซ้ำ แต่คงจะมีน้อยคนที่จะตรวจการตั้งครรภ์ตั้งแต่ประจำเดือนยังไม่ขาดไปครับ