กิจการเจ้าของคนเดียว หมายถึง

                  กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเองทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่าธุรกิจประเภทอื่น                   ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า การทำไร่ การทำนา เป็นต้น ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว                   1 มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย                   2 เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้ ถ้าทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้                   3 เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว                   4 การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว ข้อมูลเพิ่มเติม

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทเพิ่มช่องทางการขาย เพิ่มยอดการตลาด และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภค ทำให้องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น กิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด เติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ กิจการขนาดเล็ก (SME) ผุดขึ้นตามมาเช่นกัน

และเพื่อให้การควบคุมดูแลกิจการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเหล่านี้เป็นไปโดยง่ายตอบสนองความก้าวหน้าของโลกยุคดิจิตอล กฏหมายจึงให้สิทธิ ต่อเจ้าของกิจการได้เลือกจดทะเบียนรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับกิจการของตน ซึ่งรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้น “กิจการเจ้าของคนเดียว

ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการไทย เข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบกิจการเจ้าของคนเดียว เพิ่มมากขึ้น ในบทความนี้จึงรวบรวมเนื้อหาสำคัญ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสียของรูปแบบธุรกิจดังกล่าว  เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการได้เลือกรูปแบบธุรกิจให้เหมาะสมตั้งแต่เริ่มกิจการ เพื่อเพิ่มโอกาสแข่งขันในการค้าและการลงทุน รวมทั้งยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ง่ายต่อการเริ่มต้นธุรกิจ

กิจการเจ้าของคนเดียว คืออะไร

กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) คือกิจการหรือธุรกิจที่มี “บุคคลธรรมดา” เพียงบุคคลเดียวเป็นเจ้าของกิจการ และเป็นผู้ลงทุน ไม่มีหุ้นส่วน จึงมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ในขณะเดียวกันก็รับภาระหนี้สินของกิจการอย่างไม่จำกัดความรับผิดชอบเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านอาหาร ร้านเสริมสวย คลินิคทำฟัน ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้มีจุดเด่นของรูปแบบกิจการที่คล้ายคลึงกัน คือ

  • – เป็นรูปแบบธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นตามความถนัดของเจ้าของกิจการ จึงมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารงานแต่เพียงผู้เดียว
  • – มีขนาดเงินลงทุนน้อยโดยส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนส่วนตัว กฏหมายจึงมิได้กำหนดให้ต้องมีทุนจดทะเบียน
  • – มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เข้าใจได้ง่าย มีที่มาของรายได้ และกำไรชัดเจนโดยส่วนใหญ่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ

การจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียว

กิจการเจ้าของคนเดียวเป็นรูปแบบธุรกิจที่มีมากที่สุดในประเทศไทย ดังนั้นการจัดตั้งจึงสามารถทำได้โดยง่าย เพียงเตรียมเอกสารสำคัญ เช่น คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาสัญญาเช่าพื้นที่ ไปยื่นขอจดทะเบียนที่สำนักงานพาณิชย์ในพื้นที่ประกอบกิจการ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จะออก “ใบทะเบียนพาณิชย์” ให้กับเจ้าของกิจการเพื่อนำไปติดในสถานที่ประกอบธุรกิจ และต้องติดตั้งบนพื้นที่ที่เห็นได้สะดวก เช่นบนผนังของร้านค้าหรือบนหน้าเว็บไซต์ของกิจการ พร้อมทั้งต้องทำป้ายชื่อร้านให้ตรงกับชื่อในใบจดทะเบียนพาณิชย์ ดังกล่าว

เปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว

ด้วยความสะดวกของการจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียว เนื่องจากเป็นรูปแบบธุรกิจที่มีอิสระ มีความคล่องตัวในการทำงานสูง ขั้นตอนการจดทะเบียนไม่ยุ่งยากสามารถกระทำได้ด้วยตนเอง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ประกอบการส่วนมากนิยมจัดตั้งธุรกิจประเภทนี้มากกว่าจดทะเบียนในรูปบริษัท อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนเป็นเจ้าของกิจากรคนเดียวยังมีข้อจำกัดในด้านต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ดังนี้

1. ความรับผิดชอบหนี้สิน

กิจการเจ้าของคนเดียว หากดำเนินธุรกิจมีกำไร เจ้าของกิจการจะได้ผลตอบแทนเต็มที่เนื่องจากไม่ต้องแบ่งผลประโยชน์กับหุ้นส่วน แต่เมื่อกิจการขาดทุนหรือยกเลิกกิจการ เจ้าของธุรกิจจะเป็นบุคคลเดียวที่มีหน้าที่รับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัด ซึ่งอาจต้องสูญเสียทั้งเงินลงทุนและรับผิดชอบนำสินทรัพย์ส่วนตัวมาชดใช้หนี้ต่างๆที่เกิดขึ้น หากทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้

2. ข้อจำกัดด้านการดำเนินการ

แม้ว่ากิจการเจ้าของคนเดียวจะมีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารงานต่างๆเต็มที่ แต่ก็มีอัตราความล้มเหลวที่สูงเนื่องจากพึ่งความสามารถของผู้ประกอบการเพียงคนเดียว ซึ่งอาจไม่มีความชำนาญในบางเรื่อง เช่นเรื่องบัญชี การขนส่งจากต่างประเทศ ทำให้อาจเกิดการบริหารงานผิดพลาด ธุรกิจอาจล้มเหลาวได้ อีกทั้งการขยายกิจการโดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารกระทำได้ยาก เนื่องจากพึ่งภาพลักษณ์ความมั่นคงของเจ้าของเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าธุรกิจแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด

3. ผลประโยชน์ทางด้านภาษี

ข้อดีของกิจการเจ้าของคนเดียวในด้านภาษี คือ มีข้อจำกัดทางกฏหมายน้อย จึงไม่ต้องแสดงงบการเงินต่อกรมสรรพากรทุกสิ้นงวดบัญชีเพื่อเสียภาษี แต่ใช้วิธีแบบเหมาจ่ายเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดา (ภงด.90 และ ภงด.94) โดยคิดเป็นรายได้รวมของเจ้าของกิจการ จึงลดภาระในการทำบัญชีและค่าใช้จ่ายรับรองงบการเงินสำหรับผู้สอบบัญชี แต่กิจการเจ้าของคนเดียวจะมีอายุการดำเนินกิจการที่จำกัด หากเจ้าของกิจการตายหรือไร้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจก็จะสิ้นสุดลง

ดังนั้น แม้กิจการเจ้าของคนเดียวจะเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ง่ายและสะดวกต่อการจัดตั้ง เหมาะสมกับธุรกิจเริ่มต้นอย่าง SME ในปัจจุบัน แต่ก็มีข้อจำกัดในหลายๆด้านที่ส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ดังนั้นการศึกษา ทำความเข้าใจและตัดสินใจชั่งน้ำหนักระหว่าง ข้อดีและข้อเสีย ของการดำเนินธุรกิจในแต่ละรูปแบบและเลือกได้เหมาะสมกับกิจการของตน จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจเป็นอันดับแรกหากคิดจะดำเนินธุรกิจ

กิจการเจ้าของคนเดียว หมายถึง
กิจการเจ้าของคนเดียว คือ ( Single owner business )

https://www.pangpond.com/%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7