การเปลี่ยนแปลงแบบทุติยภูมิ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ คือ?

ในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆ  เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น  กลุ่มสิ่งมีชีวิตเดิมที่เคยพบอาจสูญหายไปกลายเป็นอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาแทนที่ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า  การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ  (ecological succession)

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ

1.การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary succession)                                                                   เริ่มจากบริเวณที่ปราศจากสิ่งมีชีวิตมาก่อน (เกิดขึ้นได้ครั้งเดียว) เช่น การเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เกิดบนก้อนหินหรือหน้าดินที่เปิดขึ้นใหม่  สิ่งมีชีวิตพวก ไลเคน  มอส  ลิเวอร์เวิร์ต เจริญขึ้นเป็นกลุ่มแรก  เมื่อสิ่งมีชีวิตพวกแรกตายทับถมเป็นชั้นดินบาง ๆ   แล้วจึงสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ 2 พวก หญ้า วัชพืชเกิดขึ้นมาและตายทับถมเป็นชั้นดินที่หนาขึ้น อุดมสมบูรณ์มากขึ้นทำให้เกิดไม้ลมลุก ไม้พุ่ม และป่าไม้ในที่สุด กลายเป็นสังคมสมบูรณ์ และมีความสมดุล   การเปลี่ยนแปลงแบบนี้ใช้เวลานานมาก อาจเกิดจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมหนึ่งไปเป็นอีกสภาพแวดล้อมหนึ่ง เช่นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิในสระน้ำจนกลายเป็นพื้นดิน

เช่น บนก้อนหิน กลุ่มสิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงตามลำดับคือ  ไลเคน → มอส → หญ้า →ไม้ล้มลุก → ไม้พุ่ม→ สังคมพืช

การเปลี่ยนแปลงแบบทุติยภูมิ

 2.การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ  ( secondary succession )                                                             เมื่อกลุ่มสิ่งมีชีวิตเดิมถูกทำลาย แต่ยังมีสิ่งมีชีวิตบางชนิดและสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตต้องการ เหลืออยู่จึงเกิดเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตใหม่ เช่น การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในบริเวณที่ถูก ไฟไหม้  บริเวณที่ถูกหักล้างถางพง ทำไร่เลื่อนลอย แล้วปล่อยให้รกร้าง ป่าที่ถูกตัดโค่น สังคมสิ่งมีชีวิตนี้จะรักษาสภาพเช่นนี้ต่อไปถ้าไม่มีสิ่งรบกวน กระบวนการแทนที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงขั้นสุดท้ายของกลุ่มสิ่งมีชีวิต จะเวลาน้อยกว่าแบบปฐมภู

       กลุ่มสิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงตามลำดับคือ หญ้า → ไม้ล้มลุก → ไม้พุ่ม → ไม้ต้น                                                                                                                            

การเปลี่ยนแปลงแบบทุติยภูมิ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสังคมสิ่งมีชีวิตขั้นสุดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแทนที่

  1. การเปลี่ยนแปลงทางธรณี เช่น การเกิดธารน้ำแข็ง ภูเขาไฟ การเกิดแผ่นดินไหว
  2. การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม พายุ อากาศแห้งแล้ง จนทำให้สิ่งมีชีวิตเดิมที่มีอยู่ตายไป เกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมา
  3. การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากโรคระบาด ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่เดิมตายไปหมด
  4.  การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการประทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า

 

การเปลี่ยนแปลงแบบทุติยภูมิ

มลพิษ (pollution)

         มลพิษ(pollution ) มีผลกระทบต่อมนุษย์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ
     1) มลพิษสิ่งแวดล้อมในทางวิทยาศาสตร์หรือทางชีวภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมที่มีมลสาร (pollutants)หรือสารที่ทำให้เกิดมลภาวะ ที่เป็นพิษจนมีผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ หรือ ภาวะแวดล้อมที่มีสิ่งแวดล้อมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่มีมากเกินขีดจำกัดจนมีพิษภัยต่อมนุษย์ พืช และสัตว์ ” (carringcapacity) และ หมายถึง ภาวะแวดล้อมที่มีความไม่สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดมีน้อยเพราะใช้มากเกินไป บางชนิดมีมาก
     2) มลพิษสิ่งแวดล้อมทางสังคม หมายถึง ความผิดปกติในบุคคลหรือกลุ่มของบุคคลในสังคมนั้น จนทำให้สภาพสังคมเสื่อมสภาพไปจากเดิม หรือ ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่ตัวควบคุมทางสังคม (Social regulators) ขาดประสิทธิภาพหรือไม่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้สภาพสังคมมีแต่ปัญหา ไม่น่าอยู่อาศัย

ประเภทของมลพิษสิ่งแวดล้อม
มลพิษสิ่งแวดล้อมสามารถเกิดได้ในหลายลักษณะต่างกันไปพอจะแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
1) มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) มีตัววัดความเป็นมลพิษหรือดัชนีสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือ CO, CO 2 , CO 4 , CH 4 , SO2, NO 2, CFC, ฝุ่นละออง หมอกควัน ความร้อน ลม ความชื้น แสงอาทิตย์

2) มลพิษทางน้ำ  (water pollution) มีตัวดัชนีสิ่งแวดล้อมเป็นกลุ่มคุณภาพน้ำทางกายภาพ เช่น ตะกอน สี การนำไฟฟ้า กลิ่น ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ เป็นต้น กลุ่มคุณภาพน้ำทางเคมี เช่น สารฆ่าแมลง ธาตุอาหาร โลหะหนัก เป็นต้น กลุ่มคุณภาพน้ำทางชีวภาพ เช่น แพลงค์ตอนสัตว์ แบคทีเรีย เป็นต้น

3) มลพิษทางเสียง  (noise pollution)ได้แก่ เสียง ความสั่นสะเทือน

4) การเปื้อนสารกัมมันตรังสี radioactive pollution ได้แก่ ของเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

5) มลพิษทางดิน  (soil pollution)  ได้แก่ heavy meta(โละหะหนัก) และpesticides(สารกําจัดศัตรูพืช)

6) มลพิษทางทัศนียภาพ (Visual pollution) เกิดจากการออกแบบให้องค์ประกอบหรือการจัดรูปแบบ ให้สีไม่กลมกลืนตามธรรมชาติ ได้แก่ แบบอาคาร การวางผังเมือง เป็นต้น รวมถึงสภาพที่ไม่น่าดูชม เกิดความสลดหดหู่ เช่น ภาพข่าวสงคราม สภาพอุทกภัย สภาพความแห้งแล้ง เป็นต้น