ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

Highlight

  • Career Path คือเส้นทางอาชีพซึ่งเป็นตัวกำหนดเป้าหมายการเดินทางในโลกการทำงาน หรือการเติบโตในสายอาชีพทั้งในและนอกองค์กร
  • การมี Career Path ทำให้พนักงานมองเห็นเป้าหมายของตัวเองชัดเจนขึ้น รวมไปถึงวิธีการไปถึงเป้าหมายนั้น ๆ
  • HR ควรสนับสนุนให้พนักงานทุกคนออกแบบ Career Path ของตัวเอง ผ่านการจัดหาทรัพยากรหรือเครื่องมือที่จะช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถเพื่อการเติบโตต่อไป

Contents

  • Career Path คืออะไร
  • บทบาทของ HR กับ Career Path
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • ทำไมทุกองค์กรต้องมี Career Path
  • 7 วิธีการพัฒนา Career Path ให้พนักงานในองค์กร
    • 1. อัปเดทแผนผังองค์กรใหม่
    • 2. กำหนดตำแหน่งงาน
    • 3. สร้างเส้นทางอาชีพแต่ละงาน
    • 4. ระบุการฝึกอบรมที่ต้องการ
    • 5. สร้างโปรแกรมการฝึกอบรมและการพัฒนา
    • 6. จัดทำเอกสารโปรแกรมเส้นทางอาชีพ
    • 7. ทำแผนเส้นทางอาชีพให้กับพนักงานแต่ละคน
  • ประโยชน์ของการมี Career Path ที่ชัดเจนในองค์กร
  • บทสรุป

การทำงานเปรียบเสมือนถนนเส้นหนึ่งในการเดินทางของชีวิต ที่จะมีจุดเริ่มต้น จุดหักเลี้ยว จุดหยุดพัก จุดสิ้นสุด หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนถนนเส้นใหม่เพื่อเปิดประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากถนนเส้นเดิม ซึ่งทุก ๆ การเดินทางนั้นย่อมมีการพัฒนาเดินหน้าไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับการพัฒนาทางอาชีพที่จะมี Career Path หรือ เส้นทางอาชีพ เป็นตัวกำหนดเป้าหมายในโลกการทำงานของทุกคน

แน่นอนว่าพนักงานทุกคนล้วนสามารถกำหนดและออกแบบเส้นทางการทำงานของตัวเองได้ แต่สำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคลในองค์กรนั้น เปรียบเสมือนผู้สร้างถนนที่แท้จริงว่าจะออกแบบ Career Path ในองค์กรในพนักงานเดินทางได้อย่างไร

ในบทความนี้ HR NOTE จึงจะมาบอกถึงความสำคัญของการออกแบบ Career Path หรือเส้นทางอาชีพให้กับพนักงานว่าจะสามารถพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์กรไปพร้อมกันได้อย่างไร

Career Path คืออะไร

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561
Career Path คือเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ เปรียบเสมือนถนนการทำงานที่พนักงานคนหนึ่งสั่งสะสมประสบการณ์และผลงานเพื่อไปถึงเป้าหมายต่าง ๆ ในเส้นทางนั้น พูดง่าย ๆ ก็คือ เส้นทางอาชีพที่จะเริ่มต้นในตำแหน่งหนึ่ง ก่อนเลื่อนขั้นไปอีกตำแหน่งหนึ่ง นับเป็นการเติบโตทางอาชีพนั่นเอง

ปกติแล้วพนักงานจบใหม่มักจะยังไม่รู้ตัวเองว่าอยากเป็นอะไร ทำอะไร ก่อนจะทำงานลองผิดลองถูกอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งรู้จักตัวเองแล้ววางแผนเส้นทางอาชีพ โดยคนที่มีเป้าหมายชัดเจนจะมีแรงจูงในการทำงาน มีความมุ่นมั่น ทำให้มีโอกาสในการประสบความสำเร็จมากกว่า

ทั้งนี้ประเภทของ Career Path มีด้วยกัน 4 ประเภทคือ

1. การเติบโตแนวตั้ง (Vertical) – เป็นการเติบโตทางเส้นทางอาชีพแบบดั้งเดิม โดยเป็นการเติบโตในสายวิชาชีพเดิมหรือลักษณะการทำงานแบบที่ทำอยู่โดยตรง เช่น การเลื่อนจากพนักงาน เป็นผู้จัดการ หรือเป็นผู้อำนวยการ เป็นต้น]

2. การเติบโตแนวนอน (Horizontal) – เป็นการเติบโตแบบย้ายแผนกหนึ่งไปยังแผนกหนึ่ง โดยมีสาเหตุหลากหลาย เช่น การพัฒนาชุดทักษะให้กว้างขวางมากขึ้น การขยายความรับผิดชอบ ทำให้มีรายได้และผลตอบแทนมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ก่อนจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำระดับสูงต่อไป

3. การเติบโตแบบบันไดสองทาง (Dual career ladders) – เป็นการเลื่อนตำแหน่งโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในตำแหน่งหัวหน้างานอย่างเดียว อาจจะเป็นระดับซีเนียร์หรือหัวหน้าทีม นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับพนักงานที่ต้องการก้าวหน้าทางอาชีพ แต่ยังไม่สนใจหรือยังไม่เหมาะกับตำแหน่งผู้บริหาร

4. การลดขนาดอาชีพ (Scaled back career) – เป็นการลดบทบาทของพนักงานลงด้วยเหตุผลว่า ตัวงานเดิมไม่ได้เป็นที่สนใจ ทำงานแล้วเหน็ดเหนื่อยเกินไป หรือต้องการพิจารณาตำแหน่งใหม่ในบริษัท โดยการลดบทบาทตัวเองลงนับเป็นข้อดีที่จะทำให้พนักงานสามารถประเมินตัวเองทั้งความรับผิดชอบและความปรารถนาในเส้นทางอาชีพนี้ต่อไป

บทบาทของ HR กับ Career Path

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น การออกแบบ Career Path หรือเส้นทางอาชีพเป็นสิ่งที่พนักงานเองควรวางแผน แต่อย่าลืมว่า HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็มีบทบาทสำคัญในการวางแผนโครงสร้างองค์กรว่าสนับสนุนสอดคล้องกับเส้นทางชีวิตของพนักงานในองค์กรหรือไม่ HR จึงเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญที่มีบทบาทในการพัฒนาเส้นทางอาชีพของพนักงานด้วย

ถึงแม้ HR จะไม่สามารถกำหนดการเลื่อนขั้นหรือไม่สามารถสัญญากับพนักงานทุกคนได้ว่าจะได้รับการผลักดัน แต่สิ่งที่ HR ทำได้การสนับสนุนให้พนักงานทุกคนออกแบบเส้นทางอาชีพของตัวเอง ผ่านการจัดหาทรัพยากรหรือเครื่องมือที่จะช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงาน และองค์กรก็ไม่ใช่ทางเลือกเดียวของพนักงานที่เติบโตต่อไป ฉะนั้นความท้าทายของ HR ไม่ใช่แค่การสร้างโอกาสทาง Career Path แก่พนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและโอกาสในการขยายงาน ซึ่งจะแตกต่างไปตามแต่ละบุคคลอีกด้วย

ประเภทของพนักงานในองค์กร

Climbers – คนที่ชอบแสวงหาโอกาสและความก้าวหน้าของชีวิต ต้องการงานที่หลากหลาย, ทำงานนาน ๆ, มีเครือข่าย และแสวงหาวิสัยทัศน์ใหม่เสมอ

Hedgers – คนที่ใช้ทักษะการทำงานทั้งหมดเพื่อการเติบโตทางอาชีพทั้งในและนอกองค์กร

Scanners – คนที่ติดตามความเป็นไปของตลาดงานอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะเปลี่ยนงานเสมอหากมีโอกาส ถ้ายังไม่เจอองค์กรที่ใช่สำหรับตัวเอง

Coasters – คนที่แสวงหาโอกาสในการเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อย่างไรก็ดี ผู้จัดการก็มีส่วนสำคัญในการแนะนำและสนับสนุนพนักงาน HR จึงควรทำงานร่วมกับผู้จัดการนั้น ๆ พร้อมทั้ง HR ยังสามารถช่วยให้ผู้จัดการมองเห็นพนักงานในทีมว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร เพราะหากผู้จัดการมองเห็นความสำคัญของพนักงาน (มากกว่าแค่เป็นแรงงาน) พนักงานก็จะมีแนวโน้มพัฒนาตัวเองเพื่อประโยชน์ขององค์กรโดยรวม

ทั้งนี้ HR สามารถมีส่วนขับเคลื่อนพัฒนา Career Path ให้เติบโตทางอาชีพดังนี้

  • กำหนดนโยบายส่งเสริมการเติบโตที่ยุติธรรมและใช้การได้จริง รวมถึงการกำหนดนโยบายสำหรับการโพสต์หรือไม่โพสต์หางานในตำแหน่งว่าง เนื้อหา และระยะเวลาของการประกาศเลื่อนขั้น
  • อำนวยความสะดวกในการเลื่อนตำแหน่งภายในองค์กร โดยจัดให้มีการ coaching หรือฝึกสอนอาชีพแก่พนักงาน และช่วยผู้จัดการพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่ได้รับการเลื่อนขั้นหรือไม่ได้รับเลือก
  • ช่วยเหลือพนักงานที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งใหม่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างราบรื่น
  • ช่วยเหลือผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกด้วยการพัฒนาทักษะ โดยคาดหวังถึงโอกาสในอนาคตที่พวกเขาจะพัฒนาก้าวขึ้นต่อไป

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

Q: บทบาทความสำคัญของการทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ

อยากทราบถึงบทบาทที่แท้จริง

A: Career Path คือ เส้นทางความก้าวหน้าในการทำงานได้ภายในองค์กร

โดยเส้นทางความก้าวหน้าของอาชีพจะแสดงให้เห็นถึงแนวทางการเลื่อนตำแหน่ง จากระดับ ล่างสุดไปจนถึงสูงสุด ฉะนั้นเมื่อก้าวเข้าสู่โลกการทำงานแล้ว จะต้องศึกษาและลองผิดลองถูก จนค้นพบเส้นทางที่ตนเองอยากจะทำ อยากจะเป็นและตอบโจทย์ความก้าวหน้าในอาชีพของตนเองอย่างแท้จริง,,,

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

ทำไมทุกองค์กรต้องมี Career Path

เมื่อมีพนักงานคนใดคนหนึ่งลาออก ย่อมสร้างผลกระทบทางความรู้แก่บุคคลอื่นเสมอ แน่นอนว่าการลาออกย่อมมีหลากหลายสาเหตุ และหนึ่งในนั้นก็คือการมองไม่เห็นอนาคตตัวเองในที่เดิม ฉะนั้นการสร้าง Career Path ไม่เพียงช่วยรักษาพนักงานในองค์กร แต่ช่วยองค์กรในมุมอื่นอีกด้วย ดังนี้

  • พนักงานมีอำนาจในการพัฒนาอาชีพของตัวเอง – พนักงานจำเป็นต้องเข้าใจว่าตำแหน่งต่อไปในการทำงานจะเป็นยังไง ซึ่งจะช่วยให้พวกเขากำหนดทักษะและความสามารถที่จำเป็นเพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายในอาชีพตัวเอง
  • พนักงานมีอำนาจในการกำหนดเป้าหมาย ทักษะ ประสบการณ์ และการศึกษาอย่างตรงไปตรงมา – ปัจจัยสำคัญสำหรับพนักงานที่จะก้าวหน้าทางอาชีพคือการเข้าใจทักษะที่ตัวเองขาดหรือต้องการฝึกฝน ถ้าพนักงานจัดการเส้นทางอาชีพตัวเองได้ เขาก็จะจัดการทักษะและความสามารถของตัวเองได้เช่นกัน
  • องค์กรจะมีความแตกต่างจากคู่แข่ง – องค์กรสามารถลงทุนในการพัฒนาอาชีพให้แก่พนักงาน ซึ่งจะช่วยพนักงานรับรู้ว่าตัวเองยังมีความสำคัญ ยังเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท และทำให้พนักงานแตกต่างจากที่อื่นด้วย

7 วิธีการพัฒนา Career Path ให้พนักงานในองค์กร

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

1. อัปเดทแผนผังองค์กรใหม่

ถ้าหากองค์กรยังไม่มีแผนผังบริษัท ก็สามารถสร้างใหม่ได้เลย แต่ถ้าหากมีแล้วก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นข้อมูลใหม่ล่าสุดหรือยัง เพราะแผนผังจะทำให้คุณมองเห็นภาพรวมของบริษัทของว่ามีโครงสร้างอย่างไร เป็นลำดับชั้นและความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร จากนั้นก็จัดระเบียบแผนผังให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจว่ากำลังโฟกัสอยู่กับอะไร เช่น การเพิ่มแรงงานผลิต การขยายตลาด หรือการเพิ่มตำแหน่งที่ยังไม่มีในองค์กร

2. กำหนดตำแหน่งงาน

เมื่อมีแผนผังแล้วก็เริ่มอธิบายรายละเอียดงานแต่ละรายการอย่างชัดเจน ระบุความรับผิดชอบหลัก รวมไปถึงคุณสมบัติที่ต้องการในการทำงานตำแหน่งนั้น ๆ เช่น ใบรับรอง hard skill หรือ soft skill ขั้นตอนนี้จะต้องดำเนินการอย่างละเอียด รวมไปถึงการกำหนดการประเมินผลความสำเร็จอย่าง KPI

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

3. สร้างเส้นทางอาชีพแต่ละงาน

หลังจากกำหนดรายละเอียดงานแล้ว ถึงเวลามองภาพงานให้ใหญ่ขึ้นด้วยการสร้าง roadmap หรือเส้นทางอาชีพของแต่ละแผนก ทีม หรือสายงานทางธุรกิจ เช่น พนักงานเริ่มต้นจะพัฒนาบทบาทตัวเองได้อย่างไร การเลื่อนขั้นโดยตรงต้องใช้คุณสมบัติอะไรบ้าง จะรองรับบุคคลที่มีบุคลิกแตกต่างกันได้อย่างไร ยกตัวอย่าง เส้นทางอาชีพของ HR เริ่มจากการเป็นพนักงานผู้ช่วย ก่อนจะสร้างความก้าวหน้าให้ตัวเองด้วยการเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสวัสดิการ การสรรหา จนกระทั่งได้รับเลือกเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ ไปจนถึงระดับสูงสุดอย่าง CHRO

4. ระบุการฝึกอบรมที่ต้องการ

กระบวนการนี้คือการกำหนดว่า ทักษะอะไรจะช่วยให้พนักงานก้าวหน้าในเส้นทางของตัวเอง อาจเริ่มต้นง่าย ๆ แค่การจัดโปรแกรมฝึกอบรมภายในด้วยความรู้ที่องค์กรมี หรือการจ้างภายนอกก็ได้ ซึ่งสิ่งที่เราทำได้ก็คือการถามตัวเองว่า

  • การมี mentor ให้คำปรึกษาเป็นสิ่งสำคัญในวัฒนธรรมองค์กรหรือไม่?
  • เรามีการ Exit Interview หรือยังว่า ทำไมพนักงานคนเก่าถึงลาออกจากที่ทำงานของคุณ?
  • เคยสำรวจความต้องการของพนักงานหรือไม่ว่าเขาต้องการฝึกอบรมทักษอะไร?
  • หรือแผนกไหนที่ต้องสรรหาคนจากภายใน และหน่วยงานไหนที่ต้องสรรหาจากภายนอกอย่างเดียว?

5. สร้างโปรแกรมการฝึกอบรมและการพัฒนา

ถ้าองค์กรของคุณไม่เคยลงทุนกับการฝึกอบรม กระบวนการนี้จะใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมาก โดยจะต้องระบุความต้องการและสร้างไทมไลน์สำหรับการดำเนินการได้จริง สามารถรวมการเติบโตแนวตั้งให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ ซึ่งหากสำเร็จก็จะมองเห็นงบประมาณที่ต้องการได้ และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรต่อไป 

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

6. จัดทำเอกสารโปรแกรมเส้นทางอาชีพ

เอกสารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแผนผังองค์กร บทบาทของงาน พี่เลี้ยงฝึกสอนงาน เส้นทางอาชีพ ตารางการฝึก

7. ทำแผนเส้นทางอาชีพให้กับพนักงานแต่ละคน

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว องค์กรสามารถนำโปรแกรมเส้นทางอาชีพไปใช้งานได้ทันที และสำหรับพนักงานใหม่ องค์กรสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมนี้ระหว่าง on boarding ส่วนพนักงานเดิม ผู้จัดการสามารถดำเนินการระหว่างประเมินประสิทธิภาพพนักงาน

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

ประโยชน์ของการมี Career Path ที่ชัดเจนในองค์กร

การพัฒนาและดำเนินการสร้าง Career Path ในองค์กร ไม่เพียงสร้างแรงจูงใจให้พนักงานอยู่ต่อกับบริษัท แต่ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกดังนี้

  • ดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพ – การรู้ว่ามีโอกาสในการก้าวหน้าทางอาชีพก็จะกระตุ้นให้พนักงานของเรามีแรงขับเคลื่อนในการทำงาน และมีแรงจูงใจให้พนักงานภายนอกสนใจเข้ามาร่วมงานกับบริษัทคุณมากขึ้น
  • เพิ่มการมีส่วนร่วม – การให้โอกาสทางอาชีพของพนักงานนำไปสู่สภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นบวก มีแรงบันดาลใจ ซึ่งจะส่งต่อไปถึงเพื่อนร่วมทีมได้ เมื่อพนักงานมีแรงผลักดันในทิศทางเดียวกัน ก็ส่งเสริมให้โครงการที่ได้รับมอบหมายมีคุณภาพมากขึ้น
  • ลดอัตราการลาออก – การออกแบบเส้นทางอาชีพที่ชัดเจน จะบอกให้พนักงานทราบถึงเป้าหมายที่ชัดเจน รวมไปถึงวิธีการไปถึงเป้าหมายนั้น ๆ และถ้าหากพวกเขาประสบความสำเร็จก็จะได้เลื่อนขั้นต่อไป สิ่งนี้จะผลักดันให้พนักงานอยู่กับองค์กรในระยะยาว
  • พัฒนาประสิทธิภาพพนักงาน – แน่นอนกว่าพนักงานคนหนึ่งจะได้รับการเลื่อนขั้น พวกเขาต้องพัฒนาตัวเองและพัฒนาทักษะให้เหมาะสมตามคุณสมบัติที่ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในภาพรวมของบริษัทด้วย
  • สร้างวัฒนธรรมยึดพนักงานเป็นศูนย์กลาง – การให้เส้นทางอาชีพแก่พนักงานและสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ให้พวกเขาเติบโตเป็นการบ่งบอกได้ว่า องค์กรให้ความสำคัญกับพนักงานอย่างแท้จริง มุ่งเน้นความเป็นอยู่ที่ดีแก่พนักงาน ซึ่งจะทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่านำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานที่ดีต่อไป

บทสรุป

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

เพราะทุกการเดินทางล้วนมีจุดหมายหรือเป้าหมาย การออกแบบเป้าหมายที่ชัดเจนและการสนับสนุนให้การเดินทางนั้น ๆ เป็นไปด้วยดี ย่อมหมายถึงการเดินทางที่มีความสุข ไม่ต่างอะไรกับการเดินทางใน Career Path เส้นทางอาชีพที่ทุกคนปรารถนาถนนอันสมบูรณ์แบบ

หากองค์กรมีการออกแบบถนนให้เขาเดินอย่างสมดุล ทั้งระยะเวลา ตำแหน่งงาน และผลตอบแทนก็จะทำให้พนักงานคนนั้นก็จะอยู่กับเราไปอีกนาน แต่ถ้าหากถนนเส้นนั้นไม่เหมาะสมอีกต่อไป พวกเขาก็พร้อมที่จะเปลี่ยนเส้นทางหรือมองหน้าการเติบโตในถนนเส้นใหม่

ถึงเวลาแล้วที่ทุกองค์กรจะหันมามองความต้องการของพนักงาน และมอบโอกาสในการก้าวหน้าให้พวกเขาต่อไป

คุณมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการคำตอบใช่หรือเปล่า?

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561

หากคุณรู้สึกว่าได้รับเทคนิคดี ๆ จากบทความนี้และอยากได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก

สามารถตั้งคำถามได้ในชุมชนของเรา ! แล้วคุณจะได้รับคำตอบมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ

ตัวอย่าง Career Path พนักงาน 2561