ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ม 4 แบบฝึกหัด

วิดีโอ YouTube

การศึกษาวิชาเคมี จะประกอบด้วยการศึกษาเนื้อหา ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กัน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหามากยิ่งขึ้น โดยการทำปฏิบัติการจะช่วยสนับสนุน

การเรียนรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์หลาย ๆ ด้าน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์มากมายแก่ผู้เรียน การทำปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการเคมีอาจมีสภาวะที่เสี่ยงต่ออันตราย ผู้ทำปฏิบัติการจึงควร ตระหนักถึงความปลอดภัยต่อตนเองและทรัพย์สินในห้องปฏิบัติการ โดยในห้องปฏิบัติการควรมี อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอย่างเพียงพอแก่การใช้งาน มีข้อแนะนำแก่ผู้ทำปฏิบัติการด้วยความ ระมัดระวัง และมีความพร้อมที่จะแก้ไขอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งข้อเสนอแนะและข้อควรปฏิบัติ ในการใช้ห้องปฏิบัติการเคมี มีดังนี้

ข้อควรปฏิบัติเมื่ออยู่ในห้องปฏิบัติการ 

1.     ควรใส่เครื่องแต่งกายให้รัดกุม และเหมาะสม ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหลวมหรือคับเกินไป  

2.     หากผมยาวให้มัดผมให้เรียบร้อย

3.     ควรสวมเสื้อปฏิบัติการทุกครั้งเมื่อทำการทดลองและถอดเสื้อปฏิบัติการออกเมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง ไม่ควรสวมเสื้อปฏิบัติการเดินไปมาทั่วทั้งตึก

4.     ควรให้ใส่รองเท้าที่ปิดมิดชิด 

5.    กรณีเมื่อต้องปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (Personal protective equipment) เช่น         
เสื้อปฏิบัติการ
ใส่ถุงมือที่เหมาะสม
ใส่แว่นตา (Safety goggles) เพื่อป้องกันการกระเซ็นของสารเคมี
ใส่หน้ากาก เพื่อลดการสูดดมไอจากสารเคมี
อุปกรณ์อื่นๆแล้วแต่ความจำเป็น

6.     ควรช่วยรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบของห้องปฏิบัติการ

7.     กรณีเกิดเหตุการณ์หรือกลิ่นผิดปกติในห้องปฏิบัติการควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์หรืออาจารย์ทราบโดยทันที

8.     การใช้เครื่องมือทุกชิ้น นักศึกษาต้องทราบวิธีการใช้งานที่ถูกต้องก่อนปฏิบัติงานจริ

การทำความสะอาดบริเวณที่ปนเปื้อนสารเคมี

สารเคมีที่ใช้ในการทำปฏิบัติการจะมีสมบัติและอันตรายแตกต่างกันผู้ทำปฏิบัติการจึงควรมี ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำความสะอาดบริเวณที่อาจมีการปนเปื้อนของสารเคมีเพื่อป้องกัน อันตรายจากสารเคมีนั้น ซึ่งข้อแนะนำในการทำความสะอาดบริเวณที่ปนเปื้อนสารเคมีมีดังนี้ 

1. สารที่เป็นของแข็งควรใช้แปรงกวาดสารรวมกันตักสารใส่กระดาษแข็งแล้วนำไปทำลาย 

2. สารละลายกรดควรใช้น้ำล้างบริเวณที่มีสารละลายหกเพื่อทำให้กรดเจือจางและใช้สารละลาย โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเจือจางล้างเพื่อทำลายสภาพกรด แล้วล้างด้วยน้ำอีกครั้ง 

3. สารละลายเบส ควรใช้น้ำล้างบริเวณที่มีสารละลายหกและซับน้ำให้แห้ง เนื่องจาก สารละลายเบสที่หกบนพื้นจะทำให้พื้นบริเวณนั้นลื่น จึงควรทำความสะอาดลักษณะดังกล่าว หลายๆ ครั้ง และถ้ายังไม่หายลื่นอาจต้องใช้ทรายโรย แล้วเก็บกวาดทรายออก 

4. สารที่เป็นน้ำมัน ควรใช้ผงซักฟองล้างสารที่เป็นน้ำมันและไขมันจนหมดคราบน้ำมัน และพื้นบริเวณนั้นหายลื่น หรือทำความสะอาดโดยใช้ทรายโรยเพื่อซับน้ำมันให้หมดไป 

5. สารที่ระเหยง่าย ควรใช้ผ้าเช็ดบริเวณที่สารหยดหลายๆ ครั้งจนแห้ง และในขณะเช็ดถู ต้องมีการป้องกันไม่ให้สารนั้นสัมผัสผิวหนัง หรือสูดไอของสารเข้าร่างกาย 

6. สารปรอท กวาดสารปรอทรวมกัน แล้วใช้เครื่องดูดเก็บรวบรวมไว้ ในกรณีที่บริเวณ ที่สารปรอทหกมีรอยแตกหรือรอยร้าวจะทำให้มีสารปรอทแทรกเข้าไปอยู่ข้างใน จึงต้องปิดรอย แตกหรือรอยร้าวนั้นด้วยการทาขี้ผึ้งทับรอยดังกล่าวเพื่อป้องกันการระเหยของปรอท หรืออาจใช้ ผงกำมะถันโรยบนปรอทเพื่อให้เกิดสารประกอบซัลไฟด์แล้วเก็บกวาดอีกครั้งหนึ่ง

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

        การทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีโดยมีผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น  เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงานนอกจากนั้น  อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อทรัพย์สินของสถานประกอบกิจการรวมทั้งก่อปัญหาทางสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบกิจการสารเคมีสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้  หากผู้ปฏิบัติงานได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายอาจเกิดอันตรายได้โดยทันที  เช่น  มีอาการปวดศีรษะ  คลื่นใส้  อาเจียน  หายใจลำบาก  ผิวหนังไหม้  เป็นต้น  และเมื่อร่างกายได้รับสารเคมีสะสมเป็นระยะเวลายาวนาน  ทำให้เกิดอาการแบบเรื้อรัง  เช่น  ระบบประสาทถูกทำลาย ปอดถูกทำลาย เป็นมะเร็ง  เป็นต้น
          1.1.1 ประเภทของสารเคมี สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจําเป็นต้องมีฉลากที่มี ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนําไปใช้ และการ กําจัด โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้
          1. ชื่อผลิตภัณฑ์
          2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
          3. คําเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
          4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคม

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ม 4 แบบฝึกหัด

          สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ ที่ มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ Globally Harmonized System of Classifi cation and Labelling of Chemicals (GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และ National Fire Protection Association Hazard Identifi cation System (NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา 

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ม 4 แบบฝึกหัด

          1.1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทําปฏิบัติการเคมี การทําปฏิบัติการเคมีให้เกิดความปลอดภัยนอกจากต้องทราบข้อมูลของสารเคมีที่ใช้แล้ว ผู้ทําปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเบื้องต้นทั้งก่อน ระหว่าง และหลังทําปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้
          ก่อนทําปฏิบัติการ

          1) ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทําปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยต้อง สอบถามครูผู้สอนทันที
          2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ตลอดจน วิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย
          3) แต่งกายให้เหมาะสม 

          ขณะทําปฏิบัติการ
          1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
              1.1 สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ด ควรสวมถุงมือเมื่อ ต้องใช้สารกัดกร่อนหรือสารที่มีอันตราย ควรสวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีไอระเหย และทํา ปฏิบัติการในที่ซึ่งมีอากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
               1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือทํากิจกรรมอื่นๆ
               1.3 ไม่ทําการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลําพังเพียงคนเดียว เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น อาจช่วยได้ไม่ทันที หากเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ ต้องแจ้งให้ครูผู้สอนทราบทันทีทุกครั้ง
               1.4 ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะที่ทําปฏิบัติการ
               1.5 ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด
               1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน ทํางานโดยไม่มีคนดูแล และหลังจากใช้งานเสร็จแล้วให้ดับตะเกียงแอลกอฮอล้หรือปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟออกทันที แล้วปล่อยไว้ให้เย็นก่อนการจัดเก็บ 

          2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี

              2.1 อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนําสารเคมีไปใช้

              2.2 การเคลื่อนย้าย การแบ่ง และการถ่ายเทสารเคมีต้องทําด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสารอันตราย และควรใช้อุปกรณ์เสริม เพื่อป้องกันความเสียหายของฉลากเนื่องจากการสัมผัสสารเคมี

              2.3 การทําปฏิกิริยาของสารในหลอดทดลอง ต้องหันปากหลอดทดลองออกจากตัวเอง และผู้อื่นเสมอ

              2.4 ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง

              2.5 การเจือจางกรด ห้ามเทน้ําลงกรดแต่ให้เทกรดลงน้ํา

              2.6 ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรือตักออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้าขวดอย่างเด็ดขาด

              2.7 เมื่อสารเคมีหกในปริมาณเล็กน้อยให้กวาดหรือเช็ด แล้วทิ้งลงในภาชนะสําหรับทิ้ง สารที่เตรียมไว้ หากหกในปริมาณมากให้แจ้งครูผู้สอน

             หลังทําปฏิบัติการ

             1) ทําความสะอาดอุปกรณ์ และวางหรือเก็บในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้ รวมทั้งทําความสะอาดโต๊ะทําปฏิบัติการ

             2) ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

             1.1.3 การกําจัดสารเคมี
            สารเคมีที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้จากการทําปฏิบัติการเคมี จําเป็นต้องมีการกําจัดอย่างถูกวิธี เพื่อ
ให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
 การกําจัดสารเคมีแต่ละประเภท สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
             1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้และมี pH เป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร
สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมาก ๆ
             2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด ไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ำ ควรเจือจางก่อนเทลงอ่าง
             3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด
พร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้ง
             4) สารไวไฟ ตัวทําละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทําปฏิกิริยา
กับน้ำ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้

1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี
         - การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี


           1. ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออก และซับสารเคมีออกให้มากที่สุด
           2. กรณีเป็นสารเคมีที่ละลายน้ําได้ ให้ล้างสารเคมีด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านปริมาณมาก
           3. กรณีเป็นสารเคมีที่ไม่ละลายน้ํา ให้ล้างด้วยน้ำสบู่
           4. หากทราบว่าสารเคมีที่สัมผัสร่างกายคือสารใด ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารความ ปลอดภัยของสารเคมี



ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ม 4 แบบฝึกหัด


         - การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา

           ตะแคงศีรษะโดยให้ตาดำที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่าง ล้างตาโดยการเปิดน้ํำเบาๆ ไหลผ่าน ดั้งจมูกให้น้ําไหลผ่านตาข้างที่โดนสารเคมี  พยายามลืมตาและกรอกตาในน้ําอย่างน้อย 10 นาที

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ม 4 แบบฝึกหัด

         - การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมเเก๊สพิษ

          1. ออกจากบริเวณที่มีเเก๊สพิษทันที

          2. นำผู้ป่วย ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอากาศบริสุทธิ์

          3. ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ผายปอดและนวดหัวใจ

  •      4. นำส่งโรงพยาบาล
  •    - การปฐมพยาบาลเมื่อโดนความร้อน
  •      แช่น้ําเย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้ํำจนหายปวดแสบปวดร้อน แล้วทายาขี้ผึ้งสําหรับไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก หากเกิดบาดแผลใหญ่ให้นําส่งแพทย์

    ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ม 4 แบบฝึกหัด

สัญลักษณ์อันตรายจากสารเคมี 

 สัญลักษณ์แสดงอันตรายจะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็น สัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ม 4 แบบฝึกหัด

การกำจัดของเสียจากห้องปฏิบัติการ

       ข้อมูลอยู่ไฟล์ด้านล่างนะคะ