โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

@Copyright 2016 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา
อาคารสยามนครินทร์ คอมเพล็กซ์ (ชั้น ๓) ๔๘๘/๘๘ ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๗๔๒๓ ๓๘๘๘ โทรสาร ๐ ๗๔๒๓ ๕๔๙๔
Powered by M&E Health Promotion Consult, Co.,Ltd.. Designed by SoftGanz Group

ปีที่เริ่มวิจัย
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553

ศูนย์การศึกษาพัฒนาฯ
ห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
      ภัยจากไฟป่าที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มักพบในช่วงระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม เนื่องจากในช่วงดังกล่าวอากาศแห้งแล้งที่ปกคลุมประเทศไทยส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปสูงขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ความชื้นที่สะสมอยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าไม้ลดลง มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดไฟป่าได้มากขึ้น ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้ ซึ่งมีสาเหตุจากการประกอบอาชีพหาของป่า ล่าสัตว์ การทำเกษตรกรรมใกล้พื้นที่ป่า เช่น การเผากำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกและ   การเผาหญ้าเพื่อให้แตกใบอ่อนเป็นอาหารสัตว์ การเผาป่าเพื่อการลักลอบตัดไม้ จากการสำรวจ ในปี 2549 พบว่าประเทศไทยมี    ป่าไม้ทั้งสิ้น 99,157,868.75 ไร่ ของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้จากการถูกไฟป่าทำลายทั้งสิ้น 53,885 ไร่ จากพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจปีละหลายพันล้านบาท 
        จากปัญหาหมอกควันพิษจากการเผาที่เกิดกับ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย และแม่ฮ่องสอน มีหลายสาเหตุ ตั้งแต่การเกิดไฟป่าจากความแห้งแล้งและความร้อนตามธรรมชาติ การหาของป่าที่ทำให้เกิดไฟป่าทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ และการเผาเศษพืชเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งการเผาแต่ละครั้งจะทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กแขวนลอยสะสมในอากาศ และในเดือนมีนาคมของทุกปีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กแขวนลอยสะสมในอากาศ และในเดือนมีนาคมของทุกปีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ก็จะเกิดเป็นปัญหาหมอกควันพิษที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของประชาชน ได้ก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสูญเสียด้านเศรษฐกิจ เพราะประเทศต้องสูญเสียค่ารักษาพยาบาลให้แก่ประชาชนที่ล้มป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจและภูมิแพ้ที่เกิดจากอนุภาคฝุ่นละอองในหมอกควันพิษ และยังทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับ
        ปัจจุบันมลพิษทางอากาศเป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่  ในรอบปี  เดือนกุมภาพันธ์มีช่วงความถี่ของการเกิดหมอกควันมากที่สุด   ปัญหาดังกล่าวนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น สาเหตุประการหนึ่งเกิดจากการเผาใบไม้เพราะฤดูแล้งใบไม้ร่วงหล่นทับถมกันมากและกระจัดกระจายตามพื้นที่ต่างๆ   การเก็บใบไม้หนีไฟเป็นการหลีกเลี่ยงและลดการเผา หากนำใบไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์  เกิดคุณค่าและเพิ่มมูลค่า  จะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำด้านการจัดการทรัพยากรใบไม้เป็นชีวมวลที่มีความสำคัญต่อปัจจัยการผลิตพืชในรูปวัสดุปลูกหรือปุ๋ยหมัก  วิธีการเก็บใบไม้ให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติหรือผ่านกระบวนการทำปุ๋ยหมัก  เป็นขั้นตอนหนึ่งของการผลิตเป็นวัสดุปลูกหรือปุ๋ยหมักใบไม้คุณภาพดี   สำหรับใช้ผลิตผักปลอดภัยจากสารเคมี หรือ ผักอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี  ซึ่งมีราคาแพง  เมื่อได้วัสดุปลูกหรือปุ๋ยหมักใบไม้  จึงนำมาศึกษาทดลองการตอบสนองต่อปุ๋ยหมักใบไม้กับพืชผัก โดยใช้กะหล่ำปลีเป็นพืชทดลอง   และนำผลการทดลองที่ได้ผลลัพธ์แล้ว  สร้างเป็นแหล่งเรียนรู้  สาธิต  จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติด้านการผลิตพืชอินทรีย์ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และขยายผลสู่ชุมชน    พัฒนาผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นต้นแบบของการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ และการใช้ประโยชน์ที่เชื่อมโยง และบูรณาการในพื้นที่ลุ่มน้ำต่อไป
      ในการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะมุ่งศึกษาถึงการวิธีการเก็บใบไม่เพื่อนำมาทำปุ๋ยหมัก และประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักใบไม่ในแต่ล่ะสูตร ต่อการเจริญเติบโตของผลิตผลิตทางการเกษตร (กะหล่ำปลี) ตลอดจนปัญหาและข้อเสนอแนะของของการวิจัยครั้งนี้เพื่อถ่ายถอดแก่ประชาชนที่สนใจและผู้ที่จะทำการวิจัยสามาเอาไปเป็นตัวอย่างและทำการการต่อยอดงานวิจัยต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
    การศึกษาการการจัดการใบไม้เพื่อลดมลพิษทางอากาศช่วงวิจัยพัฒนาต้นแบบฤดูแล้งในเขตพื้นที่ลุ่ม   มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้
        1.  เพื่อศึกษาวิธีการเก็บใบไม้หนีไฟก่อนวิกฤตมลพิษทางอากาศเดือนกุมภาพันธ์     
        2.  เพื่อศึกษาวิธีการหมักใบไม้เป็นวัสดุปลูกพืช
        3. เพื่อศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยหมักใบไม้ในแต่ละสูตรของกะหล่ำปลี

วิธีดำเนินการ
            ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาถึงวิธีการเก็บใบไม้เพื่อลดการเกิดไฟป่า ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และกรรมวิธีการหมักใบไม้ให้เป็นวัสดุปลูก และประสิทธิภาพของการนำไปใช้ประโยชน์ โดยผู้ศึกษาได้กำหนดวิธีการวิจัย ดังนี้


สถานที่ดำเนินการวิจัย
            ในการวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในเขตพื้นที่ของกลุ่มงานศึกษา และพัฒนาการปลูกพืชศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

การวิเคราะห์ข้อมูล
            การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการจดบันทึกนำมาจัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
        การศึกษาครั้งนี้ใช้ระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 ถึง เดือนเมษายน 2555  
ได้ทำการศึกษาวิธีการเก็บใบไม้หนีไฟก่อนวิกฤตมลพิษทางอากาศเดือนกุมภาพันธ์ โดยดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ มีกรรมวิธีการเก็บ 3 กรรมวิธี คือ 
        1.    การศึกษาวิธีการเก็บใบไม้หนีไฟก่อนวิกฤตมลพิษทางอากาศ เดือนกุมภาพันธ์
             ขั้นตอนวิธีการดำเนินงานการวิจัย วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ มีกรรมวิธีการเก็บ 3 กรรมวิธี คือ การเก็บแบบอัดก้อน การเก็บแบบใส่ในถุงดำ และการเก็บในคอกไม้ไผ่

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

บันทึกข้อมูล 
1.    ชนิดใบไม้
2.    ต้นทุนการเก็บใบไม้
3.    บันทึกภาพ
4.    ชั่งน้ำหนักปุ๋ย
5.    สถิติน้ำฝน
6.    วัดอุณหภูมิ
7.    วิเคราะห์ตัวอย่างธาตุอาหาร


         2. การศึกษาวิธีการหมักใบไม้เป็นวัสดุปลูกพืช
ขั้นตอนวิธีการดำเนินงานการวิจัย วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ มีกรรมวิธีการเก็บ 3 กรรมวิธี คือ การหมักอัดก้อนใบไม้  การหมักในถุงดำ และการหมักแบบในคอกไม้ไผ่ (วิธีการเก็บใบไม้เหมือนขั้นตอนที่ 1) ทั้ง 3 วิธีนี้อัตราการใช้ใบไม้ในการหมัก 100 กิโลกรัม โดยปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ บันทึกสถิติน้ำฝน อุณหภูมิ อุณหภูมิกองปุ๋ยทุก 7 วัน ระยะเวลาการย่อยสลาย บันทึกภาพ ชั่งน้ำหนักวัสดุปลูก นำใบไม้วิเคราะห์ตัวอย่างธาตุอาหาร วิเคราะห์ สรุปผล  

         3. การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพ
             ในขั้นตอนนี้ การทดลองที่ 2  จะเป็นตัว Control ในขั้นตอนนี้ ทำการทดลองแบบ RCBD ซ้ำ  3 กรรมวิธี
              สูตรที่ 1 T1 ใบไม้ 100 กิโลกรัม ขี้วัว 100 กิโลกรัม  หัวเชื้อ (กวก.) 1 ซอง น้ำ 50 ลิตร 
              สูตรที่ 2 T2 ใบไม้ 100 กิโลกรัม ขี้วัว 75  กิโลกรัม  หัวเชื้อ (กวก.) 1 ซอง น้ำ 50 ลิตร
              สูตรที่ 3 T3 ใบไม้ 100 กิโลกรัม ขี้วัว 50  กิโลกรัม  หัวเชื้อ (กวก.) 1 ซอง น้ำ 50 ลิตร

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc


       บันทึก อุณหภูมิ อุณหภูมิกองปุ๋ยทุก 7 วัน ระยะเวลาการย่อยสลาย บันทึกภาพ ชั่งน้ำหนักวัสดุปลูก นำใบไม้วิเคราะห์ตัวอย่างธาตุอาหาร วิเคราะห์ สรุปผล  

        2. การศึกษาวิธีการหมักใบไม้เป็นวัสดุปลูกพืช
         ขั้นตอนวิธีการดำเนินงานการวิจัย วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ มีกรรมวิธีการเก็บ 3 กรรมวิธี คือ การหมักอัดก้อนใบไม้  การหมักในถุงดำ และการหมักแบบในคอกไม้ไผ่ (วิธีการเก็บใบไม้เหมือนขั้นตอนที่ 1) ทั้ง 3 วิธีนี้อัตราการใช้ใบไม้ในการหมัก 100 กิโลกรัม โดยปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ บันทึกสถิติน้ำฝน อุณหภูมิ อุณหภูมิกองปุ๋ยทุก 7 วัน ระยะเวลาการย่อยสลาย บันทึกภาพ ชั่งน้ำหนักวัสดุปลูก นำใบไม้วิเคราะห์ตัวอย่างธาตุอาหาร วิเคราะห์ สรุปผล  

       3. การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพ
          ในขั้นตอนนี้ การทดลองที่ 2  จะเป็นตัว Control ในขั้นตอนนี้ ทำการทดลองแบบ RCBD ซ้ำ  3 กรรมวิธี
          สูตรที่ 1 T1 ใบไม้ 100 กิโลกรัม ขี้วัว 100 กิโลกรัม  หัวเชื้อ (กวก.) 1 ซอง น้ำ 50 ลิตร 
          สูตรที่ 2 T2 ใบไม้ 100 กิโลกรัม ขี้วัว 75  กิโลกรัม  หัวเชื้อ (กวก.) 1 ซอง น้ำ 50 ลิตร
          สูตรที่ 3 T3 ใบไม้ 100 กิโลกรัม ขี้วัว 50  กิโลกรัม  หัวเชื้อ (กวก.) 1 ซอง น้ำ 50 ลิตร

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

       บันทึก อุณหภูมิ อุณหภูมิกองปุ๋ยทุก 7 วัน ระยะเวลาการย่อยสลาย บันทึกภาพ ชั่งน้ำหนักวัสดุปลูก นำใบไม้วิเคราะห์ตัวอย่างธาตุอาหาร วิเคราะห์ สรุปผล  

       4. การศึกษาการตอบสนองของปุ๋ยที่มีผลกับกะหล่ำปลี
           ขั้นตอนกรรมวิธีดำเนินการวิจัย วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 13 กรรมวิธี 4 ซ้ำ รวม 52  Blocks  
สิ่งทดลองได้แก่ Control (ปลูกแบบธรรมชาติไม่ใส่ปุ๋ยชนิดใดๆ)

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

T1 ไม่ใส่ปุ๋ยหมัก
T2 ใส่ปุ๋ยที่หมักในกล่องสี่เหลี่ยม
T3 ใส่ปุ๋ยที่หมักในถุงดำ
T4 ใส่ปุ๋ยที่หมักในคอกไม้ไผ่
T5 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ 1 ปุ๋ยหมักอัดก้อน
T6 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ 2 ปุ๋ยหมักอัดก้อน
T7 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ 3 ปุ๋ยหมักอัดก้อน
T8 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ 1 ปุ๋ยหมักในถุงดำ
T9 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ 2 ปุ๋ยหมักในถุงดำ
T10 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ 3 ปุ๋ยหมักในถุงดำ
T11 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ 1 ปุ๋ยหมักในคอกไม้ไผ่
T12 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ 2 ปุ๋ยหมักในคอกไม้ไผ่
    T13 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ 3 ปุ๋ยหมักในคอกไม้ไผ่

บันทึกข้อมูล
    บันทึกข้อมูล ทุก7 วัน โดยบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของกะหล่ำปลี บันทึกความสูง จำนวนใบ น้ำหนักผลผลิต

ผลการศึกษาทดลองวิจัย
       การศึกษาวิธีการเก็บใบไม้หนีไฟก่อนวิกฤตมลพิษทางอากาศ 
1.    ต้นทุนวิธีการเก็บใบไม้ พบว่า
       การเก็บแบบอัดก้อน

       อัดก้อนด้วยกล่องไม้สี่เหลี่ยมขนาด กว้าง×ยาว×สูง = 50×50×50 เซนติเมตรโดยต้องอัดก้อนละ 100 กก. 
ใช้เชือกฟางมัดก้อนให้แน่น เพื่อให้คงสภาพก้อนในการขนออกมาจากพื้นที่ แล้วทำการขนออกจากพื้นที่มาไว้ในบริเวณพื้นที่หมักปุ๋ย แล้วบันทึกข้อมูล

ต้นทุนการเก็บใบไม้วิธีนี้ คือ
       1.    แรงงาน 4 คน = 880 บาท
       2.    กล่องไม้ 1 กล่อง = 360 บาท
       3.    เชือกฟาง = 70 บาท
       4.    ค่าขนส่ง(ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง) = 28.54 บาท
       รวม = 1338.54 บาท

การเก็บแบบใสในถุงดำ
    ทำการเก็บใส่ในถุงดำ ขนาด 40×50 เซนติเมตร อัดให้แน่นและมัดปากถุงให้สนิท แล้วขนจากพื้นที่เก็บใบไม้ มาไว้ในบริเวณพื้นที่ทำปุ๋ยหมัก แล้วบันทึกข้อมูล

ต้นทุนการเก็บใบไม้วิธีนี้ คือ
     1.    แรงงาน 4 คน = 880 บาท
     2.    ถุงดำ ขนาด 40×50 เซนติเมตร = 189 บาท
     3.    ค่าขนส่ง(ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง) = 28.54 บาท
     รวม = 1097.54 บาท

การเก็บในคอกไม้ไผ่
    ทำการเก็บใบไม้ โดยขนใบไม้ มาไว้ในบริเวณพื้นที่หมักปุ๋ย แล้วบันทึกข้อมูล 
ต้นทุนการเก็บใบไม้วิธีนี้ คือ
     1.    แรงงาน 4 คน = 880 บาท
     2.    คอกไม้ไผ่(ไม้ไผ่ป่า)คิดแต่ค่าตะปู 100 บาท + ค่าแรงงานสร้างคอก 2 คน = 540 บาท
     ค่าขนส่ง(ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง) = 57.08 บาท   รวม = 1477.08 บาท
 

สรุปต้นทุนในการเก็บใบไม้ 
     พบว่า การเก็บใบไม้แบบใส่ในถุงดำมีต้นทุนที่ถูกที่สุดคือ1097.54 บาท รองลงมาคือการเก็บแบบอัดก้อนคือ1338.54 บาทและ การเก็บในคอกไม้ไผ่คือ1477.08 บาท ตามลำดับ
แต่ในการเก็บใบไม้ครั้งต่อไปการเก็บในคอกไม้ไผ่จะมีต้นทุนต่ำที่สุดรองลงมาคือการเก็บแบบอัดก้อนและ การเก็บแบบใส่ในถุงดำ ตามลำดับ เพราะต้นทุนด้านอุปกรณ์ บางอย่างสามารถนำมาใช้ในครั้งต่อไปได้จึงลดต้นทุนลงมา


2.การเก็บอุณหภูมิของปุ๋ยใบไม้แต่ล่ะวิธีการ
   แผนภูมิแสดงอุณหภูมิปุ๋ยใบไม้ประจะเดือนตุลาคม
 

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

จากการทดลองพบได้ว่าอุณหภูมิของปุ๋ยใบไม้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาในการหมักและจะคงที่เมื่อ  หมักได้ระยะหนึ่ง 

   3. ผลการศึกษาวิธีการหมักใบไม้เป็นวัสดุปลูกพืช
    ผลการย่อยสลายของปุ๋ยหมัก

    จากการศึกษา ประสิทธิภาพในการย่อยสลายใบไม้ในการทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ 100 กิโลกรัม ในทุกกรรมวิธี น้ำหนักปุ๋ยหมักลดลงเฉลี่ย26.50 กิโลกรัม พบว่าวิธีอัดก้อน และวิธีหมักในคอกไม้ไผ่ น้ำหนักปุ๋ยหมักลดลงเฉลี่ย 29.75 กิโลกรัม ส่วนวิธีหมักในถุงดำ น้ำหนักปุ๋ยหมักลดลงเฉลี่ย 20 กิโลกรัม ซึ่งทั้ง 3 กรรมวิธีไม่มีความแตกต่างทางสถิติ  (ตารางที่ 1 ) 
    แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น แสง อากาศ  ไม่ส่งผลต่อการย่อยสลายปุ๋ยหมักในทุกกรรมวิธี 

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc


ผลการศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพ
    ผลการย่อยสลายของปุ๋ยหมัก

    จากการศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายใบไม้ในการทำปุ๋ยหมักตามกรรมวิธีการหมักในแต่ละสูตรพบว่ากรรมวิธีการหมักในถุงดำสูตร 3 น้ำปุ๋ยหมักลดลงเฉลี่ยมากที่สุด 26.50 กก. ส่วนกรรมวิธีการหมักในคอกไม้ไผ่สูตร 3 น้ำหนักลดลงเฉลี่ยน้อยที่สุด 19.50 กก. ซึ่งทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ตารางที่ 2) แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น แสง อากาศ ไม่ส่งผลต่อการย่อยสลายปุ๋ยหมักในทุกกรรมวิธี

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

ผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในปุ๋ยหมัก
    จากการวิเคราะห์ธาตุอาหาร N,P,K ในปุ๋ยหมักพบว่าสูตรที่มีไนโตรเจนมากที่สุดคือ กรรมวิธีการหมักในคอกไม้ไผ่และถุงดำ 1.5 น้อยที่สุดคือ คอกไม้ไผ่สูตร3 0.6
    ปุ๋ยหมักสูตรที่มีฟอสฟอรัสมากที่สุดคือกรรมวิธีการหมักในคอกไม้ไผ่สูตร1 1.3 น้อยที่สุดคือ คอกไม้ไผ่สูตร3 ถุงดำสูตร3 และอัดก้อนสูตร3 0.4
    ปุ๋ยหมักสูตรที่มีโปรแตสเซียมมากที่สุดคือกรรมวิธีการหมักในถุงดำ 0.5 น้อยที่สุดคือ คอกไม้ไผ่สูตร3และอัดก้อนสูตร3 0.2 (ดังตารางที่ 3 และแผนภูมิเปอร์เซ็นธาตุอาหาร)

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

           ผลการศึกษาผลผลิตของกระหล่ำปลี
        จากผลการศึกษาพบว่าคอกไม้ไผ่ให้ผลผลิตกระหล่ำปลี 932 กรัม รองลงมาถุงดำสูตร1 877 กรัม ตามลำดับน้อยที่สุดคือ ตัวควบคุมที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย 235 กรัม ดังตารางที่ 5 และแผนภูมิน้ำหนักกระหล่ำปลี

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

โครงการทําปุ๋ยหมักจากใบไม้ doc

สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
        ต้นทุนในการเก็บใบไม้ พบว่า การเก็บใบไม้แบบใส่ในถุงดำมีต้นทุนที่ถูกที่สุดคือ1097.54 บาท รองลงมาคือการเก็บแบบอัดก้อนคือ1338.54 บาทและ การเก็บในคอกไม้ไผ่คือ1477.08 บาท ตามลำดับแต่ในการเก็บใบไม้ครั้งต่อไปการเก็บในคอกไม้ไผ่จะมีต้นทุนต่ำที่สุดรองลงมาคือการเก็บแบบอัดก้อนและ การเก็บแบบใส่ในถุงดำ ตามลำดับ เพราะต้นทุนด้านอุปกรณ์ บางอย่างสามารถนำมาใช้ในครั้งต่อไปได้จึงลดต้นทุนลงมา

           ผลการเก็บอุณหภูมิปุ๋ยใบไม้
 จากการทดลองสรุปได้ว่าอุณหภูมิของปุ๋ยใบไม้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาในการหมักและจะคงที่เมื่อหมักได้ระยะหนึ่ง เนื่องจากกระบวนการในการหมักปุ๋ยใบไม่ได้ทำปฏิกิริยากับมูลวัวทำให้เกิดความร้อนขึ้น และจะเห็นได้ว่า การหมักปุ๋ยใบไม้แบบคอกไม่ไผ่จะมีอุณหภูมิสูงกว่าการเก็บแบบ อัดก้อน และแบบถุงดำ เนื่องจากเก็บแบบคอกไม้ไผ่ได้รับแสงแดดในปริมาณมากกว่าการเก็บแบบอื่นๆ

          ผลการย่อยสลายของปุ๋ยหมัก
    จากการศึกษา ประสิทธิภาพในการย่อยสลายใบไม้ในการทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ 100 กิโลกรัม ในทุกกรรมวิธี น้ำหนักปุ๋ยหมักลดลงเฉลี่ย26.50 กิโลกรัม พบว่าวิธีอัดก้อน และวิธีหมักในคอกไม้ไผ่ น้ำหนักปุ๋ยหมักลดลงเฉลี่ย 29.75 กิโลกรัม ส่วนวิธีหมักในถุงดำ น้ำหนักปุ๋ยหมักลดลงเฉลี่ย 20 กิโลกรัม ซึ่งทั้ง 3 กรรมวิธีไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น แสง อากาศ  ไม่ส่งผลต่อการย่อยสลายปุ๋ยหมักในทุกกรรมวิธี

         ผลการย่อยสลายของปุ๋ยหมัก
   จากการศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายใบไม้ในการทำปุ๋ยหมักตามกรรมวิธีการหมักในแต่ละสูตรพบว่ากรรมวิธีการหมักในถุงดำสูตร 3 น้ำปุ๋ยหมักลดลงเฉลี่ยมากที่สุด 26.50 กก. ส่วนกรรมวิธีการหมักในคอกไม้ไผ่สูตร 3 น้ำหนักลดลงเฉลี่ยน้อยที่สุด 19.50 กก. ซึ่งทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ  แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น แสง อากาศ ไม่ส่งผลต่อการย่อยสลายปุ๋ยหมักในทุกกรรมวิธี

    ผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในปุ๋ยหมัก
    จากการวิเคราะห์ธาตุอาหาร N,P,K ในปุ๋ยหมักพบว่าสูตรที่มีไนโตรเจนมากที่สุดคือ กรรมวิธีการหมัก
ในคอกไม้ไผ่และถุงดำ 1.5 น้อยที่สุดคือ คอกไม้ไผ่สูตร3 0.6
    ปุ๋ยหมักสูตรที่มีฟอสฟอรัสมากที่สุดคือกรรมวิธีการหมักในคอกไม้ไผ่สูตร1 1.3 น้อยที่สุดคือ คอกไม้ไผ่สูตร3 ถุงดำสูตร3 และอัดก้อนสูตร3 0.4
    ปุ๋ยหมักสูตรที่มีโปรแตสเซียมมากที่สุดคือกรรมวิธีการหมักในถุงดำ 0.5 น้อยที่สุดคือ คอกไม้ไผ่สูตร3และอัดก้อนสูตร3 0.2 

    ผลการศึกษาผลผลิตของกระหล่ำปลี
    จากผลการศึกษาพบว่าคอกไม้ไผ่ให้ผลผลิตกระหล่ำปลี 932 กรัม รองลงมาถุงดำสูตร1 877 กรัม ตามลำดับน้อยที่สุดคือ ตัวควบคุมที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย 235 กรัม จึงสรุปได้ว่าการหมักปุ๋ยในคอกไม่ไฝ่ได้ผลดีที่สุด รองลงมาคือแบบแบบถุงดำตามลำดับ และน้อยที่สุดตคือตัวควบคุม เพราะการหมักแบบคอกไม้ไฝ่มีการกลับกองปุ๋ยตลอด ทำให้การย่อยสลายได้ดี และมีธาตุอาหารที่พืชต้องการมากที่สุด ในขณะที่ตัวควบคุมให้ผลผลิตน้อยที่สุด เพราะในตัวควบคุมนั้นมีแต่ใบไม้อย่างเดียวทำให้ปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่าสูตรอื่นๆ

ข้อเสนอแนะ
    จากผลการวิจัยเรื่องการศึกษาการการจัดการใบไม้เพื่อลดมลพิษทางอากาศช่วงวิจัยพัฒนาต้นแบบฤดูแล้งในเขตพื้นที่ลุ่ม   ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้
    วิธีการและรูปแบบในการเก็บปุ๋ย ควรมีการพัฒนารูปแบบให้มากกว่านี้ และควรมีรูปแบบที่ง่านต่อการนำไปปฏิบัติของประชาชนต่อไป