สภาพแวดล้อมที่ เหมาะ กับการ ทำงาน

ความหมายของมาตรฐานอาชีพ

 ตามหลักนิเวศวิทยาคำว่า”สิ่งแวดล้อม” หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมอาจจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ บางชนิดก็มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและบางชนิดอาจต้องใช้แว่นขยายหรือใช้เครื่องมือพิเศษตรวจดูจึงจะเห็น เช่น ที่อยู่อาศัย อากาศ น้ำ อาหาร เชื้อโรค แมลง และสัตว์ต่างๆ เป็นต้น

สำหรับ “สิ่งแวดล้อมการทำงาน” โดยทั่วไปจะหมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่ล้อมรอบตัวผู้ประกอบอาชีพหรือคนงานในขณะทำงาน อันอาจจะรวมถึง เครื่องจักรกล อุปกรณ์ เครื่องมือ อากาศที่หายใจ แสงสว่าง ความสั่นสะเทือน รังสี ความร้อน ความเย็น ก๊าซ ไอสาร ฝุ่น ฟูม ละออง และสารเคมีอื่น ๆ และยังรวมถึงเชื้อโรคและสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึง สภาพการทำงานที่ซ้ำซาก การเร่งรีบทำงาน การทำงานเป็นผลัดหมุนเวียนเรื่อยไป สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน ค่าตอบแทนและชั่วโมงการทำงาน เป็นต้น  ความไม่เหมาะสมของสิ่งแวดล้อมการทำงาน นับว่าเป็นปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อให้เกิดการประสบอันตรายจากการประกอบอาชีพ เช่นเดียวกัน

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานนั้น  แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางเคมี ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม  ในการทำงานนั้นอาจจะมีผลจากการเกี่ยวข้องจากสิ่งแวดล้อม 4 ประการ แต่จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับลักษณะงาน (ดังรูปข้างล่าง)

สิ่งแวดล้อมในการทำงาน

2.1  ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

ที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานนั้นมีหลายชนิด เช่น เสียงดัง ความสั่นสะเทือน ความร้อน ความเย็น รังสี แสงสว่าง ความกดดันบรรยากาศ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ และบริเวณสถานที่ทำงาน เป็นต้น

2.2  ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางเคมี

ที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเกี่ยวข้อง เช่น สารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ หรือผลผลิต หรือของเสียทีต้องกำจัด  โดยทั่วไปสารเคมีดังกล่าวอาจจะอยู่ในรูปของก๊าซ ไอ ฝุ่น ฟูม ควัน ละออง หรืออยู่ในรูปของเหลว เช่น สารตัวทำละลาย (Solvents) ต่าง ๆ เป็นต้น

2.3  ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ

ของผู้ปฏิบัติงานนั้นมีทั้งชนิดที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต  ตัวอย่างของชนิดที่มีชีวิต  เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ และสัตว์อื่น ๆ เช่น งู เป็นต้น  สำหรับตัวอย่างของชนิดที่ไม่มีชีวิต เช่น ฝุ่นพืชต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงฝุ่นไม้ ฝุ่นฝ้ายและฝุ่นเมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นต้น

2.4  ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม

หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อถือ ตลอดจนฐานะความเป็นอยู่และอาชีพของประชากรในชุมชน ชุมชนที่มีระดับการศึกษาต่ำและยากจน โอกาสที่เป็นโรคต่าง ๆ ก็เพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อถือที่ผิด ๆ ของประชาชนก็ช่วยในการบั่นทอนสุขภาพของประชาชนด้วย เช่น การรดน้ำมนต์รักษาโรค การอดของแสลง

สภาพแวดล้อมที่ เหมาะ กับการ ทำงาน
          การทำงานในปัจจุบันถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างที่ทำให้คนทำงานต้องจำยอม โดยไม่มีทางเลือกที่จะทำตามใจตัวเองได้มากนัก เราสามารถเลือกที่จะทำ หรือไม่ทำงานอะไรได้ แต่เราไม่มีสิทธิเลือกออฟฟิศ ไม่มีสิทธิเลือกเพื่อนร่วมงาน ไม่มีสิทธิเลือกเจ้านาย เราไม่สามารถเรียกร้องอะไร ๆ ได้อย่างที่ใจเราคิด นั่นเป็นเพราะเรายอมถูกเลือก เพียงเพราะต้องการที่จะได้ชื่อว่าเป็นคนทำงานที่มีรายได้ดี มีการงานที่ก้าวหน้า จนลืมไปว่านั่นอาจไม่ใช่สถานที่ทำงาน หรือบรรยากาศในการทำงานที่เราคาดหวังไว้

          การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานไม่ได้เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ควรเป็นการลงความเห็นความกัน เห็นชอบร่วมกันว่าจะพัฒนาให้สถานที่ทำงานของตนเองเป็น Ideal of Work ได้อย่างไรบ้าง โดยผู้นำองค์กรหรือหัวหน้างานควรเป็นแกนนำที่จะทำให้เกิดขึ้น ทำให้บรรยากาศในการทำงานเป็นไปตามที่พนักงานอยากได้ และจูงใจให้มาทำงานทุกวัน

          บรรยากาศที่ดีในการทำงาน จะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประกอบขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น สภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น การสร้างบรรยากาศที่ดีนั้นสามารถสร้างได้ง่าย ๆ ตามวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. สร้างที่ทำงานให้น่าทำงาน

          การสร้างออฟฟิศให้น่าทำงาน ไม่ได้มีเพียงการจัดโต๊ะให้น่านั่งทำงานเท่านั้น แต่ต้องหมายรวมถึงการจัดห้องทำงาน รวมถึงตัวอาคารสำนักงานให้น่าทำงานด้วย เช่น การทาสีอาคารที่เป็นสีโทนอ่อน สบายตา เพื่อช่วยดึงดูดพนักงานให้อยากทำงาน เช่น สีเขียว สีน้ำเงิน สีฟ้า หรือติดภาพธรรมชาติที่สวยงามน่ามอง หรืออาจจะมีต้นไม้เล็ก ๆ ที่ช่วยให้พนักงานมาหยุดพักสายตา เพื่อป้องกันอาการเมื่อยล้าจากการทำงานได้ การจัดสถานที่ทำงานให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี จะช่วยให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลาย และรู้สึกภูมิใจในสถานที่ทำงานของตัวเองมากขึ้น

  1.  สร้างความรักในงานที่ทำ

          งานที่ทำเป็นประจำทุกวัน อาจจะมีความจำเจอยู่บ้าง แต่การทำให้พนักงานเกิดความรักในงานที่ทำ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้บรรยากาศในการทำงานสดใสมากขึ้น อย่าคิดว่างานที่เราทำ เป็นงานที่เราจำเป็นต้องทำ หรือถูกบังคับให้ทำ แต่ควรมองหาแง่มุมที่ดีของงานที่เราทำ ข้อดีของการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่ว่ามองไปทางไหนก็มีแต่เรื่องที่ทำให้เรารู้สึกหดหู่ หัวหน้างานควรช่วยเหลือพนักงานในการสร้างบรรยากาศเหล่านั้นให้เกิดขึ้น เพื่อทำให้เขาสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข และพร้อมที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ โดยที่หัวหน้างานไม่ต้องออกปากร้องขอ หรือกดดันอีกต่อไป

  1.  สร้างสรรค์วิธีการทำงานแบบใหม่

          วิธีการทำงานที่ท้าทาย และสร้างสรรค์จะช่วยให้พนักงานรู้สึกตื่นเต้น กระตือรือร้นที่จะทำงานอยู่เสมอ เพราะเขาจะคอยลุ้น ตลอดจนอยากทดลอง เพื่อพิสูจน์ว่าวิธีการแบบไหนที่เหมาะสมกับงานที่เขาทำ และวิธีการใดที่ทำให้เขาเข้าใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้เร็วขึ้น อีกทั้ง หัวหน้างานต้องกระตุ้นให้พนักงานหมั่นคิดหาวิธีการทำงานแบบใหม่ด้วยตัวเองด้วย เขาจะได้เกิดความภาคภูมิใจ หากสิ่งที่เขาคิดค้นประสบผลสำเร็จ และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร นอกจากงานจะพัฒนาไปข้างหน้าแล้ว สมองของพนักงานยังได้ทำงานอยู่ตลอดด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกผูกพันกับงาน และมุ่งหวังความสำเร็จอยู่ตลอดเวลา

  1.  สร้างมิตรภาพในที่ทำงาน

          ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้ทำงานเพียงคนเดียวในออฟฟิศ แต่ยังมีเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ด้วย การสร้างมิตรภาพที่ดีในการทำงาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกัน หัวหน้างานก็ต้องสนับสนุนการทำงานเป็นทีมให้เด่นชัดด้วย เพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพัน เป็นหนึ่งเดียวกันกับเพื่อนร่วมงานในทีม เมื่อพนักงานมีความสุขกับการทำงานเป็นทีม เขาก็จะไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และรับรู้ได้ว่าจะมีคนที่คอยช่วยเหลือเขาอยู่เสมอ หากเขาประสบกับปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการทำงาน หรือปัญหาส่วนตัวก็ตาม

  1.  สร้างทัศนคติการทำงานคิดบวก

          หัวหน้างานควรเสริมสร้างแนวคิดเรื่องการทำงานไม่จำเป็นต้องเต็มไปด้วยความเครียดเสมอไป แต่ต้องมีบางช่วงเวลาที่พนักงานสามารถผ่อนคลายได้ ควรแบ่งเวลาส่วนหนึ่งไปยิ้มแย้ม ทักทายเพื่อนร่วมงานบ้าง หรือแม้ว่าเราอาจจะต้องเผชิญกับงานที่เคร่งเครียดบ้าง ก็ยิ้มสู้กับงาน และคิดว่าวันนี้ไม่ใช่วันที่แย่ที่สุดของเรา แล้วเราจะผ่านพ้นมันไปได้ หัวหน้างานสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปลอบใจ หรือให้กำลังใจพนักงานด้วย เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าเจ้านายนั้นพร้อมที่จะให้กำลังใจเขาอยู่เสมอ ไม่ได้แต่ว่ามาคาดขั้นให้ทำงานเพียงอย่างเดียว

          บรรยากาศในการทำงานที่พนักงานต้องการ เป็นสิ่งที่หัวหน้างานไม่ควรมองข้าม แต่ควรใส่ใจและหยิบยื่นโอกาสที่ดีในการสร้างสรรค์ความต้องการเหล่านั้นให้เป็นจริงมากขึ้น เพื่อให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการทำงาน และสามารถทุ่มเทแรงกาย แรงใจทำงานให้กับบริษัทได้อย่างเต็มที่

⚡ ค้นหาคนที่ใช่ด้วยโซลูชันการสรรหาบุคลากรแบบครบวงจรกับ JobsDB ⚡

★ เข้าถึงโปรไฟล์ผู้สมัครงานคุณภาพมากกว่า 2.6 ล้านคนในประเทศไทย

★ ผู้สมัครงานพบงานที่ใช่มากขึ้น 6 เท่า ผู้ประกอบการได้ใบสมัครตรงใจมากขึ้น

★ ที่เว็บไซต์หางานอันดับ 1 ครองใจผู้สมัครงานคุณภาพ ลงทะเบียนเพื่อสรรหาผู้สมัครงาน ที่นี่ ★

สภาพแวดล้อมที่ เหมาะ กับการ ทำงาน

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำอย่างไร ไม่ให้หมดไฟในการทำงาน

5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อการทำงานที่ดี