การผลิตสินค้าและบริการในภาคเหนือ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

การผลิตสินค้าและบริการส่วนใหญ่ ต้องคำนึงถึงหลักการพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 3 ประการ คือ จะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร โดยจำเป็นต้องใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และผู้ประกอบการมากน้อยเพียงใด ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ทำให้สินค้าเเละบริการที่ผลิตขึ้นมาแตกต่างกันตามไปด้วย ดังนี้

1. การผลิตสินค้าและบริการในพื้นที่ภูเขา

1) ผลิตภัณฑ์จากไม้เนื่องจากพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าเบญจพรรณ จึงทำให้มีไม้ประเภทไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า จำนวนมากซึ่งเหมาะสำหรับนำมาทำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ เช่น บ้านเรือนไทย งานแกะสลักจากไม้ เครื่องเรือนที่ทำจากไม้ เป็นต้น

2) ไม้ดอกไม้ประดับและพืชเมืองหนาว  ลักษณะพื้นที่ภูเขาจะมีสภาพภูมิอากาศในช่วงต้นปีและปลายปีค่อนข้างหนาวเย็น โดยเฉพาะพื้นที่สูงหรือบริเวณพื้นที่ภูเขา มักมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี จึงเหมาะสำหรับปลูกพืชเมืองหนาว เช่น แครอทกะหล่ำปลี สตรอว์เบอร์รี ท้อ แพร์ ดอกคาร์เนชั่น เป็นต้น ซึ่งเป็นพืชที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างน่าพอใจ

3) สถานที่ท่องเที่ยว ภูมิประเทศและภูมิอากาศในบริเวณพื้นที่ภูเขา จะมีทิวทัศน์ที่สวยงามเหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ จึงทำให้มีกิจการด้านการท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น โรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร เป็นต้น

นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นจากการขายสินค้าของท้องถิ่นให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงมีการจัดการแสดงของท้องถิ่นเพื่อชักชวนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาแวะชม ก็มีผลทางอ้อมเท่ากับช่วยรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ได้อีกทางหนึ่ง

2. การผลิตสินค้าและบริการในพื้นที่ดอน 

พื้นที่ดอนจะมีลักษณะเป็นที่ราบสูง ที่เรียกกันว่า โคก เนิน และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ จากลักษณะดังกล่าวทำให้พื้นที่ดอนมีสินค้าและบริการบางอย่างที่แตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ตัวอย่างเช่น

1) อาหาร  เนื่องจากพื้นที่ดอนมักจะขาดแคลนอาหารในช่วงฤดูแล้ง จึงทำให้คนในท้องถิ่นต้องหาวิธีการแปรรูปอาหารเพื่อเก็บไว้รับประทานตลอดทั้งปี เช่น การทำปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น และทำเป็นสินค้าออกมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ด้วย เช่น ปลาร้าผง ปลาส้ม เป็นต้น

2) การปลูกพืชทนแล้ง  บริเวณพื้นที่ดอนมีสภาพอากาศแห้งแล้ง จึงต้องปลูกพืชที่ทนต่อสภาพที่แห้งแล้งและสภาพดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ได้ เช่น การปลูกมันสำปะหลัง ปอ เพื่อจำหน่าย เป็นต้น

3) ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา  พื้นที่ดอนบางแห่งมีดินที่เหมาะกับการทำเครื่องปั้นดินเผา เช่น บ้านด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น  จึงทำให้คนในท้องถิ่นมีการผลิตสินค้าประเภทเครื่องปั้นดินเผาของจำหน่ายเป็นจำนวนมาก


3. การผลิตสินค้าและบริการในพื้นที่ราบลุ่ม

พื้นที่ราบลุ่มจะมีสภาพดินที่ดี มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ คนในท้องถิ่นมักตั้งบ้านเรือนอยู่ตามริมแม่น้ำลำคลอง จากลักษณะดังกล่าวทำให้ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มมีการผลิตสินค้าและบริการบางอย่างที่แตกต่างจากท้องถิ่นอื่นๆ ตัวอย่างเช่น

1) สัตว์น้ำ เนื่องจากในบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม โดยส่วนใหญ่จะมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้คนในชุมชนประกอบอาชีพจับสัตว์น้ำจืดเลี้ยงปลาน้ำจืดไว้เพื่อจำหน่าย เช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาทับทิม ปลาหมอ เป็นต้น

2) พืชผักผลไม้  ในบริเวณที่แหล่งน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ผู้คนมักจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา สวนผัก ทำสวนผลไม้ เป็นต้น จึงมีผลผลิตจำพวกผัก ผลไม้ หลากหลายชนิดไว้จำหน่าย เช่น กะหล่ำปลี คะน้า มะม่วง กระท้อน ทุเรียน เป็นต้น

3) เครื่องจักสาน  คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่นิยมปลูกมะพร้าว ตาล ลาน และไผ่ไว้ตามไร่นา รวมทั้งกก และผักตบชวาที่มีอยู่ตามแหล่งน้ำเป็นจำนวนมากก็สามารถนำมาผลิตเป็นเครื่องจักสานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้คนในชุมชน

4. การผลิตสินค้าและบริการในพื้นที่ชายฝั่งทะเล

         พื้นที่ชายฝั่งทะเล ส่วนใหญ่จะมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มีชายหาด ทะเล และเกาะที่สวยงาม จากลักษณะดังกล่าว ทำให้บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลมีสินค้าและบริการบางอย่างที่แตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ตัวอย่างเช่น

1) ประมงน้ำเค็ม เนื่องจากในบริเวณนี้มีพื้นที่ติดกับทะเล ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเค็มและสัตว์น้ำกร่อยเป็นจำนวนมาก ทำให้คนในชุมชนประกอบอาชีพประมงน้ำเค็ม ประมงน้ำกร่อย และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกันอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการจำหน่ายสินค้าจากทะเล เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย เป็นต้น ส่งผลให้มีรายได้เข้าสู่ชุมชนเป็นจำนวนมาก

2) การปลูกพืช พื้นที่ชายฝั่งทะเลมักจะมีปริมาณฝนตกซุก ทำให้มีความเหมาะสมในการปลูกพืชที่ต้องการน้ำมาก เช่น สะตอ ยางพารา ลองกอง เงาะ เป็นต้น

3) สถานที่ท่องเที่ยว สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ทำให้สถานที่ที่สวยงามเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พัทยา หัวหิน เกาะช้าง เกาะตะรุเตา เป็นต้น ส่งผลให้มีบริการด้านท่องเที่ยว เช่น โรงแรม รีสอร์ต บ้านพักตากอากาศ เป็นต้น เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

การผลิตสินค้าและบริการ มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันเราสามารถแบ่งลาดับขั้นในการผลิตออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ(primary production) 2. การผลิตขั้นที่สองหรือขั้นทุติยภูมิ(secondary production) 3. การผลิตขั้นที่สามหรือขั้นตติยภูมิ(tertiary production) Page 7 Page 8 1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ

การผลิตสินค้าและบริการมีความหมายว่าอย่างไร

การผลิตสินค้าและบริการ หมายถึง กระบวนการแปรสภาพปัจจัยการผลิตให้เป็นผลผลิตที่ เรียกว่าสินค้าและบริการ ซึ่งอาศัยการบริหาร การตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุดและให้สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจ และสนองตอบความ ชน ยกตัวอย่างให้ (5 คะแนน) 1. ให้นักเรียนระบุปัจจัยการผลิตและผล ...

ปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการประกอบด้วยอะไรบ้าง

ปัจจัยการผลิต (tactors of production) หรือ ทรัพยากรการผลิต หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ประกอบกันในการผลิตสินค้าและบริการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ

ปัญหาในการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นของไทยมีอะไรบ้าง

ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน – ปัญหาการขาดตลาดรับซื้อสินค้าปัญหาการขาดการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นปัญหาการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมที่เร็วไป