ขั้นตอนการถอนยึดทรัพย์ บังคับคดี

ขั้นตอนการยึดทรัพย์บังคับคดี

เมื่อศาลมีคำพิพากษาและได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะต้องดำเนินการออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลย โดยเมื่อหมายบังคับคดีถูกส่งไปยังกรมบังคับคดี โจทก์มีหน้าที่จะต้องไปตั้งเรื่องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีแบ่งเป็น การยึดและการอายัด

การยึด ได้แก่ ยึดที่ดิน, บ้าน, อาคาร, รถยนต์, หุ้น, สังหาริมทรัพย์ เป็นต้น -

การอายัด ได้แก่ อายัดเงินฝากธนาคาร, เงินเดือน (กรณีเอกชน, รัฐวิสาหกิจ) สิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก

หลักฐานที่ต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในการตั้งเรื่อง

1. หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์ (ใช้แบบฟอร์มของกรมบังคับคดี)

2. บัตรประชาชน, หนังสือรับรองบริษัทของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณี โจทก์เป็นบริษัท)

3. หลักฐานแสดงสถานะของจำเลย, หนังสือรับรองบริษัท, หนังสือทะเบียนราษฎร

4. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลย เช่น โฉนดที่ดิน, สัญญาซื้อขาย, สัญญาจำนอง, หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด, ทะเบียนบ้าน, คู่มือการจดทะเบียนรถยนต์, ใบหุ้น และอื่น ๆ

5. กรณีอายัดเงินฝากธนาคาร เช่น เลขบัญชีธนาคาร, ประเภทบัญชี, ชื่อธนาคาร, อายัด เงินเดือน เช่น ชื่อสถานที่ทำงาน, อัตราเงินเดือน, จำนวนเงินที่ขออายัด, อายัดสิทธิ เรียกร้อง เช่น สัญญาเช่า, สิทธิการเช่า, สิทธิเก็บกิน, ค่าชดเชย, ค่าทดแทนโดยการขอ อายัดจะต้องมีข้อมูลและเอกสารเพียงพอที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายให้ ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องสืบหาให้พร้อมเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้

6. ค่าธรรมเนียมการยึดและการอายัด

7. ระยะเวลาการยึดเมื่อตั้งเรื่องในวันใด และมีหลักฐานครบถ้วน ในวันรุ่งขึ้นสามารถนำ เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ได้ทันที

8. ระยะเวลาการอายัดจะใช้เวลาในการพิมพ์หมายอายัด 2 วันทำการ รวมทั้งการ ตรวจสอบหลักฐานด้วย เมื่อหมายอายัดพิมพ์เสร็จโจทก์สามารถนำส่งได้เอง หรือจะ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำส่งบุคคลภายนอกก็ได้ การยึดทรัพย์อสังหาริมทรัพย์โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลย

ในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ โดยจะต้องส่งหลักฐานเพิ่มเติมในวันยึด คือ

1. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย หรือหนังสือรับรองนิติบุคคล ซึ่งจะต้องรับรองไว้ไม่ เกิน 1 เดือน

2. แผนที่การเดินทางไปยังที่ตั้งของทรัพย์ที่ยึด

3. ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่ยึด

4. ราคาประเมินที่ดิน, ห้องชุด ที่เจ้าพนักงานรับรอง

5. ค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาด 2,000 บาท

6. รายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง 4 ทิศ

ในกรณีทรัพย์สินอยู่ในเขตอำนาจของเจ้า พนักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานคร การยึดทรัพย์ใช้เวลา 1 วันทำการ

แต่ถ้าทรัพย์สินอยู่ในเขตต่างจังหวัดจะต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหนังสือบังคับคดีแทนไปยังเขตอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในจังหวัดนั้น ๆ โดยจะต้องไม่ตั้งเรื่องใหม่ เสียค่าธรรมเนียม 600 บาท แล้วจึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สิน

กระบวนการหลังจากยึดอสังหาริมทรัพย์

1. เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังสำนักงานที่ดิน

2. ส่งหมายแจ้งจำเลย

3. ส่งหมายสอบถามราคาประเมินไปยังสำนักงานประเมินทรัพย์สินกลาง

4. ส่งหมายแจ้งผู้รับจำนองเพื่อให้ส่งโฉนดมาใช้ในการขายทอดตลาด

5. ขออนุญาตศาลเพื่อขายทอดตลาด

6. พิมพ์หมายประกาศขายทอดตลาด

7. ขายทอดตลาด

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ในการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะส่งหมายแจ้งให้โจทก์, จำเลย, ผู้รับจำนอง ได้ทราบรายละเอียดของทรัพย์สินที่จะขายในวันขายทอดตลาด

นอกจากนี้ยังแจ้งสมาชิกวารสารการขายทอดตลาดให้ทราบด้วย แต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัด หากผู้สนใจยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ จะต้องค้นหาเอาเองจากกรมบังคับคดี และจะต้องประกาศโฆษณาเอาเอง รวมถึงเสียค่าใช้จ่ายเองในการลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้สนใจเข้ามาประมูลซื้อ เนื่องจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีเป็นเพียงกระบวนการจำหน่ายทรัพย์สินตามกฎหมาย ไม่ใช่วิธีการทางการตลาดหรือธุรกิจ

นอกจากนี้ ทรัพย์สินที่ยึดมาส่วนใหญ่มีภาระติดพัน เช่น มีการจดทะเบียนจำนองและค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ย อีกทั้งผู้เข้าประมูลจะต้องวางเงินมัดจำร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการชำระราคา ส่วนที่เหลือผู้ซื้อจะต้องชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันซื้อทรัพย์ ดังนั้นผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดจึงมีจำนวนไม่มากในวันขายทอดตลาด โจทก์จึงต้องหาผู้ซื้อให้ได้ก่อนวันขายทอดตลาด

ซึ่งการขายทอดตลาดมีกำหนด 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 เดือน ในกรณีเมื่อถึงกำหนดวันขายทอดตลาดหากไม่มีผู้มาประมูลทรัพย์สิน การขายทอดตลาดจะถูกเลื่อนออกไปขายในครั้งที่ 2 และหากครั้งที่สองยังขายไม่ได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถามความประสงค์ว่าจะดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปหรือไม่ หากยังคงประสงค์จะดำเนินการต่อไป ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาดจำนวน 2,000 บาท ส่วนวันนัดขายครั้งต่อไปเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีหมายแจ้งให้ทราบในภายหลัง

หากโจทก์ประสงค์จะระงับการขายไว้ก่อน หรือขอเวลาหาผู้ซื้อ หรือลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ โจทก์สามารถยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-6 เดือนหรือ 1 ปีก็ได้ เมื่อครบกำหนดแล้วให้โจทก์แถลงความประสงค์ใหม่อีกครั้งหนึ่งว่าจะขายทอดตลาดต่อไป หรือจะงดการบังคับคดีไว้ก่อน การบังคับคดีโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีจำเลยได้ 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

ส่วนกระบวนการขายทอดตลาดจะขายหลังจาก 10 ปีก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นเพียงวิธีการเท่านั้น อย่างไรก็ตามระยะเวลาอันยาวนานเมื่อจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกต่อไปแล้ว โจทก์อาจจะไม่ต้องการให้มีคดีเป็นภาระต่อโจทก์ จึงยังมีกระบวนการที่จะสามารถดำเนินการได้คือ การถอนการบังคับคดี

การถอนการบังคับคดี มาตรา 295 และ 295 ทวิ บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีต่อไปนี้

1. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินหรือหาประกัน

2. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสละสิทธิในการบังคับคดี

3. คำพิพากษาถูกกลับหรือหมายบังคับคดีถูกยกเลิก

4. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี

1. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินหรือหาประกัน มาตรา 295 (1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดี หรือถอนโดยคำสั่งศาลแล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีหรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีหรือหาประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับจำนวนเงินที่จะต้องชำระ เพราะความมุ่งหมายในการบังคับคดีก็เพื่อบังคับเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษานำเงินมาวางจนครบถ้วน หรือหาประกันมาจนเป็นที่พอใจของศาลและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว การดำเนินการบังคับคดีต่อไปก็หมดความจำเป็น

2. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสละสิทธิในการบังคับคดี มาตรา 295 (2) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดี เพราะการบังคับคดีเป็นเรื่องของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากไม่ประสงค์จะบังคับคดีก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

3. คำพิพากษาถูกกลับหรือหมายบังคับคดีถูกยกเลิก มาตรา 295 (3) ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย เมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้นได้ถูกกลับเพียงบางส่วน การบังคับคดีอาจดำเนินอยู่ต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

4. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี มาตรา 295 ทวิ บัญญัติว่า “ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสีย”

มาตรา 295 ทวิ เป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เหตุที่ต้องบัญญัติเช่นนี้ เนื่องจากเดิมในกรณีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ไม่มีบทบัญญัติให้ถอนการบังคับคดี แม้กรณีเช่นนี้จะเข้าหลักเกณฑ์การงดการบังคับคดีตามมาตรา 292 แต่การงดการบังคับคดีไม่ทำให้เรื่องเสร็จสิ้นไป และจะถอนการบังคับคดีตามมาตรา 295 ก็ไม่ได้ การบังคับคดีจึงตกค้างอยู่

เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถปิดสำนวนการบังคับคดีได้ มาตรา 295 ทวิ จึงเป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีถอนการบังคับคดี มาตรา 295 ตรี บัญญัติว่า

ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงิน หรือในกรณียึดหรืออายัดเงิน หรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเองหรือถอนโดยคำสั่งศาล และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดไม่ชำระค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อชำระค่าธรรมเนียม ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมนั้น และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีได้เอง โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวงเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีนั่นเอง หรือถอดถอนโดยคำสั่งศาล

ผู้ขอให้ยึดหรืออายัดมีหน้าที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามกฎหมาย ถ้าผู้ขอให้ยึดหรืออายัดนั้นไม่ชำระค่าธรรมเนียมแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี มาตรา 295 ตรี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อชำระค่าธรรมเนียม โดยถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมนั้น และได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมด้วย

การถอนการบังคับคดี ผู้ถอนจะต้องวางค่าธรรมเนียมร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์ที่ยึด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในทางปฏิบัติเมื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วไม่ควรเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี ควรจะดำเนินการวางค่าใช้จ่ายการขายทอดตลาดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จำนวน 2,000 บาท

ซึ่งสามารถขายทอดตลาดได้ 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 เดือน โดยจะทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ร้องต่อศาลขอให้ถอนการบังคับคดี และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการถอนร้อยละ 3.5 โดยใช่เหตุ

ในทางปฏิบัติ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะไม่ขอถอนการบังคับคดีจนกว่าจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยจนครบถ้วน จำเลยก็ไม่สามารถนำทรัพย์ออกจำหน่าย จ่าย โอน ได้ เนื่องจากถูกอายัดไว้โดยหมายบังคับคดี ค่าธรรมเนียมการถอนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะไม่เป็นผู้วาง แต่จะให้จำเลยเป็นผู้วาง

ขั้นตอนการถอนยึดทรัพย์ บังคับคดี
Photo by Pixabay on Pexels.com

ถอนการบังคับคดี คือ อะไร

(1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเอง หรือถอนโดยคำสั่งศาลแล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดี หรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับจำนวนเงินเช่นว่านี้

ขั้นตอนการถอนอายัดที่ดินใช้เวลากี่วัน

การสิ้นสุดของการอายัด การรับอายัดที่ดินเป็นอันสิ้นไปเมื่อ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งรับอายัด ศาลสั่งให้ถอนการอายัด ศาลได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับคดีที่ได้ฟ้อง

ค่าไถ่ถอนกรมบังคับคดีกี่บาท

การยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงิน เสียค่าธรรมเนียมถอนในอัตราร้อยละ 2 บาทของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด การยึดเงิน เสียค่าธรรมเนียมถอนในอัตราร้อยละ 1 บาท สำหรับคดีใดที่ยังไม่มีการยึดทรัพย์ แต่โจทก์ประสงค์จะถอนการบังคับคดี ก็จะมีเฉพาะค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีเท่านั้น

ทำอย่างไรเมื่อถูกบังคับคดี

กรณีนี้ ให้ท่านรีบติดต่อกับทางกรมบังคับคดีหรือเจ้าหนี้ เพื่อขอเจรจาต่อลองว่าจะนำเงินมาชำระหนี้แทนการยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องสูญเสียทรัพย์สินไป ก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่ว่าฝ่ายเจ้าหนี้จะยินยอมให้เจรจาหรือไม่ 2. จะสามารถขอให้เจ้าหนี้ลดหนี้หรือขอผ่อนชำระได้หรือไม่นั้น