อิริยาบถหลักในการทำสมาธิ มีอะไรบ้าง

นอกจากการปฏิบัติธรรมด้วยการเดินจงกรมและนั่งสมาธิแล้ว เรายังมีวิธีปฏิบัติที่ไม่ต้องแยกการปฏิบัติออกจากชีวิตประจำวัน ไม่ต้องรอเวลามาเข้าคอร์สแล้วค่อยปฏิบัติจริงจังปีละครั้ง แต่เราเจริญสติได้ตลอดเวลา เรียกว่าการกำหนดอิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย

ในแต่ละวันกายของเราอยู่ในอิริยาบถย่อยต่างๆ มากมาย เรียกว่าเราใช้ร่างกายโดยไม่รู้สึกตัว ส่วนอิริยาบถใหญ่เป็นทิศทางแห่งการเคลื่อนไหว ในการวางท่าทางของร่างกายอย่างใกอย่างหนึ่งใน ๔ อิริยาบถ ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน ในทุกขณะเราต้องมีอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง แม้กระทั่งผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ก็สามารถกำหนดอิริยาบถนอนได้

ที่ผ่านมาเราระลึกกันบ้างหรือไม่ว่าขณะนี้เราทำอะไรอยู่ เรายังนอนอยู่ก็รู้ว่าอยู่อิริยาบถนอน เปลี่ยนท่าทางจากนอนเป็นนั่งก็รู้ว่าอยู่ในอิริยาบถนั่ง ถ้าเรามัวแต่คิดฟุ้งไปกับเรื่องต่างๆ นอกตัว เมื่อนั้นเราจะลืมตัวไปชั่วขณะ เราจะไม่รู้สึกตัวเลยว่ากำลังทำอิริยาบถใดอยู่ ยืน เดิน นั่ง หรือนอน ยิ่งคนรุ่นใหม่ที่นิยมใช้เครื่องมือสื่อสารทั้งโทรศัพท์มือถือ ไอโฟน ไอแพด อยู่ตลอดเวลา เขาจะไม่รู้สึกตัวเลยว่ากำลังอยู่ในอิริยาบถใด เพราะใจกำลังจดจ่ออยู่ที่หน้าจอ

จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องยากที่จะฝึกให้รู้สึกตัว ในชีวิตประจำวันเราต้องเดินไปไหนมาไหนอยู่แล้ว เราอาจเลือกกำหนดอิริยาบถเดิรทุกครั้งที่มีการก้าวเท้า ซ้าย - ขวา ซ้าย - ขวา เร็วหรือช้าตามท่าทางที่เดินอยู่ โดยให้ใจจดจ่ออยู่กับการก้าวเดินง่ายๆ เพียงเท่านี้ เมื่อฝึกจนจิตคุ้นชินแล้ว พอจะก้าวเท้าเมื่อไหร่ จิตจะกำหนดอิริยาบถไปเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งเราไม่ต้องทำอะไรเลย ใครยังไม่เคยทำก็ลองทำดูไม่เสียหายอะไร จะช่วยให้เรามีสมาธอในการทำงานมากขึ้นด้วย เพราะจิตอยู่กับกาย ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่านคิดโน่นคิดนี่ไปเรื่อยเหมือนอย่างที่เคย

ส่วนอิริยาบถย่อยท่าทางอื่นๆ ที่มีรายละเอียดปลีกย่อยนอกเหนือจากการยืน เดิน นั่ง นอน เป็นการเคลื่อนกายในทุกอิริยาบถ อย่างการทางอาหารก็จะมีอิริยาบถย่อยตั้งแต่ยก ขึ้น ลง หยิบ จับ ตัก อ้า อม ดื่ม กัด เคี้ยว กลืน ขยับ ก้ม เงย เป็นต้น

การที่เราทำอะไรได้ดี เราควรรู้จุดมุ่งหมายของการกระทำนั้นว่าทำไปเพื่ออะไร การดำเนินชีวิตด้วยอิริยาบถต่างๆ หากทำด้วยความสำรวมจะช่วยให้มีสติมากขึ้น ที่ศูนย์วิปัสสนาโพธิวัณณา เราจะฝึกกำหนดอิริยาบถย่อยในการรับประทานอาหาร อวยพรเจ้าภาพ และพิจารณาอาหารก่อนกิน เราจะได้กินอย่างมีสติ ไม่กินด้วยความอยาก เราจะได้ไม่หลงกับรสชาติของอาหาร แต่เพื่อให้มีกำลังในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติธรรม ค่อยๆ เคี้ยว ค่อยๆ กลืน กินอย่างสำรวม ช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน เมื่อกินเสร็จแล้วทุกคนต้องล้างเก็บภาชนะของตนเอง ทุกสิ่งที่ทำขอให้ทำโดยมีสติกำกับ

เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน เรายังสามารถกำหนดอิริยาบถย่อยได้ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า ลุกขึ้นเข้าห้องน้ำก้ให้เรารู้ตัวทุกขณะ ตั้งแต่เอื้อมมือหยิบแปรงสีฟัน บีบยาสีฟันใส่แปรง เริ่มแปรงฟัน ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านบน ด้านล่าง บ้วนปาก อาบน้ำ ถูสบู่ เช็ดตัว แต่งตัว ทานข้าว จนกระทั่งเดินทางออกจากบ้าน

การฝึกอิริยาบถย่อยทำได้ทุกขณะ ทุกเวลา และทุกสถานที่ จากบ้านเดินทางไปโรงเรียน หรือไปทำงาน อยู่ที่ทำงานทำอะไรบ้าง กลับบ้านทำอะไร ให้เรารู้กายรู้ใจอยู่ทุกขณะ

ขอฝากให้ทุกท่านพิจารณาอิริยาบถย่อย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป เพราะทุกท่านปฏิบัติได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อให้มีสติอยู่เสมอ แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญาจะบริบูรณ์

การฝึกสติให้รู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบจะทำให้เราจะมีสติรู้ตัวเสมอ สติเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องหมั่นฝึกฝนทุกวันเพื่อใช้ในยามคับขัน เช่น ขณะเกิดอุบัติเหตุ หรือแม้ในขะจิตสุดท้ายก่อนสิ้นลมหายใจ การมีสติจะช่วยนำไปสู่สุคติภูมิได้ในที่สุด

เนื่องจากได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรครูสมาธิ รุ่นที่ 44 (จตุจัตตาฬีสโม) วุฒิญาณ (ความเจริญแห่งความรู้) สถาบันพลังจิตตานุภาพ (Will Power Institute) ของพระเดชพระคุณ พระพรหมมงคลญาณ พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร และได้เข้าสอบธุดงค์ภาคสนามที่ดอยอินทนนท์ ในเดือนธันวาคม 2562 โดยส่วนตัวเห็นว่าหลักสูตรนี้ดี สามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้ จึงขอสรุปบางประเด็นที่น่าสนใจจากสิ่งที่ได้เรียนมา ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ไม่มากก็น้อย

อิริยาบถหลักในการทำสมาธิ มีอะไรบ้าง

  1. จุดประสงค์สำคัญของการทำสมาธิคือ สะสมพลังจิต จิตเป็นสมาธิคือ จิตเป็นหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดพลังจิต คนเราต้องมีพลังจิตจึงจะทำงานสำเร็จและมีประสิทธิภาพ
  2. ร่างกายมนุษย์ต้องใช้อิริยาบถทั้ง 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ดังนั้น การทำสมาธิด้วยอิริยาบถต่าง ๆ โดยเฉพาะ เดินจงกรม นั่งสมาธิ มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ร่างกายและจิตใจไม่ขัดกัน
  3. สถานที่ทำสมาธิควรเป็นที่อากาศสบาย (อุตุสัปปายะ) และไม่ควรทรมานตนให้ลำบากเปล่า (อัตตกิลมัตถานุโยค)
  4. ลักษณะต่อต้านสมาธิ ได้แก่ ความเจ็บปวด เมื่อย เหนื่อย หิว ความปริวิตก ความกระวนกระวาย ความหงุดหงิด อาการกิริยาเจ็บคันโดยไม่มีเหตุผล ความลังเลสงสัย ความโลภอยากได้เร็ว
  5. การทำสมาธิต้องใช้เวลา การทำสมาธิแต่ละครั้งคือการสะสม การสะสมนั้นต้องทำให้สม่ำเสมอ ด้วยความเพียร (การอยู่กับที่คือการถอยหลัง การก้าวไปไม่หยุดยั้งคือความก้าวหน้า)
  6. การทำสมาธิ คือ การทำจิตให้ปราศจากอารมณ์ เมื่อทำได้แล้ว จิตจะเบาสบาย เกิดความสงบสุข
  7. ความหมายของคำว่า สมถะ-สมาธิ-ฌาน-ญาณ-วิปัสสนา
  8. สมถะ คือ สมาธิ สะสมพลังจิต สร้างความแข็งแกร่ง พร้อมความสงบนิ่ง
  9. ฌาน คือ ความเพ่งอยู่ การจดจ่อในความนิ่งที่ถูกเพ่งพินิจ ประโยชน์ของฌาน คือ ความสุขสบาย แต่ถ้าละทิ้ง ไม่พิทักษ์ ฌานจะเสื่อม
  10. ถ้าไม่มีฌาน มนุษย์จะเกิดความเศร้า อาจนั่งเศร้าโดยไม่มีเหตุผล เพราะขณะที่ใจว่างแล้วไม่มีสมาธิ จะมีกิเลสตัวหนึ่งคือโมหะ เข้ามาสู่ใจโดยไม่รู้ตัว จึงต้องหาวิธีทำให้จิตสงบ และรวบรวมกำลังไว้เพื่อกดดันให้โมหะนี้อยู่ในกรอบ
  11. ฌาน ไม่ได้เป็นตัวผลิตพลังจิต ตัวผลิตพลังจิตคือ สมาธิ ส่วน ฌานเป็นตัวเสวยผล คือ ความสุข
  12. บุคคลทั่วไปเมื่อเกิดการกระทบอารมณ์ตลอดจนความวุ่นวายต่าง ๆ จะเกิดความไม่สบาย ฌาน คือ ความละเอียดของจิตที่ได้รับการฝึกจากสมาธิแล้ว เมื่อจิตละเอียดเกิดความสบาย แต่ถ้ามากเกินไปก็จะทำให้เสียการงานต่าง ๆ ได้ ดังนั้น บุคคลที่ได้ฌานแล้วต้องรักษาไว้ ต้องมีญาณเป็นเครื่องกำกับ
  13. ญาณ คือ ความรู้รอบคอบ มีเหตุผล ไม่ใช้สิ่งที่ผิดจากสัจธรรม (กฎแห่งความจริง) มีปฏิภาณไหวพริบ มีลักษณะเฉียบคมเป็นพิเศษ ญาณ คือความรู้สู่ความสำเร็จ จิตเกิดความโปร่งใส พบจุดพลังอำนาจ
  14. ญาณที่สร้างขึ้นด้วยสมาธิ เป็นความสุขที่ไม่มีอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์ต่าง ๆ นั้น ถูกสมาธิกำจัดไปหมดแล้ว
  15. วิปัสสนา คือ การพิจารณาเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง เห็นของจริง จากการทวนกระแสโลก เช่น เห็นความไม่เที่ยงของร่างกาย
  16. การละกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีทางอื่น นอกจากวิปัสสนา เป็นธรรมะขั้นสูง ควรสอนเฉพาะบุคคลที่ควรสอน (ปุคคลัญญุตา) ผู้ที่สำเร็จวิปัสสนา เรียกว่า สุปฏิปันโน

อิริยาบถหลักในการทําสมาธิคืออะไร

อิริยาบถ คือ อาการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในความควบคุมของใจ มี ๔ ประการ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน วิธีการอบรมจิตเกี่ยวกับอิริยาบถ เป็นดังนี้

การเจริญสมาธิควรอยู่ในอิริยาบถใดดีที่สุด

1.2 ท่านั่ง หลักการอยู่ที่ว่าอิริยาบถใดก็ตามที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายสบายที่สุด แม้ปฏิบัติอยู่นาน ๆ ก็ไม่เมื่อยล้า และทั้งช่วยให้การหายใจคล่องสะดวก ก็ใช้อิริยาบถนั้นการณ์ปรากฏว่าอิริยาบถที่ท่านผู้สำเร็จนับจำนวนไม่ถ้วนได้พิสูจน์กันมาตลอดกาลนานนักหนาว่าได้ผลดีที่สุดตามหลักการนั้นก็คือ อิริยาบถนั่งในท่าที่เรียกกัน ...

อิริยาบถในการฝึกปฏิบัติการผ่อนคลายควรใช้ท่าใด

อิริยาบถในการฝึกปฏิบัติการผ่อนคลายควรใช้ท่าใด.
ยืนอย่างสบายๆ.
นั่งด้วยท่าสบายๆ.
นั่งบนเก้าอี้สบายๆ.
นอนในที่เหมาะสมอย่างสบายๆ.

การฝึกสมาธิมีกี่วิธีอะไรบ้าง

แต่หากจะแบ่งการนั่งสมาธิแบบพื้นฐาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1. ขณิกสมาธิ : การทำสมาธิแบบชั่วครู่ เป็นขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการสมาธิในการเรียน และทำงาน มีสติรู้ตัวตนว่ากำลังทำอะไรอยู่ 2. อุปจารสมาธิ : การทำสมาธิในระยะเวลาที่นานขึ้น สำหรับผู้ที่กำลังจะได้ฌาน และนิมิตต่างๆ ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา