ทฤษฎี การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง

.. สำนักพิมพ์ มก. มุ่งมั่นผลิตตำราที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการ ..

การหาค่าความเชื่อถือได้ในระบบไฟฟ้ากำลังเบื้องต้น

หนังสือ

ทฤษฎี การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง

ชื่อหนังสือ การหาค่าความเชื่อถือได้ในระบบไฟฟ้ากำลังเบื้องต้น
ผู้แต่ง รศ.ดร.ตฤณ แสงสุวรรณ
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พิมพ์ครั้งที่ 1
ปีที่พิมพ์ 2546
ขนาด 18.50 x 26 ซม.
จำนวน 162 หน้า
ราคา 130 บาท ลด 20% เหลือ 104 บาท
ISBN 974-537-262-5

เนื้อหาโดยย่อ

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพื้นฐานในการคำนวณและทฤษฎีในการศึกษาความเชื่อถือได้ในงานด้านวิศวกรรม  โดยเฉพาะในสาขาไฟฟ้ากำลัง  พื้นฐานด้านความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้อง  การแจกแจงความน่าจะเป็น  การแจกแจงแบบทวินามและการประยุกต์ใช้งานในด้านวิศวกรรม  จากนั้นได้กล่าวถึงการหาค่าความเชื่อถือได้ของระบบแบบอนุกรม  แบบขนาน  การหาค่าความเชื่อถือได้โดยวิธีมินิมัมคัทเซ็ท  เมื่อมีพื้นฐานในการคำนวณแล้ว  ก็ได้กล่าวถึงทฤษฎีและการคำนวณที่ละเอียดมากขึ้น  ซึ่งรวมไปถึงการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบปัวส์ซอง  แบบปกติ  แบบเอกซ์โพเนนเชียลและแบบไวบูล  การใช้กระบวนการมาร์คอฟในการวิเคราะห์  การหาค่าความถี่และช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับมินิมัมคัทเซ็ท  การหาค่าดรรชนีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไฟดับในระบบจำหน่ายไฟฟ้า  ท้ายสุดได้กล่าวถึงการใช้การจำลองแบบมอนติคาโลในการทำแบบจำลองของระบบจริง  และตัวอย่างการคำนวณอีกมากมาย  ผู้เขียนได้เขียนหนังสือเล่มนี้ให้ง่ายในการอ่านและการทำความเข้าใจ  เนื้อหาจะกระชับและเข้าสู่ประเด็นในทันที
จึงเหมาะสำหรับนิสิต นักศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท  และผู้ที่สนใจในงานด้านนี้  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะทำให้การศึกษาในด้านความเชื่อถือได้ในประเทศไทยแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

online bookmakers free bets oddslot best online bookies bonuses and promotions


ช่องทางจัดจำหน่าย

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทรศัพท์ 0-2940-5501-2, 0-2942-8056
(ค่าขนส่ง 50 บาท สั่งซื้อครบ 700 บาท ฟรีค่าขนส่ง)


หมวดที่ 4

การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม รายวิชานี้ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
˜ 1.1.1 แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตะหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครูที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
     1.1.2 สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู
˜ 1.1.3 แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมและเป็นแบบอย่างที่ดี
™ 1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

1.2 วิธีการสอน

ผู้สอนทำข้อตกลงในการศึกษารายวิชา ประกอบด้วย เวลาการเข้าชั้นเรียน กำหนดการส่งการบ้านและงานมอบหมายต่างๆ การประพฤติตนในระหว่างเข้าขั้นเรียน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ส่วนตัวและเพื่อนร่วมชั้น ฯลฯ โดยการมอบหมายงาน หรือการแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาค้นคว้าเพื่อนำเสนอหน้าชั้น โดยให้เพื่อนผู้รับฟังสามารถซักถามให้ผู้นำเสนอตอบประเด็นข้อสงสัย

1.3 วิธีการประเมินผล

1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้น
1.3.4 สังเกตการดูแลสภาพห้องเรียนและการใช้งานเครื่องมือ/อุปกรณ์
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา

2. ความรู้ 2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ

นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้น เป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
˜ 2.1.1 มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
˜ 2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอกองค์ความรู้
™ 2.1.3 สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม

2.2 วิธีการสอน

ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เน้นหลักการทางทฤษฎี การประยุกต์หรือการนำไปใช้ทางปฏิบัติ และการยกตัวอย่างงานวิจัยหรือโครงงานรุ่นพี่หรือโจทย์ในสภาพแวดล้อมจริงโดยผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาสามารถเห็นภาพที่ชัดเจนสนับสนุนให้เกิดความคิดด้วยตนเอง รวมทั้งการกำหนดให้มีการค้นคว้าสาระความรู้เพิ่มเติมจาก Social เพื่อการนำมารวบรวมความรู้แบบกลุ่มย่อยหรือทีมและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การตอบข้อซักถามในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องจากเพื่อนร่วมชั้น

2.3 วิธีการประเมินผล

ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 ประเมินจากรายละเอียดในการทำข้อสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ และการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.4 สังเกตพฤติกรรมความสนใจ การซักถาม การนำเสนอความเห็น
2.3.5 สังเกตจากการลงปฎิบัติการทดลอง

3. ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา

นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
™ 3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
˜ 3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ

3.2 วิธีการสอน

ผู้สอนกำหนดให้มีการมอบหมายงานให้จัดกิจกรรมแบบระดมสมองกลุ่มในชั้นเรียน และมีการมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเทคนิค กระบวนการ เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสาระที่เรียนผ่านระบบค้นหาใน Social โดยสามารถนำเสนอได้ตลอดภาคการศึกษา มีการนำเสนอหน้าชั้นหรือการแสดงขั้นตอนการคำนวณและวิเคราะห์ให้เพื่อนร่วมชั้นช่วยพิจารณาความเหมาะสมและความถูกต้องโดยมีผู้สอนแนะนำเพิ่มหรือชี้แนะ

3.3 วิธีการประเมินผล

3.3.1 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การอธิบาย และการตอบประเด็นปัญหาของเพื่อนร่วมชั้น
3.3.2 การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และการอธิบายเหตุผลของการเลือกใช้วิธีการหรือกระบวนการ
3.3.3 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์หรือสอบถามในระหว่างศึกษา

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา

นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ นี้
    4.1.1 แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
™ 4.1.2 แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนร่วม
™ 4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีมช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
™ 4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานและมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม

4.2 วิธีการสอน

การมอบหมายงาน มีการให้ออกมานำเสนอหน้าชั้น และให้เพื่อนในชั้นซักถามแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา หรือการนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาหน้าชั้นเรียน และการศึกษาแบบกลุ่มย่อย

4.3 วิธีการประเมินผล

ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน การพัฒนาความระดับคะแนนตลอดภาคการศึกษา

5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา

ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
˜ 5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
™ 5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
    5.1.3 สามารถสนทนา เขียน แบะนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2 วิธีการสอน

การให้สืบค้นข้อมูลในระบบ Social หรือมอบหมายงานโจทย์ตัวอย่าง แล้วให้ระดมสมองในการแก้ไขปัญหา พร้อมนำเสนอผลสรุปหน้าชั้นเรียน การให้แสดงความเห็นหรือกระบวนการคำนวณต่อโจทย์ปัญหาของผู้สอน

5.3 วิธีการประเมินผล

ประเมินจากงานหรือการนำเสนอ การอธิบาย การแสดงความเห็น ความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลหรืองาน การตรงประเด็นกับโจทย์หรือเงื่อนไขที่กำหนด การใช้เครื่องมือและวิธีการดำเนินงาน และการตอบคำถาม

6. ด้านทักษะพิสัย 6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย

การทำงานในสถานประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
˜ 6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
™ 6.1.2 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม

6.2 วิธีการสอน

จัดกิจกรรมกลุ่มแบบมีส่วนร่วม ให้มีการศึกษาค้นคว้าหาประเด็นที่สนใจและนำมาลงมือปฏิบัติกับชุดวงจร การแก้ไขโจทย์ปัญหาที่สมมติ การให้แสดงหรืออธิบายกระบวนการที่จะลงมือปฏิบัติ

6.3 วิธีการประเมินผล

การประเมินพฤติกรรมในระหว่างการปฏิบัติงานทดลอง ทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

ความรับผิดชอบหลัก ความรับผิดชอบรอง

กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3 ด้านทักษะทางปัญญา 4 ด้านความสัมพันธ์บุคคล และความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 3 4 1 2 1 2 3 1 2 1 2 2 4 1 2 3 1 2
1 TEDEE117 การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง

หมวดที่ 5

แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน

สัปดาห์ที่ 1 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 2 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 3 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 4 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 5 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 6 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 7 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 8 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 9 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 10 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 11 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 12 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 2 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 13 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 14 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 15 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 16 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 5 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

สัปดาห์ที่ 17 หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง: 3 ชั่วโมง

ผู้สอน : -

หมวดที่ 6

ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก

-  เอกสารประกอบการสอนของผู้สอน.

2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ

-  พิชัย  อารีย์. “การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง”, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2552, พิมพ์ที่ : บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2552
-  รศ.ดร.ชำนาญ  ห่อเกียรติ. “การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง”
-  Goran Anderson. “Power System Analysis”, EEH- Power System Laboratory, September 2012.
-  Prof. P.S.R Murty. “Power System Analysis”, BS Publications.
-  Fundamentals of Power System.
-  เอกสาร Per Unit System
-  เอกสารประกอบเรื่อง ระเบียบวิธี Jacobi และ Gauss-Seidel
-  เอกสารประกอบเรื่อง Examples of Gaussian Elimination.
-  เอกสารประกอบเรื่อง Metrix

3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ

ไม่มี

หมวดที่ 7

การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ผ่านกิจกรรมในการนำแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบประเมินรายวิชา หรือ
1.2 แบบประเมินความพึงพอใจรายวิชา

2. กลยุทธ์การประเมินการสอน

ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของอาจารย์ผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร
2.2   ปัญหาพิเศษ/โครงงานย่อย/กรผ่านกิจกรรมภายในรายวิชา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

3. การปรับปรุงการสอน

หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการสรุปข้อมูลจัดทำแนวทางการปรับปรุงใน มคอ.5

4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบความสอดคล้องของข้อสอบกับคำอธิบายรายวิชา โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง
4.2  การทวนสอบความสอดคล้องของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลกับความรับผิดชอบของหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง

5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

ผู้สอนสรุปผลข้อมูลทั้งหมดเพื่อรายงานอาจารย์ประจำหลักสูตร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง