การประกันคุณภาพการศึกษา 2561

การประกันคุณภาพการศึกษา 2561
ดาวน์โหลด!! เอกสารแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงฯ 2561 จำนวน 5 เล่ม

ดาวน์โหลด!! เอกสารแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงฯ 2561 จำนวน 5 เล่ม จัดทำโดยสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ปี 2563

หลังจากกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ นโยบายปฏิรูประบบการประเมินและการประกัน คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และประกาศมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๑ สําหรับให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางดําเนินงาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และเตรียมการสําหรับ การประเมินคุณภาพภายนอก สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้ จัดทําคู่มือ สําหรับให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง

โดยคู่มือนี้ มีจํานวน ๕ เล่ม มีเนื้อหาสาระครอบคลุมรายละเอียด ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งนําเสนอ หลักการ เหตุผล แนวคิด และกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาตามระบบ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ดังนี้

1. แนวทางการพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพ การศึกษาตามกฎ กระทรวงการประกัน คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

การประกันคุณภาพการศึกษา 2561
1. แนวทางการพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพ การศึกษาตามกฎ กระทรวงการประกัน คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

2. การกําหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา 2561
2. การกําหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา

3. การจัดทําแผนพัฒนา การจัดการศึกษา ของสถานศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา 2561
3. การจัดทําแผนพัฒนา การจัดการศึกษา ของสถานศึกษา

4. การจัดทํารายงาน ผลการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา 2561
4. การจัดทํารายงาน ผลการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา 2561
5. การเตรียมความพร้อม ของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก

ดาวน์โหลดที่นี่

ขอบคุณที่มา : สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.

สาระสำคัญของกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561

2. ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553

3. การประกันคุณภาพการศึกษา  ยังคงหมายถึงการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะชนว่าสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล

4. บทบาทของโรงเรียน

          4.1 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา

          4.2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

          4.3 ดำเนินการตามแผนที่กำหนด

          4.4 จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

          4.5 ติดตามผลการดำเนินการ

          4.6 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นประจำทุกปี

5. บทบาทของหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา

          5.1 ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา

          5.2 จัดส่งรายงานของสถานศึกษาพร้อมประเด็นที่ต้องการ ให้มีการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษาแห่งนั้น ได้แก่ สมศ. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก

          5.3 ติดตามผลการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

6. บทบาทของ สมศ.

          6.1 จัดให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก สมศ.ดำเนินการประเมินและติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

          6.2 จัดส่งรายงานผลการประเมินและการติดตามตรวจสอบให้แก่สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา