ผู้มีหน้าที่ จัด ทำ บัญชี ต้อง จัด ทำ งบ การเงิน โดย มีรายการย่อตาม ขอ ใด

งบการเงิน หมายความว่า รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ไม่ว่าจะรายงานโดยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบ หรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

มาตรฐานการบัญชี หมายความว่า หลักการบัญชีและวิธีปฎิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หมายถึง ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฏากร ต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียดหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

                ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

                ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฏากร ให้บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการนั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

                บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจใดในประเทศไทยตามเงื่อนไขใดเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

                                ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับงาช้าง

                                ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่าย ผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือผู้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าประเภทแถบเสียงเพลง แถบวีดิทัศน์ และแผ่นซีดี

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ดังต่อไปนี้

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด

ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคลลตามกฏหมาย

ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือนนับแต่วันเริ่มทำบัญชี

จัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี

นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย

ได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย

ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือนนับแต่วันเริ่มทำบัญชี

จัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี

กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฏากร

ได้เริ่มต้นประกอบกิจการ

ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือนนับแต่วันเริ่มทำบัญชี

จัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี

ประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน

นับตั้งแต่วันที่สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำนั้นเริ่มต้นประกอบกิจการ

ปิดบัญชีพร้อมกับสำนักงานใหญ่

จัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี

การปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือนนับแต่วันเริ่มทำบัญชีดังกล่าว และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือนนับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีแล้วอาจปิดบัญชีก่อนครบรอบ 12 เดือนได้

การยื่นงบการเงินให้ยื่นงบการเงินผ่านทางอีเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)

ในการจัดทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นได้

                ในกรณีที่จัดทำบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่นใดในสถานที่อื่นใดในราชอาณาจักรที่มิใช่สถานที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ แต่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือนั้นมายังสถานที่ดังกล่าวให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่ดังกล่าวแล้ว

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี นับแต่วันปิดบัญชี

ถ้าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น

ในกรณีที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตรวจพบว่าบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เป็นสาระสำคัญแก่การจัดทำบัญชีมีเจตนาทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีซึ่งบัญชีหรือเอกสารนั้น เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว เพื่อป้องกันมิให้บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย

เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเลิกประกอบธุรกิจด้วยเหตุใดๆ  โดยมิได้มีการชำระบัญชี ให้ส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรบัญชีภายใน 90 วัน นับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ

                ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีมีอำนาจขอขยายเวลาการส่งมอบบัญชีและเอกสารตามวรรคหนึ่งได้ แต่ระยะเวลาที่ขยายเมื่อรวมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 180 วันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ

                ในกรณีที่ส่งมอบเอกสารบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไม่ครบถ้วนถูกต้อง สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจเรียนให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด

                ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้ผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด และมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้อง

                ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการของตนเองก็ได้

ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน

การลงรายการในบัญชี ผู้ทำบัญชีต้อง ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ดีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน

คุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้ทำบัญชี

1)     มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

2)     มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้

3)     มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพบัญชี

4)     ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามฐานความผิดหรือ กฎหมายที่กำหนดในมาตรา 39 (3) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เว้นแต่ต้องคำพิพากษา หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

5)     คุณวุฒิการศึกษา

มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

เป็นผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดรอบบัญชีในรอบปีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 บาท

มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี ที่สภาวิชาชีพรับรอง

  ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชี ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมเกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมเกิน 30 บาท

  บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย

  กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฏากร

ในกรณีที่ทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่มีคุณสมบัติการเป็น ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นต่อไป ให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ดังกล่าวต่อไปได้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง

ผู้ทำบัญชีต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี ดังต่อไปนี้

1.     ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

2.     แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก

ผู้ทำบัญชีต้องยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซตืกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.bdb.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีปฎิทินของทุกปีปฎิทิน

3.     ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน เว้นแต่ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับปีแรกและมีระยะเวลาที่เหลือหลังการแจ้งในปีนั้นน้อยกว่า 6 เดือน ให้เริ่มพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีในปีถัดไป

จำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ตามที่สภาวิชาชีพประกาศกำหนด

การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรม ดังต่อไปนี้

1.     การอบรมหรือสัมมนา ทั้งนี้ ให้รวมถึงการอบรมหรือสัมมนาในรูปแบบสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)

2.     การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา ในกิจกรรมตาม1

3.     การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถานบันการศึกษาของเอกสารชน ตามกฏหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ไม่ว่าจะเป็นการสอนในฐานะอาจารย์ ประจำหรืออาจารย์พิเศษ

4.     การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีไม่ว่าคุณวุฒิใหม่นั้นจะสูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่ก็ตาม

5.     การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฏหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่า ระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

6.     กิจกรรมอื่นตามที่สภาวิชาชีพประกาศกำหนด

4.แจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ได้ทันทีหลังการทำกิจกรรมแต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฎิทินของทุกปีปฎิทิน และต้องเก็บหลักฐานการเข้าร่วมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง

5.ผู้ทำบัญชีใดไม่เข้ารับพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีหรือเข้ารับการพัฒนา ความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้ว ไม่เกิน 24 ชั่วโมงทั้งนี้ ไม่นับรวมจำนวนชั่วโมงในปีปัจจุบัน

6. ผู้ทำบัญชีใดยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีแล้ว และขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีใหม่ต้องเข้ารับพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไปก่อนการยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี แต่เมื่อรวมหันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง และแจ้งการขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)

7.ผู้ทำบัญชีสามารถรับทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปีปฎิทิน ไม่ว่าจะเป็นการรับทำบัญชีในรอบปีบัญชีใดก็ตาม

ผู้ทำบัญชีรายใดที่ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับให้ยืนยันรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)

การกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน

                                           งบการเงิน

                                       ของ บริษัทจำกัด

                                     ---------------------------

                                     1.       งบแสดงฐานะการเงิน

                                                                                                  หน่วย : บาท

                                                                     หมายเหตุ              25x1             25x0

       สินทรัพย์

1. สินทรัพย์หมุนเวียน

    1.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

    1.2 เงินลงทุนชั่วคราว

    1.3 ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

    1.4 เงินให้กู้ยืมระยะสั้น

    1.5 สินค้าคงเหลือ

    1.6 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

    รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

    2.1 เงินลงทุนเผื่อขาย

    2.2 เงินลงทุนในบริษัทร่วม

    2.3 เงินลงทุนในบริษัทย่อย

    2.4 เงินลงทุนในการร่วมค้า

    2.5 เงินลงทุนระยะยาวอื่น

    2.6 เงินให้กู้ยืมระยะยาว

    2.7 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

    2.8 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย

    2.9 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

    2.10 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

    2.11 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี*

    2.12 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

     รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 

รวมสินทรัพย์

         หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

3. หนี้สินหมุนเวียน

     3.1 เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

     3.2 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น                                                                                                                                                      

     3.3 ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

      3.4 เงินกู้ยืมระยะสั้น

      3.5 ภาษีเงินได้ค้างจ่าย

      3.6 ประมาณการหนี้สินระยะสั้น

       3.7 หนี้สินหมุนเวียนอื่น

         รวมหนี้สินหมุนเวียน

4. หนี้สินไม่หมุนเวียน

     4.1 เงินกู้ยืมระยะยาว

     4.2 หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

     4.3 ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน

     4.4 ประมาณการหนี้สินระยะยาว

     4.5 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

  รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน

  รวมหนี้สิน

5. ส่วนของผู้ถือหุ้น

   5.1 ทุนเรือนหุ้น

         5.1.1 ทุนจดทะเบียน

                  5.1.1.1 หุ้นบุริมสิทธิ

                  5.1.1.2 หุ้นสามัญ

         5.1.2 ทุนที่ชำระแล้ว

                  5.1.2.1 หุ้นบุริมสิทธิ

                  5.1.2.2 หุ้นสามัญ

     5.2 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

           5.2.1 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ

           5.2.2 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ

     5.3 กำไร (ขาดทุน) สะสม

           5.3.1 จัดสรรแล้ว

                      5.3.1.1 ทุนสำรองตามกฎหมาย

                      5.3.1.2 อื่น ๆ

           5.3.2 ยังไม่ได้จัดสรร

      5.4 องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น

รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

*กรณีใช้แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAE)

                                      2.1 งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย

                                                                                                                                              หน่วย : บาท

                                                                                                           หมายเหตุ         25x1                 25x0

1. รายได้จากการขายหรือการให้บริการ

2. รายได้อื่น

    รวมรายได้

3. การเปลี่ยนแปลงของสินค้าสำเร็จรูปและงานระหว่างทำ

4. งานที่ทำโดยกิจการและบันทึกเป็นสินทรัพย์

5. วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป

6. ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน

7. ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย

8. ค่าใช้จ่าย

    รวมค่าใช้จ่าย

9. กำไร(ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

10. ต้นทุนทางการเงิน

11. กำไร(ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

12. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

13. กำไร(ขาดทุน) สุทธิ

                                      2.2 งบกำไรขดาทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – ขั้นเดียว

                                                                                                              หน่วย : บาท

                                                                                               หมายเหตุ         25x1                 25x0

 1. รายได้

   1.1 รายได้จากการขายหรือการให้บริการ

   1.2 รายได้อื่น

   รวมรายได้

2. ค่าใช้จ่าย

   2.1 ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ

    2.2 ค่าใช้จ่ายในการขาย

    2.3 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

    2.4 ค่าใช้จ่ายอื่น

3. กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

4. ต้นทุนทางการเงิน

5. กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

6. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

7. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

                                   2.3 งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – หลายขั้น

                                                                                           หน่วย : บาท

                                                                                                      หมายเหตุ         25x1                 25x0

1. รายได้จากการขายหรือการให้บริการ

2. ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ

3. กำไร (ขาดทุน) ขั้นต้น

4. รายได้อื่น

5. กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่าย

6. ค่าใช้จ่ายในการขาย

7. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

8. ค่าใช้จ่ายอื่น

9. รวมค่าใช้จ่าย

10. กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

11. ต้นทุนทางการเงิน

12. กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

13. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

14. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

                                         3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผุ้ถือหุ้น

                                                                                     หน่วย : บาท

               หมายเหตุ      ทุนที่       ส่วนเกิน     กำไร     องค์ประกอบอื่น    รวม

                     ชำระแล้ว    มูลค่าหุ้น  (ขาดทุน)     ของส่วนของ

                                                   สะสม         ผู้ถือหุ้น

1.ยอดคงเหลือ ณ ต้นปี 25x0

2. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี*

3. ผลสะสมจากการแก้ไขข้อผิดพลาดทางการบัญชี*

4.ยอดคงเหลือที่ปรับปรุงแล้ว

5.การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับปี 25x0

   5.1 การเพิ่ม (ลด) หุ้นสามัญ

   5.2 การเพิ่ม (ลด) หุ้นบุริมสิทธิ

   5.3 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 25x0

   5.4 เงินปันผล

   5.5 องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น:

          5.5.1 ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงิน

          5.5.2 ผลกำไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย

          5.5.3 ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงอื่น

6. ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 25x0

7. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี **

8. ผลสะสมจากการแก้ไขข้อผิดพลาดทางการบัญชี **

9. ยอดคงเหลือที่ปรับปรุงแล้ว

10. การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับปี 25x1

      10.1 การเพิ่ม (ลด) หุ้นสามัญ

      10.2 การเพิ่ม (ลด) หุ้นบุริมสิทธิ

      10.3 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 25x1

      10.4 เงินปันผล

      10.5 องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น :

               10.5.1 ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงิน

              10.5.2 ผลกำไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย

              10.5.3 ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงอื่น

11. ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 25x1

*ผลกระทบสะสมที่เกิดขึ้นจากการปรับงบการเงินย้อนหลัง

**กรณีที่ไม่สามารถปรับข้อมูลย้อนหลังได้ตามรายการที่ 2 หรือ 3

 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงินต้องจัดทำให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAE) โดยมี 2 ส่วน คือ

1.สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ

2.ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น

 ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฏากรต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

                1 บัญชีรายวัน

                  1.1 บัญชีเงินสด

                  1.2 บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร

                  1.3 บัญชีรายวันซื้อ

                  1.4 บัญชีรายวันขาย

                  1.5 บัญชีรายวันทั่วไป

                2 บัญชีแยกประเภท

                  2.1 บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน

                  2.2 บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย

                  2.3 บัญชีแยกประเภทลูกหนี้

                  2.4 บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้

              3 บัญชีสินค้า

              4 บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชี

ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี

ปกด้านหน้าของสมุดบัญชี หรือแผ่นหน้าของบัญชีที่บัญชีเป็นแผ่น ต้องมีข้อความดังต่อไปนี้

              1 ชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ใช่นิติบุคคลจะใช้ชื่อทางการค้าก็ได้

              2 ชนิดของบัญชี

              3 ลำดับเล่มบัญชีแต่ละชนิดให้ใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค ถ้าบัญชีแต่ละชนิดมีมากกว่าหนึ่งเล่ม ต้องเรียงลำดับเล่มต่อเนื่องกัน

บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีข้อความและรายการในบัญชี ดังต่อไปนี้

                1 ชื่อบัญชี วัน เดือน ปี เลขที่ของเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิง รายการบัญชี และจำนวนเงิน

                2 หน้าบัญชีต้องมีตัวเลขไทยหรืออารบิคเรียงลำดับทุกหน้า

                3 รายการในบัญชีที่จำเป็นต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย เว้นแต่ในกรณีที่มีมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้แสดงเป็นหน่วยเงินตราสกุลอื่นได้ จะเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีก็ได้

บัญชีแต่ละชนิดต้องมีรายการดังต่อไปนี้ด้วย

                1 บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร ให้มีรายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไปซึ่งเงินสด เงินในธนาคารแต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบัญชีรายวันชนิดหนึ่งชนิดใดแล้วจะลงรายการรับหรือจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นยอดรวมก็ได้

                2 บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย ให้มีรายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้า หรือบริการที่ซื้อขาย แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือทะเบียนใดแล้ว จะลงรายการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการนั้นเป็นยอดรวมก็ได้

               3 บัญชีรายวันทั่วไป ให้มีคำอธิบายรายการบัญชี

               4 บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ให้มีรายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วยฃ

                 5 บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย ให้มีรายละเอียดที่มาแห่งรายได้หรือค่าใช้จ่าย โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

                6 บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ ให้มีชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้การแสดงรายการบัญชีให้มีรายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้ ลงรายการดังกล่าวให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

                 7 บัญชีสินค้า ให้มีชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินค้า และจำนวนสินค้านั้น

ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีให้แล้วเสร็จไว้ ดังต่อไปนี้

               1 บัญชีรายวัน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น

                  2 บัญชีแยกประเภท ต้องผ่านรายการจากบัญชีรายวันภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น

                  3 บัญชีสินค้า ภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น ในกรณีที่เนไปตามบัญชี 2 และ 3 ซึ่งต้องมีการลงรายการยอดคงเหลือต้องลงรายการยอดคงเหลือให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันปิดบัญชี

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

1 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐาน ในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ

                       1.1 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก

                     1.2 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก

                     1.3 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง

2 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ 1 ทุกประเภทต้องมีรายการดังต่อไปนี้ และมีรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 (1) หรือ (2) หรือข้อ 4 ตามแต่ประเภทของเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีด้วย

                        2.1 ชื่อของผู้จัดทำเอกสารซึ่งอาจใช้ชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของผู้จัดทำเอกสารก็ได้

                        2.2 ชื่อของเอกสาร

                        2.3 เลขที่ของเอกสาร และเล่มที่ (ถ้ามี)

                        2.4 จำนวนเงินรวม

3 ถ้าเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นเอกสารตามข้อ 1 (2) ต้องมีรายการตามที่กำหนดไว้ใน (1) หรือ (2) ด้วยแล้วแต่กรณี คือ

                3.1 ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน รับฝากเงิน รับชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้               

                       3.1.1 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร

                       3.1.2 สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร

                       3.1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน

                       3.1.4 ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ เว้นแต่ได้ระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ในเอกสารตาม 3.2 (3.2.3) แล้ว

                       3.1.5 ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เว้นแต่เป็นเอกสารที่จัดทำและส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน

                3.2 ในกรณีที่เป็นเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการจำหน่าย จ่ายโอน ส่งมอบสินค้าหรือบริการโดยยังมิได้มีการชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้

                       3.2.1 เลขประจำตังผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร

                       3.2.2 สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร

                       3.2.3 ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ

                       3.2.4 ชื่อหรือชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ และที่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ

                       3.2.5 ลงมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร

                       3.2.6 ลงลายมือชื่อผู้รับสินค้าหรือบริการ

4 ถ้าเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นเอกสารตามข้อ 1 (1.3) ต้องมีรายการต่อไปนี้ด้วย คือ

                4.1 คำอธิบายรายการ

                4.2 วิธีการและการคำนวณต่างๆ (ถ้ามี)

                4.3 ลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ

5 เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอกต้องมีสำเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ฉบับ

6 การลงรายการในบัญชีรายวันและบัญชีสินค้าต้อง

6.1 มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีทุกรายการและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีนั้นต้องสามารถแสดงความถูกต้องครบถ้วนของรายการบัญชีตามความเป็นจริง และเป็นที่เชื่อถือได้

6.2 ใช้เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ 1 (1.1)หรือ (1.2) แล้วแต่กรณีก่อนเว้นแต่ไม่มีเอกสารดังกล่าวจึงให้ใช้เอกสารในลำดับ (1.3)

Cr. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th