ความหมายของการบริหารและการจัดการ

ความหมายของการบริหาร

คำว่า “การบริหาร” หรือ “การจัดการ” โดยทั่วไปเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน และใช้แทนกันได้เสมอ คำภาษาอังกฤษที่มักใช้เรียกในความหมายของ การบริหาร มี 2 คำ คือ Management และ Administration ส่วนมากคำว่า Management มักจะใช้ในทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง การนำเอานโยบายไปปฏิบัติ โดยมีการกำหนดแบบงาน วิธีการทำงาน และการใช้ปัจจัย หรือทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า การจัดการ ส่วนคำว่า Administration มักเน้นการบริหาร เกี่ยวกับนโยบาย มักนิยมใช้ในทางราชการ เช่น Public Administration

สำหรับคำนิยามของคำว่า “การบริหาร” มีคำนิยามอยู่หลายคำนิยามแต่ที่นิยมกันแพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบันมี 2 นิยาม คือ

๑. การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่นในความหมายนี้ชี้ในเห็นว่าผู้บริหารประสบความสำเร็จในเป้าหมายของพวกเขา โดยการเตรียมการให้กับบุคคลอื่นปฏิบัติงานอะไรก็ได้ที่มีความจำเป็น ผู้บริหารมิได้ปฏิบัติงานดังกล่าวด้วยตัวของพวกเขาเอง

๒. การบริหาร คือ กระบวนการของการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ และการควบคุมกำลังความพยายามของสมาชิกขององค์การ และใช้ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้ ในความหมายนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารใช้ทรัพยากรทั้งหมดขององค์การ ซึ่งมีเงินทุน อุปกรณ์ ข่าวสาร และคน เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การ คนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดขององค์การ

จากคำนิยามของการบริหารดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าการบริหารจะกินความครอบคลุมประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้

๑. จะต้องมีวัตถุประสงค์ ( Objective ) คือ เป้าหมายในการดำเนินงานที่ผู้บริหารต้องดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ

๒. จะต้องมีประสิทธิภาพ ( Effectiveness ) คือ ความสำเร็จของผลงานตามที่คาดหมายไว้

๓. จะต้องมีทรัพยากร ( Resource ) คือ ปัจจัยต่าง ๆ ของการบริหาร ที่ผู้บริหารเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง ซึ่งแต่เดิมโดยทั่วไป ประกอบด้วย คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Material) และการจัดการ (Management) หรือที่เรียกโดยย่อว่า ๔ M’s แต่ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางสังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป ทรัพยากรดังกล่าวจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ ทรัพยากรที่เป็นส่วนประกอบในการบริหาร ประกอบด้วย ทรัพยากรคน (Human Resource) ทรัพยากรที่เป็นวัสดุและอุปกรณ์ (Physical Resource) และทรัพยากรทางด้านเงินทุน (Financial Resource) และทรัพยากรทางด้านข่าวสารข้อมูล (Information Resource)

๔. มีการประสมประสานกัน ( Integration and Coordination ) คือ กระบวนการในการดำเนินงานด้วยประการทั้งปวง ที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ สอดคล้องต่อเนื่องกัน

  หลักการบริหาร 

ความหมายของการบริหารและการจัดการ


เทคนิคการบริหารตนเอง

การไปสู่จุดหมายในชีวิตที่ตั้งใจไว้นั้น นอกจากจะต้อง
เข้าใจในหลักการบริหารตนเองแล้ว ยังต้องทราบถึงเทคนิค
ในการบริหารตนเองอันเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ ดังนี้

- กุญแจดอกแรก คือ การรู้จักวางแผนชีวิตของ
ตนเอง

ขั้นแรกต้องรู้ว่า เป้าหมายในชีวิตคืออะไร เพื่อจะได้กำหนดแนวทางที่นำไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้อย่างถูกต้อง เช่น 
ต้องการเงิน เป้าหมายอาจเป็นการเป็นเศรษฐีพันล้าน ต้องการเกียรติยศ เป้าหมายในชีวิต คือการเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องการ
ความสุข เป้าหมายคือการเป็นผู้ให้แก่สังคม ฯลฯ และเมื่อกำหนด
เป้าหมายแล้วควรกำหนดแนวทางหรือแผนงานเพื่อนำไปสู่
เป้าหมายนั้น ทั้งนี้เพราะเพียงแนวคิดฝันอย่างเดียวย่อมไม่อาจได้สิ่งที่ต้องการ โดยแนวทางที่กำหนดขึ้นควรต้องมีความเป็นไปได้และอยู่กับความเชื่อมั่นว่าตัวเองจะทำให้สำเร็จได้

- กุญแจดอกที่สอง คือ ความพยายาม

ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงต่อวันเท่ากัน ทุกคนมี 2 มือ 2 เท้าและหนึ่งสมองเท่ากัน ความแตกต่างอยู่ตรงที่ใครจะสามารถใช้เวลา

 ใช้มือเท้าสมองให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่ากัน ความพยายามที่ไม่ท้อแท้ ความมุ่งมั่นที่ไม่ท้อถอยย่อมนำ
ไปสู่ความสำเร็จ

- กุญแจดอกที่สาม คือ การรู้จักใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ

การรู้จักปรับตัวตามสภาพแวดล้อม เรียนรู้ความสำเร็จของคนอื่นและรู้จักเลือกสิ่งที่ดีมา ใช้ประโยชน์กับตนเอง 
เรียนรู้ความผิดพลาดของตนเองในอดีตและความผิดพลาดของคนอื่น ดังเช่น เศรษฐีในปัจจุบันอาจยากจนมาก่อน

และล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วนแต่เป็นเศรษฐีได้ เพราะรู้จักปรับ กลยุทธ์ของตนเอง เหมือนกับธุรกิจบริการที่นำนิสัยคนไทย

ไปใช้ในการต้อนรับดูแลแขก ซึ่งทำให้สายการบินของไทยโด่งดังไปทั่วโลก หรือการนำระบบการทำงานของประเทศในทวีปยุโรป

ไปใช้ในการบริหาร ทำให้เกิดการทำงานที่มีความสัมพันธ์เป็นทีม ต่างคนต่างรู้หน้าที่ความรับผิดชอบ ส่วนความมุมานะในการ
ทำงานเพื่อความสำเร็จก็เรียนรู้ได้จากคนจีนที่มีความขยัน ไว้ใจได้ ซื่อสัตย์จนสามารถเปลี่ยนสภาพจากกุลีมาเป็นเจ้าสัว

 และการริเริ่มเพื่อพัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ ก็เรียนรู้ได้จากญี่ปุ่น ผู้ไม่เคยยอมแพ้ และสามารถสร้างประเทศด้วยหลักการบริหารใหม่ ๆ จะเห็นว่าการที่บุคคลรู้จักใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ สามารถปรับตนเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีย่อมเป็นปัจจัยที่ทำให้ประสบความ
สำเร็จได้อย่างดียิ่งขึ้น

ความหมายของการบริหารและการจัดการ


ความสำคัญของบุคลิกภาพ

       บุคลิกภาพเป็นส่วนสำคัญของมนุษย์ในการที่จะช่วยส่งเสริมหรือขัดขวางความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม (โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ 2544) แม้ว่า ความรู้ความสามารถ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงาน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด การยอมรับของสังคมนั้นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญนั้นคือ บุคลิกภาพ (วรวรรณา จิลลานนท์ 2546) ดังนั้น บุคลิกภาพ จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลและเกี่ยวข้องกับการประสบความสำเร็จ สถาบันราชภัฎเทพสตรี (2543) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของ “คนเก่ง” ว่าจะต้องประกอบด้วย 3 ประการได้แก่

1. เก่งตน หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันโลก ทันคน โดยเริ่มจากพัฒนาตนเองก่อน ประกอบด้วย

  • ทางกาย : รูปร่าง พัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้การแต่งกายช่วยลดหรือเสริมจุดเด่น จุดด้อย หน้าตาสดชื่นแจ่มใสสะอาด เข้มแข็งแต่ไม่กระด้าง อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ
  • ทางวาจา : การพูดดีมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ พูดแต่ดี มีประโยชน์ ผู้ฟังชอบ และทุกคนปลอดภัย คิดก่อนพูด
  • ทางใจ : มีความมั่นใจในตนเอง กระตือรือร้น มีความอดทน มีความพยายาม มีเหตุผล การมีสมรรถภาพในการจำ และมีความคิดสร้างสรรค์

2. เก่งคน หมายถึง มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
3. เก่งงาน หมายถึง ผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน

กิติมาพร ชูโชติ (2544) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของบุคลิกภาพ ที่ส่งผลต่อ ความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลิกภาพของบุคคลที่จะเป็นผู้นำว่า “เป็นปัจจัยที่สำคัญในการบริหารที่จะทำให้ องค์การทำงานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะวิธีการบริหารของผู้นำนั้นเกิดจาก พฤติกรรมส่วนตัวของผู้นำเป็นสำคัญ ไม่ใช่เกิดจากอำนาจที่เป็นทางการ และส่งผลให้คนเชื่อและทำตาม” โดยได้เสนอแนะบุคลิกภาพของ “ผู้นำในอนาคต” ที่ต้องการประสบความสำเร็จว่า ต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ ประกอบด้วย

  1. ยืนหยัด คือ การที่ไม่ยอมเสียจุดยืน เสียความมั่นใจของตนเอง มีเหตุผลและการใช้วิจารณญาณของตนเอง
  2. ยืดหยุ่น คือ การรู้จักผ่อนปรนตามสถานการณ์เพื่อให้การปฏิบัติการบรรลุตามเป้าหมาย
  3. ยินยอม คือ การรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ประนีประนอม
  4. ยิ้มแย้ม คือ สามารถยิ้มรับสถานการณ์ได้ทุกรูปแบบ แสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม
  5. ยกย่อง คือ การรู้จักยกย่องผู้อื่นด้วยความจริงใจ

การจัดการและการบริหาร หมายถึงอะไร

แฮร์โรลด์ คูนทซ์ (Harold Koontz,1972 : 43) กล่าวว่า การบริหารหรือการจัดการ หมายถึง การด าเนินงานของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุสิ่งของ ซึ่งนับว่าเป็นอุปกรณ์ของการจัดการ นั้นๆ รวมถึงกระบวนการจัดหน่วยงานและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้การท า ...

การบริหารและการจัดการแตกต่างกันอย่างไร

การบริหาร (Administration) เป็นกระบวนการในการดำเนินการเพื่อใช้ให้บุคคลหลายคนเข้ามาร่วมมือกันทำงาน เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากร แต่การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการเป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อให้คนทำงานตั้งแต่การบริหารบุคคล การเงิน พัสดุ การกำหนดนโยบาย การวางแผน

การบริหารจัดการมีอะไรบ้าง

กระบวนการในการจัดการธุรกิจ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ซึ่งเป็นหน้าที่งานที่จำเป็นที่ ผู้บริหารทุกคนต้องปฏิบัติ ให้องค์การประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การอำนวยการสั่งการ และการควบคุม 4. วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน

Administration หมายถึงข้อใด

๑. การบริหาร๒. ฝ่ายปกครอง๓. รัฐบาล (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] administration. ๑. การปกครอง, การบริหาร (ก. ปกครอง)๒. การจัดการ (ทรัพย์สิน) (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]